หมอรุมค้าน พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค ที่มีผลบังคับใช้ 23 ส.ค.นี้ ชี้ เพิ่มอายุความจาก 1 ปี เป็น 3-10 ปี นับแต่วันที่รู้ถึงความเสียหาย หวั่นฟ้องร้องสูงขึ้นอีก ขณะที่ “วิชาญ” ลั่นทำอะไรไม่ได้ ต้องเตรียมพร้อมหารือทุกฝ่ายรับมือ ด้านศาลยันไม่กระทบ เพราะใช้ตามกฎหมายที่มีอยู่
วันที่ 25 ก.ค.นายวิชาญ มีนชัยนันท์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า ได้ประชุมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับงานคุ้มครองผู้บริโภค อาทิ เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา ผู้แทนสำนักงานศาลยุติธรรม สภาวิชาชีพต่างๆ ประธานชมรมแพทย์ชนบท และผู้บริหารกระทรวงสาธารณสุข เพื่อเตรียมความพร้อมและผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นจากพ.ร.บ.วิธีพิจารณคดีผู้บริโภคที่จะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 23 ส.ค.เนื่องจากในพ.ร.บ.ดังกล่าวอาจทำให้เกิดการฟ้องร้องที่ง่ายขึ้น และจะทำให้ฟ้องร้องบุคลากรทางการแพทย์เพิ่มมากขึ้นด้วย
นายวิชาญ กล่าวว่า กฎหมายดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ความเป็นธรรมแก่ประชาชนที่ได้รับผลกระทบ ความเสียหาย จากการบริโภคสินค้าต่างๆ รวมถึงบริการทางด้านการแพทย์ด้วย อาทิ มาตรา13 ระบุว่า ถ้าผู้ประกอบการดำเนินการไปแล้ว ก่อให้เกิดความเสียหายต่อชีวิต ร่างกาย สุขภาพ หรืออนามัยแก่บุคคลใดบุคคลหนึ่ง โดยผลสะสมอยู่ในร่างกาย แต่ยังแสดงอาการ รู้ตัวผู้ประกอบธุรกิจที่ต้องรับผิดชอบ ขยายอายุความจากกฎหมายละเมิดเดิมที่ใช้ขณะนี้ คือ 1 ปี เป็น 3 ปีและไม่เกิน 10 ปี นับตั้งแต่วันรู้ถึงความเสียหายและมาตรา 40 ให้ศาลที่พิพากษาให้ผู้บริโภคชนะคดี โดยได้รับชดเชยค่าเสียหาย ให้สามารถสงวนสิทธิ์ที่จะแก้ไขคำพิพากษา เพิ่มค่าเสียหายในภายหลังได้ ถ้าปรากฏว่าเสียหายเพิ่มขึ้นหรือเดือดร้อนมากขึ้น ให้ศาลแก้ไขคำพิพากษาเดิมได้ไม่เกิน 10 ปี นายวิชาญ กล่าว
“ในส่วนที่ภาคเอกชนกังวลว่า ไม่เกิดความชัดเจน ว่าจะเข้าข่ายกฎหมายนี้ด้วยหรือไม่ คงต้องรอให้กฎหมายมีผลบังคับใช้และให้ประธานศาลอุทธรณ์พิจารณาคดีเป็นกรณีตัวอย่างเสียก่อน ส่วนตัวเห็นว่า ไม่เพียงภาคเอกชนเท่านั้นที่เป็นการเข้าข่ายเป็นผู้ให้บริการโดยมีการรับจ้าง สธ.ก็เข้าข่ายทั้งหมดด้วย เพราะมีการทำสัญญางบประมาณรายหัวจากสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติด้วย และแม้ว่ายังไม่มีบทพิสูจน์อะไรว่าจะเกิดปัญหาขึ้นหลังกฎหมายมีผลบังคับใช้แล้ว ดังนั้น ภายหลังจากกฎหมายมีผลบังคับใช้ และเกิดผลกระทบหรือไม่ อย่างไรคงต้องปรับแก้ต่อไป” นายวิชาญ กล่าว
