เครือข่ายเอดส์ ส่งจดหมายถึงนายกฯ ญี่ปุ่น วอนรักษาผู้ป่วย ผู้ติดเชื้อไทยในญี่ปุ่น ร่างกายแข็งแรงแล้วส่งกลับประเทศ แทนที่จะปล่อยตาย พร้อมเสนอยกระดับการรักษาฉุกเฉินแรงงานข้ามชาติเร่งด่วน ยก 2 กรณีแรงงานไทยเป็นบทเรียน ถูกละเลย ถึงขั้นพิการ-ตาย
วันนี้ (30 ก.ค.) นายบริพัตร ดอนมอญ ประธานเครือข่ายผู้ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ ประเทศไทย กล่าวว่า เครือข่ายผู้ติดเชื้อฯ พร้อมด้วย มูลนิธิเข้าถึงเอดส์ มูลนิธิศูนย์พิทักษ์สิทธิด้านเอดส์ และคณะกรรมการองค์การพัฒนาเอกชนด้านเอดส์ (กพอ.) ได้ทำจดหมายถึง นายยาสุโอะ ฟุคุดะ นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น, นายจิน มูไร ผู้ว่าการจังหวัดนางาโน, นายมาซารุ ฮาชิโมะโตะ ผู้ว่าการจังหวัดอิบะรากิ ผ่านทางสถานเอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทย กรณีการปฏิบัติต่อแรงงานไทยที่ติดเชื้อเอชไอวีในประเทศญี่ปุ่น 2 คน ซึ่งเป็นกรณีตัวอย่างที่สะท้อนปัญหาแรงงานไทยที่ป่วยเป็นโรคเอดส์ในประเทศญี่ปุ่น และต้องเสียชีวิต เพราะไม่ได้รับการรักษาพยาบาล ซึ่งหลายกรณีเกิดขึ้นในพื้นที่ที่ไม่มีนโยบายที่เหมาะสมในการให้การรักษาผู้ป่วยที่เป็นคนต่างชาติ
“ตัวอย่างแรงงานไทย 2 คน ในจังหวัดนางาโน และจังหวัดอิบระรากิ ที่แม้ว่าจะได้รับการรักษาในญี่ปุ่นและกลับประเทศไทยในเวลาต่อมา แต่เพราะความล่าช้าในการรักษาระหว่างอยู่ที่ประเทศญี่ปุ่น ทำให้คนหนึ่งต้องกลายเป็นผู้พิการ ขณะที่อีกคนหนึ่งเสียชีวิตหลังกลับมาได้ไม่นาน” นายบริพัตร กล่าว
ทั้งนี้ ในจดหมายดังกล่าว ระบุว่า รัฐบาลญี่ปุ่นและรัฐบาลท้องถิ่น ควรจะจัดสรรเงินงบประมาณอย่างเพียงพอเพื่อสนับสนุนสถานพยาบาลต่างๆ ในการดูแลผู้ป่วยต่างชาติกรณีฉุกเฉิน เพราะไม่เช่นนั้นจะเป็นการทำลายชื่อเสียงของญี่ปุ่นในฐานะประเทศที่ให้ความช่วยเหลือผู้ป่วยเอดส์ด้วยเงินจำนวนมากเป็นอันดับ 3 ผ่านกองทุนโลก (Global Fund) แต่กลับปล่อยให้มีคนที่อาศัยบนแผ่นดินญี่ปุ่นเองต้องเสียชีวิตเพราะเข้าไม่ถึงการรักษา
นอกจากนี้ เจ้าหน้าที่สาธารณสุขและหน่วยงานรัฐในญี่ปุ่นที่เกี่ยวข้องจะต้องเป็นผู้ชี้นำให้สถานพยาบาลหันมารักษาผู้ป่วยในกรณีฉุกเฉินอย่างเหมาะสม โดยไม่เลือกสัญชาติหรือสถานะของวีซ่า จนกระทั่งคนเหล่านี้มีอาการดีขึ้นพอที่จะเดินทางกลับประเทศได้อย่างปลอดภัย สำหรับสำนักตรวจคนเข้าเมืองและตำรวจก็ควรเปิดโอกาสให้แรงงานที่เจ็บป่วยแต่ไม่มีเอกสาร ได้รับการรักษาตามความจำเป็น
