สธ.ติวเข้มหมอ พยาบาล เจ้าหน้าที่สาธารณสุข จังหวัดชายแดนใต้ พร้อมรับมือผู้ป่วยผู้บาดเจ็บในภาวะวิกฤต พร้อมเพิ่มศักยภาพตรวจวินิจฉัยและรักษาของ รพ.ศูนย์ยะลา รพ.เบตง รพ.ปัตตานี รพ.นราธิวาสราชนครินทร์ และรพ.สุไหงโก-ลก รองรับผู้ป่วยในพื้นที่ ลดความเสี่ยงในการส่งต่อผู้ป่วยข้ามจังหวัด
วันนี้ (2 มิ.ย.) ที่โรงแรมซีเอส จ.ปัตตานี นายไชยา สะสมทรัพย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข พร้อมด้วยนพ.ปราชญ์ บุณยวงศ์วิโรจน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข นพ.พิพัฒน์ ยิ่งเสรี รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข นพ.ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ผู้ตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุขและคณะ เปิดประชุมฟื้นฟูวิชาการสาธารณสุข 5 จังหวัดชายแดนใต้ ครั้งที่ 2 เรื่อง “ฤๅสาธารณสุขใต้จะวิกฤต” เพื่อเพิ่มพูนความรู้ด้านวิชาการแพทย์สาธารณสุข และแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการดูแลผู้ป่วย ทั้งเจ็บป่วยทั่วไปและอุบัติเหตุฉุกเฉิน เป็นประโยชน์ในการดูแลผู้ป่วยในจังหวัดชายแดนใต้ โดยมีแพทย์ พยาบาล เจ้าหน้าที่สาธารณสุข ในจังหวัดสงขลา ยะลา ปัตตานี นราธิวาสและสตูล เข้าร่วมประชุมกว่า 450 คน
นายไชยา กล่าวว่า สถานการณ์ความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องกว่า 3 ปีที่ผ่านมา มีเหตุการณ์เกิดขึ้นกว่า 7,000 ครั้ง ส่งผลให้เกิดการบาดเจ็บและสูญเสียชีวิตทั้งเจ้าหน้าที่ของรัฐและประชาชนเป็นจำนวนมาก กระทรวงสาธารณสุขเป็นหน่วยงานหนึ่งที่ช่วยเหลือ บรรเทา เยียวยาให้แก่ผู้ที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ ซึ่งการปฏิบัติงานท่ามกลางเหตุการณ์ไม่สงบ จำเป็นต้องมีปรับเปลี่ยนการบริหารจัดการให้เหมาะสม ทั้งการพัฒนาความรู้และแนวทางการรักษาพยาบาลผู้ป่วยวิกฤต บาดเจ็บ การเยียวยาจิตใจครอบครัวผู้เสียชีวิต รวมทั้งการทำงานอย่างปลอดภัยและมีความสุขในสถานการณ์ความไม่สงบ
นายไชยา กล่าวต่อว่า กระทรวงสาธารณสุขมีการติดตามสถานการณ์ และแก้ไขปรับปรุงการจัดระบบบริการสาธารณสุขสำหรับประชาชนในพื้นที่ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้อย่างต่อเนื่อง โดยเพิ่มศักยภาพการตรวจวินิจฉัยและรักษาของ รพ.ศูนย์ยะลา รพ.เบตง รพ.ปัตตานี รพ.นราธิวาสราชนครินทร์ และรพ.สุไหงโก-ลก ซึ่งมีแพทย์เฉพาะทางครบทุกสาขา จัดซื้อเครื่องมือแพทย์ เครื่องเอ็กซ์เรย์คอมพิวเตอร์ เครื่องช่วยหายใจ ให้พร้อมรองรับผู้ป่วยในพื้นที่ ลดความเสี่ยงในการส่งต่อผู้ป่วยข้ามจังหวัด พร้อมทั้งผลิตพยาบาลวิชาชีพสำหรับพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้โดยเฉพาะอีก 3,000 คน โดยจะจบการศึกษาในปี 2554 นอกจากนี้ ในปี 2551 ยังได้ขอสนับสนุนงบก่อสร้างอาคารอุบัติเหตุฉุกเฉินของ รพ.ศูนย์ยะลา จากการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค จำนวน 187.8 ล้านบาท และจัดสรรงบก่อสร้าง รพ.กรงปินัง จ.ยะลา เป็นรพ.ขนาด 30 เตียง จำนวน 67 ล้านบาท
“ด้านความก้าวหน้าของเจ้าหน้าที่ ได้เตรียมเสนอตำแหน่งสาธารณสุขอำเภอทั่วประเทศเป็นซี 8 และหัวหน้าสถานีอนามัยเป็นซี 7 ส่วนเจ้าหน้าที่สถานีอนามัยจะดันเข้าสู่กลุ่มวิชาการ ตามกฎหมายใหม่ของ ก.พ. ขณะนี้ใน 3 จังหวัดชายแดนใต้ หัวหน้าสถานีอนามัยได้ซี 7 แล้ว 165 แห่ง จาก 315 แห่ง อยู่ระหว่างขอเพิ่มอีก 21 ตำแหน่ง สาธารณสุขอำเภอได้ซี 8 แล้ว 7 แห่ง ขอเพิ่มอีก 14 ตำแหน่ง ส่วนหัวหน้าสถานีอนามัยที่คุณสมบัติครบ อยู่ในระหว่างกำหนดตำแหน่งเพิ่มเติมอีก 64 ตำแหน่ง”นายไชยากล่าว
