กรมอนามัย จับชายหุ่นถังเบียร์-หญิงถังแก๊ส 90 คน เข้าคอร์สลดอ้วน ลดพุง รุกสร้างองค์กรต้นแบบ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกินและเสริมสร้างกิจกรรมทางกายที่เหมาะสม
วันนี้ (17 มิ.ย.) นพ.ณรงค์ศักดิ์ อังคะสุวพลา รองอธิบดีกรมอนามัย กล่าวภายหลังเป็นประธานเปิดตัวองค์กรต้นแบบไร้พุง ณ ลานอเนกประสงค์ กรมอนามัย ว่า จากการสำรวจภาวะอ้วนลงพุงบุคลากรกรมอนามัยโดยการวัดเส้นรอบเอวและไขมันในช่องท้องเมื่อปี 2550 พบว่า เจ้าหน้าที่ กรมอนามัยยังมีปัญหาเส้นรอบเอวเกินร้อยละ 41.9 ไขมันในช่องท้องเกินเกณฑ์ร้อยละ 37.9 กรมอนามัยในฐานะหน่วยงานที่ส่งเสริมให้คนไทยสุขภาพดี จึงได้ดำเนินงานโครงการองค์กรต้นแบบไร้พุง เพื่อเป็นต้นแบบขององค์กรในการรณรงค์ให้มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกิน เนื่องจากปัจจุบันกระแสการกินแบบตะวันตก เข้ามามีบทบาทมากขึ้น ทำให้ความสำคัญต่อการกินอาหารไทยลดน้อยลง ประกอบกับการดำรงชีวิตที่เร่งรีบทำให้ไม่ใส่ใจการดูแลสุขภาพของตนเองหรือมีการกินติดต่อกันเป็นเวลานาน จนทำให้เกิดภาวะโภชนาการเกินและเสี่ยงต่อการเกิดโรคเรื้อรัง เช่น โรคอ้วน โรคหัวใจ โรคเบาหวาน และโรคมะเร็งตามมา ซึ่งเป็นปัญหาสาธารณสุขที่ต้องมีการป้องกันและควบคุมกันอย่างจริงจัง
นพ.ณรงค์ศักดิ์ กล่าวต่อว่า ในปี 2551 นี้ กรมอนามัยจึงได้ดำเนินงานพัฒนาองค์กรต้นแบบไร้พุงต่อเนื่องเป็นปีที่ 2 โดยคัดเลือกเจ้าหน้าที่ชายที่มีเส้นรอบเอวเกิน 90 เซนติเมตร และเกิน 80 เซนติเมตรในผู้หญิง จำนวน 90 คน เข้าร่วมกิจกรรมในครั้งนี้ เพื่อให้เกิดความ ตระหนักและเรียนรู้การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกินด้วยการควบคุมอาหารให้พอเหมาะกับความต้องการใช้พลังงาน ลดอาหารประเภทไขมัน เนย แป้ง น้ำตาล และอาหารแปรรูป เพิ่มอาหารประเภทผักและผลไม้ รสไม่หวานให้มากขึ้นในการบริโภคอาหารในแต่ละมื้อ ออกกำลังกายแบบต่อเนื่องไม่น้อยกว่า 45 นาที และมีการออกกำลังกายให้บ่อยวันมากที่สุด ไม่ควรน้อยกว่า 5 วันต่อสัปดาห์
“ที่สำคัญ ควรหมั่นวัดรอบเอวเพื่อวัดปริมาณไขมันในช่องท้องไม่ให้เกินเกณฑ์ที่กำหนด คือ ผู้หญิง ไม่เกิน 80 เซนติเมตร และผู้ชายไม่เกิน 90 เซนติเมตร เพราะถ้าหากทั้งหญิงและชายมีรอบเอวเกินเกณฑ์ที่กำหนดจัดว่าเป็นผู้มีไขมันหน้าท้องมาก และโดยเฉพาะไขมันในช่องท้องซึ่งเป็นไขมันที่แทรกอยู่ตามกระเพาะ ลำไส้ ตับ ตับอ่อน เป็นไขมันส่วนที่วัดได้ยาก แต่มีความสำคัญมาก เพราะไขมันในช่องท้องทำให้อินซูลินที่หลั่งจากตับอ่อนออกฤทธิ์ไม่ดี เรียกว่าภาวะดื้อต่ออินซูลิน ซึ่งเป็นต้นเหตุสำคัญของโรคเบาหวาน และมีความสำคัญในการทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนเป็นอันตรายถึงชีวิตด้วยโรคหัวใจ” นพ.ณรงค์ศักดิ์ กล่าว
อธิบดีกรมอนามัย กล่าวด้วยว่า การจัดกิจกรรมในครั้งนี้นอกจากช่วยให้เจ้าหน้าที่กรมอนามัยลดภาวะเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจ ความดันโลหิตสูง เบาหวาน ภาวะกระดูกพรุน ไขมันในเลือดผิดปกติ และโรคอ้วน แล้ว ยังได้มีส่วนร่วมในการสร้างองค์กรต้นแบบ คนกรมอนามัยไร้พุง เป็นแบบอย่างที่ดีแก่ประชาชนและหน่วยงานองค์กรอื่นๆ ต่อไปอีกด้วย
