“อภิรักษ์” สั่งการ ปลัด กทม.ตรวจสอบสินบนยุ่น 400 ล้านเยน ให้เร็วที่สุด รับหลังได้ยินข่าวไม่สบายใจ เผยคอร์รัปชันฝังรากลึกในระบบการเมืองไทย ต้องช่วยกันตรวจสอบ ด้านคุณหญิงณัษฐนนท์บอกจำไม่ได้ รู้แค่เกิดในยุคสมัครเป็นผู้ว่าฯ และ "สหัส" เป็นรองผู้ว่าฯ คุมสำนักการระบายน้ำ
จากกรณีที่อดีตผู้บริหารบริษัทก่อสร้าง นิชิมัตซึ คอนสตรัคชัน (Nishimatsu Construction) ได้ให้การกับอัยการ เขตโตเกียว ว่า ในปี 2546 (ค.ศ.2003) บริษัทเคยให้เงินสินบนแก่เจ้าหน้าที่ชาวไทยจำนวนมากกว่า 400 ล้านเยน หรือราว 125 ล้านบาท เพื่อแลกกับการได้งานในโครงการอุโมงค์ระบายน้ำท่วม แสนแสบ-ลาดพร้าวซึ่งทางสำนักข่าวเกียวโต นิวส์ ได้รายงานข่าวอย่างครึกโครมนั้น
นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร(กทม.) กล่าวว่า ทุกครั้งที่มีข่าวแบบนี้ ยอมรับว่า เป็นเรื่องที่ไม่สบายใจ และได้หารือกับคณะผู้บริหารและข้าราชการมาโดยตลอด เพื่อช่วยกันแก้ปัญหาและรณรงค์เรื่องการทุจริตโดยตลอด ซึ่งผู้เกี่ยวข้องก็จะไม่สบายใจ ทั้งนี้ เรื่องที่เกิดขึ้นต้องดูว่าข้อเท็จจริงเป็นอย่างไร ซึ่งได้มอบให้นายพงศ์ศักติฐ์ เสนสันต์ ปลัด กทม.ตรวจสอบและรายงานข้อเท็จจริงมาให้เร็วที่สุด เพื่อหารือว่าจะมีมาตรการอย่างไรต่อไป อย่างไรก็ตาม ที่ผ่านมา กทม.ได้ให้ความสำคัญเรื่องนี้ โดยเชิญ นายสุรพล นิติไกรพจน์ อธิการบดี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์(มธ.) ซึ่งเป็นที่ยอมรับของสังคม มาเป็นประธานคณะกรรมการพิจารณาปฏิรูประบบราชการ เพื่อตรวจสอบการทุจริตตั้งแต่สมัยฮั้วประมูล 16 โครงการของ กทม.นอกจากนี้ ในกระบวนการตรวจสอบ ยังมีสำนักงานป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ก็เป็นอีกหนึ่งหน่วยงานที่จะทำหน้าที่ตรวจสอบ หากพบข้อมูลว่าเป็นโครงการของ กทม. ก็ต้องตรวจสอบได้
“ตอนนี้ผมยังไม่อยากคอมเมนต์ถึงญี่ปุ่น เพราะยังไม่ทราบ ขอพูดแค่ในภาพรวมก่อน เพราะขณะนี้ได้มอบหมายให้ปลัดไปตรวจสอบข้อเท็จจริง และ กทม.จะไม่นิ่งนอนใจกับเรื่องที่เกิดขึ้นอย่างแน่นอน และต้องมีการตรวจสอบข้อเท็จจริงก่อนเพราะเป็นเรื่องที่เสียหายต่อองค์กร ทั้งนี้ ผมยอมรับว่า ปัญหาการทุจริตคอร์รัปชันมันฝังรากลึกกับระบบการเมืองไทยมานาน และขึ้นอยู่กับตัวบุคคลด้วย ดังนั้น จึงต้องช่วยกันตรวจสอบ” นายอภิรักษ์ กล่าว
ด้านคุณหญิงณัษฐนนท์ ทวีสิน อดีตปลัด กทม.กล่าวว่า ตนเองเพิ่งจะรับตำแหน่งปลัด กทม.ในปี 2546 โครงการนี้อยู่ในความรับผิดชอบของ สนน.ซึ่งเรื่องดังกล่าวเกิดขึ้นนานแล้ว จึงไม่สามารถจำรายละเอียดได้ ทราบแต่เพียงว่าเรื่องดังกล่าวเกิดขึ้นในสมัยนายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรีเป็นผู้ว่าฯ กทม.และมี นายสหัส บัณฑิตกุล รองนายกฯ เป็นรองผู้ว่าฯ กทม.ที่กำกับดูแลงานด้านโยธา และสำนักระบายน้ำ
ทั้งนี้ ตนอยากเสนอดำเนินการตรวจสอบเรื่องนี้โดยเร็วที่สุดและให้อัยการสูงสุด (อสส.) ในฐานะทนายความแผ่นดินประสานไปยังอัยการญี่ปุ่นเพื่อขอสำนวนการสอบสวน เส้นทางการจ่ายเงินต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง อย่างไรก็ตาม การดำเนินการประกวดราคาเป็นไปตามกระบวนการของ สนน.ทุกขั้นตอนแต่เพื่อไม่ให้เกิดความเข้าใจผิดต้องเร่งตรวจสอบให้เกิดความโปร่งใส
