นักวิชาการ ชี้ชัด 10 ปี ปฏิรูปการศึกษาไทยเหลวไม่มีผลสำเร็จที่ชัดเจน ควรต้องปฏิรูปการศึกษากันใหม่อีกรอบ เปลี่ยนจากระบบเอนทรานซ์เป็นแอดมิชชั่นยิ่งทำให้เด็กกวดวิชายิ่งขึ้น และลุกลามไปในการศึกษาทุกระดับแม้กระทั่งอนุบาล ขณะที่ระดับอุดมศึกษาปั่นป่วนเพราะเปิดให้มหาวิทยาลัยทำหลักสูตรเอง จึงมีการผลิตหลักสูตรเรียกคนเข้าเรียนมากยิ่งขึ้นจนความรู้กลายเป็นธุรกิจ พ่อแม่เผยหลังปฏิรูปการศึกษาความทุกข์ของคนมากขึ้นความสุขน้อยลง “จำยอม” ส่งลูกกวดวิชาเพื่อเพิ่มโอกาสในการแข่งขันในระบบการศึกษาให้ลูก
วันที่ 26 มิ.ย.สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) จัดแถลงข่าว “เกือบ 10 ปีปฏิรูปการศึกษาไยครอบครัวไทยไม่เป็นสุข” โดยนายธนากร คมกฤส หัวหน้าฝ่ายพัฒนาเครือข่ายครอบครัว กล่าวว่า การสำรวจ Family Poll มูลนิธิเครือข่ายครอบครัว เสียงครอบครัวสะท้อนสังคม เรื่อง “ครอบครัวกับการก้าวสู่ปีที่ 10 ปฏิรูปการศึกษาไทย” ในกลุ่มตัวอย่างผู้ปกครองเขต กทม.และปริมณฑล 509 คน พบ 41.7% มีบุตรหลานในความดูแล 2 คน 26.5% มี 1 คน 19.8% มี 3 คน ส่วนใหญ่ศึกษาม.ต้นและม.ปลาย ผู้ปกครองถึง 71.9% ส่งเด็กไปเรียนพิเศษ/เรียนเสริม ภาษาอังกฤษ คือ วิชาที่เรียนเสริมมากที่สุด 69% รองลงมา คณิตศาสตร์ 56.9% ฟิสิกส์ 33.6% ภาษาไทย 33% เคมี 32.4% ด้านกิจกรรมที่ให้เรียนมากสุดได้แก่ ว่ายน้ำ เล่นดนตรี วาดรูป แบตมินตัน และร้องเพลงตามลำดับ สถานกวดวิชาที่นิยมเรียนตามลำดับ คือ โรงเรียนของบุตรหลาน,กวดวิชาเคมี อ.อุ๊,เดอะเบรน,ภาษาอังกฤษคุณครูสมศรี และจ้างครูมาสอนที่บ้าน โดยจะเรียนตั้งแต่จันทร์-ศุกร์ ซึ่งวันที่เรียนมากที่สุดคือ เสาร์และอาทิตย์ ช่วง 08.00-12.00 น.รองลงมา 13.00-16.00 น.และ หลัง 16.00 น.เหตุที่ส่งไปเรียนเพราะอยากให้ได้ความรู้เพิ่ม อยากให้สอบเข้ามหาวิทยาลัยได้ และจะได้สอบเข้าโรงเรียนที่มีชื่อเสียง
“ส่วนค่าใช้จ่ายที่เรียนเสริม ที่ต้องจ่ายต่อเดือนต่อคน 39.6% อยู่ที่ 1,001-3,000 บาท 20.7% จ่าย 3,001 – 5,000 บาท 9.9% จ่าย 5,001- 7,000 บาท และมีถึง 7% ที่ต้องจ่ายมากกว่า 9,000 บาท และ 18.6% จ่ายไม่เกิน 1,000 บาท ขณะที่รายได้รวมต่อเดือนของทั้งครอบครัว 26.1% มีรายได้ 10,001-20,000 บาท 18.7% รายได้ 20,0001-30,000 บาท 17.9% มากกว่า 50,000 บาท มีถึง 13.4% ที่มีรายได้ไม่ถึง 10,000 บาท แม้ครอบครัวส่วนใหญ่จะมีรายได้ไม่มาก เมื่อเทียบกับรายจ่าย แต่ก็ต้องดิ้นรนส่งลูกหลานเรียนพิเศษ เรียนเสริม”นายธนากร กล่าว
