xs
xsm
sm
md
lg

เปิดลายแทงร้านข้าวแกง กทม.ราคาถูก 50 เขต

เผยแพร่:   โดย: MGR Online


เปิดลายแทงร้านข้าวแกง กทม.ทั้ง 50 เขต เผยบึงกุ่ม เปิดขายถึง 4 จุด เอาใจประชาชนยุคของแพง ขณะที่รองปลัด กทม.ระบุ หากพบร้านข้าวแกงด้อยคุณภาพแจ้งได้ที่ 1555 หรือเขตทันที

นายรัฐพล มีธนาถาวร รองปลัด กทม.เปิดเผยภายหลังการประชุมชี้แจงแนวทางร้านข้าวแกง กทม.และตลาดนัดสินค้าราคาประหยัด กทม.ว่า สำหรับจุดให้บริการขายสินค้าราคาประหยัด ในวันที่ 9-12 พ.ค.นั้น จะมีการเปิดขายที่สำนักงานเขต 14 แห่ง ได้แก่ คลองสาน ตลิ่งชัน ธนบุรี บางกะปิ บึงกุ่ม ป้อมปราบฯ ภาษีเจริญ ราชเทวี ลาดพร้าว สัมพันธวงศ์ สวนหลวง หนองจอก หนองแขม และห้วยขวาง และบริเวณชุมชน 36 แห่ง ได้แก่ บริเวณลานกีฬาชุมชนแฟลต 11-18 เขตคลองเตย ตลาดนัดเลียบคลองสอง เขตคลองสามวา หน้าแฟชั่นไอแลนด์ เขตคันนายาว ลานกีฬาเสนานิคม 2 เขต จตุจักร ตลาดชัยกุล เขตจอมทอง ตลาดโกสุมรวมใจ 24 เขตดอนเมือง เคหะชุมชน ดินแดง 2 เขตดินแดง แมคโครบางกระบือ เขตดุสิต สนามหลวง 2 เขตทวีวัฒนา ชุมชนอาคารสงเคราะห์ข้าราชการและลูกจาง ซอยประชาอุทิศ 90 เขตทุ่งครุ ห้างโลตัส เขตบางกอกน้อย วัดท่าพระ ซอยจรัญสนิทวงศ์ 4 เขตบางกอกใหญ่ ตลาดพิบูลย์วิทย์ เขตบางขุนเทียน ตลาดถนอมมิตร ถ.วัชรพล เขตบางเขน วัดจันทร์ใน เขตบางคอแหลม บริเวณวงแหวนเซ็นเตอร์ปากทางเข้า หมู่บ้านสุขสันต์ ถ.กาญจนภิเษก เขตบางแค บริเวณลานกีฬาประชานุกูล ชุมชนซอยวัดหลวง และตลาดบางซ่อน เขตบางซื่อ ตลาดสดศิลวัฒน เขตบางนา ห้างสรรพสินค้าคาร์ฟูร์ เขตบางบอน

ห้างสรรพสินค้าตั้งฮั่วเส็ง เขตบางพลัด สถานีรถไฟใต้ดินสถานีสามย่านหน้าวัดหัวลำโพง เขตบางรัก หน้าสนามกีฬานิมิบุตร ถ.พระราม 1 เขตปทุมวัน ห้างโลตัส ซึคอนสแควร์ เขตประเวศ ห้างบิ๊กซี สะพานควาย เขตพญาไท เลียบคลองวัดราชนัดดา เขตพระนคร ตลาดเกตุไพเราะ 3-5 เขตพระโขนง ตลาดนัดเลียบคลองสอง เขตมีนบุรี ตลาดนางลิ้นจี่ และศูนย์อบรมธนาคารกรุงเทพฯพระราม 3 เขตยานนาวา ตลาดนัดราษฎร์บูรณะ เขตราษฎร์บูรณะ ศาลาประชาคม

