สาวไตหาย ไม่ไว้ใจแพทยสภา เข้าร้องเรียนคณะกรรมการสิทธิฯ ขอให้ตรวจสอบไตหาย รพ.กรุงธน 2 เกี่ยวข้องด้วยหรือไม่ พร้อมดูแลสุขภาพต่อไป ขณะที่ แพทยสภาเตรียมเชิญแพทย์เชี่ยวชาญโรคไต อธิบาย ทำความเข้าใจ
เมื่อเวลา 13.00 น.วันที่ 21 กรกฎาคม นางเกษร พุ่มแจ่ม อายุ 43 ปี ชาวจังหวัดสมุทรปราการ ที่ได้ร้องเรียนกับแพทยสภา ก่อนหน้านี้ ว่า ไตหายไปหลังจากผ่าตัดซีสต์ที่มดลูก พร้อมญาติ และ นางปรียนันท์ ล้อเสริมวัฒนา ประธานเครือข่ายผู้ได้รับความเสียหายทางการแพทย์ เดินทางไปยื่นหนังสือร้องเรียนต่อสำนักงานคณะกรรมสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ โดยมีนางสุนี ไชยรส กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ เป็นผู้รับเรื่องร้องทุกข์
นางเกษร กล่าวว่า ขณะนี้ คณะกรรมการสิทธิฯ ได้รับเรื่องไว้แล้ว โดยตนขอให้กรรมการสิทธิฯ ตรวจสอบว่า การที่ไตหายไปนั้น โรงพยาบาลกรุงธน 2 มีส่วนเกี่ยวข้องด้วยหรือไม่ รวมทั้งร้องขอให้คณะกรรมการสิทธิฯ ช่วยดูแลสุขภาพต่อจากนี้ โดยเป็นผู้ดำเนินการพาไปส่องกล้องตรวจดูท่อไตทั้ง 2 ข้าง เนื่องจากมีความไม่ไว้วางใจ และกลัวที่จะต้องไปกับแพทยสภา ซึ่งคาดว่า คณะกรรมการสิทธิฯ จะนำเรื่องนี้เข้าที่ประชุมคณะกรรมการและทราบผลในวันที่ 24 ก.ค.นี้
นางเกษร กล่าวต่อว่า ส่วนกรณีที่แพทยสภาจะเชิญแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับโรคไต มาให้ข้อมูลและแนะแนวทางการรักษาในวนที่ 24 ก.ค.คงต้องรอผลการประชุมของคณะกรรมการสิทธิฯ ก่อน
นางเกษร กล่าวด้วยว่า สาเหตุที่มีตนและครอบครัวไม่ไว้วางใจ เนื่องจากพฤติกรรมของแพทยสภา โดยในวันที่ 17 ก.ค. นพ.สัมพันธ์ คมฤทธิ์ รองเลขาธิการแพทยสภา ได้พาไปทำการตรวจด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI) ที่ศูนย์เอ็มอาร์ไอ ประชาชื่น ซึ่งขณะที่ตนพักฟื้นอยู่ชั้น 2 นพ.สัมพันธ์ พยายามแถลงข่าวว่า ไตข้างขวาของตนนั้นฝ่อแต่กำเนิด ทั้งๆ ที่มีหลักฐานฟิล์มโรงพยาบาลกรุงเทพ พระประแดง ชัดเจน ขณะเดียวกัน ผลการอ่านฟิล์มจากทั้ง 2 แห่ง คือ ศูนย์เอ็มอาร์ ที่ประชาชื่น และผลของโรงพยาบาลราชวิถี ยังไม่ชัดเจน แต่ นพ.สัมพันธ์ กลับรีบสรุป และนำไปแถลงข่าว อีกทั้งภายหลังเมื่อตนขอข้อมูลและฟิล์มของทั้งที่โรงพยาบาลราชวิถี และศูนย์เอ็มอาร์ไอ ก็ถูกปฏิเสธ โดย ผอ.กองประกอบโรคศิลปะ อ้างว่า ให้ไม่ได้ เพราะต้องเป็นของผู้ที่พาไปตรวจ แสดงว่า มีลับลมคมใน ถือเป็นการละเมิดสิทธิขั้นพื้นฐานอย่างร้ายแรง
