สกอ.รับมือ เสรีการศึกษา เร่งทำกรอบมาตรฐานการศึกษาระดับชาติ (NQF) ยกคุณภาพบัณฑิตขึ้นแท่นนานาชาติ พร้อมตั้งสถาบันฝึกอาจารย์ ตั้งเป้าภายใน 5 ปี วางมาตรฐานเสร็จ 9 สาขาวิชาหลัก และให้มหาวิทยาลัยที่พร้อมเดินหน้านำร่อง
นายสุเมธ แย้มนุ่น เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา (กกอ.) กล่าวภายหลังประชุมคณะอนุกรรมการจัดทำกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาของประเทศไทยหรือ (National Qualification Framework for Higher Education in Thailand (NQF)) ว่า ที่ประชุมมีมติให้วางแผนภายใน 5 ปี จะเร่งพัฒนาหลักสูตรเพื่อให้เข้ากับกรอบมาตรฐานคุณวุฒิหรือ NQF ที่วางไว้ โดยแผน 2 ปีแรกคณะกรรมการจะต้องทำหลักสูตรต้นแบบให้เรียบร้อย ส่วน 3 ปีที่เหลือให้มหาวิทยาลัยนำร่องนำหลักสูตรใหม่นี้ ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) โดยเริ่มที่มหาวิทยาลัยที่มีความพร้อมก่อน เบื้องต้นจะสนับสนุนค่าใช้จ่ายต่างๆ เพื่อสร้างแรงจูงใจ
การปฏิรูปการเรียนหลักสูตรและกระบวนการเรียนการสอน เพื่อพัฒนาคุณลักษณะบัณฑิตของประเทศไทย และเพื่อเป็นข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนากรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาด้วย เพราะหลักสูตรที่ใช้อยู่ในขณะนี้เป็นการสร้างมาตรฐานทางวิชาการจากตัวหลักสูตรโดยไม่คำนึงถึงคุณภาพของบัณฑิตที่จบออกมาว่ามีความสามารถทางด้านใดบ้าง และตรงตามความต้องการของประเทศและตลาดแรงงานหรือไม่ ซึ่งมีเสียงจากผู้ประกอบการได้ท้วงติงว่าบัณฑิตที่จบออกไปยังไม่มีคุณภาพเท่าที่ควร อีกอย่างหนึ่งการปรับหลักสูตรใหม่เพื่อรองรับกับการเปิดเสรีการศึกษา ซึ่งเราต้องแข่งขันกับนานาประเทศ
“หลังจากเปิดเสรีการศึกษา และหากบัณฑิตที่จบจากเมืองไทย ไปทำงานต่างประเทศ เขาจะต้องตรวจสอบกลับมายังมหาวิทยาลัยต้นสังกัดว่าหลักสูตรที่บัณฑิตจบได้มาตรฐานระดับชาติตามที่กำหนดหรือไม่ มาเลเซียกำลังทำกรอบมาตรฐานการศึกษา และ ผมจะไม่ยอมให้คุณภาพบัณฑิตของเราด้อยไปกว่าใคร”
นายสุเมธ กล่าวว่า ในเบื้องต้นกรอบคุณวุฒิระดับชาติ จัดทำใน 9 กลุ่มสาขาวิชาหลักๆ ได้แก่ 1.สาขาวิชาการศึกษา 2.สาขาวิชามนุษยศาสตร์และศิลปศาสตร์ 3.สาขาวิชาสังคมศาสตร์ 4.สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ 5.สาขาวิชาวิศวกรรมศาสตร์ 6.สาขาวิชาเกษตรศาสตร์ 7.สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ 8.สาขาวิชาบริการ และ 9.สาขาวิชาอื่นๆ โดยในแต่ละกลุ่มจะมีคณะกรรมการประจำสาขาวิชาเพื่อจัดวางกรอบสาขาวิชาหลัก สาขาย่อยใดบ้าง และที่ประประชุมมีมติให้ สกอ.จัดตั้งสถาบันพัฒนาการสอนในระดับอุดมศึกษาด้วย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาคุณภาพของอาจารย์ ให้สามารถสอนได้อย่างมีคุณภาพตามกรอบ NQF อีกด้วย
