อภ.เตรียมสั่งซื้อ "ยาเล็ทโทรโซล" รักษาโรคมะเร็งเต้านม 4 แสนเม็ด มูลค่า 1.4 ล้านบาท ถูกกว่ายาต้นตำรับประหยัดงบ 90.6 ล้านบาท คาดอีก 3-4 เดือนได้ใช้แน่ ส่วนยารักษาโราคมะเร็งเต้านมและมะเร็งปอด โดซีแท็กเซล ต้นสิงหาคมนี้ยาถึงมือผู้ป่วย
นพ.วิชัย โชควิวัฒน์ ประธานคณะกรรมการบริการองค์การเภสัชกรรม(อภ.) กล่าวว่า ความคืบหน้าในการจัดหายารักษาโรคมะเร็งเต้านม เล็ทโทรโซล ภายหลังจากที่ไทยได้ประกาศบังคับใช้สิทธิเหรือสิทธิบัตรโดยรัฐ(ซีแอล) ยามะเร็ง 4 ชนิดนั้น นั้น ขณะนี้ อภ. อยู่ระหว่างการเตรียมลงนามในสัญญาจัดซื้อยาเล็ทโทรโซล โดยที่ผ่านมา อภ.ได้จัดประกวดราคาจัดซื้อยาเล็ทโทรโซลด้วยวิธีพิเศษ แล้วจำนวน 2 ครั้ง และได้บริษัทยาผู้ผลิตยาสามัญที่เสนอราคาที่ถูกที่สุด ในราคาเม็ดละ 3.50 บาท ขณะที่ยาต้นตำรับมีราคาเม็ดละ 230 บาท
"ขณะนี้ อภ. ยังไม่ได้ตัดสินใจทำสัญญาเนื่องจากมีผู้เสนอราคาใกล้เคียงกัน 2 บริษัท จึงต้องตรวจสอบเอกสารที่เกี่ยวข้อง อย่างละเอียด ซึ่งหากบริษัทใดมีความพร้อมมากที่สุด อภ. ก็จะทำสัญญาจัดซื้อยาด้วย ทั้งนี้ เชื่อว่าบริษัทที่เสนอราคามาต่ำสุดทั้ง 2 บริษัท จะไม่มีปัญหาเรื่องเอกสาร เพราะมีโรงงานที่ได้รับมาตรฐาน จีเอ็มพี จากองค์การอนามัยโลกทั้ง 2 แห่ง และมีความน่าเชื่อถืออย่างมาก ซึ่งเมื่อปลายปี 2550 อภ. ได้เคยเดินทางไปตรวจสอบโรงงานที่ประเทศอินเดียมาแล้วด้วย โดยทราบว่าบริษัทแรกมีประเทศญี่ปุ่นมาร่วมถือหุ้น ส่วนบริษัทที่สอง มีประเทศเยอรมันร่วมถือหุ้น ซึ่งคาดว่าจะสามารถตรวจสอบเอกสารต่างๆ แล้วเสร็จและสามารถทำสัญญาจัดซื้อได้ภายใน 1- 2สัปดาห์นี้ " นพ.วิชัยกล่าว
นพ.วิชัย กล่าวต่อว่า ทั้งนี้ อภ. จะสั่งซื้อยาครั้งแรกในจำนวน 4 แสนเม็ด ราคาเม็ดละประมาณ 3.50 บาท รวมมูลค่า 1.4 ล้านบาท ประหยัดงบประมาณได้ 90.6 ล้านบาทเพราะหากซื้อยาต้นตำรับจะมีราคาสูงถึง 92 ล้านบาท และขั้นตอนต่อไปอภ. จะต้องยื่นขอขึ้นทะเบียนตำรับยากับสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา(อย.) โดยคาดว่ากระบวนการทั้งหมดจะแล้วเสร็จภายใน 2-3 เดือน ผู้ป่วยมะเร็งเต้านมในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าจะมียาใช้อย่างแน่นอน
นพ.วิชัย กล่าวด้วยว่า สำหรับยารักษาโรคมะเร็งปอดและเต้านม โดซีแท็กเซล ที่อภ. ได้ทำสัญญาจัดซื้อยาแล้วกับบริษัท ดาเบอร์ ประเทศอินเดีย จำนวน 6,000 เข็ม ราคาเข็มละ 1,245 บาท ขณะที่ยาต้นตำรับมีราคาสูงเข็มละ 2.5 หมื่นบาท รวมมูลค่า 7.47 ล้านบาท ประหยัดงบประมาณถึง 142 ล้านบาท ขณะนี้ยาได้จัดส่งถึงประะเทศไทยแล้วและอยู่ในการตรวจชีวสมมูล ซึ่งเป็นขั้นตอนสุดท้ายก่อนจะถึงมือผู้ป่วย โดยคาดว่าผู้ป่วยจะได้รับยาภายในต้นเดือนสิงหาคมนี้อย่างแน่นอน ส่วนยามะเร็งปอด เออร์โลทินิบยังไม่สามารถดำเนินการจัดหายาสามัญได้ เนื่องจากยังไม่พบโรงงานที่มีมาตรฐานเพียงพอ
