เผยผล 3 รางวัลผลงานวิชาการยอดเยี่ยม สธ.ปี 2550 รพ.สุรินทร์ พัฒนาการดูแลผู้ป่วยภาวะติดเชื้อในกระแสโลหิตได้มาตรฐาน ถูกต้อง รวดเร็ว ลดการเสียชีวิตของผู้ป่วย ขณะที่ สอ.จำไก่ พะเยา ใช้ข้อตกลงชุมชน ไม่บริการสุรา ห้ามเล่นพนัน และไม่แสดงสื่อลามกในงานศพได้สำเร็จและรางวัลชมเชย ทันตแพทย์ รพ.หาดใหญ่ พัฒนาระบบบริการรักษารอยโรคเยื่อบุช่องปาก ป้องกันมะเร็งช่องปาก
ในการประชุมวิชาการของกระทรวงสาธารณสุข ประจำปี 2551 ที่โรงแรมปรินซ์พาเลซ กรุงเทพฯ นพ.กิตติศักดิ์ เชื้อสกุลวนิช แพทย์กลุ่มงานอายุรกรรม โรงพยาบาลสุรินทร์ ที่ได้รับรางวัลผลงานวิชาการยอดเยี่ยมของปี 2550 จากการศึกษาเรื่อง “การเสียชีวิตจากภาวะติดเชื้อในกระแสโลหิต ในโรงพยาบาลสุรินทร์” เพื่อศึกษาสาเหตุการเสียชีวิตและประเมินเวชปฏิบัติการดูแลรักษาผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสโลหิต เป็นการศึกษาข้อมูลย้อนหลังในช่วงเดือนตุลาคม 2547-กันยายน 2548 กล่าวว่า โรคติดเชื้อถือเป็นสาเหตุการเสียชีวิตสูงเป็นลำดับที่ 3 รองจากโรคมะเร็งและอุบัติเหตุ โดยเฉพาะที่โรงพยาบาลสุรินทร์ พบปัญหาภาวะการติดเชื้อในกระแสโลหิตเป็นสาเหตุการเสียชีวิตสูงเป็นลำดับ 1 จึงมุ่งเน้นพัฒนาคุณภาพการให้บริการดูแลรักษาพยาบาลผู้ป่วยในเชิงระบบแบบบูรณาการ เพื่อลดอัตราการเสียชีวิตของผู้ป่วยภาวะนี้อย่างเป็นรูปธรรม
“จากการศึกษาพบภาวะช็อกจากการติดเชื้อในกระแสโลหิต เป็นสาเหตุการเสียชีวิตที่สำคัญของผู้ป่วยสูงถึงร้อยละ 88 และจากการวิเคราะห์ยังพบว่า ปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อการเสียชีวิตผู้ป่วยในภาวะนี้ มาจากการเฝ้าระวังทางด้านระบบไหลเวียนโลหิต การให้สารน้ำในการรักษาภาวะช็อค และการให้ยาปฏิชีวนะที่ยังไม่เหมาะสมเพียงพอ ทั้งความรวดเร็วและความถูกต้อง การขาดอัตรากำลังแพทย์และพยาบาล และจำนวนเตียงของห้องไอซียูสำหรับผู้ป่วยไม่เพียงพอ”นพ.กิตติศักดิ์ กล่าว
นพ.กิตติศักดิ์ กล่าวต่อว่า ในการพัฒนากระบวนการดูแลรักษาผู้ป่วยเชิงระบบ รพ.