เขตลาดกระบัง ชุมชนทรัพย์สินใหม่ ซ.เทพลีลา 11 เขตวังทองหลาง ปากซอยสุขุมวิท 81 สถานีรถไฟฟ้าอ่อนนุช เขตวัฒนา ซ.รามคำแหง 139 เขตสะพานสูง ข้างวัดสุทธิฯ เขตสาทร ตลาดออเงิน เขตสายไหม และศาลาประชมคม เขตหลักสี่ ลานกีฬาเสนานิคม 2 เขต จตุจักร ร้านข้าวแกงเพชรบุรี ถ.จอมทอง เขตจอมทอง

สำหรับสถานที่ขายข้าวแกง กทม.เริ่มในวันที่ 12 พ.ค.จะมีการเปิดขายที่เขต 21 แห่ง ได้แก่ คลองเตย คลองสาน คลองสามวา ตลิ่งชัน ทวีวัฒนา ธนบุรี บางกะปิ บางซื่อ บางพลัด บางรัก บึงกุ่ม ป้อมปราบฯ ภาษีเจริญ มีนบุรี ราชเทวี ลาดกระบัง ลาดพร้าว สัมพันธวงศ์ สวนหลวง หนองจอก หนองแขม ห้วยขวาง และขายที่ชุมชน 32 แห่ง ได้แก่ หน้าแฟชั่นไอส์แลนด์ เขตคันนายาว ตลาดโกสุมรวมใจ 24 เขตดอนเมือง เคหะชุมชน ดินแดง 2 เขตดินแดง แม็คโคร บางกระบือ เขตดุสิต สนามหลวง 2 เขตทวีวัฒนา ชุมชนอาคารสงเคราะห์ข้าราชการและลูกจาง ซอยประชาอุทิศ 90 เขตทุ่งครุ วัดท่าพระ ซอยจรัญสนิทวงศ์ 4 เขตบางกอกใหญ่ ตลาดพิบูลย์วิทย์ เขตบางขุนเทียน ตลาดถนอมมิตร ถ.วัชรพล เขตบางเขน วัดจันทร์ใน เขตบางคอแหลม ตรงข้ามตลาดบางแค ถ.เพชรเกษม เขตบางแค ตลาดสดศิลวัฒน เขตบางนา ห้างสรรพสินค้าคาร์ฟูร์ เขตบางบอน ศูนย์อาหารชั้น 2 ห้างโลตัส เขตปทุมวัน ตลาดนัมเบอร์วัน ราม 2 เขตประเวศ ห้างบิ๊กซี สะพานควาย เขตพญาไท เลียบคลองวัดราชนัดดา เขตพระนคร ตลาดเกตุไพเราะ 3-5 เขตพระโขนง

ห้างโลตัส พระราม 3 เขตยานนาวา ตลาดนัดราษฎร์บูรณะ เขตราษฎร์บูรณะ ชุมชนทรัพย์สินใหม่ ซ.เทพลีลา 11 เขตวังทองหลาง ปากซอยสุขุมวิท 81 สถานีรถไฟฟ้าอ่อนนุช เขตวัฒนา ซ.รามคำแหง 139 เขตสะพานสูง ศูนย์การค้าวรรัตน์ ซอยจันทร์ 16 เขตสาทร ตลาดออเงิน เขตสายไหม และศาลาประชมคม เขตหลักสี่ ซึ่งการเปิดขายสินค้าจะขายในช่วงเวลา 10.00-18.00 น.ส่วนการขายข้าวแกงจะเปิดขายในช่วงเวลา 06.00-14.00 น.

สำหรับที่เปิดขายในสำนักงานเขตนั้น ในสัปดาห์หน้าจะให้ผอ.เขตกำหนดจุดใหม่ให้เป็นจุดที่อยู่ในที่ชุมนุมชนแทน และแต่ละเขตจะขยายจำนวนจุดให้บริการเพิ่มขึ้นตามความเหมาะสม สำหรับผู้ค้าที่มีความประสงค์จะเข้าร่วมโครงการเพื่อขยายจุดให้บริการสามารถติดต่อกับสำนักงานเขตในพื้นที่ได้ ทั้งนี้หากประชาชนพบว่าข้าวแกง กทม.ไม่ได้มาตรฐานหรือไม่คุ้มค่าสามารถร้องเรียนมาที่ กทม. 1555 หรือแจ้งที่เขตได้ทันที

