รื้อ 2 สะพานลอยหน้าดีเอสไอ และแยกเมืองทอง สร้างสะพานข้ามแยกหน้าส่วนราชการแจ้งวัฒนะ บช.น.จัดการจราจร ให้ก่อสร้างทีละฝั่งเลี่ยงรถติด
นายเผ่าพันธุ์ ไกรสร นายช่างควบคุมโครงการก่อสร้างสะพานข้ามแยกศูนย์ราชการแจ้งวัฒนะ กรมทางหลวง (ทล.) กล่าวถึงการก่อสร้างสะพานข้ามแยกหน้าศูนย์ราชการ ถนนแจ้งวัฒนะ ว่า ขณะนี้กองบัญชาการตำรวจนครบาล (บช.น.) อนุมัติแผนการจัดจราจรระหว่างการก่อสร้างเรียบร้อยแล้ว โดยเลือกแนวทางให้ผู้รับเหมาก่อสร้างสะพานทีละฝั่ง โดยสร้างฝั่งขาเข้าจากปากเกร็ดมุ่งหน้าหลักสี่ เมื่อก่อสร้างแล้วเสร็จจึงจะให้เริ่มก่อสร้างฝั่งขาออก จากหลักสี่มุ่งหน้าปากเกร็ด ทั้งนี้ ได้เสนอให้มีการจัดช่องทางพิเศษ หรือรีเวิร์สซิเบิลเลน บนสะพาน ซึ่งจะทำให้ช่องจราจร 3 ช่องเท่าเดิม เพื่อลดผลกระทบต่อการจราจรด้านพื้นราบระหว่างก่อสร้างฝั่งขาออก ขณะนี้ผู้รับเหมาได้ทยอยเข้าพื้นที่แล้ว โดยจะเริ่มงานรื้อย้ายระบบสาธารณูปโภคทั้งสองฝั่งก่อน หลังจากนั้นก็จะเริ่มงานก่อสร้างในส่วนของฐานรากสะพานลอย
นายเผ่าพันธุ์ กล่าวอีกว่า ในการก่อสร้างโครงการดังกล่าว กรมทางหลวงจำเป็นที่จะต้องรื้อสะพานลอยคนเดินข้าม 2 ตัว บริเวณหน้ากรมสอบสวนคดีพิเศษ หรือดีเอสไอ และบริเวณใกล้กับแยกเมืองทอง 1 เนื่องจากสะพานทั้ง 2 ตัว อยู่ในแนวของเชิงลาดทางขึ้นลงสะพานข้ามแยกศูนย์ราชการ ทั้งนี้ ก่อสร้างสะพานข้ามแยกศูนย์ราชการเสร็จเรียบร้อยแล้ว กรมทางหลวงก็จะดำเนินการก่อสร้างสะพานลอยคนเดินข้ามทดแทน โดยขยับตำแหน่งสะพานอยู่บริเวณหน้ากรมการกงสุล
“สำหรับโครงการก่อสร้างสะพานข้ามแยกศูนย์ราชการ ในสัญญากำหนดระยะเวลาก่อสร้าง 450 วัน แต่อาจจะต้องขยายอายุสัญญาออกไปอีก 5-6 เดือน เนื่องจากมีการปรับแผนการก่อสร้างใหม่จากเดิมก่อสร้างสะพานพร้อมกันทั้ง 2 ฝั่ง เป็นให้สร้างทีละฝั่ง ซึ่งจะต้องใช้เวลาก่อสร้างเพิ่มขึ้น โดยกรมทางหลวงได้แจ้งให้ผู้รับเหมารับทราบแล้ว” นายเผ่าพันธ์ กล่าว
นายเผ่าพันธุ์ ไกรสร นายช่างควบคุมโครงการก่อสร้างสะพานข้ามแยกศูนย์ราชการแจ้งวัฒนะ กรมทางหลวง (ทล.) กล่าวถึงการก่อสร้างสะพานข้ามแยกหน้าศูนย์ราชการ ถนนแจ้งวัฒนะ ว่า ขณะนี้กองบัญชาการตำรวจนครบาล (บช.น.) อนุมัติแผนการจัดจราจรระหว่างการก่อสร้างเรียบร้อยแล้ว โดยเลือกแนวทางให้ผู้รับเหมาก่อสร้างสะพานทีละฝั่ง โดยสร้างฝั่งขาเข้าจากปากเกร็ดมุ่งหน้าหลักสี่ เมื่อก่อสร้างแล้วเสร็จจึงจะให้เริ่มก่อสร้างฝั่งขาออก จากหลักสี่มุ่งหน้าปากเกร็ด ทั้งนี้ ได้เสนอให้มีการจัดช่องทางพิเศษ หรือรีเวิร์สซิเบิลเลน บนสะพาน ซึ่งจะทำให้ช่องจราจร 3 ช่องเท่าเดิม เพื่อลดผลกระทบต่อการจราจรด้านพื้นราบระหว่างก่อสร้างฝั่งขาออก ขณะนี้ผู้รับเหมาได้ทยอยเข้าพื้นที่แล้ว โดยจะเริ่มงานรื้อย้ายระบบสาธารณูปโภคทั้งสองฝั่งก่อน หลังจากนั้นก็จะเริ่มงานก่อสร้างในส่วนของฐานรากสะพานลอย
นายเผ่าพันธุ์ กล่าวอีกว่า ในการก่อสร้างโครงการดังกล่าว กรมทางหลวงจำเป็นที่จะต้องรื้อสะพานลอยคนเดินข้าม 2 ตัว บริเวณหน้ากรมสอบสวนคดีพิเศษ หรือดีเอสไอ และบริเวณใกล้กับแยกเมืองทอง 1 เนื่องจากสะพานทั้ง 2 ตัว อยู่ในแนวของเชิงลาดทางขึ้นลงสะพานข้ามแยกศูนย์ราชการ ทั้งนี้ ก่อสร้างสะพานข้ามแยกศูนย์ราชการเสร็จเรียบร้อยแล้ว กรมทางหลวงก็จะดำเนินการก่อสร้างสะพานลอยคนเดินข้ามทดแทน โดยขยับตำแหน่งสะพานอยู่บริเวณหน้ากรมการกงสุล
“สำหรับโครงการก่อสร้างสะพานข้ามแยกศูนย์ราชการ ในสัญญากำหนดระยะเวลาก่อสร้าง 450 วัน แต่อาจจะต้องขยายอายุสัญญาออกไปอีก 5-6 เดือน เนื่องจากมีการปรับแผนการก่อสร้างใหม่จากเดิมก่อสร้างสะพานพร้อมกันทั้ง 2 ฝั่ง เป็นให้สร้างทีละฝั่ง ซึ่งจะต้องใช้เวลาก่อสร้างเพิ่มขึ้น โดยกรมทางหลวงได้แจ้งให้ผู้รับเหมารับทราบแล้ว” นายเผ่าพันธ์ กล่าว