“กษมา” ระบุโรงเรียนกดเกรดมาก 10 โรง เป็นโรงเรียนยอดนิยม อยู่ในกรุงเทพฯ 5 ต่างจังหวัด 5 เตรียมเชิญ ร.ร.ที่กดเกรด และปล่อยเกรดมากมาหารือ
คุณหญิงกษมา วรวรรณ ณ อยุธยา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) กล่าวว่า ขอให้ทาง นายศิริชัย กาญจนาวสี ผู้อำนวยการศูนย์ทดสอบและประเมินเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาวิชาชีพ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ช่วยวิเคราะห์ข้อมูลของโรงเรียนที่ปล่อยเกรดและกดเกรดว่า สำหรับโรงเรียนปล่อยเกรด มีทั้งหมด 1,220 แห่ง เป็นโรงเรียนที่ปล่อยเกรดมาก 13 แห่ง ค่อนข้างมาก 62 แห่ง ค่อนข้างน้อย 334 แห่ง ปล่อยน้อย 811 แห่ง ส่วนโรงเรียนที่ปล่อยกดเกรด ทั้งหมด 1,237 แห่ง แบ่งเป็นโรงเรียนกดเกรดมาก 1 แห่ง ค่อนข้างมาก 19 แห่ง ค่อนข้างน้อย 213 แห่ง และกดน้อย 1,047 แห่ง โรงเรียนที่ให้เกรดปกติทั้งหมด 126 แห่ง ซึ่งมีโรงเรียนที่ปล่อยเกรดมากและค่อนข้างมาก 75 แห่งนั้น เป็นโรงเรียนศึกษาพิเศษ 5 แห่ง ที่เหลือส่วนใหญ่เป็นโรงเรียนขนาดเล็ก และจากข้อมูลจาก สพฐ.พบว่า โรงเรียนขนาดเล็ก 793 แห่ง ไม่มีนักเรียนสมัครแอดมิชชัน ส่วนสอบตรงอาจจะมีแต่ สพฐ.ไม่มีข้อมูล โรงเรียนขนาดเล็กที่ปล่อยเกรดอาจอยู่ในกลุ่มนี้
อย่างไรก็ตาม สพฐ.จะประสานกับสำนักทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (สทศ.) ขอคะแนน O-NET ปี 2550 มาวิเคราะห์ด้วยว่ามีการกดเกรดหรือปล่อยเกรดต่อเนื่องอย่างไร
คุณหญิงกษมา กล่าวว่า โรงเรียนที่กดเกรดมาก และค่อนข้างมากส่วนใหญ่จะเป็นโรงเรียนดัง และโรงเรียนขนาดใหญ่ 5 โรงอยู่ใน กทม. ที่เหลืออยู่ในต่างจังหวัด อย่างไรก็ตาม จะมีการเชิญโรงเรียนที่ปล่อยเกรดและกดเกรดมาหารือกันในเร็วๆ นี้ หรืออาจจะส่งคนลงดูในโรงเรียนเหล่านี้
คุณหญิงกษมา วรวรรณ ณ อยุธยา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) กล่าวว่า ขอให้ทาง นายศิริชัย กาญจนาวสี ผู้อำนวยการศูนย์ทดสอบและประเมินเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาวิชาชีพ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ช่วยวิเคราะห์ข้อมูลของโรงเรียนที่ปล่อยเกรดและกดเกรดว่า สำหรับโรงเรียนปล่อยเกรด มีทั้งหมด 1,220 แห่ง เป็นโรงเรียนที่ปล่อยเกรดมาก 13 แห่ง ค่อนข้างมาก 62 แห่ง ค่อนข้างน้อย 334 แห่ง ปล่อยน้อย 811 แห่ง ส่วนโรงเรียนที่ปล่อยกดเกรด ทั้งหมด 1,237 แห่ง แบ่งเป็นโรงเรียนกดเกรดมาก 1 แห่ง ค่อนข้างมาก 19 แห่ง ค่อนข้างน้อย 213 แห่ง และกดน้อย 1,047 แห่ง โรงเรียนที่ให้เกรดปกติทั้งหมด 126 แห่ง ซึ่งมีโรงเรียนที่ปล่อยเกรดมากและค่อนข้างมาก 75 แห่งนั้น เป็นโรงเรียนศึกษาพิเศษ 5 แห่ง ที่เหลือส่วนใหญ่เป็นโรงเรียนขนาดเล็ก และจากข้อมูลจาก สพฐ.พบว่า โรงเรียนขนาดเล็ก 793 แห่ง ไม่มีนักเรียนสมัครแอดมิชชัน ส่วนสอบตรงอาจจะมีแต่ สพฐ.ไม่มีข้อมูล โรงเรียนขนาดเล็กที่ปล่อยเกรดอาจอยู่ในกลุ่มนี้
อย่างไรก็ตาม สพฐ.จะประสานกับสำนักทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (สทศ.) ขอคะแนน O-NET ปี 2550 มาวิเคราะห์ด้วยว่ามีการกดเกรดหรือปล่อยเกรดต่อเนื่องอย่างไร
คุณหญิงกษมา กล่าวว่า โรงเรียนที่กดเกรดมาก และค่อนข้างมากส่วนใหญ่จะเป็นโรงเรียนดัง และโรงเรียนขนาดใหญ่ 5 โรงอยู่ใน กทม. ที่เหลืออยู่ในต่างจังหวัด อย่างไรก็ตาม จะมีการเชิญโรงเรียนที่ปล่อยเกรดและกดเกรดมาหารือกันในเร็วๆ นี้ หรืออาจจะส่งคนลงดูในโรงเรียนเหล่านี้