กทม.พร้อมสู้ศึกน้ำท่วมปีนี้แล้ว จัดทุกหน่วยเตรียมพร้อมออกปฏิบัติการ แต่ยังห่วงการทิ้งขยะลงคูคลอง เผยฝนตกหนักคืนเดียวพบเก็บขยะได้หลายสิบตัน
นายสัญญา ชีนิมิต รองผู้อำนวยการสำนักการระบายน้ำ(สนน.) กรุงเทพมหานคร(กทม.) เปิดเผยถึงความพร้อมการรับมือปัญหาน้ำท่วมในเขตพื้นที่กทม.ว่า ขณะนี้สนน.และสำนักงานเขตทั้ง 50 เขตได้ขุดลอกท่อระบายน้ำจากแผนเดิมกำหนดเสร็จในเดือนก.ค.เปลี่ยนมาให้เสร็จเร็วขึ้นในช่วงปลายเดือนพ.ค.ซึ่งขณะนี้ดำเนินการได้เกือบครบ 100 % แล้วโดยเฉพาะพื้นที่จุดอ่อนน้ำท่วมเสร็จเรียบร้อยแล้ว ส่วนกาพร้อมทั้งได้เปิดทางน้ำไหล ขุดลอกคูคลองก็ดำเนินการเสร็จแล้วเช่นกัน
สำหรับการเตรียมการติดตั้งเครื่องสูบน้ำ สนน.ได้ติดตั้งเครื่องสูบน้ำแล้วเสร็จ 100 % คือจำนวน 637 เครื่อง แบ่งเป็นเครื่องไฟฟ้า 590 เครื่อง และแบบใช้น้ำมัน 47 เครื่อง ติดตั้งใน 287 จุด สูบน้ำได้ 501.93 ลบ.ม.ต่อวินาที การเตรียมการซ่อมบำรุงรักษาเครื่องสูบน้ำได้จัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์อะไหล่ต่างๆที่ใช้งานสำหรับเครื่องสูบน้ำ เจ้าหน้าที่ ทีมช่าง พร้อมออกบริการและซ่อมบำรุงตามจุดติดตั้งเครื่องสูบน้ำของสนน. และสำนักงานเขตต่างๆ อย่างต่อเนื่อง เตรียมความพร้อมหน่วยปฏิบัติการเร่งด่วน (BEST) ทั้ง 95 ชุดปฏิบัติการ ออกบริการ ตรวจสอบ บริการ เครื่องสูบน้ำเพื่อเฝ้าระวัง รวมทั้งให้การช่วยเหลือประชาชนที่เกิดปัญหารถเสียโดยกองโรงงานช่างกล ขณะมีฝนตกน้ำท่วมในพื้นที่จุดอ่อนน้ำท่วมต่างๆ อำนวยความสะดวกการจราจรโดยเจ้าหน้าที่เทศกิจ และเมื่อต้นไม้ล้มสำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย(สปภ.) เป็นผู้รรับผิดชอบ
นายสัญญา กล่าวอีกว่า ส่วนการเตรียมความพร้อมของสถานีสูบน้ำนั้น กทม.มีเครื่องสูบน้ำประจำสถานีรวม 748 เครื่อง กำลังสูบรวมประมาณ 1,466 ลบ.ม./วินาที โดยมีสถานีสูบน้ำ 134 สถานี แยกเป็นฝั่งพระนคร 90 สถานี ฝั่งธนบุรี 44 สถานี ตลอดจนได้พร่องน้ำในคูคลองต่างๆ รวมทั้งแก้มลิงทั้ง 21 แห่งของกทม.เพื่อเตรียมการรองรับปริมาณน้ำฝนซึ่งต่ำกว่าระดับน้ำทะเลปานกลาง 50-100 เซนติเมตร ซึ่งเมื่อรวมแล้วจะสามารถรองรับน้ำได้ 12 ล้านลูกบาศก์เมตร และหากแก้มลิงบึงสะแกงามสามเดือนแล้วเสร็จ รวมถึงแก้มลิงของเอกชนอย่างที่หมู่บ้านเมืองทอง 2/2 และเมืองทองการ์เด้นท์ซึ่งเมื่อเสร็จจะสามารถรับน้ำได้กว่า 3 แสนลูกบาศก์เมตร
