“มาร์ค” กรีดรัฐต้องดูเขมรเป็นตัวอย่างรักษาผลประโยชน์ชาติ “สมปอง” ยัน 4.6 ตารางกิโลเมตรไม่ใช่พื้นที่ทับซ้อน แต่เป็นของไทยโดยชอบธรรม
วานนี้ (11 ก.ค.) ณ ศูนย์ศึกษาสาทรธานี มหาวิทยาลัยรังสิต มีการจัดการเสวนา "ผลกระทบมรดกโลก" โดยวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิจำนวนมาก ทั้งนายกษิต ภิรมย์ อดีตเอกอัครราชทูตไทยประจำกรุงวอชิงตันดีซี สหรัฐอเมริกา, ศ.ดร.สมปอง สุจริตกุล รักษาการคณบดีคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต, นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปปัตย์,มล.วัลย์วิภา จรูญโรจน์ นักวิจัยเชี่ยวชาญระดับ 9 สถาบันไทยคดีศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์,รศ.นพนิธิ สุริยะ อาจารย์คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และนายเทพมนตรี ลิมปพยอม นักวิชาการอิสระ
นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ในกรณีเขาพระวิหารนี้ไม่อยากให้ประชาชนชาวไทยมองไปในประเด็นของความคลั่งชาติ ไม่ใช่เรื่องที่คนไทยและคนกัมพูชาต้องมาเกลียดกัน และในความเป็นจริงแล้ว เราต้องยอมรับด้วยซ้ำว่า รัฐบาลกัมพูชาดูแลผลประโยชน์ของคนกัมพูชา ดีกว่าที่รัฐบาลไทย ดูแลผลประโยชน์ของประชาชนไทยด้วยซ้ำ
“รัฐบาลไทยควรดูรัฐบาลกัมพูชาเป็นแบบอย่างในการดูแลผลประโยชน์แก่ประชาชนในประเทศของเขา เรื่องที่ที่รัฐบาลบอกว่ามันจบไปตั้งแต่ปี2505 จริงๆมันยังไม่จบครับ และเป็นเรื่องที่จบยากเสียด้วย รัฐบาลอ้างว่าไทยยอมรับในคำตัดสินของศาลโลกโดยพฤตินัย แต่ในความเป็นจริงกรณีปราสาทพระวิหารไม่เคยจบ เพราะโดยสภาพของภูมิประเทศ และแนวสันปันน้ำดูเหมือนปราสาทอยู่ในฝั่งไทย แต่มีการจัดทำแผนที่ซึ่งกำหนดเขตแดนล้ำเข้ามาในฝั่งไทย จนทำให้ตัวปราสาทไปอยู่ในเขตกัมพูชา"
หัวหน้าพรรคฝ่ายค้านได้ตำหนิการบริหารของรัฐบาลว่า ในเชิงการบริหารราชการแผ่นดิน ต้องถือว่ารัฐบาลล้มเหลวชัดเจน
“เราไม่รู้จริงๆ ว่านายนพดล ปัทมะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ คิดอะไร เพราะคำชี้แจงหลายครั้งสวนทางกับคำชี้แจงในสมุดปกขาวของกระทรวงการต่างประเทศ”
นายอภิสิทธิ์ ได้เสนอสองแนวทางออกกรณีเขาพระวิหารว่า ควรใช้นโยบายทางการทูตที่นุ่มนวลในการเจรจาทำความตกลง เพื่อให้ผลประโยชน์จากมรดกโลก ให้ประโยชน์สุขแก่ประชาชาชนทั้งสองประเทศ ไม่ใช่ให้ผลประโยชน์ที่ทับซ้อนระหว่างผู้นำทั้งสองประเทศ และควรให้รัฐบาลชี้แจงทำความเข้าใจต่อคณะกรรมการมรดกโลกและต้องให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องในโลกรับรู้ว่าแถลงการณ์ร่วมว่าไม่ชอบด้วยกฎหมาย จะได้ไม่มีการนำแถลงการณ์ร่วมยกไปอ้างได้อีก
