จุฬาฯ เผยผลศึกษาพันธุ์ข้าวลูกผสม บ.ยักษ์ใหญ่ ให้ผลผลิตต่ำกว่าที่ โม้-ต้นทุนสูงลิ่ว ฟันกำไรขายเมล็ดพันธุ์อื้อ ชาวนา 20-30% ประกาศเลิกทำนาใช้ข้าวพันธุ์นี้แล้ว
ที่ศูนย์พัฒนาสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมูลนิธิชีววิถี (ไบโอไทย) ได้จัดแถลงผลการศึกษาเรื่อง“ปัญหาของพันธุ์ข้าวลูกผสมศึกษากรณีการผลักดันพันธุ์ข้าวลูกผสมของบริษัทยักษ์ใหญ่ทางด้านการเกษตรแห่งหนึ่ง”โดยนายจักรกฤษณ์ พูลสวัสดิ์กิติกุล นักวิจัยได้แถลงผลการศึกษาว่าจากการการสำรวจข้อมูลผลของการปลูกข้าวของบริษัทดังกล่าว ในพื้นที่จังหวัดกำแพงเพชร และอุตรดิตถ์ ระหว่างเดือน ก.พ.-พ.ค.51 โดยสัมภาษณ์และเก็บข้อมูลจากชาวนาที่เข้าร่วมโครงการปลูกข้าวลูกผสมจำนวน 9 ราย โดยอยู่ในจังหวัดกำแพงเพชร 4 ราย และจังหวัดอุตรดิตถ์ 5 ราย พบว่า ผลผลิตเฉลี่ยของชาวนาที่ปลูกข้าวลูกผสมจะได้ผลผลิตเฉลี่ย 958 กิโลกรัม/ไร่
เมื่อเปรียบเทียบผลผลิตที่อ้างโดยบริษัทในการแถลงข่าวและให้สัมภาษณ์หลายครั้งที่บอกว่าข้าวลูกผสมของบริษัทสามารถให้ผลผลิตสูงถึง 1,500 กิโลกรัม/ไร่ จะพบว่าผลผลิตที่ได้ในทางปฏิบัตินั้นต่ำกว่าที่โฆษณาถึง 36% ในขณะเดียวกันการศึกษาในพื้นที่พบว่าต้นทุนการผลิตข้าวลูกผสมนั้นสูงเฉลี่ย 4,462 บาท/ไร่ โดยสัดส่วนของค่าเมล็ดพันธุ์และปักดำนั้นสูงถึง 1,700 บาท/ไร่ หรือสูงถึงร้อยละ 38 ของต้นทุนการทำนาทั้งหมดแสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่าการผลักดันให้ปลูกข้าวลูกผสมนั้นบริษัทเอกชนจะได้ประโยชน์จากการขายเมล็ดพันธุ์เป็นสำคัญ
จากการศึกษาเปรียบเทียบระหว่างการปลูกข้าวลูกผสมกับการปลูกข้าวทั่วไปเห็นได้ชัดว่าต้นทุนการผลิตข้าวลูกผสมสูงมากจนชาวนาได้รายได้สุทธิน้อยกว่าการปลูกข้าวทั่วไป
“จากการสำรวจทัศนคติของชาวนาที่เข้าร่วมโครงการทราบว่ามีชาวนาจำนวน 20-30% จะเลิกทำนาโดยใช้พันธุ์ข้าวลูกผสมในฤดูปลูกที่จะมาถึงนี้”นายจักรกฤษณ์ กล่าว
นายวิฑูรย์ ยังได้แถลงเพิ่มเติมว่าคุณภาพของข้าวลูกผสมนั้น มีคุณภาพต่ำมากเมื่อเทียบกับพันธุ์ข้าวทั่วไปโดยที่ผ่านมามีการเสนอให้นำข้าวลูกผสมไปแปรรูปเป็นเอธานอลหรือการแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์อื่นๆ แม้แต่บริษัทเองที่รับซื้อข้าวพันธุ์นี้ก็เอาไปสีทำเป็นข้าวนึ่งซึ่งเป็นตลาดข้าวสำหรับประเทศในทวีปแอฟริกา
“ปัญหาข้าวลูกผสมจะเป็นปัญหาสำหรับทั้งต่อเกษตรกรและต่อตลาดข้าวของไทยในอนาคต เนื่องจากในขณะนี้เกษตรกรขายข้าวลูกผสมในราคาข้าวทั่วไปแต่ในระยะยาวเมื่อมีการปลูกข้าวลูกผสมมากขึ้นข้าวคุณภาพต่ำเหล่านี้จะมีราคาต่ำกว่าข้าวทั่วไป ที่สำคัญคือเมื่อข้าวลูกผสมเหล่านี้ผสมปนกับข้าวขาวทั่วไปของไทยโดยไม่แยกแยะเป็นชั้นพันธุ์ข้าวอีกระดับหนึ่งจะส่งผลให้คุณภาพข้าวจากประเทศไทยซึ่งได้ชื่อว่าเป็นตลาดข้าวคุณภาพดีได้รับผลกระทบสร้างความเสียหายให้กับตลาดข้าวทั้งหมดในที่สุด”