นายวิชาญ กล่าวว่า ขณะนี้แพทย์ทั้งหลายต่างไม่กล้าที่จะรักษาเหมือนเดิม จึงเกิดความกังวลหากกฎหมายดังกล่าวมีผลบังคับใช้ ซึ่งแพทย์จะกลัวเรื่องการฟ้องร้องที่จะเพิ่มมากขึ้น เพราะที่ผ่านมาแนวโน้มการฟ้องร้องก็เพิ่มมากขึ้น เฉลี่ยปีละประมาณ 150 เรื่อง สาเหตุการร้องเรียนมากที่สุดคือ ไม่รักษามาตรฐาน ส่วนคดีฟ้องร้องแพทย์เข้าสู่ศาลยุติธรรม สาเหตุอันดับ 1 ได้แก่ ผลแทรกซ้อนร้ายแรงจากการรักษา รองลงมาเป็น ความคาดหวังต่อผลสำเร็จสูง การได้รับข้อมูลไม่พอไม่ตรงกัน รวมทั้งเพื่อเรียกร้องค่าชดเชย ซึ่งหากเป็นเช่นนี้ในอนาคตโรงพยาบาลเอกชนคงจะซื้อประกันความเสี่ยงเพื่อป้องกันการฟ้องร้องเพิ่มมากขึ้น
ทั้งนี้ ได้สั่งการให้ทุกจังหวัด เปิดสายด่วน 1669 รับเรื่องร้องทุกข์จากประชาชนในด้านบริการ การรักษาพยาบาล อาหารและยาที่ไม่ปลอดภัย ตลอด 24 ชั่วโมง เริ่มดำเนินงานพร้อมกัน 76 จังหวัด เพื่อขจัดปัญหาที่มีต่อสุขภาพอนามัยให้รวดเร็วที่สุด
ด้าน นายดล บุนนาค ผู้พิพากษาศาลชั้นต้นประจำสำนักประธานศาลฎีกา กล่าวว่า กฎหมายดังกล่าวให้ความสำคัญในการเป็นเครื่องมือกับผู้บริโภค เพราะช่องทางการฟ้องร้อง รวดเร็ว และไม่ต้องเสียค่าธรราเนียมศาล แต่ถ้าฟ้องร้องเพราะกลั่นแกล้ง ก็ต้องจ่ายในภายหลัง และการพิจารณาคดีก็เป็นไปตามกฎหมายหลักที่มีอยู่ ได้แก่ กฎหมายแพ่ง และอาญา อย่างไรก็ตามไม่คิดว่าจะส่งผลให้เกิดการฟ้องร้องแพทย์เพิ่มมากขึ้น เพราะมีระบบการกลั่นกรองเรื่องฟ้องร้อง โดยมีประธานศาลอุทธรณ์เป็นผู้วินิจฉัยเรื่องการฟ้องร้องทั้งหมด ว่า คดีใดมีมูลนำเรื่องเข้าพิจารณาคดี ส่วนแพทย์จะรับโทษทางแพ่งหรืออาญามากขึ้นหรือไม่นั้น ก็ไม่เกี่ยวข้องกัน เพราะขึ้นอยู่กับพฤติกรรมการกระทำผิด ซึ่งศาลมีกระบวนการพิจารณาคดีอย่างเป็นธรรมอยู่แล้ว
ขณะที่ นพ.อำนาจ กุสลานันท์ เลขาธิการแพทยสภา กล่าวว่า หากสธ.ไม่ดำเนินการถามความชัดเจนไปยังประธานศาลอุทธรณ์ สำนักงานอัยการสูงสุด สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา เพื่อตีความว่า โรงพยาบาลเอกชนเข้าข่ายตาม พ.ร.บ.นี้หรือไม่ แพทยสภาจะดำเนินการถามเอง เนื่องจากหากไม่เกิดความชัดเจนจะกระทบกระเทือนต่อการรักษาพยาบาลคนไข้ เพราะถ้าแพทย์เกิดความกังวลว่าจะถูกฟ้องร้องมากขึ้น จากข้อมูลของเครือข่ายผู้เสียหายทางการแพทย์ อ้างอิงว่า แพทย์ส่วนของสธ.ถูกฟ้องร้องแพ่งจำนวน 70 ราย ส่วนภาคเอกชน มีประมาณ 400-500 ราย แต่เชื่อว่าภาคเอกชนน่าจะมีเพียง 200-300 รายเท่านั้น ซึ่งมีแนวโน้มจะสูงขึ้นหากกฎหมายดังกล่าวมีผลบังคับใช้