ด้าน ม.ล.วัลย์วิภา เปิดเผยว่า ภาคประชาชนรู้สึกเสียใจมากต่อกรณีมติคณะกรรมการมรดกโลกที่ให้กัมพูชาขึ้นทะเบียนมรดกโลกเขาพระวิหารแต่เพียงฝ่ายเดียว และกรณีที่เกิดขึ้นนี้ ความเสียเปรียบตกแก่ประชาชน ทำให้ภาคประชาชนจะไม่ยอมรับมติคณะกรรมการมรดกโลกโดยเด็ดขาด
“แม้ว่ารัฐบาลจะยอมรับให้กัมพูชาขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลก แต่ภาคประชาชนไม่ยอมรับ เพราะมีการเปลี่ยนเส้นเขตแดนทั้งทางบกและทางทะเล โดยในปี 2544 รัฐบาลมีความพยายามจะรับรองแผนที่ดังกล่าว กรณีปราสาทพระวิหารทำให้เราเสียดินแดนตั้งแต่บันไดขั้นที่ 162 จนถึงพื้นดิน รัฐบาลไปทำความเสียหาย ประชาชนจึงต้องช่วยกันคิดว่าจะยกเลิกแถลงการณ์ร่วม และยกเลิกแผนที่ของทางกัมพูชาได้อย่างไร”
นอกจากนี้ นักวิจัยเชี่ยวชาญระดับ 9 สถาบันไทยคดีศึกษายังระบุด้วยว่านวันที่ 16 ก.ค. เวลา 09.00 น. กลุ่มประชาชนชาวไทย ผู้เป็นตัวแทนประเทศไทย จะรวมตัวที่สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เพื่อขึ้นป้ายระบุข้อความ ไม่ยอมรับคำตัดสินให้ขึ้นทะเบียนมรดกโลกปราสาทพระวิหารของกัมพูชา และจะทำหนังสืออย่างเป็นทางการ ยื่นต่อคณะกรรมการยูเนสโกด้วย
ในขณะที่ อดีตเอกอัครราชทูตไทยประจำกรุงวอชิงตัน ดี.ซี. กล่าวว่า รัฐบาลชุดนี้สอบตกในเรื่องการละเมิดรัฐธรรมนูญ และไม่เปิดให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการตรวจสอบและตัดสินใจ การกระทำที่ผ่านมาเปรียบเหมือนเด็กทำผิดที่ถูกครูจับได้ การลาออกของรัฐมนตรีต่างประเทศและคณะรัฐมนตรีของนายสมัคร สุนทรเวช จึงไม่ถือเป็นที่สิ้นสุด เพราะมีการกระทำที่ละเมิดรัฐธรรมนูญและทรยศต่อชาติ
ด้าน ศ.ดร.สมปอง ให้ข้อมูลว่า พื้นที่ทับซ้อนตามที่กัมพูชาอ้างนั้น มีการตรวจสอบแล้วว่า เป็นพื้นที่ในฝั่งไทย ดังนั้นจึงเป็นของไทยโดยชอบธรรม
“ขอยืนยันว่า ไม่มีพื้นที่ทับซ้อน 4.6 ตารางกิโลเมตร มีแต่พื้นที่ในเขตอธิปไตยของไทย แม้ว่ากัมพูชาชนะคดีในศาลโลก แต่ก็ขึ้นไปทำอะไรบนปราสาทไม่ได้ จะใช้เฮลิคอปเตอร์บินขึ้นก็ต้องผ่านน่านฟ้าของไทย แต่ที่ผ่านมากลับมีความพยายามเอาแผนที่ของคณะกรรมการปักปันผสมของกัมพูชากับฝรั่งเศสมาใช้ โดยไม่ยอมพูดว่าเป็นแผนที่ของฝรั่งเศสที่ไทยไม่เคยยอมรับ”
พร้อมกันนี้ อ.สมปองยังแนะให้จับตาดูเรื่องพื้นที่ทับซ้อนในทะเล โดยเอ็มโอยูไทย-กัมพูชา ซึ่งโต้เถียงกันมาตั้งแต่ปี 2544 ผ่าเกาะกูดไปครึ่งหนึ่ง และขีดเส้นเขตแดนผ่านเข้ามาในอ่าวไทย ถ้ายอมให้เป็นเช่นนั้นเราจะเสียผลประโยชน์ทางทะเลทั้งแก๊สและน้ำมันมหาศาลด้วย
