อนาถใจ! นักเรียนสมัครแอดมิชชันปีนี้ สารพัดโกงมากขึ้น พยายามแม้กระทั่งเข้าไปแก้ไขข้อมูลในระบบคอมพิวเตอร์ของ สกอ.“สุเมธ” เตือนนักเรียนอย่าทำเด็ดขาด เพราะถือเป็นความผิดทางอาญา ไม่รับประกันเด็กเข้าแก้ไขข้อมูลทางคอมพิวเตอร์แล้วนำไปใช้สมัครตรงกับมหาวิทยาลัยได้หรือไม่ เตรียมประสานมหาวิทยาลัยทุกแห่งตรวจสอบหลักฐานการศึกษาให้ชัดเจน
นายสุเมธ แย้มนุ่น เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา (กกอ.) กล่าวถึงกรณีที่มีนักเรียนรายหนึ่งปลอมแปลงเอกสาร และมาร้องเรียนที่สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) ในการประกาศผลการคัดเลือกในระบบกลางการรับนิสิตนักศึกษาใหม่ หรือแอดมิชชัน ว่า ตนได้มอบหมายให้ นายโอภาส เขียววิชัย ที่ปรึกษาด้านระบบบริหาร สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) เชิญผู้ปกครองและนักเรียนมาพบ เพื่อหารือและสอบถามข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าว และมอบอำนาจให้นิติกรดำเนินการ และศึกษาข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องให้รอบคอบ ว่า ท้ายที่สุดแล้วหาก สกอ.จะไม่แจ้งความดำเนินคดีจะถือว่าจะเป็นการละเลยการปฏิบัติหน้าที่หรือไม่ เพราะการปลอมแปลงเอกสารราชการนั้นถือว่ามีความผิดอาญา และเป็นคดีที่ยอมความกันไม่ได้
“ในปีนี้พบด้วยว่า มีเด็กจำนวนมากพยายามจะเปลี่ยนแปลงข้อมูลของ สกอ.ผ่านระบบคอมพิวเตอร์ ผมขอให้เด็กที่คิดจะทำเช่นนี้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เพราะเป็นสิ่งผิด เด็กควรใช้ความสามารถของตัวเอง ซึ่งหลังจากนี้ สกอ.จะทำการประมวลปัญหา และข้อร้องเรียนที่เกิดขึ้นในปีนี้ทั้งหมด เพื่อเตรียมความพร้อมรับมือในปีต่อๆไป”นายสุเมธ กล่าว
เลขาธิการ กกอ.กล่าวอีกว่า ในปีหน้า สกอ.จะขอความร่วมมือกับกรมสุขภาพจิตให้ส่งนักจิตวิทยามาแนะนำและให้ข้อมูลแก่นักเรียน ตั้งแต่ช่วงสอบกระทั่งถึงช่วงประกาศผลสอบ เพราะนักจิตวิทยาจะมีหลักวิธีการที่ช่วยลดความเครียด และความกดดันให้เด็กได้ อีกทั้งเคยให้คำปรึกษาเด็กที่มีพฤติกรรมเสี่ยงต่อการทุจริตในการสอบด้วย
ต่อข้อถามว่า มีความเป็นไปได้แค่ไหนที่เด็กจะปลอมแปลงผลคะแนนแอดมิชชัน และนำไปสมัครตรงกับมหาวิทยาลัย เลขาธิการ กกอ.กล่าวว่า อาจจะเป็นไปได้ที่เด็กบางคนจะใช้ช่องทางนี้ ในการปลอมแปลงเอกสาร เนื่องจากเวลาที่เด็กไปยื่นไปสมัครกับมหาวิทยาลัย ส่วนใหญ่จะใช้วิธีการถ่ายเอกสาร บวกกับมหาวิทยาลัยไม่สามารถเช็กคะแนนที่เท็จจริงได้
“ผมจะนำเรื่องนี้ไปหารือกับฝ่ายที่เกี่ยวข้องว่ามีกรณีเช่นนี้เกิดขึ้นไหม และจะมีวิธีการป้องกันอย่างไร เป็นไปได้ไหมที่จะมีการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่าง สกอ.กับมหาวิทยาลัยในการตรวจสอบผลคะแนน หรือจะมีวิธีไหนที่ให้มหาวิทยาลัยจะสามารถตรวจสอบข้อมูลได้ และขอเตือนเด็กที่ทำเช่นนี้ว่า การปลอมแปลงเอกสารเป็นการทำลายอนาคตตัวเอง และหากตรวจพบก็จะมีความผิดทางอาญา รวมทั้งขอให้มหาวิทยาลัยที่ตรวจสอบเอกสารให้แน่ชัดก่อน” นายสุเมธกล่าว