สุรินทร์ ได้จัดทำมาตรฐานในการดูแลผู้ป่วยเพื่อเป็นแนวทางการปฏิบัติงาน ให้ผู้ป่วยได้รับการเฝ้าระวังทางด้านระบบไหลเวียนโลหิต การให้สารน้ำภาวะช็อก การให้ยาปฏิชีวนะ และการส่งผลตรวจทางห้องปฏิบัติการที่ถูกต้อง ได้มาตรฐาน รวดเร็วทันเวลา พัฒนาศักยภาพ หอผู้ป่วย จัดแบ่งโซนในการดูแลรักษาผู้ป่วยหนักที่ไม่สามารถเข้ารักษาในไอซียูได้ โดยได้รับการดูแลรักษาและเฝ้าระวังที่ใกล้ชิด ได้มาตรฐานและรวดเร็ว จัดระบบทางด่วน (Fast Tract) ให้ผู้ป่วยได้รับการดูแลรักษาตามมาตรฐานอย่างรวดเร็ว ขณะนี้ได้พัฒนาขยายแนวทางการดูแลรักษาผู้ป่วยภาวะนี้ไปโรงพยาบาลชุมชนภายในจังหวัด เพื่อให้การดูแลรักษาผู้ป่วยได้อย่างเหมาะสมในช่วงก่อนและระหว่างส่งตัวผู้ป่วยมารักษาต่อที่โรงพยาบาลสุรินทร์
ขณะที่นาย ประจักร กองตัน นักวิชาการสาธารณสุข 7 ประจำสถานีอนามัยจำไก่ ตำบลสันโค้ง อำเภอดอกคำใต้ จังหวัดพะเยา ได้รับรางวัลผลงานวิชาการยอดเยี่ยมของปี 2550 จากการศึกษาเรื่อง “การปรับใช้หลักเศรษฐกิจพอเพียงกับการจัดงานบุญศพ ไม่บริการสุรา ไม่แสดงสื่อลามก และไม่ให้เล่นการพนัน” เพื่อศึกษากระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชน ในการปรับใช้หลักเศรษฐกิจพอเพียงกับการจัดงานบุญศพ ไม่บริการสุรา ไม่แสดงสื่อลามกและไม่ให้เล่นการพนัน ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม 2549-30 เมษายน 2550
นายประจักร กล่าวว่า การจัดงานศพในหมู่บ้าน พบมีการจัดเลี้ยงสุรา เล่นการพนัน และฉายวีดิทัศน์ แสดงการเต้นเข้าข่ายโป๊ลามก โดยมีค่าใช้จ่ายสูงเฉลี่ย 25,000 บาท ซึ่งการดื่มสุรานอกจากสิ้นเปลืองแล้วยังทำลายสุขภาพ โดยพบปัญหาป่วยด้วยโรคทางจิต และประสบอุบัติเหตุ นอกจากนี้ ในงานศพซึ่งเป็นงานเศร้าโศกควรแสดงความอาลัยและให้เกียรติผู้เสียชีวิต จึงไม่ควรซ้ำเติมญาติผู้เสียชีวิตด้วยมหรสพและเสียค่าใช้จ่ายโดยไม่จำเป็น
“ในการดำเนินกิจกรรมเริ่มด้วยการทำความเข้าใจ สร้างความตระหนักให้ชุมชนเป็นเจ้าของปัญหา ร่วมสร้างพลังให้ชุมชน โดยจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในชุมชน ลดข้อขัดแย้ง ลดการปะทะ ทำให้เกิดข้อตกลงใน 6 หมู่บ้านว่าหากจัดงานศพ งดบริการสุรา ไม่แสดงสื่อลามก และไม่เล่นการพนัน ผลจากการมีส่วนร่วมของชุมชน การขับเคลื่อนด้วยพลังชุมชน มีชาวบ้านร้อยละ 93 เห็นด้วยกับการกำหนดข้อตกลงชุมชนที่จัดงานศพไม่บริการสุรา ไม่แสดงสื่อลามกและไม่ให้เล่นการพนัน มีการแบ่งหน้าที่เพื่อติดตามและประสานความร่วมมือ ประชาสัมพันธ์ข้อตกลงทางแผ่นป้ายและพูดปากต่อปาก โดยได้ติดป้ายข้อความ “ขออภัยที่เจ้าภาพไม่บริการสุรา ไม่แสดงสื่อลามกและไม่ให้เล่นการพนัน เพื่อสนองหลักเศรษฐกิจพอเพียงและเป็นเกียรติแก่ผู้วายชนม์” ติดไว้บริเวณหน้าบ้านงานศพ บริเวณรอยต่อของหมู่บ้าน และเพิ่มข้อความดังกล่าว ขออภัยฯ ติดหน้าซองและกำหนดการฌาปนกิจศพ ในบัตรเชิญร่วมงานศพด้วย” นายประจักรกล่าว
