ในประเทศไทยมีผู้ป่วยโรคซึมเศร้าประมาณ 3 ล้านคน หรือประมาณ 5% ของประชากร แต่กลับมีผู้ป่วยเข้าสู่ระบบการรักษาเพียง ไม่กี่แสนคนเท่านั้น เท่ากับว่า มีผู้ป่วยอีก 2 ล้านกว่าคน ที่ยังไม่รู้ตัว
นพ.อภิชัย มงคล รองอธิบดีกรมสุขภาพจิต กล่าวถึงข่าวการฆ่าตัวตายว่า บุคคลที่ฆ่าตัวตายเหล่านี้ล้วนเคยป่วยเป็นโรคซึมเศร้ามาก่อน ซึ่งโรคซึมเศร้าที่เป็นต้นเหตุนำไปสู่การฆ่าตัวตายนั้น สามารถรักษาหายได้ แต่หากมีปัจจัยที่เข้ามากระตุ้นจะทำให้อาการของโรคกำเริบได้ ทั้งความเครียด การพักผ่อนไม่เพียงพอ อดหลับอดนอน ดูฟุตบอล ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ หรือ กาเฟอีน และไม่ออกกกำลังกาย ฯลฯ จึงขอให้ผู้มีอาการของโรคซึมเศร้าปรับพฤติกรรมที่เสี่ยงที่นำสู่โรคกำเริบได้ รวมถึงบุคคลรอบข้างสามารถที่จะร่วมกันป้องกันโรคดังกล่าวได้ โดยการสังเกตพฤติกรรม โดยผู้ป่วยโรคซึมเศร้าส่วนหนึ่งก่อนจะฆ่าตัวตายจะทำร้ายผู้อื่น ทั้งนี้ ไม่ใช่เพียงการป้องกันคนฆ่าตัวตายเท่านั้น แต่เป็นการป้องกันสังคมให้ปลอดภัยให้ประเทศชาติลดภาระความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นด้วย
“จากข้อมูลที่อ้างอิงในระดับสากล พบว่า ในประเทศไทยมีผู้ป่วยโรคซึมเศร้าประมาณ 3 ล้านคน หรือประมาณ 5% ของประชากร แต่กลับมีผู้ป่วยเข้าสู่ระบบการรักษาเพียง ไม่กี่แสนคนเท่านั้น เท่ากับว่า มีผู้ป่วยอีก 2 ล้านกว่าคนที่ยังไม่รู้ตัว และอาจนำสู่การเป็นโรคซึมเศร้าเรื้อรังได้ ซึ่งอัตราการฆ่าตัวตายของคนไทยเคยเพิ่มสูงขึ้นเมื่อปี 2542-2543 เพราะเป็นช่วงหลังจากวิกฤตเศรษฐกิจ 2-3 ปี ทั้งนี้ หากจะมีผู้ฆ่าตัวตายจากวิกฤตเศรษฐกิจในช่วงนี้ก็จะต้องรอดูอีก 2-3 ปีข้างหน้า ซึ่งจากข้อมูลทางวิชาการจะไม่ใช่ตอนนี้” นพ.อภิชัย กล่าว
นพ.อภิชัย มงคล รองอธิบดีกรมสุขภาพจิต กล่าวถึงข่าวการฆ่าตัวตายว่า บุคคลที่ฆ่าตัวตายเหล่านี้ล้วนเคยป่วยเป็นโรคซึมเศร้ามาก่อน ซึ่งโรคซึมเศร้าที่เป็นต้นเหตุนำไปสู่การฆ่าตัวตายนั้น สามารถรักษาหายได้ แต่หากมีปัจจัยที่เข้ามากระตุ้นจะทำให้อาการของโรคกำเริบได้ ทั้งความเครียด การพักผ่อนไม่เพียงพอ อดหลับอดนอน ดูฟุตบอล ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ หรือ กาเฟอีน และไม่ออกกกำลังกาย ฯลฯ จึงขอให้ผู้มีอาการของโรคซึมเศร้าปรับพฤติกรรมที่เสี่ยงที่นำสู่โรคกำเริบได้ รวมถึงบุคคลรอบข้างสามารถที่จะร่วมกันป้องกันโรคดังกล่าวได้ โดยการสังเกตพฤติกรรม โดยผู้ป่วยโรคซึมเศร้าส่วนหนึ่งก่อนจะฆ่าตัวตายจะทำร้ายผู้อื่น ทั้งนี้ ไม่ใช่เพียงการป้องกันคนฆ่าตัวตายเท่านั้น แต่เป็นการป้องกันสังคมให้ปลอดภัยให้ประเทศชาติลดภาระความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นด้วย
“จากข้อมูลที่อ้างอิงในระดับสากล พบว่า ในประเทศไทยมีผู้ป่วยโรคซึมเศร้าประมาณ 3 ล้านคน หรือประมาณ 5% ของประชากร แต่กลับมีผู้ป่วยเข้าสู่ระบบการรักษาเพียง ไม่กี่แสนคนเท่านั้น เท่ากับว่า มีผู้ป่วยอีก 2 ล้านกว่าคนที่ยังไม่รู้ตัว และอาจนำสู่การเป็นโรคซึมเศร้าเรื้อรังได้ ซึ่งอัตราการฆ่าตัวตายของคนไทยเคยเพิ่มสูงขึ้นเมื่อปี 2542-2543 เพราะเป็นช่วงหลังจากวิกฤตเศรษฐกิจ 2-3 ปี ทั้งนี้ หากจะมีผู้ฆ่าตัวตายจากวิกฤตเศรษฐกิจในช่วงนี้ก็จะต้องรอดูอีก 2-3 ปีข้างหน้า ซึ่งจากข้อมูลทางวิชาการจะไม่ใช่ตอนนี้” นพ.อภิชัย กล่าว