“หากกฎหมายดังกล่าวจะทำให้การฟ้องร้องแพทย์ผู้ให้บริการโดยเฉพาะคดี แพ่งเพิ่มมากขึ้น แพทยสภาเป็นห่วงว่าจะกระทบต่อการรักษาพยาบาล เพราะมีโอกาสค่ารักษาพยาบาลจะแพงขึ้น เพราะโรงพยาบาลเอกชนอาจขึ้นค่ารักษาพยาบาลเพื่อเตรียมการหากถูกฟ้องร้องแพ่ง รวมถึงไม่อยากให้เกิดการทำประกันภัยการฟ้องร้องด้วย ทั้งนี้ หากโรงพยาบาลเอกชนไม่เข้าข่ายกฎหมายดังกล่าว ผู้ให้บริการทางด้านสาธารณสุขก็ยังมีกฎหมายพ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายจากการบริการสาธารณสุขที่อยู่ระหว่างการพิจารณาของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ซึ่งถือว่าเป็นกฎหมายอีกฉบับที่ดูแลด้านการคุ้มครองผู้บริโภคโดยตรงมาดูแลเรื่องดังกล่าวเช่นกัน” นพ.อำนาจ กล่าว
นพ.เอื้อชาติ กาญจนพิทักษ์ นายกสมาคมโรงพยาบาลเอกชน กล่าวว่า ถ้ามีปัญหาการฟ้องร้องเพิ่มมากขึ้นในฐานะที่สมาคมอยู่ภายใต้การดูแลของกองการประกอบโรคศิลปะ กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข ดังนั้น หากจะดำเนินการอะไรก็ขอเป็นผู้ตาม ให้ สธ.นำไปก่อน
วันที่ 25 ก.ค.นายวิชาญ มีนชัยนันท์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า ได้ประชุมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับงานคุ้มครองผู้บริโภค อาทิ เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา ผู้แทนสำนักงานศาลยุติธรรม สภาวิชาชีพต่างๆ ประธานชมรมแพทย์ชนบท และผู้บริหารกระทรวงสาธารณสุข เพื่อเตรียมความพร้อมและผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นจากพ.ร.บ.วิธีพิจารณคดีผู้บริโภคที่จะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 23 ส.ค.เนื่องจากในพ.ร.บ.ดังกล่าวอาจทำให้เกิดการฟ้องร้องที่ง่ายขึ้น และจะทำให้ฟ้องร้องบุคลากรทางการแพทย์เพิ่มมากขึ้นด้วย
