xs
xsm
sm
md
lg

การออม...ลิ่งที่คนไทยยังเข้าใจผิดๆ

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

ปัจจุบันเรื่องของการออมเริ่มเข้ามามีบทบาทกับคนไทยมากขึ้น เพราะด้วยสภาพเศรษฐกิจในประเทศที่ยังเดาไม่ออกว่าไปทางไหน ทำให้หลายคนตัดสินใจเก็บออมเงินไว้เป็นดีที่สุด...และเพื่อเป็นข้อมูลให้การเก็บออม "ผู้จัดการรายวัน" ได้นำคำแนะนำดีๆ จาก "วรากรณ์ สามโกเศศ" อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ จากการบรรยายหัวข้อ "ฉลาดออมฉลาดลงทุน" มาให้ผู้อ่านได้ศึกษากัน

นายวรากรณ์ สามโกเศศ เริ่มต้นด้วยการเล่าถึงเล่าถึงเรื่องของเซอร์ วินสตัน เชอร์ชิลในการถูกเชิญไปพูดซึ่งเซอร์ วินสตัน เชอร์ชิล ต้องใช้เวลาเตรียมตัวนานถึง2เดือน และเล่าถึงเรื่องของผู้ชายคนหนึ่งที่ถูกขโมยไตไปและถูกจับนอนแช่อยู่บนนํ้าแข็งและได้โทรศัพท์ไปขอความช่วยเหลือจากโรงพยาบาซึ่งไม่รู้ว่าเป็นเรื่องจริงหรือเปล่า แต่คนอเมริกาเชื่อว่าเป็นเรื่องจริง รวมถึงของเรื่องของแม่นาคพระโขนง

เขากล่าวเปรียบเทียบเรื่องดังกล่าวว่า ที่คนจะจำได้นั้นมีสาเหตุอยู่ 5 ประการคือ 1. ต้องเป็นเรื่องเล่า 2.ต้องเป็นเรื่องที่คาดไม่ถึง 3.ต้องเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับอารมณ์ 4.เป็นเรื่องที่จับต้องได้ 5.เป็นเรื่องที่พอจะเชื่อถือได้ เป็นไปได้ แสดงให้เห็นว่าเรื่องที่พูดกันนั้นเราจำได้เพราะมีองค์ประกอบทั้ง 5 อย่าง แต่เรากลับจำเรื่องการออมไม่ได้ เพราะการออมนั้นเป็นนามธรรมไม่ได้เกี่ยวข้องกับ 5 ประการดังกล่าว ดังนั้นการออมต้องมีการพูดตอกยํ้ากันบ่อยๆ เพราะการออมไม่ได้สะกิดอยู่ในใจตลอดเวลา

นายวรากรณ์ ยังเล่าเรื่องของเศรษฐีคนหนึ่งที่เล่าให้ช่างทำรองเท้าฟังว่า ทำอย่างไรถึงจะรวย โดยเล่าว่าต้องทำเงินที่ได้รับในแต่ละวันแต่ละอาทิตย์ให้เป็นรายได้ของตนเอง โดยเก็บเงินไว้ 15-20% ไว้เป็นของตนเอง ตรงนี้ถึงจะเรียกว่ารายได้ ซึ่งอันนี้ก็คือเงินออมที่เรารู้จัก ถ้าทุกเดือนเราได้เงินมาแล้วไม่กันส่วนหนึ่งไว้เป็นของตนเองแล้ว ไม่มีวันที่จะเป็นเงินของเราอย่างแท้จริง ฉะนั้นประเด็นแรกการออม ต้องพูดเน้นยํ้าตลอดเวลาเพราะเกี่ยวเนื่องกับเรื่องของอนาคต ไม่มีใครในโลกนี้อยู่เพื่ออดีต ไม่มีใครในโลกนี้อยู่เพื่อปัจจุบัน คนที่มีปัญญาเท่านั้นจึงจะอยู่เพื่ออนาคต แต่มนุษย์นั้นไม่มีสันชาติญาณในการอยู่เพื่ออนาคตเท่ากับสัตว์