ขณะที่ก่อนหน้านี้ ที่ศาลาว่าการ กทม.ได้มีการจัดประชุมการกำหนดแนวทางช่วยเหลือประชาชนในภาวะวิกฤตเศรษฐกิจ โดยมีนายอภิรักษ์ โกษะโยธิน ผู้ว่าฯ กทม. เป็นประธานการประชุม และมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐ-เอกชน เช่น กทม.กรมการค้าภายใน กรมการจัดหางาน กรมการขนส่งทางน้ำและพาณิชย์นาวี องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) หอการค้าไทย บ.เรือด่วนเจ้าพระยา บ.เครือเจริญโภคภัณฑ์ จำกัด (มหาชน) บ.เซ็นทรัลพัฒนา จำกัด (มหาชน) ร่วมประชุม

นายอภิรักษ์ เปิดเผยภายหลังว่า ในวันพรุ่งนี้ (9 พ.ค.) จะมีการเปิดตลาดนัดขายสินค้าอุปโภค-บริโภคราคาประหยัดราคาถูกกว่าท้องตลาด 20-40% หรือจำหน่ายในราคาต้นทุน เช่น ข้าวสารจะจำหน่ายในราคาเดียวกับข้าวถุงธงฟ้า 120 บาท หรือราคาใกล้เคียง กระจายทั้ง 50 เขต รวมถึงมีการจำหน่ายสินค้าชุมชนของ กทม. มีซุ้มศูนย์เงินออมไว้สำหรับแนะนำประชาชน และจะมีการจัดมหกรรมสินค้าราคาประหยัดขึ้นที่ส่วนกลางเดือนละ 1 ครั้ง

ขณะที่ศูนย์เกื้อกูลผู้ประกอบการรายย่อยจะมีการจัดประชุมสัมมนาการอยู่รอดในภาวะเศรษฐกิจฝืดเคืองโดยจะเชิญผู้ประกอบการรายย่อยที่อยากเปลี่ยนธุรกิจ หรือไม่ประสบความสำเร็จในธุรกิจทำ รวมถึงประชาชนที่อยากมีอาชีพเสริมเข้าร่วมสัมมนาซึ่งจะมีผู้เชี่ยวชาญจากสถาบันการเงินต่างๆ ร่วมให้ข้อมูล

ส่วนกองทุนเพื่อเศรษฐกิจพอเพียง จำนวน 50 ล้านบาท ซึ่ง กทม.ได้เพิ่มเงินสนับสนุนในการกู้เงิน สำหรับผู้ประกอบการรายย่อยในชุมชนนั้น ล่าสุด กทม.ได้มีมาตรการให้การช่วยเหลือโดย 2-3 ปีแรกไม่ต้องผ่อนชำระเงินต้น เมื่อเข้าสู่ปีที่ 4 จึงค่อยผ่อนชำระ ขณะเดียวกันจะปลอดจากภาวะดอกเบี้ยถึง 6 ปี โดยประชาชนที่สนใจสามารถติดต่อขอกู้ยืมได้ที่สำนักพัฒนาสังคม ศาลาว่าการ กทม.2 นอกจากนี้ กทม.ยังได้ขอความร่วมมือในการจัดทำคูปองส่วนลดรถโดยสารรถไฟฟ้า รถเมล์ เรือด่วน ซึ่งทางผู้ประกอบพร้อมที่จะให้ความร่วมมือ ส่วนโครงการร้านข้าวแกง กทม.อนาคตจะให้ประชาชนสามารถซื้อใส่ถุงกลับบ้านได้ด้วย

