ในงานเสวนาเพื่อหาแนวทางการแก้ไข และทำความเข้าใจกับชาวบ้านกรณี ปัญหาแฟลตดินแดง ที่ชาวแฟลตดินแดงร่วมกันจัดขึ้น บริเวณลานเอนกประสงค์ แฟลต 26-27 โดยเชิญผู้เกี่ยวข้อง อาทิ สภาวิศวกรตัวแทนจากการเคหะแห่งชาติ ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ และนายชูวิทย์ กมลวิศิษฏ์ เข้าร่วม
ศ.เอกสิทธิ์ ลิ้มสุวรรณ ประธานคณะกรรมการมาตรฐานวิชาชีพทางวิศวกรรมโยธา สภาวิศวกร กล่าวว่า จากการที่สภาวิศวกร ส่งตัวแทนจำนวน 15 คน เข้ามาสำรวจโครงสร้างของอาคารแฟลตดินแดงทั้งหมด ไม่พบว่า ตัวโครงสร้างของอาคารจะเสียหายหรือพังทันที หากเกิดแผ่นดินไหวตามที่เป็นข่าว ซึ่งตนมองว่าเป็นเรื่องไม่ชอบมาพากล ส่วนงบที่จะใช้ซ่อมแซมก็ไม่สูงถึง 400-500 ล้านบาท
สำหรับกรณีที่ที่ความเห็นของสภาวิศวกร ไม่ตรงกับสถาบันเอไอที เกี่ยวกับสภาพของแฟลตดินแดง ที่การเคหะแห่งชาติ (กคช.) นำข้อมูลมาอ้างถึงนั้น อาจเกิดจากความคลาดเคลื่อนที่สถาบันเอไอที ตรวจสอบจากสภาพอาคารบางส่วน แต่ไม่ได้ตรวจสอบอาคารทั้งหมด
ด้าน นายชูวิทย์ กล่าวว่า หากชาวแฟลตดินแดงต้องการที่จะอยู่อาศัยที่แฟลตดินแดงต่อไป จะต้องแสดงพลังให้ผู้เกี่ยวข้องรับรู้ว่าอาคารแฟลตดินแดงยังคงแข็งแรง ที่ผ่านมามีการตรวจโครงสร้างอาคารหลายครั้ง คำตอบคือยังสามารถซ่อมแซมได้ แต่ปัญหาคือมีคนมองเห็นพื้นที่บริเวณแฟลตดินแดงเป็นทองคำ สามารถนำไปหาเงินได้อีกมาก ดังนั้นจึงขอแนะนำให้รวมตัวกันต่อสู้ ด้วยความสามัคคี ยึดแบบอย่างการต่อสู้ของชาวชุมชนบ้านครัว ที่ต่อสู้กรณีการก่อสร้างทางด่วนจนได้รับชัยชนะ โดยตนพร้อมจะเป็นแกนนำ พร้อมแนะหัวใจหลัก 4 ข้อ ให้ชาวแฟลตท่องจำ คือ ไม่ทุบ ไม่รื้อ ไม่ย้าย และไม่หนี
ขณะที่ นายตัถยา ประไพเพชร แกนนำต่อต้านการทุบแฟลต กล่าวว่า จนถึงขณะนี้ผู้บริหารการเคหะแห่งชาติ ยังไม่มีการยืนยันที่ชัดเจนว่า จะมีการทุบแฟลตเพื่อสร้างใหม่หรือไม่ ทราบแต่ข่าวทางสื่อมวลชนว่าจะมีการทุบรื้อในปี 2552 ทำให้ชาวแฟลตอยู่ในสภาพขวัญเสีย ล่าสุดชาวแฟลตมีมติว่า จะให้เวลาผู้บริหาร กคช. ให้คำตอบกับชาวบ้านในเวลา 1 สัปดาห์ ไม่เช่นนั้นชาวบ้านจะรวมตัวกันประท้วง โดยอาจยึดถนนมิตรไมตรี เพื่อรอฟังคำตอบที่ชัดเจน
ศ.เอกสิทธิ์ ลิ้มสุวรรณ ประธานคณะกรรมการมาตรฐานวิชาชีพทางวิศวกรรมโยธา สภาวิศวกร กล่าวว่า จากการที่สภาวิศวกร ส่งตัวแทนจำนวน 15 คน เข้ามาสำรวจโครงสร้างของอาคารแฟลตดินแดงทั้งหมด ไม่พบว่า ตัวโครงสร้างของอาคารจะเสียหายหรือพังทันที หากเกิดแผ่นดินไหวตามที่เป็นข่าว ซึ่งตนมองว่าเป็นเรื่องไม่ชอบมาพากล ส่วนงบที่จะใช้ซ่อมแซมก็ไม่สูงถึง 400-500 ล้านบาท
สำหรับกรณีที่ที่ความเห็นของสภาวิศวกร ไม่ตรงกับสถาบันเอไอที เกี่ยวกับสภาพของแฟลตดินแดง ที่การเคหะแห่งชาติ (กคช.) นำข้อมูลมาอ้างถึงนั้น อาจเกิดจากความคลาดเคลื่อนที่สถาบันเอไอที ตรวจสอบจากสภาพอาคารบางส่วน แต่ไม่ได้ตรวจสอบอาคารทั้งหมด
ด้าน นายชูวิทย์ กล่าวว่า หากชาวแฟลตดินแดงต้องการที่จะอยู่อาศัยที่แฟลตดินแดงต่อไป จะต้องแสดงพลังให้ผู้เกี่ยวข้องรับรู้ว่าอาคารแฟลตดินแดงยังคงแข็งแรง ที่ผ่านมามีการตรวจโครงสร้างอาคารหลายครั้ง คำตอบคือยังสามารถซ่อมแซมได้ แต่ปัญหาคือมีคนมองเห็นพื้นที่บริเวณแฟลตดินแดงเป็นทองคำ สามารถนำไปหาเงินได้อีกมาก ดังนั้นจึงขอแนะนำให้รวมตัวกันต่อสู้ ด้วยความสามัคคี ยึดแบบอย่างการต่อสู้ของชาวชุมชนบ้านครัว ที่ต่อสู้กรณีการก่อสร้างทางด่วนจนได้รับชัยชนะ โดยตนพร้อมจะเป็นแกนนำ พร้อมแนะหัวใจหลัก 4 ข้อ ให้ชาวแฟลตท่องจำ คือ ไม่ทุบ ไม่รื้อ ไม่ย้าย และไม่หนี
ขณะที่ นายตัถยา ประไพเพชร แกนนำต่อต้านการทุบแฟลต กล่าวว่า จนถึงขณะนี้ผู้บริหารการเคหะแห่งชาติ ยังไม่มีการยืนยันที่ชัดเจนว่า จะมีการทุบแฟลตเพื่อสร้างใหม่หรือไม่ ทราบแต่ข่าวทางสื่อมวลชนว่าจะมีการทุบรื้อในปี 2552 ทำให้ชาวแฟลตอยู่ในสภาพขวัญเสีย ล่าสุดชาวแฟลตมีมติว่า จะให้เวลาผู้บริหาร กคช. ให้คำตอบกับชาวบ้านในเวลา 1 สัปดาห์ ไม่เช่นนั้นชาวบ้านจะรวมตัวกันประท้วง โดยอาจยึดถนนมิตรไมตรี เพื่อรอฟังคำตอบที่ชัดเจน