นายประจักร กล่าวด้วยว่า จากการประเมินผล พบชาวบ้านมีความพึงพอใจร้อยละ 94 ด้านค่าใช้จ่ายเฉลี่ยค่าสุราลดลงจากร้อยละ 8 เหลือร้อยละ 1 ของค่าใช้จ่ายงานศพ ไม่พบการแสดงสื่อลามกและเล่นการพนัน หลังจากนั้นได้ต่อยอด ขยายพื้นที่ดำเนินงานไปอีก 7 หมู่บ้านที่มีปัญหาคล้ายคลึงกัน รวมเป็น 13 หมู่บ้าน เพื่อเป็นเครือข่ายสร้างสุขภาพหรือเป็นพื้นที่กันชน ก่อให้เกิดเป็นวัฒนธรรมชุมชน ธรรมเนียมปฏิบัติ นับเป็นการสนองนโยบายเศรษฐกิจพอเพียงอย่างเป็นรูปธรรม และเป็นแบบอย่างที่ดีในการสร้างสุขภาพ ชุมชนอื่นสามารถนำไปปรับใช้ตามความเหมาะสมต่อไป
ส่วนรางวัลผลงานวิชาการชมเชยของปี 2550 ทพญ.พัชรี กัมพลานนท์ ทันตแพทย์งานศัลยกรรมช่องปากและแม็กซิลโลเฟเชียล กลุ่มงานทันตกรรม รพ.หาดใหญ่ ทำการศึกษาเรื่อง “การพัฒนาระบบบริการรักษารอยโรคเยื่อบุช่องปากในรพ.หาดใหญ่” โดยตั้งคลินิกดูแลแผลในช่องปากของผู้ป่วยทั่วไปโดยตรง ทำให้ทันตแพทย์สามารถค้นหาความผิดปกติของเยื่อบุช่องปาก และให้การดูแลรักษาได้ทันท่วงที ป้องกันเซลล์เจริญเติบโตผิดปกติ โดยเฉพาะการเกิดโรคมะเร็งช่องปากตั้งแต่เนิ่นๆ
ทพ.ญ.พัชรี กล่าวว่า ปัจจุบันโรงพยาบาลขนาดใหญ่ มีทันตแพทย์เฉพาะทางสาขาเวชศาสตร์ช่องปากน้อยมาก รวมทั้งปริมาณผู้ป่วยทันตกรรมนับวันจะมีจำนวนมากขึ้นในคลินิกทันตกรรมทุกแห่ง ทำให้ทันตแพทย์ซึ่งทำหน้าที่ตรวจและคัดกรองผู้ป่วยเพื่อรักษาทางทันตกรรมชนิดต่างๆ เช่น ถอนฟัน อุดฟัน ขูดหินน้ำลาย มีเวลาไม่เพียงพอในการตรวจวินิจฉัยผู้ป่วยที่มีแผลหรือรอยโรคอื่นๆ ของเยื่อบุช่องปาก เช่น รอยฝ้าขาว รอยแดง อาการเจ็บแสบของเยื่อบุช่องปาก ซึ่งรอยโรคเหล่านี้หลายชนิดอาจรักษาให้หายขาด หรือป้องกันด้วยวิธีทันตกรรมง่ายๆ เช่น การควบคุมสุขภาพช่องปากร่วมกับการแก้ไขสาเหตุ หากทิ้งไว้รอยโรคเหล่านั้นอาจกลายเป็นมะเร็งช่องปากได้ โดยพบมะเร็งช่องปากสูงเป็นลำดับ 5 ของชายไทย และพบสูงเป็นอันดับ 2 ของผู้ชายในภาคใต้เมื่อเทียบกับมะเร็งทุกชนิดของร่างกาย