นพ.วิชัย โชควิวัฒน์ ประธานคณะกรรมการบริการองค์การเภสัชกรรม(อภ.) กล่าวว่า ความคืบหน้าในการจัดหายารักษาโรคมะเร็งเต้านม เล็ทโทรโซล ภายหลังจากที่ไทยได้ประกาศบังคับใช้สิทธิเหรือสิทธิบัตรโดยรัฐ(ซีแอล) ยามะเร็ง 4 ชนิดนั้น นั้น ขณะนี้ อภ. อยู่ระหว่างการเตรียมลงนามในสัญญาจัดซื้อยาเล็ทโทรโซล โดยที่ผ่านมา อภ.ได้จัดประกวดราคาจัดซื้อยาเล็ทโทรโซลด้วยวิธีพิเศษ แล้วจำนวน 2 ครั้ง และได้บริษัทยาผู้ผลิตยาสามัญที่เสนอราคาที่ถูกที่สุด ในราคาเม็ดละ 3.50 บาท ขณะที่ยาต้นตำรับมีราคาเม็ดละ 230 บาท
"ขณะนี้ อภ. ยังไม่ได้ตัดสินใจทำสัญญาเนื่องจากมีผู้เสนอราคาใกล้เคียงกัน 2 บริษัท จึงต้องตรวจสอบเอกสารที่เกี่ยวข้อง อย่างละเอียด ซึ่งหากบริษัทใดมีความพร้อมมากที่สุด อภ. ก็จะทำสัญญาจัดซื้อยาด้วย ทั้งนี้ เชื่อว่าบริษัทที่เสนอราคามาต่ำสุดทั้ง 2 บริษัท จะไม่มีปัญหาเรื่องเอกสาร เพราะมีโรงงานที่ได้รับมาตรฐาน จีเอ็มพี จากองค์การอนามัยโลกทั้ง 2 แห่ง และมีความน่าเชื่อถืออย่างมาก ซึ่งเมื่อปลายปี 2550 อภ. ได้เคยเดินทางไปตรวจสอบโรงงานที่ประเทศอินเดียมาแล้วด้วย โดยทราบว่าบริษัทแรกมีประเทศญี่ปุ่นมาร่วมถือหุ้น ส่วนบริษัทที่สอง มีประเทศเยอรมันร่วมถือหุ้น ซึ่งคาดว่าจะสามารถตรวจสอบเอกสารต่างๆ แล้วเสร็จและสามารถทำสัญญาจัดซื้อได้ภายใน 1- 2สัปดาห์นี้ " นพ.วิชัยกล่าว
นพ.วิชัย กล่าวต่อว่า ทั้งนี้ อภ. จะสั่งซื้อยาครั้งแรกในจำนวน 4 แสนเม็ด ราคาเม็ดละประมาณ 3.50 บาท รวมมูลค่า 1.4 ล้านบาท ประหยัดงบประมาณได้ 90.6 ล้านบาทเพราะหากซื้อยาต้นตำรับจะมีราคาสูงถึง 92 ล้านบาท และขั้นตอนต่อไปอภ. จะต้องยื่นขอขึ้นทะเบียนตำรับยากับสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา(อย.) โดยคาดว่ากระบวนการทั้งหมดจะแล้วเสร็จภายใน 2-3 เดือน ผู้ป่วยมะเร็งเต้านมในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าจะมียาใช้อย่างแน่นอน
นพ.วิชัย กล่าวด้วยว่า สำหรับยารักษาโรคมะเร็งปอดและเต้านม โดซีแท็กเซล ที่อภ. ได้ทำสัญญาจัดซื้อยาแล้วกับบริษัท ดาเบอร์ ประเทศอินเดีย จำนวน 6,000 เข็ม ราคาเข็มละ 1,245 บาท ขณะที่ยาต้นตำรับมีราคาสูงเข็มละ 2.5 หมื่นบาท รวมมูลค่า 7.47 ล้านบาท ประหยัดงบประมาณถึง 142 ล้านบาท ขณะนี้ยาได้จัดส่งถึงประะเทศไทยแล้วและอยู่ในการตรวจชีวสมมูล ซึ่งเป็นขั้นตอนสุดท้ายก่อนจะถึงมือผู้ป่วย โดยคาดว่าผู้ป่วยจะได้รับยาภายในต้นเดือนสิงหาคมนี้อย่างแน่นอน ส่วนยามะเร็งปอด เออร์โลทินิบยังไม่สามารถดำเนินการจัดหายาสามัญได้ เนื่องจากยังไม่พบโรงงานที่มีมาตรฐานเพียงพอ