นายสุเมธ แย้มนุ่น เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา (กกอ.) กล่าวถึงกรณีที่มีนักเรียนรายหนึ่งปลอมแปลงเอกสาร และมาร้องเรียนที่สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) ในการประกาศผลการคัดเลือกในระบบกลางการรับนิสิตนักศึกษาใหม่ หรือแอดมิชชัน ว่า ตนได้มอบหมายให้ นายโอภาส เขียววิชัย ที่ปรึกษาด้านระบบบริหาร สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) เชิญผู้ปกครองและนักเรียนมาพบ เพื่อหารือและสอบถามข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าว และมอบอำนาจให้นิติกรดำเนินการ และศึกษาข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องให้รอบคอบ ว่า ท้ายที่สุดแล้วหาก สกอ.จะไม่แจ้งความดำเนินคดีจะถือว่าจะเป็นการละเลยการปฏิบัติหน้าที่หรือไม่ เพราะการปลอมแปลงเอกสารราชการนั้นถือว่ามีความผิดอาญา และเป็นคดีที่ยอมความกันไม่ได้
“ในปีนี้พบด้วยว่า มีเด็กจำนวนมากพยายามจะเปลี่ยนแปลงข้อมูลของ สกอ.ผ่านระบบคอมพิวเตอร์ ผมขอให้เด็กที่คิดจะทำเช่นนี้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เพราะเป็นสิ่งผิด เด็กควรใช้ความสามารถของตัวเอง ซึ่งหลังจากนี้ สกอ.จะทำการประมวลปัญหา และข้อร้องเรียนที่เกิดขึ้นในปีนี้ทั้งหมด เพื่อเตรียมความพร้อมรับมือในปีต่อๆไป”นายสุเมธ กล่าว
เลขาธิการ กกอ.กล่าวอีกว่า ในปีหน้า สกอ.จะขอความร่วมมือกับกรมสุขภาพจิตให้ส่งนักจิตวิทยามาแนะนำและให้ข้อมูลแก่นักเรียน ตั้งแต่ช่วงสอบกระทั่งถึงช่วงประกาศผลสอบ เพราะนักจิตวิทยาจะมีหลักวิธีการที่ช่วยลดความเครียด และความกดดันให้เด็กได้ อีกทั้งเคยให้คำปรึกษาเด็กที่มีพฤติกรรมเสี่ยงต่อการทุจริตในการสอบด้วย
ต่อข้อถามว่า มีความเป็นไปได้แค่ไหนที่เด็กจะปลอมแปลงผลคะแนนแอดมิชชัน และนำไปสมัครตรงกับมหาวิทยาลัย เลขาธิการ กกอ.กล่าวว่า อาจจะเป็นไปได้ที่เด็กบางคนจะใช้ช่องทางนี้ ในการปลอมแปลงเอกสาร เนื่องจากเวลาที่เด็กไปยื่นไปสมัครกับมหาวิทยาลัย ส่วนใหญ่จะใช้วิธีการถ่ายเอกสาร บวกกับมหาวิทยาลัยไม่สามารถเช็กคะแนนที่เท็จจริงได้
“ผมจะนำเรื่องนี้ไปหารือกับฝ่ายที่เกี่ยวข้องว่ามีกรณีเช่นนี้เกิดขึ้นไหม และจะมีวิธีการป้องกันอย่างไร เป็นไปได้ไหมที่จะมีการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่าง สกอ.กับมหาวิทยาลัยในการตรวจสอบผลคะแนน หรือจะมีวิธีไหนที่ให้มหาวิทยาลัยจะสามารถตรวจสอบข้อมูลได้ และขอเตือนเด็กที่ทำเช่นนี้ว่า การปลอมแปลงเอกสารเป็นการทำลายอนาคตตัวเอง และหากตรวจพบก็จะมีความผิดทางอาญา รวมทั้งขอให้มหาวิทยาลัยที่ตรวจสอบเอกสารให้แน่ชัดก่อน” นายสุเมธกล่าว