“สำหรับคลินิกแผลในช่องปาก โรงพยาบาลหาดใหญ่ได้เริ่มดำเนินการตั้งแต่ พ.ศ.2533 โดยรับผู้ป่วยทุกประเภทที่มีอาการปวดแสบปวดร้อนในช่องปาก เช่น แผลร้อนใน เชื้อรา แผลในปาก รอยฝ้าขาวในปาก เข้ามาตรวจที่คลินิก จากนั้นได้นำข้อมูลของผู้ป่วยทั้งหมดที่เข้ารับบริการในช่วงระยะ 10 ปี คือ พ.ศ.2540-2549 มาศึกษาทางระบาดวิทยา พบผู้ป่วยที่มีรอยโรคหรืออาการเจ็บแสบของเยื่อบุช่องปาก 939 คน จากผู้ป่วยในแผนก ทันตกรรม 326,234 คน ผู้ป่วยส่วนใหญ่อยู่ในวัยกลางคน พบรอยโรคทั้งหมด 6 กลุ่ม มากที่สุดเกิดจากระบบภูมิคุ้มกันผิดปกติ ร้อยละ 33 มักพบที่ลิ้น ริมฝีปาก อันดับ 2 ได้แก่ รอยโรคเกิดจากการใช้ฟันปลอม รอยฝ้าขาวจากการสูบบุหรี่ ร้อยละ 19 มักพบที่เพดานปาก ลิ้น อันดับ 3 ได้แก่ อาการปวดแสบปวดร้อนที่ไม่ปรากฏรอยโรค ร้อยละ 18 มักพบที่ลิ้น เพดานปาก อันดับ 4 รอยโรคที่เกิดจากการติดเชื้อรา แบคทีเรีย ไวรัส พบร้อยละ 17 อันดับ 5 รอยโรคที่เป็นสัญญาณความผิดปกติของเซลล์มะเร็งในช่องปาก ซึ่งยืนยันโดยผลการตรวจชิ้นเนื้อ ร้อยละ 11 และอันดับ 6 รอยโรคอื่นๆ โดยผู้ป่วยที่มีรอยโรคกลับมาให้ติดตามผลการรักษา 842 คนคิดเป็นร้อยละ 90 สามารถรักษาโดยการควบคุมสุขภาพช่องปากร่วมกับยาพื้นฐานได้ เช่น ยาป้าย ยาอมบ้วนปากหรือวิตามิน 750 คน คิดเป็นร้อยละ 80” ทพ.ญ.พัชรีกล่าว
ทพ.ญ.พัชรี กล่าวอีดว่า ทั้งนี้ หลังจากพบผู้ป่วยแล้วจะเริ่มรักษาด้วยวิธีง่ายที่สุด อาทิ ผู้ป่วยที่มีสุขภาพช่องปากไม่ดี จะได้รับการปรับสภาพช่องปาก โดยการขูดหินน้ำลายร่วมกับการปรับพฤติกรรมผู้ป่วยเพื่อควบคุมสุขภาพช่องปาก เช่น ถอดฟันปลอมชนิดถอดได้ออกแช่น้ำก่อนทุกคืน ใช้ผ้าก๊อสเช็ดฟันและเหงือกหลังแปรงฟัน อมน้ำเกลืออุ่นๆ หลังอาหาร และงดอาหารรสจัด ร่วมกับการใช้ยาที่จำเป็น ส่วนผู้ป่วยมะเร็งช่องปากจะส่งไปพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญที่เกี่ยวข้อง ผู้ป่วยทุกรายจะได้รับคู่มือแนะนำการดูแลสุขภาพช่องปาก และนัดผู้ป่วยทุกรายมาติดตามผลการรักษาอย่างน้อย 1-2 ครั้ง สำหรับหลายรายต้องติดตามผู้ป่วยเป็นระยะๆ ตลอดไป
“การพัฒนาระบบบริการครั้งนี้ เกิดความชัดเจนต่อผู้ป่วยและทันตแพทย์ ในการตรวจหาความผิดปกติของเยื่อบุช่องปากตั้งแต่ระยะเริ่มต้น ผู้ป่วยได้รับการป้องกันและรักษาอย่างถูกวิธี ก่อนที่รอยโรคเยื่อบุช่องปากหลายชนิดจะกลายเป็นมะเร็งต่อไป ซึ่งทันตแพทย์ที่มีความสนใจต่อรอยโรคเยื่อบุช่องปากและปฏิบัติงานในโรงพยาบาลระดับต่างๆ ของกระทรวงสาธารณสุข สามารถนำไปปรับปรุงและพัฒนาระบบบริการในกลุ่มงานทันตกรรมได้”ทพ.ญ.พัชรีกล่าว