นายวิชาญ กล่าวว่า กฎหมายดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ความเป็นธรรมแก่ประชาชนที่ได้รับผลกระทบ ความเสียหาย จากการบริโภคสินค้าต่างๆ รวมถึงบริการทางด้านการแพทย์ด้วย อาทิ มาตรา13 ระบุว่า ถ้าผู้ประกอบการดำเนินการไปแล้ว ก่อให้เกิดความเสียหายต่อชีวิต ร่างกาย สุขภาพ หรืออนามัยแก่บุคคลใดบุคคลหนึ่ง โดยผลสะสมอยู่ในร่างกาย แต่ยังแสดงอาการ รู้ตัวผู้ประกอบธุรกิจที่ต้องรับผิดชอบ ขยายอายุความจากกฎหมายละเมิดเดิมที่ใช้ขณะนี้ คือ 1 ปี เป็น 3 ปีและไม่เกิน 10 ปี นับตั้งแต่วันรู้ถึงความเสียหายและมาตรา 40 ให้ศาลที่พิพากษาให้ผู้บริโภคชนะคดี โดยได้รับชดเชยค่าเสียหาย ให้สามารถสงวนสิทธิ์ที่จะแก้ไขคำพิพากษา เพิ่มค่าเสียหายในภายหลังได้ ถ้าปรากฏว่าเสียหายเพิ่มขึ้นหรือเดือดร้อนมากขึ้น ให้ศาลแก้ไขคำพิพากษาเดิมได้ไม่เกิน 10 ปี นายวิชาญ กล่าว
“ในส่วนที่ภาคเอกชนกังวลว่า ไม่เกิดความชัดเจน ว่าจะเข้าข่ายกฎหมายนี้ด้วยหรือไม่ คงต้องรอให้กฎหมายมีผลบังคับใช้และให้ประธานศาลอุทธรณ์พิจารณาคดีเป็นกรณีตัวอย่างเสียก่อน ส่วนตัวเห็นว่า ไม่เพียงภาคเอกชนเท่านั้นที่เป็นการเข้าข่ายเป็นผู้ให้บริการโดยมีการรับจ้าง สธ.ก็เข้าข่ายทั้งหมดด้วย เพราะมีการทำสัญญางบประมาณรายหัวจากสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติด้วย และแม้ว่ายังไม่มีบทพิสูจน์อะไรว่าจะเกิดปัญหาขึ้นหลังกฎหมายมีผลบังคับใช้แล้ว ดังนั้น ภายหลังจากกฎหมายมีผลบังคับใช้ และเกิดผลกระทบหรือไม่ อย่างไรคงต้องปรับแก้ต่อไป” นายวิชาญ กล่าว
นายวิชาญ กล่าวว่า ขณะนี้แพทย์ทั้งหลายต่างไม่กล้าที่จะรักษาเหมือนเดิม จึงเกิดความกังวลหากกฎหมายดังกล่าวมีผลบังคับใช้ ซึ่งแพทย์จะกลัวเรื่องการฟ้องร้องที่จะเพิ่มมากขึ้น เพราะที่ผ่านมาแนวโน้มการฟ้องร้องก็เพิ่มมากขึ้น เฉลี่ยปีละประมาณ 150 เรื่อง สาเหตุการร้องเรียนมากที่สุดคือ ไม่รักษามาตรฐาน ส่วนคดีฟ้องร้องแพทย์เข้าสู่ศาลยุติธรรม สาเหตุอันดับ 1 ได้แก่ ผลแทรกซ้อนร้ายแรงจากการรักษา รองลงมาเป็น ความคาดหวังต่อผลสำเร็จสูง การได้รับข้อมูลไม่พอไม่ตรงกัน รวมทั้งเพื่อเรียกร้องค่าชดเชย ซึ่งหากเป็นเช่นนี้ในอนาคตโรงพยาบาลเอกชนคงจะซื้อประกันความเสี่ยงเพื่อป้องกันการฟ้องร้องเพิ่มมากขึ้น
ทั้งนี้ ได้สั่งการให้ทุกจังหวัด เปิดสายด่วน 1669 รับเรื่องร้องทุกข์จากประชาชนในด้านบริการ การรักษาพยาบาล อาหารและยาที่ไม่ปลอดภัย ตลอด 24 ชั่วโมง เริ่มดำเนินงานพร้อมกัน 76 จังหวัด เพื่อขจัดปัญหาที่มีต่อสุขภาพอนามัยให้รวดเร็วที่สุด
