เราจะแน่ใจและมั่นใจได้แค่ไหนว่าห้องที่เราอาศัยและหลับนอน หรือห้องที่เราทำงาน ใช้ชีวิตอยู่ทุกวัน จะไม่ทำร้ายเรา
เพราะจากประสบการณ์ของวิศวกรชื่อดังระดับปรมาจารย์ของไทยอย่าง ศ.อรุณ ชัยเสรี ประธานกรรมการบริษัท อรุณ ชัยเสรี คอนซัลติ้ง เอนจิเนียร์ส จำกัด อดีตนายกสภาวิศวกร และอดีตนายกวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ได้บอกว่าห้องที่ตนเองทำงานและใช้ชีวิตอยู่นั่นแหละเป็นตัวการสาเหตุหลักที่ทำให้ท่านป่วยเป็นโรคร้ายมานาน
ศ.อรุณ เล่าประสบการณ์และให้ความรู้เรื่องอาคารป่วย หรือ Sick Building ในโอกาสที่เป็นวิทยากรบรรยายให้ความรู้ในงานประชุมวิชาการวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 13 ที่ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ ม.ศรีปทุม ร่วมกับวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยจัดขึ้นว่า ตนเองป่วยเป็นโรคมะเร็งที่ปอดโดยไม่ทราบสาเหตุ ทั้งๆ ที่ไม่ได้ดื่มเหล้าสูบบุหรี่หรือเที่ยวกลางคืนแต่อย่างใด จากนั้นจึงไปพบแพทย์เพื่อผ่าตัดรักษา ซึ่งแพทย์ก็ไม่สามารถให้คำตอบถึงสาเหตุได้เช่นกัน
หลังจากนั้น จึงพยายามหาสาเหตุจากแหล่งต่างๆ ทั้งหนังสือ ตำราต่างประเทศ และอินเทอร์เน็ต จึงทำให้ทราบว่ามีสาเหตุมาจากการอยู่ในอาคาร หรือห้องที่ไม่เหมาะสมเป็นเวลานานหรือเป็นประจำ ซึ่งมีชื่อว่า Sick Building Syndrome หรืออาคารป่วยนั่นเอง
“กรณีของผมพบน้อยมากในเมืองไทยของเรา แต่ก่อนที่ผมจะใช้ห้องนอนเป็นห้องทำงาน เรียกได้ว่าชีวิตส่วนใหญ่ใช้ชีวิตอยู่ในนี้เป็นส่วนมาก ทำงานเสร็จแล้วก็นอน ซึ่งผมคิดว่านี่อาจเป็นสาเหตุที่ทำให้ผมป่วยก็ได้ เรื่องอาคารป่วยนี้ถือเป็นภัยเงียบ ที่ส่งผลกระทบต่อผู้พักอาศัยโดยไม่รู้ตัว ซึ่งอาคารป่วยนี้ไม่จำเป็นต้องเกิดขึ้นกับอาคารเก่าแก่เพียงเท่านั้น สามารถเกิดได้กับทุกอาคารที่ไม่ถูกสุขลักษณะ หรือมีสิ่งเคมี และสิ่งแวดล้อมที่อันตรายอยู่ร่วมด้วย โดยอาการทั่วไปของผู้ที่เข้าไปในอาคารที่พบส่วนใหญ่จะมีอาการปวดศีรษะ คลื่นไส้ แน่นหน้าอก อ่อนเพลีย จาม ไอ เป็นต้น ซึ่งเมื่อเป็นเวลานานเข้าอาจกลายเป็นโรคร้ายได้อีกด้วย”
สำหรับสาเหตุที่ทำให้อาคารป่วยนั้นมีมากหลายปัจจัย เช่น อาคารนั้นมีความสูงและมีการโยกเกิน 1/500 ของความสูง ห้องในอาคารนั้นๆ เป็นแบบปิดทึบไม่มีอากาศถ่ายเท โดยเฉพาะในห้องปรับอากาศ จะเป็นแหล่งสะสมเชื้อโรคอย่างดี หรือถ้าผนังเกิดรอยร้าวหรือมีความชื้นสูง ก็เป็นแหล่งสะสมของเชื้อโรคเช่นกัน
ส่วนในอาคารหรือห้องที่ปูพรม หรือมีม่าน ถ้าทำ ความสะอาดไม่ดีก็เป็นแหล่งสะสมเชื้อโรคได้เช่นกัน และถ้าห้องที่ทำเสร็จใหม่ๆ ก็จะมีฝุ่นละอองและกลิ่นสีจากทินเนอร์ ซึ่งเป็นอันตรายต่อร่างกายอย่างมาก นอกจากนี้ในห้องที่ติดพื้นดิน ถ้าไม่ได้ปูพื้นป้องกันแก๊สเรเดียม ซึ่งเป็นแก๊สที่ไม่มีสี กลิ่น สลายตัวจากแร่เรเดียม และมีมากในพื้นดิน ก็อาจทำให้แก๊สนั้นแพร่ซึมเข้าสู่ร่างกายก็ทำให้เกิดการสะสมจนเป็นมะเร็งได้
