สธ.สรุปผลการประชุมวิชาการประจำปี 2551 มีบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขทุกสาขา นำเสนอผลงานทั้งแบบบรรยาย โปสเตอร์ และนวัตกรรมสิ่งประดิษฐ์ รวม 407 เรื่อง ผ่านการคัดเลือกได้รับรางวัลผลงานวิชาการดีเด่นประจำปี จำนวน 53 เรื่อง หลังจากนั้นจะทำการตัดสินสุดยอดผลงาน เข้ารับรางวัลผลงานวิชาการยอดเยี่ยมในการประชุมปีหน้า
วันนี้ (30 พ.ค.) ที่โรงแรมปรินซ์พาเลส กทม. นพ.ปราชญ์ บุณยวงศ์วิโรจน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข เปิดเผยภายหลังเป็นประธานปิดการประชุมวิชาการสาธารณสุขประจำปี 2551 ว่า การจัดประชุมวิชาการเป็นกลไกสำคัญ ที่จะช่วยให้บุคลากรด้านการแพทย์และสาธารณสุข มีความตื่นตัวในการพัฒนาตนเอง แสวงหาและสร้างองค์ความรู้ใหม่ๆ อย่างต่อเนื่อง ซึ่งจะเป็นประโยชน์อย่างมากต่อประชาชนผู้รับบริการ รวมทั้งช่วยให้วงการแพทย์และสาธารณสุขไทยก้าวหน้าทัดเทียมกับนานาประเทศ โดยการประชุมวิชาการปีนี้ มีบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข นำเสนอผลงานทางวิชาการทั้งหมด 407 เรื่อง แยกเป็นแบบบรรยาย 298 เรื่อง โปสเตอร์และนวัตกรรมสิ่งประดิษฐ์ 109 เรื่อง ซึ่งในปีนี้คณะกรรมการได้คัดเลือกผลงานวิชาการดีเด่น ประจำปี 2551 รวม 53 เรื่อง จากนั้นจะพิจารณาคัดเลือกผลงานที่ดีที่สุดเพียง 2 เรื่อง เข้ารับรางวัลผลงานวิชาการยอดเยี่ยมในการประชุมวิชาการประจำปีครั้งต่อไป
ทั้งนี้ ผลงานวิชาการดีเด่นแบบโปสเตอร์ 7 เรื่อง ได้แก่ 1.การพัฒนาคุณภาพระบบส่งต่อ จังหวัดอุบลราชธานีปี 2550 โดยพัชราภรณ์ กิ่งแก้ว สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุบลราชธานี 2.การพัฒนางานด้านสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับคนพิการ : กรณีรพ.ขอนแก่น โดย น.ส.นุสรา เตียวสินเธาว์ 3.Class : Camp : Club กับ DM MAHARAT KORAT โดยนายสุพจน์ เตชเจริญศรี รพ.มหาราชนครราชสีมา 4.การตามรอยคุณภาพการดูแลผู้ติดเชื้อเอชไอวี /เอดส์ รพ.สรรพสิทธิประสงค์ อุบลราชธานี โดยนางวรรณรัตน์ วงศ์เจริญ 5.เปียโน : ดนตรีบำบัดในผู้ป่วยโรคจิตเภท โดยนางสกาวรัตน์ พวงลัดดา รพ.ศรีธัญญา 6.การบำบัดโดยใช้วิธีการปรับเปลี่ยนความคิดและพฤติกรรมสำหรับผู้ป่วยในโครงการเฝ้าระวังการฆ่าตัวตาย รพ.จิตเวชนครราชสีมาราชนครินทร์ โดย นายวีระชัย เตชะนิรัติศัย และ 7.คุณภาพและความปลอดภัยของยาตามชื่อสามัญในบัญชียาหลักแห่งชาติ โดย ภญ.สุขศรี อึ้งบริบูรณ์ สำนักยาและวัตถุเสพติด กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
นอกจากนี้ มีนวัตกรรมสิ่งประดิษฐ์ดีเด่น 8 เรื่อง ได้แก่ 1.ใบตองวิเศษพิชิตแผล แคร์ความรู้สึก โดย นางอรทัย ไพรบึง สอ.ปราสาทเยอ จ.ศรีสะเกษ 2.พัฒนาระบบการดูแลรักษาทารกเกิดก่อนกำหนดที่มีภาวะตัวเหลือง โดย น.ส.สุคนธา สองสี รพ.สงขลา 3.เพื่อนแท้ แผลฝีเย็บ โดยนางนิตยา เพ็ชรรัตน์ รพ.สงขลา 4.อุปกรณ์ยึดข้อแบบปรับได้โคราช โดย นางรัชวรรณ สุขเสถียร รพ.มหาราชนครราชสีมา 5.ชุดควบคุมระบบการจ่ายก๊าซของเครื่องนึ่งฆ่าเชื้อโรค โดยอาศัยแรงดันไอน้ำภายในหม้อต้ม โดย นายอดิศักดิ์ ตรีวรเวช ศูนย์วิศวกรรมการแพทย์ที่ 2 ขอนแก่น 6.HosXP-PCU : โปรแกรมเพื่อส่งเสริมคุณภาพการให้บริการสุขภาพปฐมภูมิ โดยนพ.สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น 7.ตู้อบแห้งเครื่องมือแพทย์ โดย นายอนุวัตต์ เล๊ะนุ๊ รพ.รามัน จ.ยะลา 8.อุบัติการเกิดและแนวทางการดูแลแบบองค์รวมในทารกปากแหว่งเพดานโหว่ : กรณีศึกษาโรงพยาบาลร้อยเอ็ด โดย ทพ.ญ.นิรมล ลีลาอดิศร ส่วนผลงานวิชาการดีเด่นแบบบรรยาย มี 38 เรื่อง