ในการประชุมวิชาการของกระทรวงสาธารณสุข ประจำปี 2551 ที่โรงแรมปรินซ์พาเลซ กรุงเทพฯ นพ.กิตติศักดิ์ เชื้อสกุลวนิช แพทย์กลุ่มงานอายุรกรรม โรงพยาบาลสุรินทร์ ที่ได้รับรางวัลผลงานวิชาการยอดเยี่ยมของปี 2550 จากการศึกษาเรื่อง “การเสียชีวิตจากภาวะติดเชื้อในกระแสโลหิต ในโรงพยาบาลสุรินทร์” เพื่อศึกษาสาเหตุการเสียชีวิตและประเมินเวชปฏิบัติการดูแลรักษาผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสโลหิต เป็นการศึกษาข้อมูลย้อนหลังในช่วงเดือนตุลาคม 2547-กันยายน 2548 กล่าวว่า โรคติดเชื้อถือเป็นสาเหตุการเสียชีวิตสูงเป็นลำดับที่ 3 รองจากโรคมะเร็งและอุบัติเหตุ โดยเฉพาะที่โรงพยาบาลสุรินทร์ พบปัญหาภาวะการติดเชื้อในกระแสโลหิตเป็นสาเหตุการเสียชีวิตสูงเป็นลำดับ 1 จึงมุ่งเน้นพัฒนาคุณภาพการให้บริการดูแลรักษาพยาบาลผู้ป่วยในเชิงระบบแบบบูรณาการ เพื่อลดอัตราการเสียชีวิตของผู้ป่วยภาวะนี้อย่างเป็นรูปธรรม
“จากการศึกษาพบภาวะช็อกจากการติดเชื้อในกระแสโลหิต เป็นสาเหตุการเสียชีวิตที่สำคัญของผู้ป่วยสูงถึงร้อยละ 88 และจากการวิเคราะห์ยังพบว่า ปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อการเสียชีวิตผู้ป่วยในภาวะนี้ มาจากการเฝ้าระวังทางด้านระบบไหลเวียนโลหิต การให้สารน้ำในการรักษาภาวะช็อค และการให้ยาปฏิชีวนะที่ยังไม่เหมาะสมเพียงพอ ทั้งความรวดเร็วและความถูกต้อง การขาดอัตรากำลังแพทย์และพยาบาล และจำนวนเตียงของห้องไอซียูสำหรับผู้ป่วยไม่เพียงพอ”นพ.กิตติศักดิ์ กล่าว
นพ.กิตติศักดิ์ กล่าวต่อว่า ในการพัฒนากระบวนการดูแลรักษาผู้ป่วยเชิงระบบ รพ.สุรินทร์ ได้จัดทำมาตรฐานในการดูแลผู้ป่วยเพื่อเป็นแนวทางการปฏิบัติงาน ให้ผู้ป่วยได้รับการเฝ้าระวังทางด้านระบบไหลเวียนโลหิต การให้สารน้ำภาวะช็อก การให้ยาปฏิชีวนะ และการส่งผลตรวจทางห้องปฏิบัติการที่ถูกต้อง ได้มาตรฐาน รวดเร็วทันเวลา พัฒนาศักยภาพ หอผู้ป่วย จัดแบ่งโซนในการดูแลรักษาผู้ป่วยหนักที่ไม่สามารถเข้ารักษาในไอซียูได้ โดยได้รับการดูแลรักษาและเฝ้าระวังที่ใกล้ชิด ได้มาตรฐานและรวดเร็ว จัดระบบทางด่วน (Fast Tract) ให้ผู้ป่วยได้รับการดูแลรักษาตามมาตรฐานอย่างรวดเร็ว ขณะนี้ได้พัฒนาขยายแนวทางการดูแลรักษาผู้ป่วยภาวะนี้ไปโรงพยาบาลชุมชนภายในจังหวัด เพื่อให้การดูแลรักษาผู้ป่วยได้อย่างเหมาะสมในช่วงก่อนและระหว่างส่งตัวผู้ป่วยมารักษาต่อที่โรงพยาบาลสุรินทร์