นายธนากร กล่าวด้วยว่า ความรู้สึกที่มีต่อการศึกษาไทยช่วง 10 ปี ตั้งแต่ปฏิรูปการศึกษาเมื่อวันที่ 19 ส.ค. 2542 นั้น 20.8% ไม่พอใจเหมือนเดิม 17.1% ไม่พอใจเพิ่มขึ้น 37.5% พอใจเหมือนเดิม มีเพียง 24.6% ที่พอใจเพิ่มขึ้น กลุ่มที่พอใจบอกว่า สิ่งที่พอใจ 3 อันดับแรก คือ 1.สื่อการสอน/สื่ออิเล็คทรอนิกส์ 14.6% 2.คุณภาพนักเรียนด้านความดี ความเก่ง ความสุข 14.5% 3.การมีส่วนร่วมของผู้ปกครอง 11.3% สิ่งที่ไม่พอใจ 3 อันดับแรก คือ 1.คุณภาพครู 15.9% 2.สวัสดิภาพความปลอดภัยภายใน-ภายนอกโรงเรียน 15% 3.คุณภาพนักเรียนด้านความดี ความเก่ง ความสุข 12.2%
“สิ่งที่อยากให้แก้ด่วนคือ การเก็บค่าเรียนไม่เหมาะสม,คุณภาพสวัสดิการครู,ระบบการเรียนมหาวิทยาลัยแบบไม่ต้องกวดวิชา ส่วนกิจกรรมที่อยากให้มีต่อ คือ ส่งเสริมการเรียน/จัดเรียนเสริม กีฬาสีและกิจกรรมอาสาสมัครพัฒนาสังคม กิจกรรมที่อยากให้เลิก ได้แก่ เข้าค่ายที่เดินทางไกล แบ่งนักเรียนทำงานกลุ่ม และกิจกรรมลูกเสือ ขณะที่กิจกรรมที่อยากเพิ่ม คือส่งเสริมการเรียนให้ได้มาตรฐาน มีกิจกรรมบันเทิงให้คลายเครียด และมีกิจกรรมพัฒนาทักษะชีวิต”นายธนากร กล่าว
ด้าน นางอำนวยพร เหรียญทองเลิศ ตัวแทนผู้ปกครอง กล่าวว่า จากที่ได้แลกเปลี่ยนความรู้สึกกับผู้ปกครองหลายๆ ครอบครัว ในช่วงการปฏิรูปการศึกษาที่ผ่านมา พบว่าพ่อแม่มีความทุกข์มากขึ้นความสุขลดน้อยลง เนื่องจากระบบการศึกษาไทยมีปัญหา และรัฐบาลแก้ไม่ตก ปัจจุบันพ่อแม่หลายคนบอกว่าลูกไม่จำเป็นต้องเรียนพิเศษ แต่ต้องจำยอมให้เรียน เพราะหากพิจารณาถึงคุณภาพของสถานศึกษา และคุณภาพของครูแล้วจะเห็นว่ามีปัญหา ซึ่งส่งผลมาถึงคุณภาพของผู้เรียน เป็นเหตุให้เด็กต้องเรียนพิเศษเพราะเห็นว่าเป็นทางออก แต่ในความเป็นจริงการกวดวิชาเป็นทางออกของการศึกษาที่ปลายเหตุเท่านั้น แต่เพียงทางเลือกของเด็ก เนื่องจากเด็กเห็นว่าการกวดวิชาช่วยเติมเต็มส่วนที่ขาดหายจากระบบการศึกษา ช่วยต่อยอดจากในห้องเรียน สร้างความได้เปรียบในการแข่งขันในระบบการศึกษาไทย ที่สำคัญเป็นการเสริมความมั่นใจให้กับผู้เรียน ทำให้เกิดค่านิยมการกวดวิชา ในฐานะพ่อแม่ก็ต้องช่วยผลักดันให้ลูกมีโอกาสทางการศึกษา และมีพ่อแม่จำนวนหนึ่งที่ไม่จำยอมให้เด็กเรียนกวดวิชาแต่ก็ต้องนำลูกออกจากระบบการศึกษาไทย หรือให้ลูกไปศึกษาต่อต่างประเทศแทน