“นอกจากนี้ ยังสงสัยว่า ทำไมแพทยสภาไม่เรียกแพทย์ของ รพ.กรุงเทพพระประแดง ผู้อ่านฟิล์มอัลตราซาวนด์ครั้งแรกมาชี้แจง และแพทยสภาไม่ให้ทาง รพ.กรุงธน 2 ผู้ซึ่งเป็นคู่กรณีเป็นคนแถลงข่าว แต่แพทยสภาทำหน้าที่เหมือนเป็นตัวแทน รพ.กรุงธน 2 ที่ยังเก็บตัวเงียบ ถือว่าเหมาะสมแล้วหรือไม่ ดังนั้น เมื่อไม่เรียก รพ.กรุงเทพพระประแดง มาสอบถาม จึงกลายเป็นว่าคนไข้ผิด ขณะที่ รพ.กรุงธน 2 นั้น ขู่ว่า ถ้าขอเวชระเบียนไปแล้ว ให้ข่าวเสียหายต่อโรงพยาบาลจะฟ้องร้องอีกด้วย” นางเกษร กล่าว
ด้าน นพ.สมศักดิ์ โลห์เลขา นายกแพทยสภา กล่าวว่า รู้สึกเห็นใจ นางเกษร ที่อาจยังสงสัยไม่เข้าใจและทำใจไม่ได้เนื่องจากไม่รู้มาก่อนว่าไตเสีย จึงนัดให้แพทย์เชี่ยวชาญโรคไต จากคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และคณะแพทย์อื่นๆ มาที่แพทยสภาเพื่ออธิบายให้ผู้ป่วยเข้าใจ เพราะขณะนี้ผลการตรวจสอบเอ็มอาร์ไอและทีซีสแกนชัดเจนแล้วว่า ผู้ป่วยไตฝ่อ ไม่ได้ถูกขโมยไตอย่างแน่นอน โดยไม่จำเป็นต้องทำการส่องกล้องดูท่อไตอีก เนื่องจากการส่องกล้องอาจเกิดอันตรายกับผู้ป่วย เช่น การติดเชื้อ ดังนั้น หากไม่จำเป็นก็ไม่ควรทำ อย่างไรก็ดี หาก นางเกษร ไม่ต้องการคำอธิบาย แล้วไปร้องเรียนคณะกรรมการสิทธิฯ ก็สามารถทำได้ตามกระบวนการอยู่แล้ว
“แพทยสภาไม่อยากเป็นผู้พูดเอง ไม่เช่นนั้นก็จะคิดว่า ช่วยเหลือกัน ซึ่งคาดว่า ผู้ป่วยคงจะเป็นโรคไตมานานแล้ว แต่ไม่รู้ตัว เนื่องจากโรคไตนั้น ไตจะต้องถูกทำลายเกินกว่า ร้อยละ 70 จึงจะปรากฏอาการ ซึ่งกรณีเช่นนี้ เคยพบบ่อยๆ โดยที่โคราช มีการร้องเรียนในลักษณะเช่นเดียวกันนี้ แต่เมื่ออธิบายให้ฟังก็เข้าใจ” นพ.สมศักดิ์ กล่าว
นพ.สมศักดิ์ กล่าวด้วยว่า ส่วนกรณีของแพทย์ที่โรงพยาบาลกรุงเทพพระประแดง ส่งรายงานว่า พบไตทั้ง 2 ข้างนั้น ก็ไม่จำเป็นต้องสอบสวนต่อ เนื่องจากไม่เกี่ยวข้องกัน ไม่มีความผิด เนื่องจากในขณะนั้น น่าจะมีไตอยู่จริง แต่กรณีที่ผู้ป่วยไม่สบายใจกรณีได้ผ่าตัดซีสต์ที่มดลูกที่โรงพยาบาลกรุงธน 2 นั้น เพื่อความสบายใจของผู้ป่วย แพทยสภาได้ส่งเรื่องนี้เข้าสู่คณะอนุกรรมการจริยธรรมแล้ว คาดว่า จะมีการพิจารณาเรื่องดังกล่าวทันที ในการประชุมคณะอนุกรรมการจริยธรรมซึ่งมีการประชุมทุกเดือน
