“วิชาญ” เดินเครื่อง ตั้งสำนักฟื้นฟู บำบัด ยาเสพติด ขยายการผลิตบุคลากรสถาบันพระบรมราชชนก ไม่ต้องขึ้นกับศธ.กรมสุขภาพจิต-กรมแพทย์แผนไทย อด ก.พ.ร.ไม่ให้อัตรากำลังเพิ่ม แนะปรับเปลี่ยนการทำงานภายในให้เหมาะสม ไอเดียพรึ่บ สั่งสช.ศึกษาระบบหาเงินดูแลยามชรา รวมหมายเลขร้องทุกข์ สธ.เหมือน 191 ของตำรวจ
นายวิชาญ มีนชัยนันท์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า ในการประชุมคณะกรรมการพัฒนาโครงสร้างระบบราชการ(ก.พ.ร.) โดยมีผู้บริหารรัดับสูงกระทรวงสาธารณสุข สภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักงบประมาณ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมประชุม ได้มีมติเห็นชอบ 2 เรื่อง คือ 1.จัดตั้งสำนักงานคณะกรรมการฟื้นฟูและบำบัดยาเสพติดขึ้น 2.ขยายการผลิตบุคลากรสถาบันพระบรมราชชนก โดยไม่ต้องขึ้นกับกระทรวงศึกษาธิการ(ศธ.) แต่ให้ขึ้นกับสธ.มีศักดิ์และสิทธิเท่าเทียมกัน สร้างความภาคภูมิใจให้กับผู้ที่ศึกษา ส่วนกรณีที่ได้มีการเสนออัตรากำลังให้กรมสุขภาพจิตและกรมแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกนั้น เนื่องจาก ก.พ.ร.ไม่ให้อัตรากำลังเพิ่ม จึงให้ทั้ง 2 หน่วยงาน ปรับเปลี่ยนการทำงานภายในองค์กรให้เหมาะสม
นายวิชาญ กล่าวต่อว่า สำหรับการจัดตั้งสำนักงานคณะกรรมการฟื้นฟูและบำบัดยาเสพติดนั้นสามารถจัดตั้งได้ไม่มีปัญหา โดยมีสถาบันธัญญารักษ์ เป็นหน่วยงานหลักในการดูแลรับผิดชอบอยู่แล้ว ซึ่งเดิมสถาบันธัญญารักษ์อยู่ในสังกัดกรมการแพทย์ให้มาอยู่ภายใต้สำนักงานปลัด สธ. เพื่อความคล่องตัวในการดำเนินงาน และเป็นแกนหลักประสานงานเชื่อมโยงกับโรงพยาบาลในและนอกสังกัดทั่วประเทศ ซึ่งเรื่องนี้ถือการทำงานต่อเนื่องจากรัฐบาลชุดที่แล้วและเป็นยุทธศาสตร์ของประเทศ ในการแก้ปัญหายาเสพติดด้วย
“มีการหารือและรับฟังความคิดเห็นกันว่า สำนักฯ สำนักงานคณะกรรมการฟื้นฟูและบำบัดยาเสพติด จะตั้งขึ้น เมื่อมีความพร้อมในทุกๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็นกำลังคนและงบประมาณ ทั้งนี้ งบประมาณสามารถนำมาจากกรมการแพทย์ และหน่วยงานที่สนับสนุนในการดูแลสุขภาพอย่าง สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) และสำนักงานกองทุนสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.) ส่วนกำลังคนนั้น ขณะนี้ยังไม่มีความชัดเจน” นายวิชาญ กล่าวและว่า โดยทั้ง 2 เรื่องจะต้องนำเข้าคณะรัฐมนตรี (ครม.) ให้เห็นชอบด้วย
นายวิชาญ กล่าวด้วยว่า นอกจากนี้ ตนมีแนวความคิดจะให้หมายเลขโทรศัพท์เกี่ยวกับเรื่องร้องเรียนของสธ.เป็นหมายเลขเดียวกัน ไม่ว่าจะเป็นร้องเรียนเรื่องคลินิกทำแท้งเถื่อน ตลาดสกปรก มีวัตถุต้องสงสัยในอาหาร ฯลฯ ก็สามารถกดหมายเลขเดียวกันได้เลย ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการหารือว่าจะใช้หมายเลขใด หรือถ้าไม่มีก็จำเป็นต้องเปิดเป็นหมายเลขใหม่เพื่อให้ง่ายต่อการจดจำ และเมื่อมีเรื่องร้องทุกข์ก็สามารถประสานไปยังพื้นที่ทั้งสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดให้จัดการหรือได้คำตอบทันที
