“ครูสมชาย” หารือ “เลี้ยบ” เรื่องการเพิ่มรายได้ของครู เล็งช่วยครูในภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ ทั้งให้ทำล่วงเวลา สอนทักษะอาชีพประชาชนนอกเวลาการทำงาน หรือสอนพิเศษ เช่นภาษาจีน ภาษาอังกฤษ ว่ายน้ำ เริ่มนำร่องก่อน 20 จังหวัด
นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.ศึกษาธิการ พร้อมด้วย นพ.สุรพงษ์ สืบวงษ์ลี รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.คลัง หารือเรื่องการเพิ่มรายได้ของครู โดย นายสุรพงษ์ กล่าวว่า การประชุมวันนี้ (10 มิ.ย.) ช่วยให้ครูและประชาชนสามารถยืนอยู่ได้ในภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ และภาวะเงินเฟ้อ ซึ่งทั้ง 2 กระทรวงต้องการช่วยครูให้มีรายได้เพิ่มจากการทำงาน เช่น ทำงานล่วงเวลา โดยให้ครูใช้ทักษะอาชีพสอนประชาชนนอกเวลาการทำงาน และใช้ประโยชน์จากอาคารเรียนและอุปกรณ์ จะทำเป็นโครงการนำร่อง 20 จังหวัด ดังนั้น จึงมอบหมายให้สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (กศน.) จัดหลักสูตรฝึกอาชีพ สอนประชาชนและเสียค่าอบรมในราคาประหยัด เพื่อให้ประชาชนที่เข้ารับการฝึกอบรมนำความรู้มาประกอบอาชีพสร้างรายได้ ในเบื้องต้นให้กระทรวงการคลังประสานกรมบัญชีกลางให้ครูเบิกค่าล่วงเวลาได้ชั่วโมงละ 200 บาท นอกจากนั้น กระทรวงการคลัง จะประสานธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ธนาคารออมสิน ปล่อยกู้ให้ประชาชนที่ผ่านการอบรมวิชาชีพ รวมทั้งประสานกรมธนารักษ์ให้เช่าที่ราชพัสดุไปประกอบอาชีพ เพื่อให้ประชาชนใช้ทักษะที่ร่ำเรียนมาเพิ่มรายได้ ขณะเดียวกันยังมอบให้ปลัด ศธ. ประสานปลัด ก.คลัง ทำแผนการดำเนินการโครงการนี้ คาดว่าไม่เกิน 2 เดือน
ด้าน นายสมชาย กล่าวว่า ขณะนี้ตนได้มอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องไปสำรวจจำนวนครูที่มีความรู้ในด้านทักษะอาชีพว่ามีจำนวนเท่าไหร่ และสำรวจด้วยว่ามีผู้ต้องการเรียนจำนวนเท่าไหร่ สำหรับงบประมาณเบื้องต้น คาดว่า จะใช้งบปกติ ซึ่ง ศธ.มีความกังวลเรื่องค่าครองชีพของครู ทาง ก.คลัง และ ศธ.มองว่า พอมีแนวทางในการเพิ่มค่าครองชีพ เช่น กศน.มีหลักสูตรระยะสั้น สพฐ. โครงการสอนพิเศษ เช่น สอนภาษาจีน ภาษาอังกฤษ ว่ายน้ำ ทั้งนี้ มองว่า ภาษาเหล่านี้มีความจำเป็น สำหรับ สอศ.อบรมด้านช่าง
“ตนขอย้ำว่า การอบรมครั้งนี้จะเป็นการสอนวิชาชีพ หรืออบรมเพิ่มทักษะความรู้ให้แก่เยาวชนประชาชน ต้องไม่ใช่การติววิชาพื้นฐาน เช่น คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ยกเว้นภาษาที่ 2 เช่น ภาษาอังกฤษ จีน สามารถเปิดสอนได้เพราะในโลกปัจจุบันมีความจำเป็นให้การติดต่อสื่อสารหรือใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่” นายสมชาย กล่าว
นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.ศึกษาธิการ พร้อมด้วย นพ.สุรพงษ์ สืบวงษ์ลี รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.คลัง หารือเรื่องการเพิ่มรายได้ของครู โดย นายสุรพงษ์ กล่าวว่า การประชุมวันนี้ (10 มิ.ย.) ช่วยให้ครูและประชาชนสามารถยืนอยู่ได้ในภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ และภาวะเงินเฟ้อ ซึ่งทั้ง 2 กระทรวงต้องการช่วยครูให้มีรายได้เพิ่มจากการทำงาน เช่น ทำงานล่วงเวลา โดยให้ครูใช้ทักษะอาชีพสอนประชาชนนอกเวลาการทำงาน และใช้ประโยชน์จากอาคารเรียนและอุปกรณ์ จะทำเป็นโครงการนำร่อง 20 จังหวัด ดังนั้น จึงมอบหมายให้สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (กศน.) จัดหลักสูตรฝึกอาชีพ สอนประชาชนและเสียค่าอบรมในราคาประหยัด เพื่อให้ประชาชนที่เข้ารับการฝึกอบรมนำความรู้มาประกอบอาชีพสร้างรายได้ ในเบื้องต้นให้กระทรวงการคลังประสานกรมบัญชีกลางให้ครูเบิกค่าล่วงเวลาได้ชั่วโมงละ 200 บาท นอกจากนั้น กระทรวงการคลัง จะประสานธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ธนาคารออมสิน ปล่อยกู้ให้ประชาชนที่ผ่านการอบรมวิชาชีพ รวมทั้งประสานกรมธนารักษ์ให้เช่าที่ราชพัสดุไปประกอบอาชีพ เพื่อให้ประชาชนใช้ทักษะที่ร่ำเรียนมาเพิ่มรายได้ ขณะเดียวกันยังมอบให้ปลัด ศธ. ประสานปลัด ก.คลัง ทำแผนการดำเนินการโครงการนี้ คาดว่าไม่เกิน 2 เดือน
ด้าน นายสมชาย กล่าวว่า ขณะนี้ตนได้มอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องไปสำรวจจำนวนครูที่มีความรู้ในด้านทักษะอาชีพว่ามีจำนวนเท่าไหร่ และสำรวจด้วยว่ามีผู้ต้องการเรียนจำนวนเท่าไหร่ สำหรับงบประมาณเบื้องต้น คาดว่า จะใช้งบปกติ ซึ่ง ศธ.มีความกังวลเรื่องค่าครองชีพของครู ทาง ก.คลัง และ ศธ.มองว่า พอมีแนวทางในการเพิ่มค่าครองชีพ เช่น กศน.มีหลักสูตรระยะสั้น สพฐ. โครงการสอนพิเศษ เช่น สอนภาษาจีน ภาษาอังกฤษ ว่ายน้ำ ทั้งนี้ มองว่า ภาษาเหล่านี้มีความจำเป็น สำหรับ สอศ.อบรมด้านช่าง
“ตนขอย้ำว่า การอบรมครั้งนี้จะเป็นการสอนวิชาชีพ หรืออบรมเพิ่มทักษะความรู้ให้แก่เยาวชนประชาชน ต้องไม่ใช่การติววิชาพื้นฐาน เช่น คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ยกเว้นภาษาที่ 2 เช่น ภาษาอังกฤษ จีน สามารถเปิดสอนได้เพราะในโลกปัจจุบันมีความจำเป็นให้การติดต่อสื่อสารหรือใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่” นายสมชาย กล่าว