ด้านนางเพียงใจ วิศรุตรัตน ผู้อำนวยการสำนักพัฒนาสังคม กทม. กล่าวว่า ในช่วงบ่ายวันนี้จะมีการประชุมชี้แจงผู้อำนวยการเขตทั้ง 50 เขตถึงแนวทางการจำหน่ายข้าวแกง กทม. พร้อมทั้งสรุปจัดในการตั้งร้านข้าวแกง และจุดตั้งตลาดนัดสินค้าราคาประหยัด ทั้งนี้ในการเปิดร้านข้าวแกง กทม. แต่ละเขตสามารถมีร้านข้าวแกงได้มากกว่า 1 จุด หากมีผู้ประกอบการให้ความสนใจมากกว่า 1 ราย หรือมีความเหมาะสมมากกว่า 1 ราย โดยทางสำนักพัฒนาสังคมตั้งเป้าว่าจะให้มีร้านข้าวแกง กทม. 100 ร้านกระจายทั้ง 50 เขต และในอนาคตจะมีการเปิดร้านข้าวแกง กทม.ภายในศูนย์อาหารของห้างสรรพสินค้าในเครือเซ็นทรัล ทั้ง TOP ซูเปอร์มาเก็ต บิ๊กซี ซึ่งทางผู้แทนจากห้างได้เสนอพื้นที่ให้กทม. โดยกทม.ไม่ต้องลงทุนเพราะทางห้างมีโต๊ะ เก้าอี้ เรียบร้อยแล้ว รวมถึงเสนอให้พื้นที่ว่างด้านหน้าของห้าง เช่น TOP ซูเปอร์มาร์เกต สาขาสะพานสูง สามารถที่จะเปิดร้านข้าวแกง กทม.ได้ทันที ซึ่งจะไม่เป็นปัญหากับร้านอาหารที่เปิดในศูนย์การค้าเพราะอาหารแตกต่างกัน อย่างไรก็ตามจะต้องมีการหารือกันอีกครั้งหนึ่ง

นางเพียงใจ กล่าวอีกว่า ทั้งนี้รูปแบบร้านข้าวแกง กทม. จะมีการนำเต็นท์ขนาดใหญ่มาตั้งเป็นตัวร้าน มีการติดตั้งป้ายร้านค้า สัญลักษณ์ที่ชัดเจน และอุปกรณ์ต่างๆ โดยส่วนนี้จะใช้งบประมาณจำนวน 1 ล้านบาทโดยทุกร้านจะมีลักษณะเหมือนกันทั้งหมด ส่วนโต๊ะ เก้าอี้ เบื้องต้นทางเขตจะเป็นผู้จัดหาเพราะหากจัดซื้อราคาค่อนข้างแพงนอกจากนี้ ภายในเต็นท์จำหน่ายข้าวแกง กทม.จะไม่อนุญาตให้นำถังแก๊สมาวางในร้าน หรือมีการประกอบอาหารภายในร้าน ทั้งนี้เพื่อความปลอดภัยของประชาชน โดยเบื้องต้นจะจัดจำหน่ายในวันจันทร์-ศุกร์ ตั้งแต่เวลา 07.00 น. เป็นต้นไปเพื่อบริการสำหรับประชาชนที่ต้องรับประทานอาหารก่อนทำงาน โดยจะเปิดขายไปจนถึงช่วงเย็น โดยอาหารที่ปรุงจำหน่ายจะต้องมีคุณภาพ ถูกต้องตามหลักโภชนาการ ได้สารอาหารที่ครบถ้วน

ส่วนประชาชนที่สนใจจะกู้ยืมเงินจากกองทุนเศรษฐกิจพอเพียง จะต้องเป็นสมาชิกของกองทุนในชุมชนตั้งอยู่ มีเอกสารรับรองที่ชัดเจน ทั้งนี้ ตั้งแต่ปี 2548 ที่ได้มีการตั้งกองทุนขึ้นมีประชาชนให้ความสนใจกู้ยืมเงินเพียง 98 ราย และนอกจากนี้ ตนจะไปหารือกับสถาบันการเงินทั้ง 16 แห่ง ในเรื่องการจัดตั้งศูนย์เกื้อกูลเพื่อการบริหารเงินทุนในการประกอบการในภาวะวิกฤติ รวมถึงแนวทางที่จะให้สถาบันการเงินร่วมสมทบเงินในการปล่อยกู้ให้กับผู้ประกอบการ
กำลังโหลดความคิดเห็น