กทม.สั่งชะลอขยายช่องจราจรบนถนนเพชรเกษมจาก 6 ช่อง เป็น 8 ช่องจราจร หลังชาวบ้านในพื้นที่คัดค้านเหตุต้องตัดต้นไม้บนเกาะกลางถนนกว่า 600 ต้น รื้อสะพานลอยคนข้ามถึง 7 แห่ง พร้อมสั่ง สนย.หาวิธีการอื่นแก้จราจรแทน
นายถนอม อ่อนเกตุพล โฆษกกรุงเทพมหานคร (กทม.) เปิดเผยว่า หลังจากที่ประชาชนในพื้นที่เขตหนองแขมและใกล้เคียงได้เรียกร้อง กทม.ยกเลิกการปรับปรุงถนนเพชรเกษมจาก 6 ช่องจราจรเป็น 8 ช่องจราจร ช่วงสะพานเนาวจำเนียรถึงพุทธมณฑลสาย 4 ระยะทาง 17 กิโลเมตร เพราะโครงการดังกล่าวต้องตัดต้นไม้บนเกาะกลางถนนถึง 623 ต้น รื้อย้ายสะพานลอยคนข้าม 7 แห่ง รื้อซุ้มประตู 1 แห่ง ตามมติคณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก (คจร.) เมื่อปี 2547 เพื่อให้กทม.ปรังปรุงขยายช่องจราจรแก้ไขปัญหาจราจรที่คับคั่งบนถนนเพชรเกษมและใกล้เคียง นั้น
ล่าสุด คณะผู้บริหาร กทม.เห็นควรให้ชะลอโครงการนี้ออกไปก่อน เนื่องจากปริมาณลดที่สัญจรบนถนนเพชรเกษมลดลงเพราะมีรถบางส่วนเปลี่ยนไปใช้ถนนสายอื่นที่ตัดใหม่บริเวณใกล้เคียงสัญจรแทน ประกอบกับรัฐบาลมีแผนที่จะก่อสร้างรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนไปยังพื้นที่ดังกล่าว
รวมถึงได้มีการทำประชาพิจารณ์รับฟังความคิดเห็นจากประชาชนและเจ้าหน้าที่ตำรวจในท้องที่พบว่าการจราจรยังสามารถลื่นไหลไปได้ดี รถไม่ติดขัดมาก จึงยังไม่เห็นความจำเป็นที่จะขยายถนนในขณะนี้ แต่ก็ได้มอบหมายให้สำนักการโยธา (สนย.) ไปศึกษาแก้ไขปัญหาจราจรด้วยวิธีอื่น เช่น การปิดจุดกลับรถในช่วงเวลาเร่งด่วนหรือการก่อสร้างสะพานต่างระดับบริเวณทางแยกต่างๆ ส่วนงบประมาณจำนวน 204 ล้านบาทที่ได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาล สำนักงบประมาณ กทม.ได้เสนอเปลี่ยนแปลงการใช้งบประมาณไปยังรัฐบาลแล้วโดยการนำไปใช้ในดครงการนำสายไฟฟ้าลงดินต่อไป
นายถนอม อ่อนเกตุพล โฆษกกรุงเทพมหานคร (กทม.) เปิดเผยว่า หลังจากที่ประชาชนในพื้นที่เขตหนองแขมและใกล้เคียงได้เรียกร้อง กทม.ยกเลิกการปรับปรุงถนนเพชรเกษมจาก 6 ช่องจราจรเป็น 8 ช่องจราจร ช่วงสะพานเนาวจำเนียรถึงพุทธมณฑลสาย 4 ระยะทาง 17 กิโลเมตร เพราะโครงการดังกล่าวต้องตัดต้นไม้บนเกาะกลางถนนถึง 623 ต้น รื้อย้ายสะพานลอยคนข้าม 7 แห่ง รื้อซุ้มประตู 1 แห่ง ตามมติคณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก (คจร.) เมื่อปี 2547 เพื่อให้กทม.ปรังปรุงขยายช่องจราจรแก้ไขปัญหาจราจรที่คับคั่งบนถนนเพชรเกษมและใกล้เคียง นั้น
ล่าสุด คณะผู้บริหาร กทม.เห็นควรให้ชะลอโครงการนี้ออกไปก่อน เนื่องจากปริมาณลดที่สัญจรบนถนนเพชรเกษมลดลงเพราะมีรถบางส่วนเปลี่ยนไปใช้ถนนสายอื่นที่ตัดใหม่บริเวณใกล้เคียงสัญจรแทน ประกอบกับรัฐบาลมีแผนที่จะก่อสร้างรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนไปยังพื้นที่ดังกล่าว
รวมถึงได้มีการทำประชาพิจารณ์รับฟังความคิดเห็นจากประชาชนและเจ้าหน้าที่ตำรวจในท้องที่พบว่าการจราจรยังสามารถลื่นไหลไปได้ดี รถไม่ติดขัดมาก จึงยังไม่เห็นความจำเป็นที่จะขยายถนนในขณะนี้ แต่ก็ได้มอบหมายให้สำนักการโยธา (สนย.) ไปศึกษาแก้ไขปัญหาจราจรด้วยวิธีอื่น เช่น การปิดจุดกลับรถในช่วงเวลาเร่งด่วนหรือการก่อสร้างสะพานต่างระดับบริเวณทางแยกต่างๆ ส่วนงบประมาณจำนวน 204 ล้านบาทที่ได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาล สำนักงบประมาณ กทม.ได้เสนอเปลี่ยนแปลงการใช้งบประมาณไปยังรัฐบาลแล้วโดยการนำไปใช้ในดครงการนำสายไฟฟ้าลงดินต่อไป