ขณะที่นาย ประจักร กองตัน นักวิชาการสาธารณสุข 7 ประจำสถานีอนามัยจำไก่ ตำบลสันโค้ง อำเภอดอกคำใต้ จังหวัดพะเยา ได้รับรางวัลผลงานวิชาการยอดเยี่ยมของปี 2550 จากการศึกษาเรื่อง “การปรับใช้หลักเศรษฐกิจพอเพียงกับการจัดงานบุญศพ ไม่บริการสุรา ไม่แสดงสื่อลามก และไม่ให้เล่นการพนัน” เพื่อศึกษากระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชน ในการปรับใช้หลักเศรษฐกิจพอเพียงกับการจัดงานบุญศพ ไม่บริการสุรา ไม่แสดงสื่อลามกและไม่ให้เล่นการพนัน ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม 2549-30 เมษายน 2550
นายประจักร กล่าวว่า การจัดงานศพในหมู่บ้าน พบมีการจัดเลี้ยงสุรา เล่นการพนัน และฉายวีดิทัศน์ แสดงการเต้นเข้าข่ายโป๊ลามก โดยมีค่าใช้จ่ายสูงเฉลี่ย 25,000 บาท ซึ่งการดื่มสุรานอกจากสิ้นเปลืองแล้วยังทำลายสุขภาพ โดยพบปัญหาป่วยด้วยโรคทางจิต และประสบอุบัติเหตุ นอกจากนี้ ในงานศพซึ่งเป็นงานเศร้าโศกควรแสดงความอาลัยและให้เกียรติผู้เสียชีวิต จึงไม่ควรซ้ำเติมญาติผู้เสียชีวิตด้วยมหรสพและเสียค่าใช้จ่ายโดยไม่จำเป็น
“ในการดำเนินกิจกรรมเริ่มด้วยการทำความเข้าใจ สร้างความตระหนักให้ชุมชนเป็นเจ้าของปัญหา ร่วมสร้างพลังให้ชุมชน โดยจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในชุมชน ลดข้อขัดแย้ง ลดการปะทะ ทำให้เกิดข้อตกลงใน 6 หมู่บ้านว่าหากจัดงานศพ งดบริการสุรา ไม่แสดงสื่อลามก และไม่เล่นการพนัน ผลจากการมีส่วนร่วมของชุมชน การขับเคลื่อนด้วยพลังชุมชน มีชาวบ้านร้อยละ 93 เห็นด้วยกับการกำหนดข้อตกลงชุมชนที่จัดงานศพไม่บริการสุรา ไม่แสดงสื่อลามกและไม่ให้เล่นการพนัน มีการแบ่งหน้าที่เพื่อติดตามและประสานความร่วมมือ ประชาสัมพันธ์ข้อตกลงทางแผ่นป้ายและพูดปากต่อปาก โดยได้ติดป้ายข้อความ “ขออภัยที่เจ้าภาพไม่บริการสุรา ไม่แสดงสื่อลามกและไม่ให้เล่นการพนัน เพื่อสนองหลักเศรษฐกิจพอเพียงและเป็นเกียรติแก่ผู้วายชนม์” ติดไว้บริเวณหน้าบ้านงานศพ บริเวณรอยต่อของหมู่บ้าน และเพิ่มข้อความดังกล่าว ขออภัยฯ ติดหน้าซองและกำหนดการฌาปนกิจศพ ในบัตรเชิญร่วมงานศพด้วย” นายประจักรกล่าว