“ผมต้องยอมรับว่า ขณะนี้มีหมายเลขโทรศัพท์ในสังกัดกรมต่างๆมากมายจนอาจทำให้ประชาชนสับสน ดังนั้น จึงคิดว่าต้องทำให้หมายเลขเดียวสามารถร้องเรียนได้หมดทุกเรื่องเหมือนกับ 191 หากได้หมายเลขแล้วจะทำประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนได้รู้จักแล้วใช้บริการ ทั้งนี้เพราะว่าเรื่องของอันตรายในอาหาร หรือเรื่องทางด้านสาธารณสุขเป็นเรื่องที่ต้องใช้ความรวดเร็ว การมีฮอตไลน์จะทำให้ปลัด สธ.และ รมต.ได้รับรายงานด้วย ซึ่งจะมีคุณค่าต่อประชาชนแน่นอน หากไม่มีระบบใหญ่เชื่อมโยง ทุกอย่างที่มีแยกส่วนกันไปก็จบ” นายวิชาญ กล่าว
นายวิชาญ กล่าวอีกว่า นอกจากนี้ ได้มอบหมายให้ นพ.อำพล จินดาวัฒนะ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) หาข้อมูลว่าจะมีวิธีอย่างไรที่จะทำให้ประชาชนมีเงินช่วยเหลือในยามชราภาพหลังเกษียณสำหรับผู้อยู่ในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ อาจเป็นวิธีการที่เก็บเงินสมทบตั้งแต่อายุ 25 ปี เดือนละ 100 บาท เก็บไปจนถึงอายุ 60 ปี หลังจากนั้นจะได้รับเงินที่สมทบกันไปใช้ในช่วง 60 ปีขึ้นไป ทั้งนี้ ให้ สช.ไปหาวิธีการว่า หน่วยงานที่เกี่ยวกับสุขภาพทั้งหลาย อาทิ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ(สปสช.) สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ฯลฯ จะมาช่วยสมทบกับประชาชนอย่างไรได้บ้างเพื่อให้เกิดการบูรณาการ และเกิดประโยชน์กับคนทั้งประเทศ แต่หากจะต้องมีหน่วยงานมาดูแลก็ให้หาวิธีการว่าจะทำอย่างไร
นายวิชาญ มีนชัยนันท์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า ในการประชุมคณะกรรมการพัฒนาโครงสร้างระบบราชการ(ก.พ.ร.) โดยมีผู้บริหารรัดับสูงกระทรวงสาธารณสุข สภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักงบประมาณ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมประชุม ได้มีมติเห็นชอบ 2 เรื่อง คือ 1.จัดตั้งสำนักงานคณะกรรมการฟื้นฟูและบำบัดยาเสพติดขึ้น 2.ขยายการผลิตบุคลากรสถาบันพระบรมราชชนก โดยไม่ต้องขึ้นกับกระทรวงศึกษาธิการ(ศธ.) แต่ให้ขึ้นกับสธ.มีศักดิ์และสิทธิเท่าเทียมกัน สร้างความภาคภูมิใจให้กับผู้ที่ศึกษา ส่วนกรณีที่ได้มีการเสนออัตรากำลังให้กรมสุขภาพจิตและกรมแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกนั้น เนื่องจาก ก.พ.ร.ไม่ให้อัตรากำลังเพิ่ม จึงให้ทั้ง 2 หน่วยงาน ปรับเปลี่ยนการทำงานภายในองค์กรให้เหมาะสม
นายวิชาญ กล่าวต่อว่า สำหรับการจัดตั้งสำนักงานคณะกรรมการฟื้นฟูและบำบัดยาเสพติดนั้นสามารถจัดตั้งได้ไม่มีปัญหา โดยมีสถาบันธัญญารักษ์ เป็นหน่วยงานหลักในการดูแลรับผิดชอบอยู่แล้ว ซึ่งเดิมสถาบันธัญญารักษ์อยู่ในสังกัดกรมการแพทย์ให้มาอยู่ภายใต้สำนักงานปลัด สธ. เพื่อความคล่องตัวในการดำเนินงาน และเป็นแกนหลักประสานงานเชื่อมโยงกับโรงพยาบาลในและนอกสังกัดทั่วประเทศ ซึ่งเรื่องนี้ถือการทำงานต่อเนื่องจากรัฐบาลชุดที่แล้วและเป็นยุทธศาสตร์ของประเทศ ในการแก้ปัญหายาเสพติดด้วย