นายสัญญา กล่าวด้วยว่า ทั้งนี้ แม้ว่ากทม.จะเตรียมความพร้อมไว้หมดทุกด้านแล้ว แต่ยังเป็นห่วงเรื่องการทิ้งขยะลงในคูคลองโดยเฉพาะคลองสายหลักอย่างคลองประเวศบุรีรมย์ คลองแสนแสบ คลองมหานาค คลองผดุงกรุงเกษม คลองบางซื่อ คลองสามเสน คลองเปรม ซึ่งมีปริมาณขยะจำนวนมากซึ่งเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมามีฝนตกหนักทำให้มีขยะปิดกั้นการระบายน้ำซึ่งที่สถานีสูบน้ำพระโขนงสามารถเก็บขยะได้หลายสิบตันทั้งยางรถยนต์ ที่นอนขนาดใหญ่ และหากขยะพวกนี้เข้าไปที่เครื่องสูบน้ำก็จะทำให้เครื่องเสีย ไม่สามารถระบายน้ำออกได้ส่งผลให้ต้องใช้เวลาระบายน้ำออกมากขึ้น จึงอยากขอความร่วมมือประชาชนโปรดอย่าทิ้งขยะลงลำคลอง รวมถึงการก่อสร้างสาธารณูปโภคต่างๆ โดยเฉพาะบนท้องถนนที่ผู้รับเหมามักนำเอาเศษวัสดุไปวางไว้บนทางเท้าเมื่อฝนตกก็จะไหลไปอุดตันท่อ ซึ่งหากประชาชนพบเห็นให้แจ้งได้ที่สายด่วน 1555
ทั้งนี้เพื่อเป็นการซักซ้อมความเช้าใจกับเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติและสร้างความอุ่นใจให้กับประชาชน สนน. ได้จัดการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการเจ้าหน้าที่ควบคุมการเดินเครื่องสูบน้ำ ประจำปี 2551 เพื่อป้องกัน และรับมือปัญหาน้ำท่วมในเขตพื้นที่กทม.และปริมณฑล อย่างมีประสิทธิภาพ โดยมีการบรรยายให้ความรู้เกี่ยวกับบทบาทหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ควบคุมการเดินเครื่องสูบน้ำชนิดไฟฟ้า และการวิเคราะห์สภาพปัญหาทั่วไปของเครื่องสูบน้ำ การให้ความรู้เกี่ยวกับหลักการทำงานของเครื่องสูบน้ำแต่ละชนิด อาทิ เครื่องยนต์ดีเซลล์ ซึ่งมีเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมการสัมมนากว่า 200 คน ในวันจันทร์ที่ 26 พฤษภาคม 2551 เวลา 09.00 น. ณ ห้องประชุมชั้น 2 ศูนย์เยาวชนกรุงเทพมหานคร (ไทย - ญี่ปุ่น)
นายสัญญา ชีนิมิต รองผู้อำนวยการสำนักการระบายน้ำ(สนน.) กรุงเทพมหานคร(กทม.) เปิดเผยถึงความพร้อมการรับมือปัญหาน้ำท่วมในเขตพื้นที่กทม.ว่า ขณะนี้สนน.และสำนักงานเขตทั้ง 50 เขตได้ขุดลอกท่อระบายน้ำจากแผนเดิมกำหนดเสร็จในเดือนก.ค.เปลี่ยนมาให้เสร็จเร็วขึ้นในช่วงปลายเดือนพ.ค.ซึ่งขณะนี้ดำเนินการได้เกือบครบ 100 % แล้วโดยเฉพาะพื้นที่จุดอ่อนน้ำท่วมเสร็จเรียบร้อยแล้ว ส่วนกาพร้อมทั้งได้เปิดทางน้ำไหล ขุดลอกคูคลองก็ดำเนินการเสร็จแล้วเช่นกัน
สำหรับการเตรียมการติดตั้งเครื่องสูบน้ำ สนน.ได้ติดตั้งเครื่องสูบน้ำแล้วเสร็จ 100 % คือจำนวน 637 เครื่อง แบ่งเป็นเครื่องไฟฟ้า 590 เครื่อง และแบบใช้น้ำมัน 47 เครื่อง ติดตั้งใน 287 จุด สูบน้ำได้ 501.93 ลบ.ม.ต่อวินาที การเตรียมการซ่อมบำรุงรักษาเครื่องสูบน้ำได้จัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์อะไหล่ต่างๆที่ใช้งานสำหรับเครื่องสูบน้ำ เจ้าหน้าที่ ทีมช่าง พร้อมออกบริการและซ่อมบำรุงตามจุดติดตั้งเครื่องสูบน้ำของสนน. และสำนักงานเขตต่างๆ อย่างต่อเนื่อง เตรียมความพร้อมหน่วยปฏิบัติการเร่งด่วน (BEST) ทั้ง 95 ชุดปฏิบัติการ ออกบริการ ตรวจสอบ บริการ เครื่องสูบน้ำเพื่อเฝ้าระวัง รวมทั้งให้การช่วยเหลือประชาชนที่เกิดปัญหารถเสียโดยกองโรงงานช่างกล ขณะมีฝนตกน้ำท่วมในพื้นที่จุดอ่อนน้ำท่วมต่างๆ อำนวยความสะดวกการจราจรโดยเจ้าหน้าที่เทศกิจ และเมื่อต้นไม้ล้มสำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย(สปภ.) เป็นผู้รรับผิดชอบ