“พ่อแม่ต้องถามตัวเองว่าต้องการให้ลูกเป็นเช่นไร ซึ่งพ่อแม่มักจะมองว่าอยากให้ลูกเป็นคนเก่งก่อนให้ลูกเป็นคนดี และพ่อแม่อย่าบังคับให้ลูกเรียนในสิ่งที่ลูกไม่อยากทำ ต้องดูว่าลูกมีความถนัดเรื่องใดให้ลูกได้ทำสิ่งนั้น การเรียนพิเศษไม่ได้ช่วยให้ลูกประสบความสำเร็จ สิ่งที่ทำให้เด็กประสบความสำเร็จคือความรับผิดชอบและค้นหาสิ่งที่ตนเองให้พบ ที่สำคัญควรให้เด็กได้ลองผิดลองถูกเพื่อให้เด็กได้มีภูมิคุ้มกันไม่ใช่คนเป็นพ่อแม่คอยปกป้องตลอดเวลา อีกทั้งพ่อแม่ควรเป็นต้นแบบที่ดีให้กับลูกด้วย” นางอำนวยพร
นายยุทธชัย เฉลิมชัย นายกสมาคมบ้านเรียนไทย กล่าวว่า จากการร่วมวงเสวนาหลายครั้งในการจัดทำร่าง พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ เมื่อปี 2542 พบว่า การศึกษาที่ดีไม่ได้อยู่ในโรงเรียนเพียงอย่างเดียว ตนจึงตัดสินใจเอาลูกออกจากโรงเรียน เพราะมั่นใจว่าหลังจากที่ พ.ร.บ.การศึกษามีผลบังคับใช้จะเกิดความโกลาหลและเกิดปัญหาในโรงเรียนอย่างแน่นอน ทั้งจากการเปลี่ยนโครงสร้าง การเปลี่ยนการเรียนการสอน และที่สำคัญครูต้องมีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ ดังนั้นจึงทำให้ครูต้องวุ่นวายกับการพัฒนาตัวเอง โดยจะต้องนำผลงานทั้งของตนเอง และของนักเรียน เพื่อไปประกอบการขอใบอนุญาตฯ ส่งผลให้เด็กต้องทำงานมากขึ้น และทนทุกข์กับความโกลาหลในครั้งนี้ร่วมไปด้วย
“เมื่อปี 2542 ลูกของผมกำลังจะจบชั้น ป.6 ดังนั้น จะมารอการปฏิรูปการศึกษา ซึ่งผลอาจจะเกิดในอีก 10 ปีข้างหน้าไม่ได้ จึงคิดว่าเอาออกจากโรงเรียนดีกว่า และพ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ ก็ได้เปิดโอกาสให้ครอบครัวมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาได้ ไม่เหมือนเมื่อก่อนที่การศึกษาคือ การส่งลูกไปโรงเรียนเพียงอย่างเดียว” นายยุทธชัย กล่าวและว่า ปัจจุบันลูกทั้ง 2 คนได้วุฒิการศึกษา ม.6 จากสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (กศน.) จากการสอบเทียบ โดยคนโตกำลังจะสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีจากประเทศจีนในปีนี้ ส่วนคนเล็กอยู่ชั้นปี 1 โดยกำลังศึกษาทางด้านดนตรีที่ประเทศจีน ซึ่งสิ่งนี้เป็นผลที่ไม่ได้เกิดจากในโรงเรียน แต่เป็นการศึกษาที่ครอบครัวจัดให้