“มีการหารือและรับฟังความคิดเห็นกันว่า สำนักฯ สำนักงานคณะกรรมการฟื้นฟูและบำบัดยาเสพติด จะตั้งขึ้น เมื่อมีความพร้อมในทุกๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็นกำลังคนและงบประมาณ ทั้งนี้ งบประมาณสามารถนำมาจากกรมการแพทย์ และหน่วยงานที่สนับสนุนในการดูแลสุขภาพอย่าง สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) และสำนักงานกองทุนสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.) ส่วนกำลังคนนั้น ขณะนี้ยังไม่มีความชัดเจน” นายวิชาญ กล่าวและว่า โดยทั้ง 2 เรื่องจะต้องนำเข้าคณะรัฐมนตรี (ครม.) ให้เห็นชอบด้วย
นายวิชาญ กล่าวด้วยว่า นอกจากนี้ ตนมีแนวความคิดจะให้หมายเลขโทรศัพท์เกี่ยวกับเรื่องร้องเรียนของสธ.เป็นหมายเลขเดียวกัน ไม่ว่าจะเป็นร้องเรียนเรื่องคลินิกทำแท้งเถื่อน ตลาดสกปรก มีวัตถุต้องสงสัยในอาหาร ฯลฯ ก็สามารถกดหมายเลขเดียวกันได้เลย ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการหารือว่าจะใช้หมายเลขใด หรือถ้าไม่มีก็จำเป็นต้องเปิดเป็นหมายเลขใหม่เพื่อให้ง่ายต่อการจดจำ และเมื่อมีเรื่องร้องทุกข์ก็สามารถประสานไปยังพื้นที่ทั้งสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดให้จัดการหรือได้คำตอบทันที
“ผมต้องยอมรับว่า ขณะนี้มีหมายเลขโทรศัพท์ในสังกัดกรมต่างๆมากมายจนอาจทำให้ประชาชนสับสน ดังนั้น จึงคิดว่าต้องทำให้หมายเลขเดียวสามารถร้องเรียนได้หมดทุกเรื่องเหมือนกับ 191 หากได้หมายเลขแล้วจะทำประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนได้รู้จักแล้วใช้บริการ ทั้งนี้เพราะว่าเรื่องของอันตรายในอาหาร หรือเรื่องทางด้านสาธารณสุขเป็นเรื่องที่ต้องใช้ความรวดเร็ว การมีฮอตไลน์จะทำให้ปลัด สธ.และ รมต.ได้รับรายงานด้วย ซึ่งจะมีคุณค่าต่อประชาชนแน่นอน หากไม่มีระบบใหญ่เชื่อมโยง ทุกอย่างที่มีแยกส่วนกันไปก็จบ” นายวิชาญ กล่าว
นายวิชาญ กล่าวอีกว่า นอกจากนี้ ได้มอบหมายให้ นพ.อำพล จินดาวัฒนะ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) หาข้อมูลว่าจะมีวิธีอย่างไรที่จะทำให้ประชาชนมีเงินช่วยเหลือในยามชราภาพหลังเกษียณสำหรับผู้อยู่ในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ อาจเป็นวิธีการที่เก็บเงินสมทบตั้งแต่อายุ 25 ปี เดือนละ 100 บาท เก็บไปจนถึงอายุ 60 ปี หลังจากนั้นจะได้รับเงินที่สมทบกันไปใช้ในช่วง 60 ปีขึ้นไป ทั้งนี้ ให้ สช.ไปหาวิธีการว่า หน่วยงานที่เกี่ยวกับสุขภาพทั้งหลาย อาทิ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ(สปสช.) สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ฯลฯ จะมาช่วยสมทบกับประชาชนอย่างไรได้บ้างเพื่อให้เกิดการบูรณาการ และเกิดประโยชน์กับคนทั้งประเทศ แต่หากจะต้องมีหน่วยงานมาดูแลก็ให้หาวิธีการว่าจะทำอย่างไร