จากกรณีที่อดีตผู้บริหารบริษัทก่อสร้าง นิชิมัตซึ คอนสตรัคชัน (Nishimatsu Construction) ได้ให้การกับอัยการ เขตโตเกียว ว่า ในปี 2546 (ค.ศ.2003) บริษัทเคยให้เงินสินบนแก่เจ้าหน้าที่ชาวไทยจำนวนมากกว่า 400 ล้านเยน หรือราว 125 ล้านบาท เพื่อแลกกับการได้งานในโครงการอุโมงค์ระบายน้ำท่วม แสนแสบ-ลาดพร้าวซึ่งทางสำนักข่าวเกียวโต นิวส์ ได้รายงานข่าวอย่างครึกโครมนั้น
นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร(กทม.) กล่าวว่า ทุกครั้งที่มีข่าวแบบนี้ ยอมรับว่า เป็นเรื่องที่ไม่สบายใจ และได้หารือกับคณะผู้บริหารและข้าราชการมาโดยตลอด เพื่อช่วยกันแก้ปัญหาและรณรงค์เรื่องการทุจริตโดยตลอด ซึ่งผู้เกี่ยวข้องก็จะไม่สบายใจ ทั้งนี้ เรื่องที่เกิดขึ้นต้องดูว่าข้อเท็จจริงเป็นอย่างไร ซึ่งได้มอบให้นายพงศ์ศักติฐ์ เสนสันต์ ปลัด กทม.ตรวจสอบและรายงานข้อเท็จจริงมาให้เร็วที่สุด เพื่อหารือว่าจะมีมาตรการอย่างไรต่อไป อย่างไรก็ตาม ที่ผ่านมา กทม.ได้ให้ความสำคัญเรื่องนี้ โดยเชิญ นายสุรพล นิติไกรพจน์ อธิการบดี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์(มธ.) ซึ่งเป็นที่ยอมรับของสังคม มาเป็นประธานคณะกรรมการพิจารณาปฏิรูประบบราชการ เพื่อตรวจสอบการทุจริตตั้งแต่สมัยฮั้วประมูล 16 โครงการของ กทม.นอกจากนี้ ในกระบวนการตรวจสอบ ยังมีสำนักงานป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ก็เป็นอีกหนึ่งหน่วยงานที่จะทำหน้าที่ตรวจสอบ หากพบข้อมูลว่าเป็นโครงการของ กทม. ก็ต้องตรวจสอบได้
“ตอนนี้ผมยังไม่อยากคอมเมนต์ถึงญี่ปุ่น เพราะยังไม่ทราบ ขอพูดแค่ในภาพรวมก่อน เพราะขณะนี้ได้มอบหมายให้ปลัดไปตรวจสอบข้อเท็จจริง และ กทม.จะไม่นิ่งนอนใจกับเรื่องที่เกิดขึ้นอย่างแน่นอน และต้องมีการตรวจสอบข้อเท็จจริงก่อนเพราะเป็นเรื่องที่เสียหายต่อองค์กร ทั้งนี้ ผมยอมรับว่า ปัญหาการทุจริตคอร์รัปชันมันฝังรากลึกกับระบบการเมืองไทยมานาน และขึ้นอยู่กับตัวบุคคลด้วย ดังนั้น จึงต้องช่วยกันตรวจสอบ” นายอภิรักษ์ กล่าว
ด้านคุณหญิงณัษฐนนท์ ทวีสิน อดีตปลัด กทม.กล่าวว่า ตนเองเพิ่งจะรับตำแหน่งปลัด กทม.ในปี 2546 โครงการนี้อยู่ในความรับผิดชอบของ สนน.ซึ่งเรื่องดังกล่าวเกิดขึ้นนานแล้ว จึงไม่สามารถจำรายละเอียดได้ ทราบแต่เพียงว่าเรื่องดังกล่าวเกิดขึ้นในสมัยนายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรีเป็นผู้ว่าฯ กทม.และมี นายสหัส บัณฑิตกุล รองนายกฯ เป็นรองผู้ว่าฯ กทม.ที่กำกับดูแลงานด้านโยธา และสำนักระบายน้ำ
ทั้งนี้ ตนอยากเสนอดำเนินการตรวจสอบเรื่องนี้โดยเร็วที่สุดและให้อัยการสูงสุด (อสส.) ในฐานะทนายความแผ่นดินประสานไปยังอัยการญี่ปุ่นเพื่อขอสำนวนการสอบสวน เส้นทางการจ่ายเงินต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง อย่างไรก็ตาม การดำเนินการประกวดราคาเป็นไปตามกระบวนการของ สนน.ทุกขั้นตอนแต่เพื่อไม่ให้เกิดความเข้าใจผิดต้องเร่งตรวจสอบให้เกิดความโปร่งใส