นายยุทธชัย กล่าวต่อไปว่า การเรียนรู้ของคนควรเป็นการเรียนรู้แบบผสมผสานกัน ทั้งการศึกษาในระบบ นอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย เพราะการเรียนในห้องเรียนเพียงอย่างเดียวจะให้ความรู้ในการดำรงชีวิตกับผู้เรียนน้อยมากประมาณ 10% เท่านั้น ขณะที่อีก 90% อยู่ข้างนอกทั้งหมด ดังนั้นจึงต้องบูรณาการระหว่างวิชาการกับทักษะชีวิตให้กับเด็กด้วย และรัฐควรจะต้องเปลี่ยนบทบาทจากการจัดการศึกษา เป็นสนับสนุน และดูแล โดยให้สถาบันทางสังคมเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาให้มากขึ้น
นายไพฑูรย์ สินลารัตน์ รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยธุรกิตบัณฑิตย์ กล่าวว่า คิดว่า 10 ปีของการปฏิรูปการศึกษาตั้งแต่ปี 2542 นั้นยังไม่มีผลอะไรมากและคิดว่าการปฏิรูปการศึกษาสำเร็จน้อย ดังนั้น ควรจะต้องมีการปฏิรูปการศึกษากันใหม่อีกครั้ง โดยควรเน้นการเรียนการสอนที่ให้เด็กไทยมีความเข้มแข็งทางอารมย์มีความคิด ความอ่านสามารถคิดวิเคราะห์ วิจารณ์สิ่งต่างๆได้ไม่เช่นนั้นเด็กไทยก็จะรับอะไรมาทั้งหมดโดยเฉพาะการหลุดจากสังคมบริโภคนิยมในปัจจุบัน
นายไพฑูรย์ กล่าวต่อว่า สำหรับการกวดวิชาในเมืองไทยนั้นจากการสำรวจของตนเมื่อ 7 ปีที่ผ่านมาและเมื่อมาดูผลการสำรวจในปัจจุบันแสดงให้เห็นว่าความคิดทางการศึกษาไทยยังเหมือนเดิมและยังไม่ได้ทำให้อะไรดีขึ้นเลย ซึ่งจากการสำรวจในตอนนั้นทำการสำรวจระดับมัธยมศึกษาปลายก็พบว่าเด็กต้องการกวดวิชาเพื่ออยากเข้ามหาวิทยาลัยตนคิดว่าระบบแอดมิชชั่นไม่ได้ดีกว่าระบบเอนทรานซ์เลย เนื่องจาการสอบแอดมิชั่นมีหลายองค์ประกอบทำให้เด็กเครียดมากกว่าการสอบเอนทรานซ์ที่ใช้คะแนนกับจีพีเอ ดังนั้นในปี 2553 ที่จะใช้แอดมิชชั่นองค์ประกอบใหม่จะยิ่งทำให้ต้องกวดวิชาเพิ่มมากขึ้น และเชื่อว่าการกวดวิชาจะยิ่งขยายไปทุกระดับการศึกษาต่อไปจะต้องมีการกวดวิชาในระดับอนุบาลเพื่อให้ลูกหลานได้เข้าโรงเรียนประถมดีๆมากขึ้น อย่างไรก็ตามเมือ่ประเมินแล้วคิดว่จะมีเด้กประมาณ 4 ล้านกว่าคนหรือ 40 -50 %ของเด็กนักเรียนทั่วประเทศเรียนกวดวิชาดังนั้นน่าจะมีเงินหมุนเวียนในระบบประมาณ 2.5 หมื่นล้านบาท
“คุณค่าของการกวดวิชาจริงๆไม่ได้ต่อยอดความรู้อะไรเพียงแต่การเพิ่มความมั่นใจของนักเรียนเท่านั้น การที่คนกวดวิชาส่วนหนึ่งเป็นเพราะ นักเรียน ผู้ปกครองไม่มั่นใจในระบบ ผมคิดว่าการแก้ไขเพื่อลดกระแสการเรียนกวดวิชานั้นควรจะต้องส่งเสริมสนับสนุนโรงเรียนในต่างจังหวัด ให้มีคุณภาพมากยิ่งขึ้น”