นายประจักร กล่าวด้วยว่า จากการประเมินผล พบชาวบ้านมีความพึงพอใจร้อยละ 94 ด้านค่าใช้จ่ายเฉลี่ยค่าสุราลดลงจากร้อยละ 8 เหลือร้อยละ 1 ของค่าใช้จ่ายงานศพ ไม่พบการแสดงสื่อลามกและเล่นการพนัน หลังจากนั้นได้ต่อยอด ขยายพื้นที่ดำเนินงานไปอีก 7 หมู่บ้านที่มีปัญหาคล้ายคลึงกัน รวมเป็น 13 หมู่บ้าน เพื่อเป็นเครือข่ายสร้างสุขภาพหรือเป็นพื้นที่กันชน ก่อให้เกิดเป็นวัฒนธรรมชุมชน ธรรมเนียมปฏิบัติ นับเป็นการสนองนโยบายเศรษฐกิจพอเพียงอย่างเป็นรูปธรรม และเป็นแบบอย่างที่ดีในการสร้างสุขภาพ ชุมชนอื่นสามารถนำไปปรับใช้ตามความเหมาะสมต่อไป
ส่วนรางวัลผลงานวิชาการชมเชยของปี 2550 ทพญ.พัชรี กัมพลานนท์ ทันตแพทย์งานศัลยกรรมช่องปากและแม็กซิลโลเฟเชียล กลุ่มงานทันตกรรม รพ.หาดใหญ่ ทำการศึกษาเรื่อง “การพัฒนาระบบบริการรักษารอยโรคเยื่อบุช่องปากในรพ.หาดใหญ่” โดยตั้งคลินิกดูแลแผลในช่องปากของผู้ป่วยทั่วไปโดยตรง ทำให้ทันตแพทย์สามารถค้นหาความผิดปกติของเยื่อบุช่องปาก และให้การดูแลรักษาได้ทันท่วงที ป้องกันเซลล์เจริญเติบโตผิดปกติ โดยเฉพาะการเกิดโรคมะเร็งช่องปากตั้งแต่เนิ่นๆ
ทพ.ญ.พัชรี กล่าวว่า ปัจจุบันโรงพยาบาลขนาดใหญ่ มีทันตแพทย์เฉพาะทางสาขาเวชศาสตร์ช่องปากน้อยมาก รวมทั้งปริมาณผู้ป่วยทันตกรรมนับวันจะมีจำนวนมากขึ้นในคลินิกทันตกรรมทุกแห่ง ทำให้ทันตแพทย์ซึ่งทำหน้าที่ตรวจและคัดกรองผู้ป่วยเพื่อรักษาทางทันตกรรมชนิดต่างๆ เช่น ถอนฟัน อุดฟัน ขูดหินน้ำลาย มีเวลาไม่เพียงพอในการตรวจวินิจฉัยผู้ป่วยที่มีแผลหรือรอยโรคอื่นๆ ของเยื่อบุช่องปาก เช่น รอยฝ้าขาว รอยแดง อาการเจ็บแสบของเยื่อบุช่องปาก ซึ่งรอยโรคเหล่านี้หลายชนิดอาจรักษาให้หายขาด หรือป้องกันด้วยวิธีทันตกรรมง่ายๆ เช่น การควบคุมสุขภาพช่องปากร่วมกับการแก้ไขสาเหตุ หากทิ้งไว้รอยโรคเหล่านั้นอาจกลายเป็นมะเร็งช่องปากได้ โดยพบมะเร็งช่องปากสูงเป็นลำดับ 5 ของชายไทย และพบสูงเป็นอันดับ 2 ของผู้ชายในภาคใต้เมื่อเทียบกับมะเร็งทุกชนิดของร่างกาย