วันนี้ (17 มิ.ย.) นพ.ณรงค์ศักดิ์ อังคะสุวพลา รองอธิบดีกรมอนามัย กล่าวภายหลังเป็นประธานเปิดตัวองค์กรต้นแบบไร้พุง ณ ลานอเนกประสงค์ กรมอนามัย ว่า จากการสำรวจภาวะอ้วนลงพุงบุคลากรกรมอนามัยโดยการวัดเส้นรอบเอวและไขมันในช่องท้องเมื่อปี 2550 พบว่า เจ้าหน้าที่ กรมอนามัยยังมีปัญหาเส้นรอบเอวเกินร้อยละ 41.9 ไขมันในช่องท้องเกินเกณฑ์ร้อยละ 37.9 กรมอนามัยในฐานะหน่วยงานที่ส่งเสริมให้คนไทยสุขภาพดี จึงได้ดำเนินงานโครงการองค์กรต้นแบบไร้พุง เพื่อเป็นต้นแบบขององค์กรในการรณรงค์ให้มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกิน เนื่องจากปัจจุบันกระแสการกินแบบตะวันตก เข้ามามีบทบาทมากขึ้น ทำให้ความสำคัญต่อการกินอาหารไทยลดน้อยลง ประกอบกับการดำรงชีวิตที่เร่งรีบทำให้ไม่ใส่ใจการดูแลสุขภาพของตนเองหรือมีการกินติดต่อกันเป็นเวลานาน จนทำให้เกิดภาวะโภชนาการเกินและเสี่ยงต่อการเกิดโรคเรื้อรัง เช่น โรคอ้วน โรคหัวใจ โรคเบาหวาน และโรคมะเร็งตามมา ซึ่งเป็นปัญหาสาธารณสุขที่ต้องมีการป้องกันและควบคุมกันอย่างจริงจัง
นพ.ณรงค์ศักดิ์ กล่าวต่อว่า ในปี 2551 นี้ กรมอนามัยจึงได้ดำเนินงานพัฒนาองค์กรต้นแบบไร้พุงต่อเนื่องเป็นปีที่ 2 โดยคัดเลือกเจ้าหน้าที่ชายที่มีเส้นรอบเอวเกิน 90 เซนติเมตร และเกิน 80 เซนติเมตรในผู้หญิง จำนวน 90 คน เข้าร่วมกิจกรรมในครั้งนี้ เพื่อให้เกิดความ ตระหนักและเรียนรู้การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกินด้วยการควบคุมอาหารให้พอเหมาะกับความต้องการใช้พลังงาน ลดอาหารประเภทไขมัน เนย แป้ง น้ำตาล และอาหารแปรรูป เพิ่มอาหารประเภทผักและผลไม้ รสไม่หวานให้มากขึ้นในการบริโภคอาหารในแต่ละมื้อ ออกกำลังกายแบบต่อเนื่องไม่น้อยกว่า 45 นาที และมีการออกกำลังกายให้บ่อยวันมากที่สุด ไม่ควรน้อยกว่า 5 วันต่อสัปดาห์
“ที่สำคัญ ควรหมั่นวัดรอบเอวเพื่อวัดปริมาณไขมันในช่องท้องไม่ให้เกินเกณฑ์ที่กำหนด คือ ผู้หญิง ไม่เกิน 80 เซนติเมตร และผู้ชายไม่เกิน 90 เซนติเมตร เพราะถ้าหากทั้งหญิงและชายมีรอบเอวเกินเกณฑ์ที่กำหนดจัดว่าเป็นผู้มีไขมันหน้าท้องมาก และโดยเฉพาะไขมันในช่องท้องซึ่งเป็นไขมันที่แทรกอยู่ตามกระเพาะ ลำไส้ ตับ ตับอ่อน เป็นไขมันส่วนที่วัดได้ยาก แต่มีความสำคัญมาก เพราะไขมันในช่องท้องทำให้อินซูลินที่หลั่งจากตับอ่อนออกฤทธิ์ไม่ดี เรียกว่าภาวะดื้อต่ออินซูลิน ซึ่งเป็นต้นเหตุสำคัญของโรคเบาหวาน และมีความสำคัญในการทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนเป็นอันตรายถึงชีวิตด้วยโรคหัวใจ” นพ.ณรงค์ศักดิ์ กล่าว
อธิบดีกรมอนามัย กล่าวด้วยว่า การจัดกิจกรรมในครั้งนี้นอกจากช่วยให้เจ้าหน้าที่กรมอนามัยลดภาวะเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจ ความดันโลหิตสูง เบาหวาน ภาวะกระดูกพรุน ไขมันในเลือดผิดปกติ และโรคอ้วน แล้ว ยังได้มีส่วนร่วมในการสร้างองค์กรต้นแบบ คนกรมอนามัยไร้พุง เป็นแบบอย่างที่ดีแก่ประชาชนและหน่วยงานองค์กรอื่นๆ ต่อไปอีกด้วย