เมื่อเวลา 13.00 น.วันที่ 21 กรกฎาคม นางเกษร พุ่มแจ่ม อายุ 43 ปี ชาวจังหวัดสมุทรปราการ ที่ได้ร้องเรียนกับแพทยสภา ก่อนหน้านี้ ว่า ไตหายไปหลังจากผ่าตัดซีสต์ที่มดลูก พร้อมญาติ และ นางปรียนันท์ ล้อเสริมวัฒนา ประธานเครือข่ายผู้ได้รับความเสียหายทางการแพทย์ เดินทางไปยื่นหนังสือร้องเรียนต่อสำนักงานคณะกรรมสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ โดยมีนางสุนี ไชยรส กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ เป็นผู้รับเรื่องร้องทุกข์
นางเกษร กล่าวว่า ขณะนี้ คณะกรรมการสิทธิฯ ได้รับเรื่องไว้แล้ว โดยตนขอให้กรรมการสิทธิฯ ตรวจสอบว่า การที่ไตหายไปนั้น โรงพยาบาลกรุงธน 2 มีส่วนเกี่ยวข้องด้วยหรือไม่ รวมทั้งร้องขอให้คณะกรรมการสิทธิฯ ช่วยดูแลสุขภาพต่อจากนี้ โดยเป็นผู้ดำเนินการพาไปส่องกล้องตรวจดูท่อไตทั้ง 2 ข้าง เนื่องจากมีความไม่ไว้วางใจ และกลัวที่จะต้องไปกับแพทยสภา ซึ่งคาดว่า คณะกรรมการสิทธิฯ จะนำเรื่องนี้เข้าที่ประชุมคณะกรรมการและทราบผลในวันที่ 24 ก.ค.นี้
นางเกษร กล่าวต่อว่า ส่วนกรณีที่แพทยสภาจะเชิญแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับโรคไต มาให้ข้อมูลและแนะแนวทางการรักษาในวนที่ 24 ก.ค.คงต้องรอผลการประชุมของคณะกรรมการสิทธิฯ ก่อน
นางเกษร กล่าวด้วยว่า สาเหตุที่มีตนและครอบครัวไม่ไว้วางใจ เนื่องจากพฤติกรรมของแพทยสภา โดยในวันที่ 17 ก.ค. นพ.สัมพันธ์ คมฤทธิ์ รองเลขาธิการแพทยสภา ได้พาไปทำการตรวจด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI) ที่ศูนย์เอ็มอาร์ไอ ประชาชื่น ซึ่งขณะที่ตนพักฟื้นอยู่ชั้น 2 นพ.สัมพันธ์ พยายามแถลงข่าวว่า ไตข้างขวาของตนนั้นฝ่อแต่กำเนิด ทั้งๆ ที่มีหลักฐานฟิล์มโรงพยาบาลกรุงเทพ พระประแดง ชัดเจน ขณะเดียวกัน ผลการอ่านฟิล์มจากทั้ง 2 แห่ง คือ ศูนย์เอ็มอาร์ ที่ประชาชื่น และผลของโรงพยาบาลราชวิถี ยังไม่ชัดเจน แต่ นพ.สัมพันธ์ กลับรีบสรุป และนำไปแถลงข่าว อีกทั้งภายหลังเมื่อตนขอข้อมูลและฟิล์มของทั้งที่โรงพยาบาลราชวิถี และศูนย์เอ็มอาร์ไอ ก็ถูกปฏิเสธ โดย ผอ.กองประกอบโรคศิลปะ อ้างว่า ให้ไม่ได้ เพราะต้องเป็นของผู้ที่พาไปตรวจ แสดงว่า มีลับลมคมใน ถือเป็นการละเมิดสิทธิขั้นพื้นฐานอย่างร้ายแรง