จดหมายระบุด้วยว่า ในปัจจุบัน ประเทศไทยสามารถจัดระบบการรักษาโรคเอดส์ที่ดีมีประสิทธิภาพโดยที่ผู้ป่วยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย ซึ่งสามารถช่วยชีวิตผู้ป่วย-ผู้ติดเชื้อชาวไทยได้หากแพทย์ในประเทศญี่ปุ่นทำการรักษาโรคฉวยโอกาสและส่งตัวผู้ป่วยกลับมารักษาต่อในประเทศไทยอย่างเหมาะสม ผู้ป่วยก็จะมีโอกาสมีชีวิตรอดสูง
“กรุณาอย่าปฏิเสธการรักษา เพราะนั่นเท่ากับท่านหยิบยื่นความตายให้กับเขาและยิ่งซ้ำเติมการแก้ปัญหาเอดส์ในญี่ปุ่น เราหวังว่า จดหมายฉบับนี้จะช่วยกระตุ้นให้หน่วยงานและองค์กรที่เกี่ยวข้องหันมาปรับเปลี่ยนท่าทีต่อแรงงานข้ามชาติในประเทศญี่ปุ่นที่ติดเชื้อเอชไอวี เพื่อเป็นการเคารพต่อสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานของทุกคนและเพื่อทำให้ญี่ปุ่นเป็นส่วนหนึ่งของการไปสู่เป้าหมายแห่งสหัสวรรษที่ต้องการให้ทุกคนบนโลกใบนี้เข้าถึงการรักษาเอชไอวี/เอดส์ ภายในปี 2010” จดหมายระบุ
ทั้งนี้ ในวันเดียวกันนี้ นายฮิโรชิ ฮาเซกาวา (Hiroshi Hasegawa) ประธานเครือข่ายผู้ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ ญี่ปุ่น (The Japanese Network of People Living with HIV/AIDS (JaNP+)) ได้ร่วมกับองค์กรพัฒนาเอกชน และแพทย์ชาวญี่ปุ่นจัดการแถลงข่าว ณ กรุงโตเกียว เพื่อสนับสนุนจดหมายของเครือข่ายผู้ติดเชื้อฯไทยในครั้งนี้ด้วย
วันนี้ (30 ก.ค.) นายบริพัตร ดอนมอญ ประธานเครือข่ายผู้ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ ประเทศไทย กล่าวว่า เครือข่ายผู้ติดเชื้อฯ พร้อมด้วย มูลนิธิเข้าถึงเอดส์ มูลนิธิศูนย์พิทักษ์สิทธิด้านเอดส์ และคณะกรรมการองค์การพัฒนาเอกชนด้านเอดส์ (กพอ.) ได้ทำจดหมายถึง นายยาสุโอะ ฟุคุดะ นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น, นายจิน มูไร ผู้ว่าการจังหวัดนางาโน, นายมาซารุ ฮาชิโมะโตะ ผู้ว่าการจังหวัดอิบะรากิ ผ่านทางสถานเอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทย กรณีการปฏิบัติต่อแรงงานไทยที่ติดเชื้อเอชไอวีในประเทศญี่ปุ่น 2 คน ซึ่งเป็นกรณีตัวอย่างที่สะท้อนปัญหาแรงงานไทยที่ป่วยเป็นโรคเอดส์ในประเทศญี่ปุ่น และต้องเสียชีวิต เพราะไม่ได้รับการรักษาพยาบาล ซึ่งหลายกรณีเกิดขึ้นในพื้นที่ที่ไม่มีนโยบายที่เหมาะสมในการให้การรักษาผู้ป่วยที่เป็นคนต่างชาติ