นายไพฑูรย์ กล่าวต่อไปว่า สำหรับการเรียนในระดับมหาวิทยาลัยยิ่งปั่นป่วนมากในปัจจุบันเนื่องจาการที่จะให้มหาวิทยาลัยมีความอิสระทำให้มหาวิทยาลัยออกหลักสูตรการเรียนการสอนได้เอง ทำให้แต่ละแห่งวางแผนออกแบบเพื่อให้คนมาเรียนมากขึ้นโดยเฉพาะการเปิดสอนหลักสูตรพิเศษ ซึ่งทิศทางเหล่านี้เป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้องเพราะการศึกษาจะเป็นเรืองของสินค้า ธุรกิจมากกว่าการบริการหากเป็นแบบนี้นานๆ อีกหน่อยคนที่เข้ามหาวิทยาลัยดีๆจะกลายเป็นคนชั้นสูง
วันที่ 26 มิ.ย.สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) จัดแถลงข่าว “เกือบ 10 ปีปฏิรูปการศึกษาไยครอบครัวไทยไม่เป็นสุข” โดยนายธนากร คมกฤส หัวหน้าฝ่ายพัฒนาเครือข่ายครอบครัว กล่าวว่า การสำรวจ Family Poll มูลนิธิเครือข่ายครอบครัว เสียงครอบครัวสะท้อนสังคม เรื่อง “ครอบครัวกับการก้าวสู่ปีที่ 10 ปฏิรูปการศึกษาไทย” ในกลุ่มตัวอย่างผู้ปกครองเขต กทม.และปริมณฑล 509 คน พบ 41.7% มีบุตรหลานในความดูแล 2 คน 26.5% มี 1 คน 19.8% มี 3 คน ส่วนใหญ่ศึกษาม.ต้นและม.ปลาย ผู้ปกครองถึง 71.9% ส่งเด็กไปเรียนพิเศษ/เรียนเสริม ภาษาอังกฤษ คือ วิชาที่เรียนเสริมมากที่สุด 69% รองลงมา คณิตศาสตร์ 56.9% ฟิสิกส์ 33.6% ภาษาไทย 33% เคมี 32.4% ด้านกิจกรรมที่ให้เรียนมากสุดได้แก่ ว่ายน้ำ เล่นดนตรี วาดรูป แบตมินตัน และร้องเพลงตามลำดับ สถานกวดวิชาที่นิยมเรียนตามลำดับ คือ โรงเรียนของบุตรหลาน,กวดวิชาเคมี อ.อุ๊,เดอะเบรน,ภาษาอังกฤษคุณครูสมศรี และจ้างครูมาสอนที่บ้าน โดยจะเรียนตั้งแต่จันทร์-ศุกร์ ซึ่งวันที่เรียนมากที่สุดคือ เสาร์และอาทิตย์ ช่วง 08.00-12.00 น.รองลงมา 13.00-16.00 น.และ หลัง 16.00 น.เหตุที่ส่งไปเรียนเพราะอยากให้ได้ความรู้เพิ่ม อยากให้สอบเข้ามหาวิทยาลัยได้ และจะได้สอบเข้าโรงเรียนที่มีชื่อเสียง
“ส่วนค่าใช้จ่ายที่เรียนเสริม ที่ต้องจ่ายต่อเดือนต่อคน 39.6% อยู่ที่ 1,001-3,000 บาท 20.7% จ่าย 3,001 – 5,000 บาท 9.9% จ่าย 5,001- 7,000 บาท และมีถึง 7% ที่ต้องจ่ายมากกว่า 9,000 บาท และ 18.6% จ่ายไม่เกิน 1,000 บาท ขณะที่รายได้รวมต่อเดือนของทั้งครอบครัว 26.1% มีรายได้ 10,001-20,000 บาท 18.7% รายได้ 20,0001-30,000 บาท 17.9% มากกว่า 50,000 บาท มีถึง 13.4% ที่มีรายได้ไม่ถึง 10,000 บาท แม้ครอบครัวส่วนใหญ่จะมีรายได้ไม่มาก เมื่อเทียบกับรายจ่าย แต่ก็ต้องดิ้นรนส่งลูกหลานเรียนพิเศษ เรียนเสริม”นายธนากร กล่าว