นายสุเมธ แย้มนุ่น เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา (กกอ.) กล่าวภายหลังประชุมคณะอนุกรรมการจัดทำกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาของประเทศไทยหรือ (National Qualification Framework for Higher Education in Thailand (NQF)) ว่า ที่ประชุมมีมติให้วางแผนภายใน 5 ปี จะเร่งพัฒนาหลักสูตรเพื่อให้เข้ากับกรอบมาตรฐานคุณวุฒิหรือ NQF ที่วางไว้ โดยแผน 2 ปีแรกคณะกรรมการจะต้องทำหลักสูตรต้นแบบให้เรียบร้อย ส่วน 3 ปีที่เหลือให้มหาวิทยาลัยนำร่องนำหลักสูตรใหม่นี้ ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) โดยเริ่มที่มหาวิทยาลัยที่มีความพร้อมก่อน เบื้องต้นจะสนับสนุนค่าใช้จ่ายต่างๆ เพื่อสร้างแรงจูงใจ
การปฏิรูปการเรียนหลักสูตรและกระบวนการเรียนการสอน เพื่อพัฒนาคุณลักษณะบัณฑิตของประเทศไทย และเพื่อเป็นข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนากรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาด้วย เพราะหลักสูตรที่ใช้อยู่ในขณะนี้เป็นการสร้างมาตรฐานทางวิชาการจากตัวหลักสูตรโดยไม่คำนึงถึงคุณภาพของบัณฑิตที่จบออกมาว่ามีความสามารถทางด้านใดบ้าง และตรงตามความต้องการของประเทศและตลาดแรงงานหรือไม่ ซึ่งมีเสียงจากผู้ประกอบการได้ท้วงติงว่าบัณฑิตที่จบออกไปยังไม่มีคุณภาพเท่าที่ควร อีกอย่างหนึ่งการปรับหลักสูตรใหม่เพื่อรองรับกับการเปิดเสรีการศึกษา ซึ่งเราต้องแข่งขันกับนานาประเทศ
“หลังจากเปิดเสรีการศึกษา และหากบัณฑิตที่จบจากเมืองไทย ไปทำงานต่างประเทศ เขาจะต้องตรวจสอบกลับมายังมหาวิทยาลัยต้นสังกัดว่าหลักสูตรที่บัณฑิตจบได้มาตรฐานระดับชาติตามที่กำหนดหรือไม่ มาเลเซียกำลังทำกรอบมาตรฐานการศึกษา และ ผมจะไม่ยอมให้คุณภาพบัณฑิตของเราด้อยไปกว่าใคร”
นายสุเมธ กล่าวว่า ในเบื้องต้นกรอบคุณวุฒิระดับชาติ จัดทำใน 9 กลุ่มสาขาวิชาหลักๆ ได้แก่ 1.สาขาวิชาการศึกษา 2.สาขาวิชามนุษยศาสตร์และศิลปศาสตร์ 3.สาขาวิชาสังคมศาสตร์ 4.สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ 5.สาขาวิชาวิศวกรรมศาสตร์ 6.สาขาวิชาเกษตรศาสตร์ 7.สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ 8.สาขาวิชาบริการ และ 9.สาขาวิชาอื่นๆ โดยในแต่ละกลุ่มจะมีคณะกรรมการประจำสาขาวิชาเพื่อจัดวางกรอบสาขาวิชาหลัก สาขาย่อยใดบ้าง และที่ประประชุมมีมติให้ สกอ.จัดตั้งสถาบันพัฒนาการสอนในระดับอุดมศึกษาด้วย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาคุณภาพของอาจารย์ ให้สามารถสอนได้อย่างมีคุณภาพตามกรอบ NQF อีกด้วย