นายสัญญา กล่าวอีกว่า ส่วนการเตรียมความพร้อมของสถานีสูบน้ำนั้น กทม.มีเครื่องสูบน้ำประจำสถานีรวม 748 เครื่อง กำลังสูบรวมประมาณ 1,466 ลบ.ม./วินาที โดยมีสถานีสูบน้ำ 134 สถานี แยกเป็นฝั่งพระนคร 90 สถานี ฝั่งธนบุรี 44 สถานี ตลอดจนได้พร่องน้ำในคูคลองต่างๆ รวมทั้งแก้มลิงทั้ง 21 แห่งของกทม.เพื่อเตรียมการรองรับปริมาณน้ำฝนซึ่งต่ำกว่าระดับน้ำทะเลปานกลาง 50-100 เซนติเมตร ซึ่งเมื่อรวมแล้วจะสามารถรองรับน้ำได้ 12 ล้านลูกบาศก์เมตร และหากแก้มลิงบึงสะแกงามสามเดือนแล้วเสร็จ รวมถึงแก้มลิงของเอกชนอย่างที่หมู่บ้านเมืองทอง 2/2 และเมืองทองการ์เด้นท์ซึ่งเมื่อเสร็จจะสามารถรับน้ำได้กว่า 3 แสนลูกบาศก์เมตร
นายสัญญา กล่าวด้วยว่า ทั้งนี้ แม้ว่ากทม.จะเตรียมความพร้อมไว้หมดทุกด้านแล้ว แต่ยังเป็นห่วงเรื่องการทิ้งขยะลงในคูคลองโดยเฉพาะคลองสายหลักอย่างคลองประเวศบุรีรมย์ คลองแสนแสบ คลองมหานาค คลองผดุงกรุงเกษม คลองบางซื่อ คลองสามเสน คลองเปรม ซึ่งมีปริมาณขยะจำนวนมากซึ่งเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมามีฝนตกหนักทำให้มีขยะปิดกั้นการระบายน้ำซึ่งที่สถานีสูบน้ำพระโขนงสามารถเก็บขยะได้หลายสิบตันทั้งยางรถยนต์ ที่นอนขนาดใหญ่ และหากขยะพวกนี้เข้าไปที่เครื่องสูบน้ำก็จะทำให้เครื่องเสีย ไม่สามารถระบายน้ำออกได้ส่งผลให้ต้องใช้เวลาระบายน้ำออกมากขึ้น จึงอยากขอความร่วมมือประชาชนโปรดอย่าทิ้งขยะลงลำคลอง รวมถึงการก่อสร้างสาธารณูปโภคต่างๆ โดยเฉพาะบนท้องถนนที่ผู้รับเหมามักนำเอาเศษวัสดุไปวางไว้บนทางเท้าเมื่อฝนตกก็จะไหลไปอุดตันท่อ ซึ่งหากประชาชนพบเห็นให้แจ้งได้ที่สายด่วน 1555
ทั้งนี้เพื่อเป็นการซักซ้อมความเช้าใจกับเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติและสร้างความอุ่นใจให้กับประชาชน สนน. ได้จัดการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการเจ้าหน้าที่ควบคุมการเดินเครื่องสูบน้ำ ประจำปี 2551 เพื่อป้องกัน และรับมือปัญหาน้ำท่วมในเขตพื้นที่กทม.และปริมณฑล อย่างมีประสิทธิภาพ โดยมีการบรรยายให้ความรู้เกี่ยวกับบทบาทหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ควบคุมการเดินเครื่องสูบน้ำชนิดไฟฟ้า และการวิเคราะห์สภาพปัญหาทั่วไปของเครื่องสูบน้ำ การให้ความรู้เกี่ยวกับหลักการทำงานของเครื่องสูบน้ำแต่ละชนิด อาทิ เครื่องยนต์ดีเซลล์ ซึ่งมีเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมการสัมมนากว่า 200 คน ในวันจันทร์ที่ 26 พฤษภาคม 2551 เวลา 09.00 น. ณ ห้องประชุมชั้น 2 ศูนย์เยาวชนกรุงเทพมหานคร (ไทย - ญี่ปุ่น)