วันนี้ (30 พ.ค.) ที่โรงแรมปรินซ์พาเลส กทม. นพ.ปราชญ์ บุณยวงศ์วิโรจน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข เปิดเผยภายหลังเป็นประธานปิดการประชุมวิชาการสาธารณสุขประจำปี 2551 ว่า การจัดประชุมวิชาการเป็นกลไกสำคัญ ที่จะช่วยให้บุคลากรด้านการแพทย์และสาธารณสุข มีความตื่นตัวในการพัฒนาตนเอง แสวงหาและสร้างองค์ความรู้ใหม่ๆ อย่างต่อเนื่อง ซึ่งจะเป็นประโยชน์อย่างมากต่อประชาชนผู้รับบริการ รวมทั้งช่วยให้วงการแพทย์และสาธารณสุขไทยก้าวหน้าทัดเทียมกับนานาประเทศ โดยการประชุมวิชาการปีนี้ มีบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข นำเสนอผลงานทางวิชาการทั้งหมด 407 เรื่อง แยกเป็นแบบบรรยาย 298 เรื่อง โปสเตอร์และนวัตกรรมสิ่งประดิษฐ์ 109 เรื่อง ซึ่งในปีนี้คณะกรรมการได้คัดเลือกผลงานวิชาการดีเด่น ประจำปี 2551 รวม 53 เรื่อง จากนั้นจะพิจารณาคัดเลือกผลงานที่ดีที่สุดเพียง 2 เรื่อง เข้ารับรางวัลผลงานวิชาการยอดเยี่ยมในการประชุมวิชาการประจำปีครั้งต่อไป
ทั้งนี้ ผลงานวิชาการดีเด่นแบบโปสเตอร์ 7 เรื่อง ได้แก่ 1.การพัฒนาคุณภาพระบบส่งต่อ จังหวัดอุบลราชธานีปี 2550 โดยพัชราภรณ์ กิ่งแก้ว สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุบลราชธานี 2.การพัฒนางานด้านสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับคนพิการ : กรณีรพ.ขอนแก่น โดย น.ส.นุสรา เตียวสินเธาว์ 3.Class : Camp : Club กับ DM MAHARAT KORAT โดยนายสุพจน์ เตชเจริญศรี รพ.มหาราชนครราชสีมา 4.การตามรอยคุณภาพการดูแลผู้ติดเชื้อเอชไอวี /เอดส์ รพ.สรรพสิทธิประสงค์ อุบลราชธานี โดยนางวรรณรัตน์ วงศ์เจริญ 5.เปียโน : ดนตรีบำบัดในผู้ป่วยโรคจิตเภท โดยนางสกาวรัตน์ พวงลัดดา รพ.ศรีธัญญา 6.การบำบัดโดยใช้วิธีการปรับเปลี่ยนความคิดและพฤติกรรมสำหรับผู้ป่วยในโครงการเฝ้าระวังการฆ่าตัวตาย รพ.จิตเวชนครราชสีมาราชนครินทร์ โดย นายวีระชัย เตชะนิรัติศัย และ 7.คุณภาพและความปลอดภัยของยาตามชื่อสามัญในบัญชียาหลักแห่งชาติ โดย ภญ.สุขศรี อึ้งบริบูรณ์ สำนักยาและวัตถุเสพติด กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
นอกจากนี้ มีนวัตกรรมสิ่งประดิษฐ์ดีเด่น 8 เรื่อง ได้แก่ 1.ใบตองวิเศษพิชิตแผล แคร์ความรู้สึก โดย นางอรทัย ไพรบึง สอ.ปราสาทเยอ จ.ศรีสะเกษ 2.พัฒนาระบบการดูแลรักษาทารกเกิดก่อนกำหนดที่มีภาวะตัวเหลือง โดย น.ส.สุคนธา สองสี รพ.สงขลา 3.เพื่อนแท้ แผลฝีเย็บ โดยนางนิตยา เพ็ชรรัตน์ รพ.สงขลา 4.อุปกรณ์ยึดข้อแบบปรับได้โคราช โดย นางรัชวรรณ สุขเสถียร รพ.มหาราชนครราชสีมา 5.ชุดควบคุมระบบการจ่ายก๊าซของเครื่องนึ่งฆ่าเชื้อโรค โดยอาศัยแรงดันไอน้ำภายในหม้อต้ม โดย นายอดิศักดิ์ ตรีวรเวช ศูนย์วิศวกรรมการแพทย์ที่ 2 ขอนแก่น 6.HosXP-PCU : โปรแกรมเพื่อส่งเสริมคุณภาพการให้บริการสุขภาพปฐมภูมิ โดยนพ.สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น 7.ตู้อบแห้งเครื่องมือแพทย์ โดย นายอนุวัตต์ เล๊ะนุ๊ รพ.รามัน จ.ยะลา 8.อุบัติการเกิดและแนวทางการดูแลแบบองค์รวมในทารกปากแหว่งเพดานโหว่ : กรณีศึกษาโรงพยาบาลร้อยเอ็ด โดย ทพ.ญ.นิรมล ลีลาอดิศร ส่วนผลงานวิชาการดีเด่นแบบบรรยาย มี 38 เรื่อง