ผอ.สำนักการศึกษา กทม.เตรียมยกกรณีครูปารองเท้าใส่เด็กนักเรียนเป็นกรณีตัวอย่างป้องกันเกิดเหตุซ้ำซาก เชื่อผู้ก่อเหตุมีเจตนาไม่เช่นนั้นรองเท้าคงไม่ถูกหน้าเด็ก ขณะเดียวกัน พร้อมเซ็นย้ายครูปารองเท้าใส่เด็กไปต่างจังหวัดตามคำร้อง ส่วนบทลงโทษอาจถูกลดขั้นเงินเดือน
นายจำเริญ ศิริพงศ์ติกานนท์ ผู้อำนวยการสำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร (กทม.) เปิดเผยถึงความคืบหน้ากรณีนายประสิทธิ์ จันซ้าย อาจารย์ 1 ระดับ 3 โรงเรียนวิชูทิศ สังกัด กทม.ก่อเหตุปารองเท้าใส่นักเรียนหญิงชั้น ม.2 ของโรงเรียนดังกล่าวเพื่อเป็นการลงโทษเนื่องจากไม่พอใจที่เข้าแถวไม่เป็นระเบียบ และล่าสุดได้ขอย้ายตัวเองไปสอนยังต่างจังหวัดว่า ขณะนี้ตนยังไม่เห็นหนังสือเรื่องการขอย้ายไปสอนที่ต่างจังหวัดของนายประสิทธิ์ ซึ่งทางสำนักการศึกษายินดีทำเรื่องให้แต่จะต้องเป็นไปตามเงื่อนไขระเบียบปฏิบัติของ กทม.ที่มีการระบุไว้ว่าจะต้องปฏิบัติหน้าที่ไม่น้อยกว่า 3 ปี จึงจะสามารถขอย้ายไปที่อื่นได้ หรือโอนย้ายสลับตำแหน่งในวิชาเอกเดียวกันได้ ทั้งนี้ หลังจากเกิดเหตุทางสำนักงานเขตดินแดงได้เรียกประชุมครูในสังกัดทั้ง 3 แห่งที่อยู่ในพื้นที่เขตดินแดงได้แก่ โรงเรียนวิชูทิศ โรงเรียนวิชากร และโรงเรียนสามเสนนอก โดยได้กำชับวิธีการทำโทษนักเรียนและให้ระมัดระวังเรื่องนี้เป็นพิเศษ
อย่างไรก็ตาม เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นเรื่องเฉพาะตัวบุคคลซึ่งที่ผ่านมาในโรงเรียนสังกัดกทม.ไม่เคยเกิดเหตุเช่นนี้มาก่อน และเมื่อเกิดเหตุแล้วผู้กระทำผิดก็ต้องรับผิดตามระเบียบซึ่งอาจจะถูกลดขั้นเงินเดือนหรือตามแต่คณะกรรมการจะพิจารณาโดยจะไม่มีการปกป้องแน่นอน และเรื่องนี้ไม่ได้ทำให้ครูกทม.เสียขวัญแต่อย่างใดเพราะได้ให้ความเป็นธรรมมีการตั้งคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริง
“ผอ.โรงเรียนวิชูทิศแจ้งให้ทราบในเบื้องต้นว่า นายประสิทธิ์ได้ลาป่วยเพื่อรักษาโรคประจำตัวมาเป็นระยะเวลาหนึ่งแล้ว และเมื่ออาการดีขึ้นจึงกลับมาปฏิบัติหน้าที่สอนนักเรียนต่อ ซึ่งส่วนตัวเห็นว่าจะอ้างว่าตัวเองเครียดจากโรคประจำตัว หรืออาจเป็นคนที่มีปัญหาทางอารมณ์ เพราะอยู่ดีๆ รองเท้าจะลอยไปถูกเด็กได้อย่างไร เพราะนี่ไม่ใช่การเตะบอลที่รองเท้าอาจหลุดได้ หรือจะอ้างว่าตัวเองไม่ได้เจตนาก็คงอ้างไม่ได้เช่นกัน ดังนั้นเรื่องนี้จึงไม่น่าเกิดขึ้นผมและทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องก็รับไม่ได้กับเหตุการณ์ดังกล่าว” นายจำเริญ กล่าว
ผอ.สำนักการศึกษา กล่าวอีกว่า อย่างไรก็ตาม ก่อนหน้านี้ทางสำนักฯ ได้มีหนังสือเวียนถึงโรงเรียนในสังกัดทั้ง 435 แห่งโดยกำชับมาตรการการลงโทษนักเรียนเมื่อกระทำผิดโดยเฉพาะการห้ามใช้ไม้เรียวกับเด็ก รวมถึงบอกบทลงโทษของครูหากทำเกินกว่าเหตุ ทั้งนี้ ทางสำนักฯ จะส่งหนังสือเวียนกำชับอีกครั้ง และในเร็วๆ นี้จะมีการประชุมครู กทม.ซึ่งจะได้ยกเหตุการณ์นี้เป็นกรณีตัวอย่างเพื่อไม่ให้เกิดเหตุอย่างกรณีนี้อีก
