นักวิชาการตั้งข้อสังเกตการเสนอตั้งคณะทำงาน 7 ชาติร่วมพัฒนาพื้นที่ทับซ้อนรอบปราสาทพระวิหารอาจเกี่ยวข้องขบวนการค้าวัตถุโบราณข้ามชาติ เตรียมตีแผ่หลังพบวัตถุโบราณทั้งของไทยและกัมพูชาแสดงอยู่ในพิพิธภัณฑ์ในอังกฤษและฝรั่งเศสจำนวนมาก
นายเทพมนตรี ลิมปพยอม นักวิชาการด้านประวัติศาสตร์ กล่าวถึงกรณีปัญหาปราสาทพระวิหาร ว่ายังมีอีกหลายประเด็นที่ต้องจับตามอง เพราะหลังจากที่นายนพดล ปัทมะ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ และนายปองพล อดิเรกสาร ประธานคณะกรรมการอนุสัญญามรดกโลกของประเทศไทย เดินทางกลับถึงประเทศหลังร่วมประชุมคณะกรรมการมรดกโลกที่ประเทศแคนาดา มีการให้ข่าวไม่ตรงกันเรื่องพื้นที่ที่จะเสนอให้ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก แต่หลังจากนั้นได้มีการเปลี่ยนแปลงให้ข่าวว่าจะมีคณะกรรมการจาก 7 ชาติมาร่วมจัดการบริหารพื้นที่ทับซ้อนรอบปราสาทพระวิหาร ขณะเดียวกันยังพบอีกว่า มีการนำเอกสารที่ไม่ถูกต้องเกี่ยวกับการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกที่ประเทศแคนาดามาเผยแพร่บนเว็บไซต์สภาการโบราณสถานระหว่างประเทศ (ไอโคมอส) เกรงว่า คณะทำงาน 7 ชาติที่จะเข้ามาร่วมพัฒนาพื้นที่ทับซ้อนรอบปราสาทพระวิหารนั้นอาจจะเกี่ยวข้องกับขบวนการค้าวัตถุโบราณข้ามชาติหรือไม่
“ขณะนี้พบว่ามีวัตถุโบราณของไทยและของกัมพูชาไปตั้งแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑ์ ทั้งในประเทศอังกฤษและฝรั่งเศสจำนวนมาก โดยเฉพาะศิลปวัตถุบ้านเชียง ตั้งแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑ์แห่งหนึ่งในกรุงปารีส พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ ที่กรุงลอนดอน ซึ่งนำเรื่องนี้จะเผยแพร่ต่อไป”นายเทพมนตรี กล่าว
นายเทพมนตรี ยังแนะนำให้รัฐบาลยกเลิกแถลงการณ์ร่วมระหว่างไทย-กัมพูชา ฉบับที่นายนพดล ลงนามด้วย และแนะนำให้ตั้งคณะกรรมการขึ้นมา 1 ชุดเพื่อทำงานร่วมกันระหว่างนักวิชาการ และผู้ที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งนายปองพล และอาจให้นายนพดลเป็นที่ปรึกษาได้ เพราะว่านายนพดล จะมีเอกสารชี้แจงต่าง ๆ นอกจากนี้ ยังเรียกร้องให้กองทัพของไทยกั้นแนวรั้วทางขึ้นปราสาทพระวิหารให้เหมือนกับมติ ครม.พ.ศ.2505 เพราะขณะนี้แนวรั้วดังกล่าวได้นำออกไปแล้ว ทำให้ชาวกัมพูชาเข้ามาอาศัยอยู่ หากปล่อยไว้นานกว่านี้ เกรงว่าองค์กรผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ (ยูเอ็นเอชซีอาร์) จะเข้ามามีบทบาทเกี่ยวกับผู้ลี้ภัยแล้วจะสายเกินไป
นายเทพมนตรี ลิมปพยอม นักวิชาการด้านประวัติศาสตร์ กล่าวถึงกรณีปัญหาปราสาทพระวิหาร ว่ายังมีอีกหลายประเด็นที่ต้องจับตามอง เพราะหลังจากที่นายนพดล ปัทมะ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ และนายปองพล อดิเรกสาร ประธานคณะกรรมการอนุสัญญามรดกโลกของประเทศไทย เดินทางกลับถึงประเทศหลังร่วมประชุมคณะกรรมการมรดกโลกที่ประเทศแคนาดา มีการให้ข่าวไม่ตรงกันเรื่องพื้นที่ที่จะเสนอให้ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก แต่หลังจากนั้นได้มีการเปลี่ยนแปลงให้ข่าวว่าจะมีคณะกรรมการจาก 7 ชาติมาร่วมจัดการบริหารพื้นที่ทับซ้อนรอบปราสาทพระวิหาร ขณะเดียวกันยังพบอีกว่า มีการนำเอกสารที่ไม่ถูกต้องเกี่ยวกับการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกที่ประเทศแคนาดามาเผยแพร่บนเว็บไซต์สภาการโบราณสถานระหว่างประเทศ (ไอโคมอส) เกรงว่า คณะทำงาน 7 ชาติที่จะเข้ามาร่วมพัฒนาพื้นที่ทับซ้อนรอบปราสาทพระวิหารนั้นอาจจะเกี่ยวข้องกับขบวนการค้าวัตถุโบราณข้ามชาติหรือไม่
“ขณะนี้พบว่ามีวัตถุโบราณของไทยและของกัมพูชาไปตั้งแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑ์ ทั้งในประเทศอังกฤษและฝรั่งเศสจำนวนมาก โดยเฉพาะศิลปวัตถุบ้านเชียง ตั้งแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑ์แห่งหนึ่งในกรุงปารีส พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ ที่กรุงลอนดอน ซึ่งนำเรื่องนี้จะเผยแพร่ต่อไป”นายเทพมนตรี กล่าว
นายเทพมนตรี ยังแนะนำให้รัฐบาลยกเลิกแถลงการณ์ร่วมระหว่างไทย-กัมพูชา ฉบับที่นายนพดล ลงนามด้วย และแนะนำให้ตั้งคณะกรรมการขึ้นมา 1 ชุดเพื่อทำงานร่วมกันระหว่างนักวิชาการ และผู้ที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งนายปองพล และอาจให้นายนพดลเป็นที่ปรึกษาได้ เพราะว่านายนพดล จะมีเอกสารชี้แจงต่าง ๆ นอกจากนี้ ยังเรียกร้องให้กองทัพของไทยกั้นแนวรั้วทางขึ้นปราสาทพระวิหารให้เหมือนกับมติ ครม.พ.ศ.2505 เพราะขณะนี้แนวรั้วดังกล่าวได้นำออกไปแล้ว ทำให้ชาวกัมพูชาเข้ามาอาศัยอยู่ หากปล่อยไว้นานกว่านี้ เกรงว่าองค์กรผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ (ยูเอ็นเอชซีอาร์) จะเข้ามามีบทบาทเกี่ยวกับผู้ลี้ภัยแล้วจะสายเกินไป