นายธนากร กล่าวด้วยว่า ความรู้สึกที่มีต่อการศึกษาไทยช่วง 10 ปี ตั้งแต่ปฏิรูปการศึกษาเมื่อวันที่ 19 ส.ค. 2542 นั้น 20.8% ไม่พอใจเหมือนเดิม 17.1% ไม่พอใจเพิ่มขึ้น 37.5% พอใจเหมือนเดิม มีเพียง 24.6% ที่พอใจเพิ่มขึ้น กลุ่มที่พอใจบอกว่า สิ่งที่พอใจ 3 อันดับแรก คือ 1.สื่อการสอน/สื่ออิเล็คทรอนิกส์ 14.6% 2.คุณภาพนักเรียนด้านความดี ความเก่ง ความสุข 14.5% 3.การมีส่วนร่วมของผู้ปกครอง 11.3% สิ่งที่ไม่พอใจ 3 อันดับแรก คือ 1.คุณภาพครู 15.9% 2.สวัสดิภาพความปลอดภัยภายใน-ภายนอกโรงเรียน 15% 3.คุณภาพนักเรียนด้านความดี ความเก่ง ความสุข 12.2%
“สิ่งที่อยากให้แก้ด่วนคือ การเก็บค่าเรียนไม่เหมาะสม,คุณภาพสวัสดิการครู,ระบบการเรียนมหาวิทยาลัยแบบไม่ต้องกวดวิชา ส่วนกิจกรรมที่อยากให้มีต่อ คือ ส่งเสริมการเรียน/จัดเรียนเสริม กีฬาสีและกิจกรรมอาสาสมัครพัฒนาสังคม กิจกรรมที่อยากให้เลิก ได้แก่ เข้าค่ายที่เดินทางไกล แบ่งนักเรียนทำงานกลุ่ม และกิจกรรมลูกเสือ ขณะที่กิจกรรมที่อยากเพิ่ม คือส่งเสริมการเรียนให้ได้มาตรฐาน มีกิจกรรมบันเทิงให้คลายเครียด และมีกิจกรรมพัฒนาทักษะชีวิต”นายธนากร กล่าว
ด้าน นางอำนวยพร เหรียญทองเลิศ ตัวแทนผู้ปกครอง กล่าวว่า จากที่ได้แลกเปลี่ยนความรู้สึกกับผู้ปกครองหลายๆ ครอบครัว ในช่วงการปฏิรูปการศึกษาที่ผ่านมา พบว่าพ่อแม่มีความทุกข์มากขึ้นความสุขลดน้อยลง เนื่องจากระบบการศึกษาไทยมีปัญหา และรัฐบาลแก้ไม่ตก ปัจจุบันพ่อแม่หลายคนบอกว่าลูกไม่จำเป็นต้องเรียนพิเศษ แต่ต้องจำยอมให้เรียน เพราะหากพิจารณาถึงคุณภาพของสถานศึกษา และคุณภาพของครูแล้วจะเห็นว่ามีปัญหา ซึ่งส่งผลมาถึงคุณภาพของผู้เรียน เป็นเหตุให้เด็กต้องเรียนพิเศษเพราะเห็นว่าเป็นทางออก แต่ในความเป็นจริงการกวดวิชาเป็นทางออกของการศึกษาที่ปลายเหตุเท่านั้น แต่เพียงทางเลือกของเด็ก เนื่องจากเด็กเห็นว่าการกวดวิชาช่วยเติมเต็มส่วนที่ขาดหายจากระบบการศึกษา ช่วยต่อยอดจากในห้องเรียน สร้างความได้เปรียบในการแข่งขันในระบบการศึกษาไทย ที่สำคัญเป็นการเสริมความมั่นใจให้กับผู้เรียน ทำให้เกิดค่านิยมการกวดวิชา ในฐานะพ่อแม่ก็ต้องช่วยผลักดันให้ลูกมีโอกาสทางการศึกษา และมีพ่อแม่จำนวนหนึ่งที่ไม่จำยอมให้เด็กเรียนกวดวิชาแต่ก็ต้องนำลูกออกจากระบบการศึกษาไทย หรือให้ลูกไปศึกษาต่อต่างประเทศแทน
“พ่อแม่ต้องถามตัวเองว่าต้องการให้ลูกเป็นเช่นไร ซึ่งพ่อแม่มักจะมองว่าอยากให้ลูกเป็นคนเก่งก่อนให้ลูกเป็นคนดี และพ่อแม่อย่าบังคับให้ลูกเรียนในสิ่งที่ลูกไม่อยากทำ ต้องดูว่าลูกมีความถนัดเรื่องใดให้ลูกได้ทำสิ่งนั้น การเรียนพิเศษไม่ได้ช่วยให้ลูกประสบความสำเร็จ สิ่งที่ทำให้เด็กประสบความสำเร็จคือความรับผิดชอบและค้นหาสิ่งที่ตนเองให้พบ ที่สำคัญควรให้เด็กได้ลองผิดลองถูกเพื่อให้เด็กได้มีภูมิคุ้มกันไม่ใช่คนเป็นพ่อแม่คอยปกป้องตลอดเวลา อีกทั้งพ่อแม่ควรเป็นต้นแบบที่ดีให้กับลูกด้วย” นางอำนวยพร