“ตัวอย่างแรงงานไทย 2 คน ในจังหวัดนางาโน และจังหวัดอิบระรากิ ที่แม้ว่าจะได้รับการรักษาในญี่ปุ่นและกลับประเทศไทยในเวลาต่อมา แต่เพราะความล่าช้าในการรักษาระหว่างอยู่ที่ประเทศญี่ปุ่น ทำให้คนหนึ่งต้องกลายเป็นผู้พิการ ขณะที่อีกคนหนึ่งเสียชีวิตหลังกลับมาได้ไม่นาน” นายบริพัตร กล่าว
ทั้งนี้ ในจดหมายดังกล่าว ระบุว่า รัฐบาลญี่ปุ่นและรัฐบาลท้องถิ่น ควรจะจัดสรรเงินงบประมาณอย่างเพียงพอเพื่อสนับสนุนสถานพยาบาลต่างๆ ในการดูแลผู้ป่วยต่างชาติกรณีฉุกเฉิน เพราะไม่เช่นนั้นจะเป็นการทำลายชื่อเสียงของญี่ปุ่นในฐานะประเทศที่ให้ความช่วยเหลือผู้ป่วยเอดส์ด้วยเงินจำนวนมากเป็นอันดับ 3 ผ่านกองทุนโลก (Global Fund) แต่กลับปล่อยให้มีคนที่อาศัยบนแผ่นดินญี่ปุ่นเองต้องเสียชีวิตเพราะเข้าไม่ถึงการรักษา
นอกจากนี้ เจ้าหน้าที่สาธารณสุขและหน่วยงานรัฐในญี่ปุ่นที่เกี่ยวข้องจะต้องเป็นผู้ชี้นำให้สถานพยาบาลหันมารักษาผู้ป่วยในกรณีฉุกเฉินอย่างเหมาะสม โดยไม่เลือกสัญชาติหรือสถานะของวีซ่า จนกระทั่งคนเหล่านี้มีอาการดีขึ้นพอที่จะเดินทางกลับประเทศได้อย่างปลอดภัย สำหรับสำนักตรวจคนเข้าเมืองและตำรวจก็ควรเปิดโอกาสให้แรงงานที่เจ็บป่วยแต่ไม่มีเอกสาร ได้รับการรักษาตามความจำเป็น
จดหมายระบุด้วยว่า ในปัจจุบัน ประเทศไทยสามารถจัดระบบการรักษาโรคเอดส์ที่ดีมีประสิทธิภาพโดยที่ผู้ป่วยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย ซึ่งสามารถช่วยชีวิตผู้ป่วย-ผู้ติดเชื้อชาวไทยได้หากแพทย์ในประเทศญี่ปุ่นทำการรักษาโรคฉวยโอกาสและส่งตัวผู้ป่วยกลับมารักษาต่อในประเทศไทยอย่างเหมาะสม ผู้ป่วยก็จะมีโอกาสมีชีวิตรอดสูง
“กรุณาอย่าปฏิเสธการรักษา เพราะนั่นเท่ากับท่านหยิบยื่นความตายให้กับเขาและยิ่งซ้ำเติมการแก้ปัญหาเอดส์ในญี่ปุ่น เราหวังว่า จดหมายฉบับนี้จะช่วยกระตุ้นให้หน่วยงานและองค์กรที่เกี่ยวข้องหันมาปรับเปลี่ยนท่าทีต่อแรงงานข้ามชาติในประเทศญี่ปุ่นที่ติดเชื้อเอชไอวี เพื่อเป็นการเคารพต่อสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานของทุกคนและเพื่อทำให้ญี่ปุ่นเป็นส่วนหนึ่งของการไปสู่เป้าหมายแห่งสหัสวรรษที่ต้องการให้ทุกคนบนโลกใบนี้เข้าถึงการรักษาเอชไอวี/เอดส์ ภายในปี 2010” จดหมายระบุ
ทั้งนี้ ในวันเดียวกันนี้ นายฮิโรชิ ฮาเซกาวา (Hiroshi Hasegawa) ประธานเครือข่ายผู้ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ ญี่ปุ่น (The Japanese Network of People Living with HIV/AIDS (JaNP+)) ได้ร่วมกับองค์กรพัฒนาเอกชน และแพทย์ชาวญี่ปุ่นจัดการแถลงข่าว ณ กรุงโตเกียว เพื่อสนับสนุนจดหมายของเครือข่ายผู้ติดเชื้อฯไทยในครั้งนี้ด้วย