ผลวิจัยชี้ฟุ้งเฟ้อ เลียนแบบแฟชั่น เจอปัญหาโดนพ่อแม่ด่า ถูกนินทาว่าร้าย กระตุ้นฆ่าตัวตายโดยไม่เล่าให้ใครฟังแนะใช้ชีวิตพาเพียงลดวัฒนธรรมวัตถุนิยมขณะที่ รพ.จิตเวช เผย บำบัดผู้ป่วยซึมเศร้าด้วยการปรับเปลี่ยนความคิดและพฤติกรรมช่วยลดภาวะซึมเศร้าได้
นางบุษบา อนุศักดิ์ นักวิชาการสาธาณสุข 7 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดลำพูน กล่าวว่า คณะวิจัยได้ศึกษา เรื่อง “อัตลักษณ์ของผู้ที่พยายามฆ่าตัวตาย จ.ลำพูน” จากกลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้ที่พยายามฆ่าตัวตาย ซึ่งมารับบริการในสถานบริการสาธารณสุข ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม 2549 – 30 กันยายน 2550 จำนวน 52 คน ชาย 28 คน และหญิง 24 คน โดยใช้วิธีการแจกแบบสอบถาม สัมภาษณ์เชิงลึก การทำโฟกัสกรุ๊ปและการสังเกตแบบมีส่วนร่วม พบว่า ผู้ที่พยายามฆ่าตัวตายมีอายุระหว่าง 15 -24 ปีมากที่สุด 32 คน การศึกษาอยู่ในระดับมัธยมศึกษา 38 คน ส่วนใหญ่มีอาชีพเป็นนักเรียน นักศึกษา และผู้ใช้แรงงาน
นางบุษบา กล่าวต่อว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีบุคลิกภาพที่จริงจังมากจำนวน 18 คน คิดเป็น 33.33 % บุคลิกภาพชอบสังคม 13 คน หรือ 25% และขี้อาย 11 คน 20.83% โดยดื่มสุรามาก่อน 30 คน หรือ 58.34% และมีภาวะซึมเศร้าร่วมด้วย 28 คน คิดเป็น 54.16% และหากมีปัญหากลุ่มตัวอย่างจะเก็บความรู้สึกอยากฆ่าตัวตายโดยไม่เล่าให้ใครฟัง 42 คน หรือ 79.10% เมื่อสัมภาษณ์เชิงลึกและเข้าร่วมกลุ่มทำโฟกัสกรุ๊ป พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ไม่ชอบให้ใครมานินทาว่าร้ายและบิดามารดาดุด่าเมื่อประสบปัญหา อีกทั้ง การดำเนินชีวิตของกลุ่มตัวอย่างชอบความฟุ้งเฟ้อ มีค่านิยมเลียนแบบแฟชั่นโดยไม่คำนึงถึงฐานะรายได้และความเป็นอยู่ของตัวเอง
“ในระดับบุคคลควรมีการพัฒนาความเข้มแข็งทางจิตใจ อารมณ์ และสติปัญญา ในระดับครอบครัวควรมีการพัฒนาวิธีคิด การเลี้ยงดูบุตรหลานผสมผสานวิธีการเลี้ยงดูโดยเข้าใจเข้าถึงจิตใจของเด็กสมัยใหม่ รวมถึง การสร้างวัฒนธรรมการพึ่งพาระหว่างบุคคลในครอบครัวและชุมชน ทั้งนี้ สังคมควรมีการดำเนินชีวิตแบบเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อลดวัฒนธรรมวัตถุนิยม”นางบุษบา กล่าว
ด้านนายวีระชัย เตชะนิรัติศัย พยาบาลวิชาชีพ 7 โรงพยาบาลจิตเวชนคราชสีมาราชนครินทร์ กล่าวว่า จากการศึกษาผลของการบำบัดโดยใช้วิธีการปรับเปลี่ยนความคิดและพฤติกรรมผู้ป่วยที่มีภาวะซึมเศร้าในโครงการเฝ้าระวังการฆ่าตัวตายที่ได้รับการรักษาแบบผู้ป่วยใน ที่โรงพยาบาลจิตเวชนครราชสีมาราชนครินทร์ ระหว่างเดือน ก.ค.-ก.ย.2550 จำนวน 14 คน โดยใช้โปรแกรมการบำบัด 5 ครั้ง ครั้งละ 60-90 นาที วันเว้นวันและติดตามผลหลังการบำบัด ทุก 1 เดือน ต่อเนื่อง 3 เดือน ซึ่งเนื้อหาการบำบัดประกอบด้วย 1.การเรียนรู้ธรรมชาติของภาวะซึมเศร้า เหตุผลของการบำบัด 2.การค้นหาความคิดทางลบ3. การสอนความสัมพันธ์ของความคิด อารมณ์ พฤติกรรมและการหาหลักฐานสนับสนุนความคิด อารมณ์ พฤติกรรมที่เกิดขึ้น 4.การปรับความคิดและพฤติกรรม และ5.การสรุปทบทวนความรู้ความเข้าใจ เพื่อเตรียมให้ผู้ป่วยเป็นผู้บำบัดตนเอง และส่งเสริมให้ผู้ป่วยปรับเปลี่ยนความคิดใหม่ในการดำเนินชีวิตประจำวัน พบว่า ระดับภาวะซึมเศร้าของผู้ป่วยหลังการบำบัดลดลง
“ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่า นอกจากการรักษาด้วยยา การบำบัดโดยใช้วิธีการปรับเปลี่ยนความคิดและพฤติกรรมนี้ สามารถช่วยให้ผู้ป่วยทุกคนมีแบบแผนความคิดในทางบวก สามารถแยกแยะความคิดที่บิดเบือนได้ มีความยืดหยุ่นและยอมรับความเป็นจริงได้มากขึ้น ทำให้ผู้ป่วยเกิดความคิดตนเองมีคุณค่า ช่วยลดระดับภาวะซึมเศร้า”นายวีระชัย กล่าว