นายยุทธชัย เฉลิมชัย นายกสมาคมบ้านเรียนไทย กล่าวว่า จากการร่วมวงเสวนาหลายครั้งในการจัดทำร่าง พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ เมื่อปี 2542 พบว่า การศึกษาที่ดีไม่ได้อยู่ในโรงเรียนเพียงอย่างเดียว ตนจึงตัดสินใจเอาลูกออกจากโรงเรียน เพราะมั่นใจว่าหลังจากที่ พ.ร.บ.การศึกษามีผลบังคับใช้จะเกิดความโกลาหลและเกิดปัญหาในโรงเรียนอย่างแน่นอน ทั้งจากการเปลี่ยนโครงสร้าง การเปลี่ยนการเรียนการสอน และที่สำคัญครูต้องมีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ ดังนั้นจึงทำให้ครูต้องวุ่นวายกับการพัฒนาตัวเอง โดยจะต้องนำผลงานทั้งของตนเอง และของนักเรียน เพื่อไปประกอบการขอใบอนุญาตฯ ส่งผลให้เด็กต้องทำงานมากขึ้น และทนทุกข์กับความโกลาหลในครั้งนี้ร่วมไปด้วย
“เมื่อปี 2542 ลูกของผมกำลังจะจบชั้น ป.6 ดังนั้น จะมารอการปฏิรูปการศึกษา ซึ่งผลอาจจะเกิดในอีก 10 ปีข้างหน้าไม่ได้ จึงคิดว่าเอาออกจากโรงเรียนดีกว่า และพ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ ก็ได้เปิดโอกาสให้ครอบครัวมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาได้ ไม่เหมือนเมื่อก่อนที่การศึกษาคือ การส่งลูกไปโรงเรียนเพียงอย่างเดียว” นายยุทธชัย กล่าวและว่า ปัจจุบันลูกทั้ง 2 คนได้วุฒิการศึกษา ม.6 จากสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (กศน.) จากการสอบเทียบ โดยคนโตกำลังจะสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีจากประเทศจีนในปีนี้ ส่วนคนเล็กอยู่ชั้นปี 1 โดยกำลังศึกษาทางด้านดนตรีที่ประเทศจีน ซึ่งสิ่งนี้เป็นผลที่ไม่ได้เกิดจากในโรงเรียน แต่เป็นการศึกษาที่ครอบครัวจัดให้
นายยุทธชัย กล่าวต่อไปว่า การเรียนรู้ของคนควรเป็นการเรียนรู้แบบผสมผสานกัน ทั้งการศึกษาในระบบ นอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย เพราะการเรียนในห้องเรียนเพียงอย่างเดียวจะให้ความรู้ในการดำรงชีวิตกับผู้เรียนน้อยมากประมาณ 10% เท่านั้น ขณะที่อีก 90% อยู่ข้างนอกทั้งหมด ดังนั้นจึงต้องบูรณาการระหว่างวิชาการกับทักษะชีวิตให้กับเด็กด้วย และรัฐควรจะต้องเปลี่ยนบทบาทจากการจัดการศึกษา เป็นสนับสนุน และดูแล โดยให้สถาบันทางสังคมเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาให้มากขึ้น