เพราะจากประสบการณ์ของวิศวกรชื่อดังระดับปรมาจารย์ของไทยอย่าง ศ.อรุณ ชัยเสรี ประธานกรรมการบริษัท อรุณ ชัยเสรี คอนซัลติ้ง เอนจิเนียร์ส จำกัด อดีตนายกสภาวิศวกร และอดีตนายกวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ได้บอกว่าห้องที่ตนเองทำงานและใช้ชีวิตอยู่นั่นแหละเป็นตัวการสาเหตุหลักที่ทำให้ท่านป่วยเป็นโรคร้ายมานาน
ศ.อรุณ เล่าประสบการณ์และให้ความรู้เรื่องอาคารป่วย หรือ Sick Building ในโอกาสที่เป็นวิทยากรบรรยายให้ความรู้ในงานประชุมวิชาการวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 13 ที่ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ ม.ศรีปทุม ร่วมกับวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยจัดขึ้นว่า ตนเองป่วยเป็นโรคมะเร็งที่ปอดโดยไม่ทราบสาเหตุ ทั้งๆ ที่ไม่ได้ดื่มเหล้าสูบบุหรี่หรือเที่ยวกลางคืนแต่อย่างใด จากนั้นจึงไปพบแพทย์เพื่อผ่าตัดรักษา ซึ่งแพทย์ก็ไม่สามารถให้คำตอบถึงสาเหตุได้เช่นกัน
หลังจากนั้น จึงพยายามหาสาเหตุจากแหล่งต่างๆ ทั้งหนังสือ ตำราต่างประเทศ และอินเทอร์เน็ต จึงทำให้ทราบว่ามีสาเหตุมาจากการอยู่ในอาคาร หรือห้องที่ไม่เหมาะสมเป็นเวลานานหรือเป็นประจำ ซึ่งมีชื่อว่า Sick Building Syndrome หรืออาคารป่วยนั่นเอง
“กรณีของผมพบน้อยมากในเมืองไทยของเรา แต่ก่อนที่ผมจะใช้ห้องนอนเป็นห้องทำงาน เรียกได้ว่าชีวิตส่วนใหญ่ใช้ชีวิตอยู่ในนี้เป็นส่วนมาก ทำงานเสร็จแล้วก็นอน ซึ่งผมคิดว่านี่อาจเป็นสาเหตุที่ทำให้ผมป่วยก็ได้ เรื่องอาคารป่วยนี้ถือเป็นภัยเงียบ ที่ส่งผลกระทบต่อผู้พักอาศัยโดยไม่รู้ตัว ซึ่งอาคารป่วยนี้ไม่จำเป็นต้องเกิดขึ้นกับอาคารเก่าแก่เพียงเท่านั้น สามารถเกิดได้กับทุกอาคารที่ไม่ถูกสุขลักษณะ หรือมีสิ่งเคมี และสิ่งแวดล้อมที่อันตรายอยู่ร่วมด้วย โดยอาการทั่วไปของผู้ที่เข้าไปในอาคารที่พบส่วนใหญ่จะมีอาการปวดศีรษะ คลื่นไส้ แน่นหน้าอก อ่อนเพลีย จาม ไอ เป็นต้น ซึ่งเมื่อเป็นเวลานานเข้าอาจกลายเป็นโรคร้ายได้อีกด้วย”
สำหรับสาเหตุที่ทำให้อาคารป่วยนั้นมีมากหลายปัจจัย เช่น อาคารนั้นมีความสูงและมีการโยกเกิน 1/500 ของความสูง ห้องในอาคารนั้นๆ เป็นแบบปิดทึบไม่มีอากาศถ่ายเท โดยเฉพาะในห้องปรับอากาศ จะเป็นแหล่งสะสมเชื้อโรคอย่างดี หรือถ้าผนังเกิดรอยร้าวหรือมีความชื้นสูง ก็เป็นแหล่งสะสมของเชื้อโรคเช่นกัน
ส่วนในอาคารหรือห้องที่ปูพรม หรือมีม่าน ถ้าทำ ความสะอาดไม่ดีก็เป็นแหล่งสะสมเชื้อโรคได้เช่นกัน และถ้าห้องที่ทำเสร็จใหม่ๆ ก็จะมีฝุ่นละอองและกลิ่นสีจากทินเนอร์ ซึ่งเป็นอันตรายต่อร่างกายอย่างมาก นอกจากนี้ในห้องที่ติดพื้นดิน ถ้าไม่ได้ปูพื้นป้องกันแก๊สเรเดียม ซึ่งเป็นแก๊สที่ไม่มีสี กลิ่น สลายตัวจากแร่เรเดียม และมีมากในพื้นดิน ก็อาจทำให้แก๊สนั้นแพร่ซึมเข้าสู่ร่างกายก็ทำให้เกิดการสะสมจนเป็นมะเร็งได้