นางบุษบา อนุศักดิ์ นักวิชาการสาธาณสุข 7 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดลำพูน กล่าวว่า คณะวิจัยได้ศึกษา เรื่อง “อัตลักษณ์ของผู้ที่พยายามฆ่าตัวตาย จ.ลำพูน” จากกลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้ที่พยายามฆ่าตัวตาย ซึ่งมารับบริการในสถานบริการสาธารณสุข ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม 2549 – 30 กันยายน 2550 จำนวน 52 คน ชาย 28 คน และหญิง 24 คน โดยใช้วิธีการแจกแบบสอบถาม สัมภาษณ์เชิงลึก การทำโฟกัสกรุ๊ปและการสังเกตแบบมีส่วนร่วม พบว่า ผู้ที่พยายามฆ่าตัวตายมีอายุระหว่าง 15 -24 ปีมากที่สุด 32 คน การศึกษาอยู่ในระดับมัธยมศึกษา 38 คน ส่วนใหญ่มีอาชีพเป็นนักเรียน นักศึกษา และผู้ใช้แรงงาน
นางบุษบา กล่าวต่อว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีบุคลิกภาพที่จริงจังมากจำนวน 18 คน คิดเป็น 33.33 % บุคลิกภาพชอบสังคม 13 คน หรือ 25% และขี้อาย 11 คน 20.83% โดยดื่มสุรามาก่อน 30 คน หรือ 58.34% และมีภาวะซึมเศร้าร่วมด้วย 28 คน คิดเป็น 54.16% และหากมีปัญหากลุ่มตัวอย่างจะเก็บความรู้สึกอยากฆ่าตัวตายโดยไม่เล่าให้ใครฟัง 42 คน หรือ 79.10% เมื่อสัมภาษณ์เชิงลึกและเข้าร่วมกลุ่มทำโฟกัสกรุ๊ป พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ไม่ชอบให้ใครมานินทาว่าร้ายและบิดามารดาดุด่าเมื่อประสบปัญหา อีกทั้ง การดำเนินชีวิตของกลุ่มตัวอย่างชอบความฟุ้งเฟ้อ มีค่านิยมเลียนแบบแฟชั่นโดยไม่คำนึงถึงฐานะรายได้และความเป็นอยู่ของตัวเอง
“ในระดับบุคคลควรมีการพัฒนาความเข้มแข็งทางจิตใจ อารมณ์ และสติปัญญา ในระดับครอบครัวควรมีการพัฒนาวิธีคิด การเลี้ยงดูบุตรหลานผสมผสานวิธีการเลี้ยงดูโดยเข้าใจเข้าถึงจิตใจของเด็กสมัยใหม่ รวมถึง การสร้างวัฒนธรรมการพึ่งพาระหว่างบุคคลในครอบครัวและชุมชน ทั้งนี้ สังคมควรมีการดำเนินชีวิตแบบเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อลดวัฒนธรรมวัตถุนิยม”นางบุษบา กล่าว
ด้านนายวีระชัย เตชะนิรัติศัย พยาบาลวิชาชีพ 7 โรงพยาบาลจิตเวชนคราชสีมาราชนครินทร์ กล่าวว่า จากการศึกษาผลของการบำบัดโดยใช้วิธีการปรับเปลี่ยนความคิดและพฤติกรรมผู้ป่วยที่มีภาวะซึมเศร้าในโครงการเฝ้าระวังการฆ่าตัวตายที่ได้รับการรักษาแบบผู้ป่วยใน ที่โรงพยาบาลจิตเวชนครราชสีมาราชนครินทร์ ระหว่างเดือน ก.ค.-ก.ย.2550 จำนวน 14 คน โดยใช้โปรแกรมการบำบัด 5 ครั้ง ครั้งละ 60-90 นาที วันเว้นวันและติดตามผลหลังการบำบัด ทุก 1 เดือน ต่อเนื่อง 3 เดือน ซึ่งเนื้อหาการบำบัดประกอบด้วย 1.การเรียนรู้ธรรมชาติของภาวะซึมเศร้า เหตุผลของการบำบัด 2.การค้นหาความคิดทางลบ3. การสอนความสัมพันธ์ของความคิด อารมณ์ พฤติกรรมและการหาหลักฐานสนับสนุนความคิด อารมณ์ พฤติกรรมที่เกิดขึ้น 4.การปรับความคิดและพฤติกรรม และ5.การสรุปทบทวนความรู้ความเข้าใจ เพื่อเตรียมให้ผู้ป่วยเป็นผู้บำบัดตนเอง และส่งเสริมให้ผู้ป่วยปรับเปลี่ยนความคิดใหม่ในการดำเนินชีวิตประจำวัน พบว่า ระดับภาวะซึมเศร้าของผู้ป่วยหลังการบำบัดลดลง
“ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่า นอกจากการรักษาด้วยยา การบำบัดโดยใช้วิธีการปรับเปลี่ยนความคิดและพฤติกรรมนี้ สามารถช่วยให้ผู้ป่วยทุกคนมีแบบแผนความคิดในทางบวก สามารถแยกแยะความคิดที่บิดเบือนได้ มีความยืดหยุ่นและยอมรับความเป็นจริงได้มากขึ้น ทำให้ผู้ป่วยเกิดความคิดตนเองมีคุณค่า ช่วยลดระดับภาวะซึมเศร้า”นายวีระชัย กล่าว