นายไพฑูรย์ สินลารัตน์ รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยธุรกิตบัณฑิตย์ กล่าวว่า คิดว่า 10 ปีของการปฏิรูปการศึกษาตั้งแต่ปี 2542 นั้นยังไม่มีผลอะไรมากและคิดว่าการปฏิรูปการศึกษาสำเร็จน้อย ดังนั้น ควรจะต้องมีการปฏิรูปการศึกษากันใหม่อีกครั้ง โดยควรเน้นการเรียนการสอนที่ให้เด็กไทยมีความเข้มแข็งทางอารมย์มีความคิด ความอ่านสามารถคิดวิเคราะห์ วิจารณ์สิ่งต่างๆได้ไม่เช่นนั้นเด็กไทยก็จะรับอะไรมาทั้งหมดโดยเฉพาะการหลุดจากสังคมบริโภคนิยมในปัจจุบัน
นายไพฑูรย์ กล่าวต่อว่า สำหรับการกวดวิชาในเมืองไทยนั้นจากการสำรวจของตนเมื่อ 7 ปีที่ผ่านมาและเมื่อมาดูผลการสำรวจในปัจจุบันแสดงให้เห็นว่าความคิดทางการศึกษาไทยยังเหมือนเดิมและยังไม่ได้ทำให้อะไรดีขึ้นเลย ซึ่งจากการสำรวจในตอนนั้นทำการสำรวจระดับมัธยมศึกษาปลายก็พบว่าเด็กต้องการกวดวิชาเพื่ออยากเข้ามหาวิทยาลัยตนคิดว่าระบบแอดมิชชั่นไม่ได้ดีกว่าระบบเอนทรานซ์เลย เนื่องจาการสอบแอดมิชั่นมีหลายองค์ประกอบทำให้เด็กเครียดมากกว่าการสอบเอนทรานซ์ที่ใช้คะแนนกับจีพีเอ ดังนั้นในปี 2553 ที่จะใช้แอดมิชชั่นองค์ประกอบใหม่จะยิ่งทำให้ต้องกวดวิชาเพิ่มมากขึ้น และเชื่อว่าการกวดวิชาจะยิ่งขยายไปทุกระดับการศึกษาต่อไปจะต้องมีการกวดวิชาในระดับอนุบาลเพื่อให้ลูกหลานได้เข้าโรงเรียนประถมดีๆมากขึ้น อย่างไรก็ตามเมือ่ประเมินแล้วคิดว่จะมีเด้กประมาณ 4 ล้านกว่าคนหรือ 40 -50 %ของเด็กนักเรียนทั่วประเทศเรียนกวดวิชาดังนั้นน่าจะมีเงินหมุนเวียนในระบบประมาณ 2.5 หมื่นล้านบาท
“คุณค่าของการกวดวิชาจริงๆไม่ได้ต่อยอดความรู้อะไรเพียงแต่การเพิ่มความมั่นใจของนักเรียนเท่านั้น การที่คนกวดวิชาส่วนหนึ่งเป็นเพราะ นักเรียน ผู้ปกครองไม่มั่นใจในระบบ ผมคิดว่าการแก้ไขเพื่อลดกระแสการเรียนกวดวิชานั้นควรจะต้องส่งเสริมสนับสนุนโรงเรียนในต่างจังหวัด ให้มีคุณภาพมากยิ่งขึ้น”
นายไพฑูรย์ กล่าวต่อไปว่า สำหรับการเรียนในระดับมหาวิทยาลัยยิ่งปั่นป่วนมากในปัจจุบันเนื่องจาการที่จะให้มหาวิทยาลัยมีความอิสระทำให้มหาวิทยาลัยออกหลักสูตรการเรียนการสอนได้เอง ทำให้แต่ละแห่งวางแผนออกแบบเพื่อให้คนมาเรียนมากขึ้นโดยเฉพาะการเปิดสอนหลักสูตรพิเศษ ซึ่งทิศทางเหล่านี้เป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้องเพราะการศึกษาจะเป็นเรืองของสินค้า ธุรกิจมากกว่าการบริการหากเป็นแบบนี้นานๆ อีกหน่อยคนที่เข้ามหาวิทยาลัยดีๆจะกลายเป็นคนชั้นสูง