“นอกจากนี้ ยังสงสัยว่า ทำไมแพทยสภาไม่เรียกแพทย์ของ รพ.กรุงเทพพระประแดง ผู้อ่านฟิล์มอัลตราซาวนด์ครั้งแรกมาชี้แจง และแพทยสภาไม่ให้ทาง รพ.กรุงธน 2 ผู้ซึ่งเป็นคู่กรณีเป็นคนแถลงข่าว แต่แพทยสภาทำหน้าที่เหมือนเป็นตัวแทน รพ.กรุงธน 2 ที่ยังเก็บตัวเงียบ ถือว่าเหมาะสมแล้วหรือไม่ ดังนั้น เมื่อไม่เรียก รพ.กรุงเทพพระประแดง มาสอบถาม จึงกลายเป็นว่าคนไข้ผิด ขณะที่ รพ.กรุงธน 2 นั้น ขู่ว่า ถ้าขอเวชระเบียนไปแล้ว ให้ข่าวเสียหายต่อโรงพยาบาลจะฟ้องร้องอีกด้วย” นางเกษร กล่าว
ด้าน นพ.สมศักดิ์ โลห์เลขา นายกแพทยสภา กล่าวว่า รู้สึกเห็นใจ นางเกษร ที่อาจยังสงสัยไม่เข้าใจและทำใจไม่ได้เนื่องจากไม่รู้มาก่อนว่าไตเสีย จึงนัดให้แพทย์เชี่ยวชาญโรคไต จากคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และคณะแพทย์อื่นๆ มาที่แพทยสภาเพื่ออธิบายให้ผู้ป่วยเข้าใจ เพราะขณะนี้ผลการตรวจสอบเอ็มอาร์ไอและทีซีสแกนชัดเจนแล้วว่า ผู้ป่วยไตฝ่อ ไม่ได้ถูกขโมยไตอย่างแน่นอน โดยไม่จำเป็นต้องทำการส่องกล้องดูท่อไตอีก เนื่องจากการส่องกล้องอาจเกิดอันตรายกับผู้ป่วย เช่น การติดเชื้อ ดังนั้น หากไม่จำเป็นก็ไม่ควรทำ อย่างไรก็ดี หาก นางเกษร ไม่ต้องการคำอธิบาย แล้วไปร้องเรียนคณะกรรมการสิทธิฯ ก็สามารถทำได้ตามกระบวนการอยู่แล้ว
“แพทยสภาไม่อยากเป็นผู้พูดเอง ไม่เช่นนั้นก็จะคิดว่า ช่วยเหลือกัน ซึ่งคาดว่า ผู้ป่วยคงจะเป็นโรคไตมานานแล้ว แต่ไม่รู้ตัว เนื่องจากโรคไตนั้น ไตจะต้องถูกทำลายเกินกว่า ร้อยละ 70 จึงจะปรากฏอาการ ซึ่งกรณีเช่นนี้ เคยพบบ่อยๆ โดยที่โคราช มีการร้องเรียนในลักษณะเช่นเดียวกันนี้ แต่เมื่ออธิบายให้ฟังก็เข้าใจ” นพ.สมศักดิ์ กล่าว
นพ.สมศักดิ์ กล่าวด้วยว่า ส่วนกรณีของแพทย์ที่โรงพยาบาลกรุงเทพพระประแดง ส่งรายงานว่า พบไตทั้ง 2 ข้างนั้น ก็ไม่จำเป็นต้องสอบสวนต่อ เนื่องจากไม่เกี่ยวข้องกัน ไม่มีความผิด เนื่องจากในขณะนั้น น่าจะมีไตอยู่จริง แต่กรณีที่ผู้ป่วยไม่สบายใจกรณีได้ผ่าตัดซีสต์ที่มดลูกที่โรงพยาบาลกรุงธน 2 นั้น เพื่อความสบายใจของผู้ป่วย แพทยสภาได้ส่งเรื่องนี้เข้าสู่คณะอนุกรรมการจริยธรรมแล้ว คาดว่า จะมีการพิจารณาเรื่องดังกล่าวทันที ในการประชุมคณะอนุกรรมการจริยธรรมซึ่งมีการประชุมทุกเดือน