ด้าน นายดล บุนนาค ผู้พิพากษาศาลชั้นต้นประจำสำนักประธานศาลฎีกา กล่าวว่า กฎหมายดังกล่าวให้ความสำคัญในการเป็นเครื่องมือกับผู้บริโภค เพราะช่องทางการฟ้องร้อง รวดเร็ว และไม่ต้องเสียค่าธรราเนียมศาล แต่ถ้าฟ้องร้องเพราะกลั่นแกล้ง ก็ต้องจ่ายในภายหลัง และการพิจารณาคดีก็เป็นไปตามกฎหมายหลักที่มีอยู่ ได้แก่ กฎหมายแพ่ง และอาญา อย่างไรก็ตามไม่คิดว่าจะส่งผลให้เกิดการฟ้องร้องแพทย์เพิ่มมากขึ้น เพราะมีระบบการกลั่นกรองเรื่องฟ้องร้อง โดยมีประธานศาลอุทธรณ์เป็นผู้วินิจฉัยเรื่องการฟ้องร้องทั้งหมด ว่า คดีใดมีมูลนำเรื่องเข้าพิจารณาคดี ส่วนแพทย์จะรับโทษทางแพ่งหรืออาญามากขึ้นหรือไม่นั้น ก็ไม่เกี่ยวข้องกัน เพราะขึ้นอยู่กับพฤติกรรมการกระทำผิด ซึ่งศาลมีกระบวนการพิจารณาคดีอย่างเป็นธรรมอยู่แล้ว
ขณะที่ นพ.อำนาจ กุสลานันท์ เลขาธิการแพทยสภา กล่าวว่า หากสธ.ไม่ดำเนินการถามความชัดเจนไปยังประธานศาลอุทธรณ์ สำนักงานอัยการสูงสุด สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา เพื่อตีความว่า โรงพยาบาลเอกชนเข้าข่ายตาม พ.ร.บ.นี้หรือไม่ แพทยสภาจะดำเนินการถามเอง เนื่องจากหากไม่เกิดความชัดเจนจะกระทบกระเทือนต่อการรักษาพยาบาลคนไข้ เพราะถ้าแพทย์เกิดความกังวลว่าจะถูกฟ้องร้องมากขึ้น จากข้อมูลของเครือข่ายผู้เสียหายทางการแพทย์ อ้างอิงว่า แพทย์ส่วนของสธ.ถูกฟ้องร้องแพ่งจำนวน 70 ราย ส่วนภาคเอกชน มีประมาณ 400-500 ราย แต่เชื่อว่าภาคเอกชนน่าจะมีเพียง 200-300 รายเท่านั้น ซึ่งมีแนวโน้มจะสูงขึ้นหากกฎหมายดังกล่าวมีผลบังคับใช้
“หากกฎหมายดังกล่าวจะทำให้การฟ้องร้องแพทย์ผู้ให้บริการโดยเฉพาะคดี แพ่งเพิ่มมากขึ้น แพทยสภาเป็นห่วงว่าจะกระทบต่อการรักษาพยาบาล เพราะมีโอกาสค่ารักษาพยาบาลจะแพงขึ้น เพราะโรงพยาบาลเอกชนอาจขึ้นค่ารักษาพยาบาลเพื่อเตรียมการหากถูกฟ้องร้องแพ่ง รวมถึงไม่อยากให้เกิดการทำประกันภัยการฟ้องร้องด้วย ทั้งนี้ หากโรงพยาบาลเอกชนไม่เข้าข่ายกฎหมายดังกล่าว ผู้ให้บริการทางด้านสาธารณสุขก็ยังมีกฎหมายพ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายจากการบริการสาธารณสุขที่อยู่ระหว่างการพิจารณาของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ซึ่งถือว่าเป็นกฎหมายอีกฉบับที่ดูแลด้านการคุ้มครองผู้บริโภคโดยตรงมาดูแลเรื่องดังกล่าวเช่นกัน” นพ.อำนาจ กล่าว
นพ.เอื้อชาติ กาญจนพิทักษ์ นายกสมาคมโรงพยาบาลเอกชน กล่าวว่า ถ้ามีปัญหาการฟ้องร้องเพิ่มมากขึ้นในฐานะที่สมาคมอยู่ภายใต้การดูแลของกองการประกอบโรคศิลปะ กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข ดังนั้น หากจะดำเนินการอะไรก็ขอเป็นผู้ตาม ให้ สธ.นำไปก่อน