นายจำเริญ ศิริพงศ์ติกานนท์ ผู้อำนวยการสำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร (กทม.) เปิดเผยถึงความคืบหน้ากรณีนายประสิทธิ์ จันซ้าย อาจารย์ 1 ระดับ 3 โรงเรียนวิชูทิศ สังกัด กทม.ก่อเหตุปารองเท้าใส่นักเรียนหญิงชั้น ม.2 ของโรงเรียนดังกล่าวเพื่อเป็นการลงโทษเนื่องจากไม่พอใจที่เข้าแถวไม่เป็นระเบียบ และล่าสุดได้ขอย้ายตัวเองไปสอนยังต่างจังหวัดว่า ขณะนี้ตนยังไม่เห็นหนังสือเรื่องการขอย้ายไปสอนที่ต่างจังหวัดของนายประสิทธิ์ ซึ่งทางสำนักการศึกษายินดีทำเรื่องให้แต่จะต้องเป็นไปตามเงื่อนไขระเบียบปฏิบัติของ กทม.ที่มีการระบุไว้ว่าจะต้องปฏิบัติหน้าที่ไม่น้อยกว่า 3 ปี จึงจะสามารถขอย้ายไปที่อื่นได้ หรือโอนย้ายสลับตำแหน่งในวิชาเอกเดียวกันได้ ทั้งนี้ หลังจากเกิดเหตุทางสำนักงานเขตดินแดงได้เรียกประชุมครูในสังกัดทั้ง 3 แห่งที่อยู่ในพื้นที่เขตดินแดงได้แก่ โรงเรียนวิชูทิศ โรงเรียนวิชากร และโรงเรียนสามเสนนอก โดยได้กำชับวิธีการทำโทษนักเรียนและให้ระมัดระวังเรื่องนี้เป็นพิเศษ
อย่างไรก็ตาม เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นเรื่องเฉพาะตัวบุคคลซึ่งที่ผ่านมาในโรงเรียนสังกัดกทม.ไม่เคยเกิดเหตุเช่นนี้มาก่อน และเมื่อเกิดเหตุแล้วผู้กระทำผิดก็ต้องรับผิดตามระเบียบซึ่งอาจจะถูกลดขั้นเงินเดือนหรือตามแต่คณะกรรมการจะพิจารณาโดยจะไม่มีการปกป้องแน่นอน และเรื่องนี้ไม่ได้ทำให้ครูกทม.เสียขวัญแต่อย่างใดเพราะได้ให้ความเป็นธรรมมีการตั้งคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริง
“ผอ.โรงเรียนวิชูทิศแจ้งให้ทราบในเบื้องต้นว่า นายประสิทธิ์ได้ลาป่วยเพื่อรักษาโรคประจำตัวมาเป็นระยะเวลาหนึ่งแล้ว และเมื่ออาการดีขึ้นจึงกลับมาปฏิบัติหน้าที่สอนนักเรียนต่อ ซึ่งส่วนตัวเห็นว่าจะอ้างว่าตัวเองเครียดจากโรคประจำตัว หรืออาจเป็นคนที่มีปัญหาทางอารมณ์ เพราะอยู่ดีๆ รองเท้าจะลอยไปถูกเด็กได้อย่างไร เพราะนี่ไม่ใช่การเตะบอลที่รองเท้าอาจหลุดได้ หรือจะอ้างว่าตัวเองไม่ได้เจตนาก็คงอ้างไม่ได้เช่นกัน ดังนั้นเรื่องนี้จึงไม่น่าเกิดขึ้นผมและทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องก็รับไม่ได้กับเหตุการณ์ดังกล่าว” นายจำเริญ กล่าว
ผอ.สำนักการศึกษา กล่าวอีกว่า อย่างไรก็ตาม ก่อนหน้านี้ทางสำนักฯ ได้มีหนังสือเวียนถึงโรงเรียนในสังกัดทั้ง 435 แห่งโดยกำชับมาตรการการลงโทษนักเรียนเมื่อกระทำผิดโดยเฉพาะการห้ามใช้ไม้เรียวกับเด็ก รวมถึงบอกบทลงโทษของครูหากทำเกินกว่าเหตุ ทั้งนี้ ทางสำนักฯ จะส่งหนังสือเวียนกำชับอีกครั้ง และในเร็วๆ นี้จะมีการประชุมครู กทม.ซึ่งจะได้ยกเหตุการณ์นี้เป็นกรณีตัวอย่างเพื่อไม่ให้เกิดเหตุอย่างกรณีนี้อีก