นายวิฑูรย์ ยังกล่าวด้วยว่า ข้อเสนอของ ประธานบริษัทแห่งนี้โดยการลดพื้นที่ปลูกข้าวให้เหลือ25 ล้านไร่ แล้วปลูกข้าวลูกผสมปีละ 3 ครั้งนั้นแท้ที่จริงแล้วเป็นกลอุบายในการผลักดันให้มีการปลูกพันธุ์ข้าวลูกผสมซึ่งจะทำให้บริษัทได้ครอบครองตลาดเมล็ดพันธุ์ข้าวมีมูลค่าสูงถึง 37,000 ล้านบาท/รอบการผลิต หรือมากกว่า 100,000 ล้านบาท/ปีโดยเกษตรกรต้องซื้อเมล็ดพันธุ์จากบริษัทไปปลูกต่อทุกปี ทั้งนี้ไม่นับผลประโยชน์ที่บริษัทจะได้รับจากการขายปุ๋ยเคมี สารเคมีการเกษตร และผลิตภัณฑ์อื่นๆ ของบริษัท
ด้านนายอุบล อยู่หว้าผู้ประสานงานเครือข่ายเกษตรกรรมทางเลือกได้กล่าวถึงสถานการณ์ในภาคอีสานว่าขณะนี้เกษตรกรกำลังกลายเป็นเหยื่อของบริษัทการเกษตรตัวอย่างเช่นมีเกษตรกรเป็นจำนวนมากถูกหลอกให้ปลูกยางพาราที่เรียกว่า“ยางตาสอย”ซึ่งเมื่อปลูกไปเพียงสองปีต้นยางต้นเล็กๆก็ออกดอกออกผลแล้วเพราะต้นตอที่ได้รับมานั้นนำตายางแก่มาติดตากับต้นพันธุ์ถือว่าเป็นการหลอกลวงที่โหดร้ายต่อเกษตรกรมากและบริษัทจะต้องรับผิดชอบในเรื่องนี้ด้วยเพราะได้สัมปทานขายต้นกล้ายางพาราหลายล้านต้นในภาคอีสาน
“ในกรณีการโฆษณาข้าวลูกผสมก็เช่นเดียวกันชาวนาจะต้องรวมตัวกันฟ้องร้องบริษัทถ้าหากผลผลิตไม่ได้ตามที่โฆษณาหรือมีต้นทุนสูงกว่าที่บริษัทโฆษณาชวนเชื่อหรือผู้บริหารของบริษัทได้ให้สัมภาษณ์ตามหน้าหนังสือพิมพ์“ นายอุบล กล่าว
ที่ศูนย์พัฒนาสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมูลนิธิชีววิถี (ไบโอไทย) ได้จัดแถลงผลการศึกษาเรื่อง“ปัญหาของพันธุ์ข้าวลูกผสมศึกษากรณีการผลักดันพันธุ์ข้าวลูกผสมของบริษัทยักษ์ใหญ่ทางด้านการเกษตรแห่งหนึ่ง”โดยนายจักรกฤษณ์ พูลสวัสดิ์กิติกุล นักวิจัยได้แถลงผลการศึกษาว่าจากการการสำรวจข้อมูลผลของการปลูกข้าวของบริษัทดังกล่าว ในพื้นที่จังหวัดกำแพงเพชร และอุตรดิตถ์ ระหว่างเดือน ก.พ.-พ.ค.51 โดยสัมภาษณ์และเก็บข้อมูลจากชาวนาที่เข้าร่วมโครงการปลูกข้าวลูกผสมจำนวน 9 ราย โดยอยู่ในจังหวัดกำแพงเพชร 4 ราย และจังหวัดอุตรดิตถ์ 5 ราย พบว่า ผลผลิตเฉลี่ยของชาวนาที่ปลูกข้าวลูกผสมจะได้ผลผลิตเฉลี่ย 958 กิโลกรัม/ไร่
เมื่อเปรียบเทียบผลผลิตที่อ้างโดยบริษัทในการแถลงข่าวและให้สัมภาษณ์หลายครั้งที่บอกว่าข้าวลูกผสมของบริษัทสามารถให้ผลผลิตสูงถึง 1,500 กิโลกรัม/ไร่ จะพบว่าผลผลิตที่ได้ในทางปฏิบัตินั้นต่ำกว่าที่โฆษณาถึง 36% ในขณะเดียวกันการศึกษาในพื้นที่พบว่าต้นทุนการผลิตข้าวลูกผสมนั้นสูงเฉลี่ย 4,462 บาท/ไร่ โดยสัดส่วนของค่าเมล็ดพันธุ์และปักดำนั้นสูงถึง 1,700 บาท/ไร่ หรือสูงถึงร้อยละ 38 ของต้นทุนการทำนาทั้งหมดแสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่าการผลักดันให้ปลูกข้าวลูกผสมนั้นบริษัทเอกชนจะได้ประโยชน์จากการขายเมล็ดพันธุ์เป็นสำคัญ