วันนี้ (2 มิ.ย.) ที่โรงแรมซีเอส จ.ปัตตานี นายไชยา สะสมทรัพย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข พร้อมด้วยนพ.ปราชญ์ บุณยวงศ์วิโรจน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข นพ.พิพัฒน์ ยิ่งเสรี รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข นพ.ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ผู้ตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุขและคณะ เปิดประชุมฟื้นฟูวิชาการสาธารณสุข 5 จังหวัดชายแดนใต้ ครั้งที่ 2 เรื่อง “ฤๅสาธารณสุขใต้จะวิกฤต” เพื่อเพิ่มพูนความรู้ด้านวิชาการแพทย์สาธารณสุข และแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการดูแลผู้ป่วย ทั้งเจ็บป่วยทั่วไปและอุบัติเหตุฉุกเฉิน เป็นประโยชน์ในการดูแลผู้ป่วยในจังหวัดชายแดนใต้ โดยมีแพทย์ พยาบาล เจ้าหน้าที่สาธารณสุข ในจังหวัดสงขลา ยะลา ปัตตานี นราธิวาสและสตูล เข้าร่วมประชุมกว่า 450 คน
นายไชยา กล่าวว่า สถานการณ์ความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องกว่า 3 ปีที่ผ่านมา มีเหตุการณ์เกิดขึ้นกว่า 7,000 ครั้ง ส่งผลให้เกิดการบาดเจ็บและสูญเสียชีวิตทั้งเจ้าหน้าที่ของรัฐและประชาชนเป็นจำนวนมาก กระทรวงสาธารณสุขเป็นหน่วยงานหนึ่งที่ช่วยเหลือ บรรเทา เยียวยาให้แก่ผู้ที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ ซึ่งการปฏิบัติงานท่ามกลางเหตุการณ์ไม่สงบ จำเป็นต้องมีปรับเปลี่ยนการบริหารจัดการให้เหมาะสม ทั้งการพัฒนาความรู้และแนวทางการรักษาพยาบาลผู้ป่วยวิกฤต บาดเจ็บ การเยียวยาจิตใจครอบครัวผู้เสียชีวิต รวมทั้งการทำงานอย่างปลอดภัยและมีความสุขในสถานการณ์ความไม่สงบ
นายไชยา กล่าวต่อว่า กระทรวงสาธารณสุขมีการติดตามสถานการณ์ และแก้ไขปรับปรุงการจัดระบบบริการสาธารณสุขสำหรับประชาชนในพื้นที่ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้อย่างต่อเนื่อง โดยเพิ่มศักยภาพการตรวจวินิจฉัยและรักษาของ รพ.ศูนย์ยะลา รพ.เบตง รพ.ปัตตานี รพ.นราธิวาสราชนครินทร์ และรพ.สุไหงโก-ลก ซึ่งมีแพทย์เฉพาะทางครบทุกสาขา จัดซื้อเครื่องมือแพทย์ เครื่องเอ็กซ์เรย์คอมพิวเตอร์ เครื่องช่วยหายใจ ให้พร้อมรองรับผู้ป่วยในพื้นที่ ลดความเสี่ยงในการส่งต่อผู้ป่วยข้ามจังหวัด พร้อมทั้งผลิตพยาบาลวิชาชีพสำหรับพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้โดยเฉพาะอีก 3,000 คน โดยจะจบการศึกษาในปี 2554 นอกจากนี้ ในปี 2551 ยังได้ขอสนับสนุนงบก่อสร้างอาคารอุบัติเหตุฉุกเฉินของ รพ.ศูนย์ยะลา จากการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค จำนวน 187.8 ล้านบาท และจัดสรรงบก่อสร้าง รพ.กรงปินัง จ.ยะลา เป็นรพ.ขนาด 30 เตียง จำนวน 67 ล้านบาท
“ด้านความก้าวหน้าของเจ้าหน้าที่ ได้เตรียมเสนอตำแหน่งสาธารณสุขอำเภอทั่วประเทศเป็นซี 8 และหัวหน้าสถานีอนามัยเป็นซี 7 ส่วนเจ้าหน้าที่สถานีอนามัยจะดันเข้าสู่กลุ่มวิชาการ ตามกฎหมายใหม่ของ ก.พ. ขณะนี้ใน 3 จังหวัดชายแดนใต้ หัวหน้าสถานีอนามัยได้ซี 7 แล้ว 165 แห่ง จาก 315 แห่ง อยู่ระหว่างขอเพิ่มอีก 21 ตำแหน่ง สาธารณสุขอำเภอได้ซี 8 แล้ว 7 แห่ง ขอเพิ่มอีก 14 ตำแหน่ง ส่วนหัวหน้าสถานีอนามัยที่คุณสมบัติครบ อยู่ในระหว่างกำหนดตำแหน่งเพิ่มเติมอีก 64 ตำแหน่ง”นายไชยากล่าว