ยกตัวอย่าง กระต่ายเวลาที่ท้องจะกัดขนของตนทำเป็นรังให้ลูกนอน นกเวลาจะทำรังจะคามกิ่งไม้มาทำรัง กบก่อนจำศีลจะกินอาหาร แต่มนุษย์เรานั้นไม่มีการวางแผน เพราะมนุษย์นั้นมีจุดอ่อนอันหนึ่งก็คือ วางเวลาเป็นเส้นตรงและให้ความสำคัญกับช่วงเวลาที่อยู่ใกล้ตัวมากที่สุดแต่ช่วงเวลาที่ไกลตัวนั้น มนุษย์จะมองว่าเป็นช่วงเวลาที่ไกลตัวมาก ดังนั้นเมื่อเรามีเงินเท่าไหล่ก็จะใช้หมดในปัจจุบันนี้ แต่ไม่คิดที่ออมไปสู่เวลาที่ไกลตัว คนที่ออมได้นั้นต้องเป็นคนที่มีความสามารถในการจินตนการว่าอีก 20 ปีต่อจากนี้จะอยู่ได้อย่างไร เราจะมีรายได้มาจากไหน

ประเด็นที่ 2 นั้นที่นักเศษฐศาสตร์ค้นพบคือ การออมนั้นจะเกิดขึ้นได้ยากเพราะมนุษย์นั้นเป็นสัตว์ที่ชอบผลัดวันประกันพรุ่ง ยกตัวอย่าง วันสุดท้ายของการยื่นแบบฟอร์มเสียภาษีจะเป็นวันที่คนยื่นมากที่สุด เพราะว่าการออมนั้นเป็นความเจ็บปวด ยกตัวอย่างไปหาหมอฟันรอจนปวดจนทนไม่ไหวถึงจะไปหาหมอฟัน ฉะนั้นการออมเป็นเรื่องที่จะต้องบังคับตนเอง

ประเด็นที่ 3 การออมนั้นเป็นถาพที่เป็นลบโดยเฉพาะในสังคมไทย สังคมไทยนั้นเป็นสังคมที่ยังไม่ได้เรียนรู้เรื่องของการจัดการเกี่ยวกับการเงิน โดยเปรียบเทียบว่าเพราะเราเพิ่งรวยกันมา 46 ปีเท่านั้นเอง แต่ฝรั่งนั้นเขารวยกันมา 200 ปี เราจะเห็นฝรั่งหรือคนในโลกที่พัฒนาแล้ว จะรู้จักการใช้เงิน จะมีการพักระยะในการใช้เงิน จะมีการวางแผนการใช้เงินตั้งแต่อายุยังน้อย แต่บ้านเรานั้น มีความรู้ในเรื่องเหล่านี้น้อยมากพึ่งมาถึงตัวในรอบ 10 ปีนี้เอง ฉะนั้นการออมเป็นเรื่องลบเป็นเรื่องที่ปวดใจ เป็นเรื่องที่ไม่น่าคิด เพราะว่าคนไทยนั้นไม่ชอบมีวินัย ฉะนั้นประเด็นที่ 3 ต้องทำการออมให้เป็นบวก ทำอย่างไรให้การออมที่เป็นลบนั้นกลายเป็นบวก ซึ่งส่วนตัวคิดว่าอยู่ที่เป้าหมาย เพราะว่าการออมนั้นคือการก้าวไปอีก 1 ขั้น เพื่อเข้าสู่เป้าหมาย การออมนั้นไม่ใช่เรื่องน่าเสียใจ น่าร้องให้ แต่เป็นการทำให้เงินของเรานั้นเป็นรายได้ของเราในแต่ละเดือน

ประเด็นสุดท้าย คือ คนไทยนั้นเข้าใจผิดอยู่มาก การที่เป็นคนเค็ม เป็นคนตระหนี่ การที่คนประหยัดคนไทยจะเหมาว่าคนประหยัดนั้นเป็นคนน่ารังเกียจเป็นคนเค็นเป็นคนเห็นแก่ตัว ซึ่งในต่างประเทศนั้นเป็นเรื่องธรรมดามากที่คนจะดูแลเรื่องการใช้จ่ายของตนเอง เพราะว่าเงินนั้นจำกัด ถ้าไม่ออมไว้เพื่ออนาคตก็ไม่มีใครมาช่วยคุณ แต่สังคมไทยมักจะเหมามองว่าเป็นคนตระหนี่เป็นคนเห็นแก่ตัว ซึ่งมันไม่ใช่ คนสุรุ่ยสุร่ายเห็นแก่ตัวมีเยอะแยะ การตระหนี่คือการรู้จักที่จะออม การใช้เงินนั้นเป็นแบบแผนของการดำรงชีวิตอย่างหนึ่ง ในลาว ในเวียดนาม เขมร ในอินเดียนั้น คนไปทำงานเค้าก็เอาข้าวใส่กระติกไปกิน แต่ถ้าคนไทยทำอย่างนั้นจะเป็นเรื่องน่ารังเกียจมาก

