“สุเมธ” เตรียมถกปัญหาเพศที่ 3 ในที่ประชุมรองอธิการบดีฝ่ายกิจการนักศึกษาทั่วประเทศ หลังเสวนาคณะกรรมการสิทธิมนุษยชน เผย คณบดีแพทยศาสตร์บางมหาวิทยาลัยประกาศห้ามกระเทยเข้าเรียนหมอ
นายสุเมธ แย้มนุ่น เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา (กกอ.) กล่าวถึงกรณีที่นักวิชาการเปิดเผยในเวทีสัมมนาของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติว่า คณบดีคณะแพทย์บางมหาวิทยาลัย ประกาศไม่รับกะเทยเข้าเรียนต่อ เน้นรับเฉพาะชายจริง-หญิงแท้เท่านั้น หรือมหาวิทยาลัยบางแห่งห้ามนักศึกษากะเทยที่แต่งหน้า หรือใส่กระโปรงเข้าสอบ ว่า การจัดการศึกษาจะต้องคำนึงสิทธิมนุษยชนเป็นหลัก อย่างไรก็ตาม แต่ละสาขาวิชาจะกำหนดระเบียบเพิ่มเติมเกี่ยวกับคุณลักษณะของนักศึกษาที่ไม่ขัดต่อวิชาชีพนั้น โดยสาขาวิชาต้องมีเหตุผลที่สามารถตอบได้ เช่น กรณีคณะแพทยศาสตร์ไม่สามารถรับผู้พิการแขน และขา หรือตาบอดสีเข้าเรียนได้ เป็นต้น ในอดีตมีการเรียกร้องหลังจากสาขาวิชาวิศวกรรมศาสตร์ ไม่รับผู้หญิงเข้าเรียน ส่วนสาขาพยาบาลศาสตร์ก็ไม่รับผู้ชายเข้าเรียน จนกระทั่งปัจจุบันสาขาวิชาเหล่านี้เปิดกว้างให้นักศึกษาชาย-หญิง สามารถเข้าเรียนได้
ส่วนการไม่รับนักศึกษาที่เป็นกะเทย หรือเพศที่ 3 เข้าเรียนในคณะแพทย์ขัดต่อสิทธิมนุษยชนหรือไม่นั้น นายสุเมธ ไม่ขอออกความเห็น เนื่องจากเรื่องนี้ขึ้นอยู่กับการพิจารณาออกระเบียบด้านวิชาชีพของแพทยสภา ซึ่งต้องขึ้นอยู่กับเหตุผลในการไม่รับนักศึกษาเพศที่ 3 ว่า จะมีผลกระทบต่อการประกอบวิชาชีพอย่างไร สกอ.ไม่มีอำนาจหน้าที่ในการลงรายละเอียดไปถึงการจัดการศึกษา แต่โดยหลักการ สกอ.พยายามส่งเสริมในเรื่องความเสมอภาคในการให้การศึกษา
“ผมจะนำปัญหาดังกล่าวไปหารือในที่ประชุมรองอธิการบดีฝ่ายกิจการนักศึกษาทั่วประเทศในเดือน มิ.ย.นี้ เพราะคาดว่าปัญหาเกี่ยวกับเรื่องเพศที่ 3 ในมหาวิทยาลัยจะมีแนวโน้มสูงขึ้น ซึ่งต้องหารือและรับฟังปัญหาของมหาวิทยาลัยต่างๆ ด้วย”
นายสุเมธ แย้มนุ่น เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา (กกอ.) กล่าวถึงกรณีที่นักวิชาการเปิดเผยในเวทีสัมมนาของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติว่า คณบดีคณะแพทย์บางมหาวิทยาลัย ประกาศไม่รับกะเทยเข้าเรียนต่อ เน้นรับเฉพาะชายจริง-หญิงแท้เท่านั้น หรือมหาวิทยาลัยบางแห่งห้ามนักศึกษากะเทยที่แต่งหน้า หรือใส่กระโปรงเข้าสอบ ว่า การจัดการศึกษาจะต้องคำนึงสิทธิมนุษยชนเป็นหลัก อย่างไรก็ตาม แต่ละสาขาวิชาจะกำหนดระเบียบเพิ่มเติมเกี่ยวกับคุณลักษณะของนักศึกษาที่ไม่ขัดต่อวิชาชีพนั้น โดยสาขาวิชาต้องมีเหตุผลที่สามารถตอบได้ เช่น กรณีคณะแพทยศาสตร์ไม่สามารถรับผู้พิการแขน และขา หรือตาบอดสีเข้าเรียนได้ เป็นต้น ในอดีตมีการเรียกร้องหลังจากสาขาวิชาวิศวกรรมศาสตร์ ไม่รับผู้หญิงเข้าเรียน ส่วนสาขาพยาบาลศาสตร์ก็ไม่รับผู้ชายเข้าเรียน จนกระทั่งปัจจุบันสาขาวิชาเหล่านี้เปิดกว้างให้นักศึกษาชาย-หญิง สามารถเข้าเรียนได้
ส่วนการไม่รับนักศึกษาที่เป็นกะเทย หรือเพศที่ 3 เข้าเรียนในคณะแพทย์ขัดต่อสิทธิมนุษยชนหรือไม่นั้น นายสุเมธ ไม่ขอออกความเห็น เนื่องจากเรื่องนี้ขึ้นอยู่กับการพิจารณาออกระเบียบด้านวิชาชีพของแพทยสภา ซึ่งต้องขึ้นอยู่กับเหตุผลในการไม่รับนักศึกษาเพศที่ 3 ว่า จะมีผลกระทบต่อการประกอบวิชาชีพอย่างไร สกอ.ไม่มีอำนาจหน้าที่ในการลงรายละเอียดไปถึงการจัดการศึกษา แต่โดยหลักการ สกอ.พยายามส่งเสริมในเรื่องความเสมอภาคในการให้การศึกษา
“ผมจะนำปัญหาดังกล่าวไปหารือในที่ประชุมรองอธิการบดีฝ่ายกิจการนักศึกษาทั่วประเทศในเดือน มิ.ย.นี้ เพราะคาดว่าปัญหาเกี่ยวกับเรื่องเพศที่ 3 ในมหาวิทยาลัยจะมีแนวโน้มสูงขึ้น ซึ่งต้องหารือและรับฟังปัญหาของมหาวิทยาลัยต่างๆ ด้วย”