วานนี้ (11 ก.ค.) ณ ศูนย์ศึกษาสาทรธานี มหาวิทยาลัยรังสิต มีการจัดการเสวนา "ผลกระทบมรดกโลก" โดยวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิจำนวนมาก ทั้งนายกษิต ภิรมย์ อดีตเอกอัครราชทูตไทยประจำกรุงวอชิงตันดีซี สหรัฐอเมริกา, ศ.ดร.สมปอง สุจริตกุล รักษาการคณบดีคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต, นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปปัตย์,มล.วัลย์วิภา จรูญโรจน์ นักวิจัยเชี่ยวชาญระดับ 9 สถาบันไทยคดีศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์,รศ.นพนิธิ สุริยะ อาจารย์คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และนายเทพมนตรี ลิมปพยอม นักวิชาการอิสระ
นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ในกรณีเขาพระวิหารนี้ไม่อยากให้ประชาชนชาวไทยมองไปในประเด็นของความคลั่งชาติ ไม่ใช่เรื่องที่คนไทยและคนกัมพูชาต้องมาเกลียดกัน และในความเป็นจริงแล้ว เราต้องยอมรับด้วยซ้ำว่า รัฐบาลกัมพูชาดูแลผลประโยชน์ของคนกัมพูชา ดีกว่าที่รัฐบาลไทย ดูแลผลประโยชน์ของประชาชนไทยด้วยซ้ำ
“รัฐบาลไทยควรดูรัฐบาลกัมพูชาเป็นแบบอย่างในการดูแลผลประโยชน์แก่ประชาชนในประเทศของเขา เรื่องที่ที่รัฐบาลบอกว่ามันจบไปตั้งแต่ปี2505 จริงๆมันยังไม่จบครับ และเป็นเรื่องที่จบยากเสียด้วย รัฐบาลอ้างว่าไทยยอมรับในคำตัดสินของศาลโลกโดยพฤตินัย แต่ในความเป็นจริงกรณีปราสาทพระวิหารไม่เคยจบ เพราะโดยสภาพของภูมิประเทศ และแนวสันปันน้ำดูเหมือนปราสาทอยู่ในฝั่งไทย แต่มีการจัดทำแผนที่ซึ่งกำหนดเขตแดนล้ำเข้ามาในฝั่งไทย จนทำให้ตัวปราสาทไปอยู่ในเขตกัมพูชา"
หัวหน้าพรรคฝ่ายค้านได้ตำหนิการบริหารของรัฐบาลว่า ในเชิงการบริหารราชการแผ่นดิน ต้องถือว่ารัฐบาลล้มเหลวชัดเจน
“เราไม่รู้จริงๆ ว่านายนพดล ปัทมะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ คิดอะไร เพราะคำชี้แจงหลายครั้งสวนทางกับคำชี้แจงในสมุดปกขาวของกระทรวงการต่างประเทศ”
นายอภิสิทธิ์ ได้เสนอสองแนวทางออกกรณีเขาพระวิหารว่า ควรใช้นโยบายทางการทูตที่นุ่มนวลในการเจรจาทำความตกลง เพื่อให้ผลประโยชน์จากมรดกโลก ให้ประโยชน์สุขแก่ประชาชาชนทั้งสองประเทศ ไม่ใช่ให้ผลประโยชน์ที่ทับซ้อนระหว่างผู้นำทั้งสองประเทศ และควรให้รัฐบาลชี้แจงทำความเข้าใจต่อคณะกรรมการมรดกโลกและต้องให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องในโลกรับรู้ว่าแถลงการณ์ร่วมว่าไม่ชอบด้วยกฎหมาย จะได้ไม่มีการนำแถลงการณ์ร่วมยกไปอ้างได้อีก