“สำหรับคลินิกแผลในช่องปาก โรงพยาบาลหาดใหญ่ได้เริ่มดำเนินการตั้งแต่ พ.ศ.2533 โดยรับผู้ป่วยทุกประเภทที่มีอาการปวดแสบปวดร้อนในช่องปาก เช่น แผลร้อนใน เชื้อรา แผลในปาก รอยฝ้าขาวในปาก เข้ามาตรวจที่คลินิก จากนั้นได้นำข้อมูลของผู้ป่วยทั้งหมดที่เข้ารับบริการในช่วงระยะ 10 ปี คือ พ.ศ.2540-2549 มาศึกษาทางระบาดวิทยา พบผู้ป่วยที่มีรอยโรคหรืออาการเจ็บแสบของเยื่อบุช่องปาก 939 คน จากผู้ป่วยในแผนก ทันตกรรม 326,234 คน ผู้ป่วยส่วนใหญ่อยู่ในวัยกลางคน พบรอยโรคทั้งหมด 6 กลุ่ม มากที่สุดเกิดจากระบบภูมิคุ้มกันผิดปกติ ร้อยละ 33 มักพบที่ลิ้น ริมฝีปาก อันดับ 2 ได้แก่ รอยโรคเกิดจากการใช้ฟันปลอม รอยฝ้าขาวจากการสูบบุหรี่ ร้อยละ 19 มักพบที่เพดานปาก ลิ้น อันดับ 3 ได้แก่ อาการปวดแสบปวดร้อนที่ไม่ปรากฏรอยโรค ร้อยละ 18 มักพบที่ลิ้น เพดานปาก อันดับ 4 รอยโรคที่เกิดจากการติดเชื้อรา แบคทีเรีย ไวรัส พบร้อยละ 17 อันดับ 5 รอยโรคที่เป็นสัญญาณความผิดปกติของเซลล์มะเร็งในช่องปาก ซึ่งยืนยันโดยผลการตรวจชิ้นเนื้อ ร้อยละ 11 และอันดับ 6 รอยโรคอื่นๆ โดยผู้ป่วยที่มีรอยโรคกลับมาให้ติดตามผลการรักษา 842 คนคิดเป็นร้อยละ 90 สามารถรักษาโดยการควบคุมสุขภาพช่องปากร่วมกับยาพื้นฐานได้ เช่น ยาป้าย ยาอมบ้วนปากหรือวิตามิน 750 คน คิดเป็นร้อยละ 80” ทพ.ญ.พัชรีกล่าว
ทพ.ญ.พัชรี กล่าวอีดว่า ทั้งนี้ หลังจากพบผู้ป่วยแล้วจะเริ่มรักษาด้วยวิธีง่ายที่สุด อาทิ ผู้ป่วยที่มีสุขภาพช่องปากไม่ดี จะได้รับการปรับสภาพช่องปาก โดยการขูดหินน้ำลายร่วมกับการปรับพฤติกรรมผู้ป่วยเพื่อควบคุมสุขภาพช่องปาก เช่น ถอดฟันปลอมชนิดถอดได้ออกแช่น้ำก่อนทุกคืน ใช้ผ้าก๊อสเช็ดฟันและเหงือกหลังแปรงฟัน อมน้ำเกลืออุ่นๆ หลังอาหาร และงดอาหารรสจัด ร่วมกับการใช้ยาที่จำเป็น ส่วนผู้ป่วยมะเร็งช่องปากจะส่งไปพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญที่เกี่ยวข้อง ผู้ป่วยทุกรายจะได้รับคู่มือแนะนำการดูแลสุขภาพช่องปาก และนัดผู้ป่วยทุกรายมาติดตามผลการรักษาอย่างน้อย 1-2 ครั้ง สำหรับหลายรายต้องติดตามผู้ป่วยเป็นระยะๆ ตลอดไป
“การพัฒนาระบบบริการครั้งนี้ เกิดความชัดเจนต่อผู้ป่วยและทันตแพทย์ ในการตรวจหาความผิดปกติของเยื่อบุช่องปากตั้งแต่ระยะเริ่มต้น ผู้ป่วยได้รับการป้องกันและรักษาอย่างถูกวิธี ก่อนที่รอยโรคเยื่อบุช่องปากหลายชนิดจะกลายเป็นมะเร็งต่อไป ซึ่งทันตแพทย์ที่มีความสนใจต่อรอยโรคเยื่อบุช่องปากและปฏิบัติงานในโรงพยาบาลระดับต่างๆ ของกระทรวงสาธารณสุข สามารถนำไปปรับปรุงและพัฒนาระบบบริการในกลุ่มงานทันตกรรมได้”ทพ.ญ.พัชรีกล่าว