จากการศึกษาเปรียบเทียบระหว่างการปลูกข้าวลูกผสมกับการปลูกข้าวทั่วไปเห็นได้ชัดว่าต้นทุนการผลิตข้าวลูกผสมสูงมากจนชาวนาได้รายได้สุทธิน้อยกว่าการปลูกข้าวทั่วไป
“จากการสำรวจทัศนคติของชาวนาที่เข้าร่วมโครงการทราบว่ามีชาวนาจำนวน 20-30% จะเลิกทำนาโดยใช้พันธุ์ข้าวลูกผสมในฤดูปลูกที่จะมาถึงนี้”นายจักรกฤษณ์ กล่าว
นายวิฑูรย์ ยังได้แถลงเพิ่มเติมว่าคุณภาพของข้าวลูกผสมนั้น มีคุณภาพต่ำมากเมื่อเทียบกับพันธุ์ข้าวทั่วไปโดยที่ผ่านมามีการเสนอให้นำข้าวลูกผสมไปแปรรูปเป็นเอธานอลหรือการแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์อื่นๆ แม้แต่บริษัทเองที่รับซื้อข้าวพันธุ์นี้ก็เอาไปสีทำเป็นข้าวนึ่งซึ่งเป็นตลาดข้าวสำหรับประเทศในทวีปแอฟริกา
“ปัญหาข้าวลูกผสมจะเป็นปัญหาสำหรับทั้งต่อเกษตรกรและต่อตลาดข้าวของไทยในอนาคต เนื่องจากในขณะนี้เกษตรกรขายข้าวลูกผสมในราคาข้าวทั่วไปแต่ในระยะยาวเมื่อมีการปลูกข้าวลูกผสมมากขึ้นข้าวคุณภาพต่ำเหล่านี้จะมีราคาต่ำกว่าข้าวทั่วไป ที่สำคัญคือเมื่อข้าวลูกผสมเหล่านี้ผสมปนกับข้าวขาวทั่วไปของไทยโดยไม่แยกแยะเป็นชั้นพันธุ์ข้าวอีกระดับหนึ่งจะส่งผลให้คุณภาพข้าวจากประเทศไทยซึ่งได้ชื่อว่าเป็นตลาดข้าวคุณภาพดีได้รับผลกระทบสร้างความเสียหายให้กับตลาดข้าวทั้งหมดในที่สุด”
นายวิฑูรย์ ยังกล่าวด้วยว่า ข้อเสนอของ ประธานบริษัทแห่งนี้โดยการลดพื้นที่ปลูกข้าวให้เหลือ25 ล้านไร่ แล้วปลูกข้าวลูกผสมปีละ 3 ครั้งนั้นแท้ที่จริงแล้วเป็นกลอุบายในการผลักดันให้มีการปลูกพันธุ์ข้าวลูกผสมซึ่งจะทำให้บริษัทได้ครอบครองตลาดเมล็ดพันธุ์ข้าวมีมูลค่าสูงถึง 37,000 ล้านบาท/รอบการผลิต หรือมากกว่า 100,000 ล้านบาท/ปีโดยเกษตรกรต้องซื้อเมล็ดพันธุ์จากบริษัทไปปลูกต่อทุกปี ทั้งนี้ไม่นับผลประโยชน์ที่บริษัทจะได้รับจากการขายปุ๋ยเคมี สารเคมีการเกษตร และผลิตภัณฑ์อื่นๆ ของบริษัท
ด้านนายอุบล อยู่หว้าผู้ประสานงานเครือข่ายเกษตรกรรมทางเลือกได้กล่าวถึงสถานการณ์ในภาคอีสานว่าขณะนี้เกษตรกรกำลังกลายเป็นเหยื่อของบริษัทการเกษตรตัวอย่างเช่นมีเกษตรกรเป็นจำนวนมากถูกหลอกให้ปลูกยางพาราที่เรียกว่า“ยางตาสอย”ซึ่งเมื่อปลูกไปเพียงสองปีต้นยางต้นเล็กๆก็ออกดอกออกผลแล้วเพราะต้นตอที่ได้รับมานั้นนำตายางแก่มาติดตากับต้นพันธุ์ถือว่าเป็นการหลอกลวงที่โหดร้ายต่อเกษตรกรมากและบริษัทจะต้องรับผิดชอบในเรื่องนี้ด้วยเพราะได้สัมปทานขายต้นกล้ายางพาราหลายล้านต้นในภาคอีสาน
“ในกรณีการโฆษณาข้าวลูกผสมก็เช่นเดียวกันชาวนาจะต้องรวมตัวกันฟ้องร้องบริษัทถ้าหากผลผลิตไม่ได้ตามที่โฆษณาหรือมีต้นทุนสูงกว่าที่บริษัทโฆษณาชวนเชื่อหรือผู้บริหารของบริษัทได้ให้สัมภาษณ์ตามหน้าหนังสือพิมพ์“ นายอุบล กล่าว