ส่วนที่ 2 เขาพูดถึงเรื่องของการออมว่าทำอย่างไรจึงไปสู่เรื่องของการลงทุนได้ โดยบอกว่าประเด็นแรกของการออมก็คือว่า การออมนั้นเกิดขึ้นมาได้จากรายได้มากกว่ารายจ่าย ให้จินตนาการว่า เรามีถังนํ้าไปหนึ่ง นํ้าที่เข้าก็คือเงิน ก็อกนํ้าที่ไหลเข้าคือรายได้ที่ไหล และก็มีทางออกคือรายจ่าย นํ้าที่เหลือก็คือเงินออม ต่อให้นํ้าไหลเข้าแรงเท่าไหร่ มีรายได้มากเท่าไหร่ ในแต่ละเดือนถ้าก็อกนํ้าที่ว่าไหลออกในอัตราเดียวมันไม่มีวันเก็บนํ้าไว้ได้ แต่ถ้านํ้าที่ไหลเข้ามาในอัตราไม่มากปานกลาง แต่รูที่ไหลออกมีน้อยต่อให้นํ้าที่ไหลเข้าน้อยกว่านํ้าเมื่อกี้ แต่นี้การออมก็เกิดขึ้นได้

เพราะฉะนั้นเงินออมที่เกิดขึ้นได้ เป็นผลพวงมาจากดุลยภาพระหว่างรายได้คือนํ้าที่ไหลเข้ากับรายจ่ายคือนํ้าที่ไหลออก รายได้ไม่สำคัญแต่การรู้จักใช้จ่ายสำคัญกว่า การระวังการใช้จ่ายท่ามกลางรายได้ที่จำกัดนี้สำคัญ และถ้ามีก็อกนํ้าไหลเพิ่มอีกก็อกหนึ่งรายจ่ายควบคุมดี อีกก็อกมาจากเงินออมที่มีได้แล้วเอาไปทำงานให้เงินเหล่านั้น รับใช้ด้วยการซื้อกองทุนรวมก็จะมีเงินปันผลไหลเข้ามาในแต่ละเดือน

ประเด็นต่อมา การตั้งคำถามเป็นเรื่องที่สำคัญมาก ตั้งคำถามถูกเราได้คำตอบที่ดี ตังคำถามไม่ดีเราก็ได้คำตอบไม่ดี ยกตัวอย่าง ผู้หญิงคนหนึ่งตั้งคำถามว่าทำอย่างไรจะให้แฟนถูกใจ แต่ต้องถามว่าทำไมาเราต้องตกอยู่ในสภาพนี้

อีกประเด็น คือ ถ้าจะลงทุนต้องมองในแง่มุมใหม่ๆ ยกตัวอย่าง สามีคนหนึ่งทำกุญแจหายในที่มืดแต่มองหากุญแจในที่สว่าง ฉะนั้นการลงทุนต้องมองอะไรใหม่ๆ

ประเด็นสุดท้ายที่นายวรากรณ์กล่าวก็คือ ต้องกล้าที่จะรับความเสี่ยง ยกตัวอย่าง โจรที่จะขโมยของจากเศรษฐีซึ่งพักที่เดียวกันในระหว่างเดินทาง แต่หากุญแจจากเศรษฐีไม่เจอ เพราะเศรษฐีคนนั้นซ่อนกุญแจไว้ที่ใต้หมอนของโจร ฉะนั้นจะลงทุนต้องกล้ารับความเสี่ยงต้องรู้จักตนเอง ทำอย่างไรที่จะทักษะมากขึ้นกว่าเดิม
กำลังโหลดความคิดเห็น