ด้าน ม.ล.วัลย์วิภา เปิดเผยว่า ภาคประชาชนรู้สึกเสียใจมากต่อกรณีมติคณะกรรมการมรดกโลกที่ให้กัมพูชาขึ้นทะเบียนมรดกโลกเขาพระวิหารแต่เพียงฝ่ายเดียว และกรณีที่เกิดขึ้นนี้ ความเสียเปรียบตกแก่ประชาชน ทำให้ภาคประชาชนจะไม่ยอมรับมติคณะกรรมการมรดกโลกโดยเด็ดขาด
“แม้ว่ารัฐบาลจะยอมรับให้กัมพูชาขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลก แต่ภาคประชาชนไม่ยอมรับ เพราะมีการเปลี่ยนเส้นเขตแดนทั้งทางบกและทางทะเล โดยในปี 2544 รัฐบาลมีความพยายามจะรับรองแผนที่ดังกล่าว กรณีปราสาทพระวิหารทำให้เราเสียดินแดนตั้งแต่บันไดขั้นที่ 162 จนถึงพื้นดิน รัฐบาลไปทำความเสียหาย ประชาชนจึงต้องช่วยกันคิดว่าจะยกเลิกแถลงการณ์ร่วม และยกเลิกแผนที่ของทางกัมพูชาได้อย่างไร”
นอกจากนี้ นักวิจัยเชี่ยวชาญระดับ 9 สถาบันไทยคดีศึกษายังระบุด้วยว่านวันที่ 16 ก.ค. เวลา 09.00 น. กลุ่มประชาชนชาวไทย ผู้เป็นตัวแทนประเทศไทย จะรวมตัวที่สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เพื่อขึ้นป้ายระบุข้อความ ไม่ยอมรับคำตัดสินให้ขึ้นทะเบียนมรดกโลกปราสาทพระวิหารของกัมพูชา และจะทำหนังสืออย่างเป็นทางการ ยื่นต่อคณะกรรมการยูเนสโกด้วย
ในขณะที่ อดีตเอกอัครราชทูตไทยประจำกรุงวอชิงตัน ดี.ซี. กล่าวว่า รัฐบาลชุดนี้สอบตกในเรื่องการละเมิดรัฐธรรมนูญ และไม่เปิดให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการตรวจสอบและตัดสินใจ การกระทำที่ผ่านมาเปรียบเหมือนเด็กทำผิดที่ถูกครูจับได้ การลาออกของรัฐมนตรีต่างประเทศและคณะรัฐมนตรีของนายสมัคร สุนทรเวช จึงไม่ถือเป็นที่สิ้นสุด เพราะมีการกระทำที่ละเมิดรัฐธรรมนูญและทรยศต่อชาติ
ด้าน ศ.ดร.สมปอง ให้ข้อมูลว่า พื้นที่ทับซ้อนตามที่กัมพูชาอ้างนั้น มีการตรวจสอบแล้วว่า เป็นพื้นที่ในฝั่งไทย ดังนั้นจึงเป็นของไทยโดยชอบธรรม
“ขอยืนยันว่า ไม่มีพื้นที่ทับซ้อน 4.6 ตารางกิโลเมตร มีแต่พื้นที่ในเขตอธิปไตยของไทย แม้ว่ากัมพูชาชนะคดีในศาลโลก แต่ก็ขึ้นไปทำอะไรบนปราสาทไม่ได้ จะใช้เฮลิคอปเตอร์บินขึ้นก็ต้องผ่านน่านฟ้าของไทย แต่ที่ผ่านมากลับมีความพยายามเอาแผนที่ของคณะกรรมการปักปันผสมของกัมพูชากับฝรั่งเศสมาใช้ โดยไม่ยอมพูดว่าเป็นแผนที่ของฝรั่งเศสที่ไทยไม่เคยยอมรับ”
พร้อมกันนี้ อ.สมปองยังแนะให้จับตาดูเรื่องพื้นที่ทับซ้อนในทะเล โดยเอ็มโอยูไทย-กัมพูชา ซึ่งโต้เถียงกันมาตั้งแต่ปี 2544 ผ่าเกาะกูดไปครึ่งหนึ่ง และขีดเส้นเขตแดนผ่านเข้ามาในอ่าวไทย ถ้ายอมให้เป็นเช่นนั้นเราจะเสียผลประโยชน์ทางทะเลทั้งแก๊สและน้ำมันมหาศาลด้วย