วธ.ยอมรับกฎหมายไม่สอดคล้องสภาพปัญหาในยุคปัจจับัน เล็งปรับแบ่งอายุผู้ใช้บริการ ยึด 18 ปี เป็นเกณฑ์ พร้อมเปิดรับฟังความคิดเห็นก่อน พ.ร.บ.ภาพยนตร์และวิดีทัศน์ มีผลบังคับใช้ 2 มิ.ย.นี้ พร้อมรับปากแก้ไขปัญหาเลือกปฏิบัติ ไม่เท่าเทียม
นายอนุสรณ์ วงศ์วรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) เป็นประธานเปิดการประชุมแนวทางปฏิบัติและการตรวจสถานประกอบการ ตาม พ.ร.บ.ภาพยนตร์และวิดีทัศน์ พ.ศ.2551พร้อมกับบรรยายพิเศษ โดยกล่าวว่า พ.ร.บ.ภาพยนตร์และวิดีทัศน์ ยังไม่สอดคล้องกับสภาพปัญหาสังคมในปัจจุบัน จึงได้เตรียมปรับระเบียบเกณฑ์การแบ่งอายุผู้ใช้บริการ โดยยึด 18 ปี เป็นเกณฑ์ในการกำหนดเวลาการเข้าใช้บริการ
“ยอมรับว่า ในอดีตที่ผ่านมาการใช้กฎหมาย และกฎระเบียบในการควบคุมร้านอินเทอร์เน็ต มีเจ้าภาพหลายกระทรวง การประชุมแนวทางปฏิบัติวันนี้ วธ.เปิดรับความคิดเห็นและปัญหาต่างๆ และจะนำไปแก้ไขเพื่อให้ใช้ได้ทันวันที่ 2 มิถุนายน 2551 ซึ่ง พ.ร.บ.ภาพยนตร์และวิดีทัศน์ มีผลบังคับใช้” นายอนุสรณ์ กล่าว
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นอกจากนี้ ได้มีตัวแทนผู้ประกอบการร้านอินเทอร์เน็ตเข้าร้องเรียนถึงการถูกเลือกปฏิบัติ และการบังคับใช้ระเบียบที่ไม่เท่าเทียมกัน สำหรับผู้ประกอบการในแต่ละจังหวัดรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรมรับปากว่าจะมีการปฏิบัติเท่าเทียมกันในการเปิด-ปิดร้านทั่วประเทศ ซึ่ง นายอนุสรณ์ รับปากว่า ปัญหานี้จะได้รับการแก้ไข และแนะนำให้ผู้ประกอบการเสนอข้อปัญหาให้กับคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ และคณะกรรมการวัฒนธรรมจังหวัด ในการประชุมแนวทางปฏิบัติ
สำหรับ พ.ร.บ.ภาพยนตร์และวิดีทัศน์ พ.ศ.2551 มีการเปลี่ยนแปลงสาระสำคัญหลายประการ เช่น การให้คำจำกัดความของ “ภาพยนตร์” และ “วิดีทัศน์” ใหม่ แยกตามเนื้อหา หนัง ละคร และสารคดี ถือเป็นภาพยนตร์ ส่วนเกมการเล่น และคาราโอเกะ ถือเป็นวิดีทัศน์ นอกจากนี้ ยังเปลี่ยนระบบการตรวจจากเซ็นเซอร์ เป็นเรตติ้ง ซึ่งแยกออกเป็น 7 ประเภท อาทิ ภาพยนตร์ที่เหมาะกับผู้มีอายุ 15, 18 ปี และภาพยนตร์ที่ห้ามผู้มีอายุต่ำกว่า 20 ปี ดู เป็นต้น โดยเมื่อ พ.ร.บ.ฉบับนี้มีผลบังคับใช้แล้ว โรงภาพยนตร์ทุกแห่งต้องมาขอใบอนุญาตในการประกอบกิจการเพิ่ม และใบอนุญาตที่เคยมีอายุ 6 เดือน และ 2 ปี จะเปลี่ยนเป็นมีอายุ 5 ปี ทุกประเภท
นายอนุสรณ์ วงศ์วรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) เป็นประธานเปิดการประชุมแนวทางปฏิบัติและการตรวจสถานประกอบการ ตาม พ.ร.บ.ภาพยนตร์และวิดีทัศน์ พ.ศ.2551พร้อมกับบรรยายพิเศษ โดยกล่าวว่า พ.ร.บ.ภาพยนตร์และวิดีทัศน์ ยังไม่สอดคล้องกับสภาพปัญหาสังคมในปัจจุบัน จึงได้เตรียมปรับระเบียบเกณฑ์การแบ่งอายุผู้ใช้บริการ โดยยึด 18 ปี เป็นเกณฑ์ในการกำหนดเวลาการเข้าใช้บริการ
“ยอมรับว่า ในอดีตที่ผ่านมาการใช้กฎหมาย และกฎระเบียบในการควบคุมร้านอินเทอร์เน็ต มีเจ้าภาพหลายกระทรวง การประชุมแนวทางปฏิบัติวันนี้ วธ.เปิดรับความคิดเห็นและปัญหาต่างๆ และจะนำไปแก้ไขเพื่อให้ใช้ได้ทันวันที่ 2 มิถุนายน 2551 ซึ่ง พ.ร.บ.ภาพยนตร์และวิดีทัศน์ มีผลบังคับใช้” นายอนุสรณ์ กล่าว
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นอกจากนี้ ได้มีตัวแทนผู้ประกอบการร้านอินเทอร์เน็ตเข้าร้องเรียนถึงการถูกเลือกปฏิบัติ และการบังคับใช้ระเบียบที่ไม่เท่าเทียมกัน สำหรับผู้ประกอบการในแต่ละจังหวัดรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรมรับปากว่าจะมีการปฏิบัติเท่าเทียมกันในการเปิด-ปิดร้านทั่วประเทศ ซึ่ง นายอนุสรณ์ รับปากว่า ปัญหานี้จะได้รับการแก้ไข และแนะนำให้ผู้ประกอบการเสนอข้อปัญหาให้กับคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ และคณะกรรมการวัฒนธรรมจังหวัด ในการประชุมแนวทางปฏิบัติ
สำหรับ พ.ร.บ.ภาพยนตร์และวิดีทัศน์ พ.ศ.2551 มีการเปลี่ยนแปลงสาระสำคัญหลายประการ เช่น การให้คำจำกัดความของ “ภาพยนตร์” และ “วิดีทัศน์” ใหม่ แยกตามเนื้อหา หนัง ละคร และสารคดี ถือเป็นภาพยนตร์ ส่วนเกมการเล่น และคาราโอเกะ ถือเป็นวิดีทัศน์ นอกจากนี้ ยังเปลี่ยนระบบการตรวจจากเซ็นเซอร์ เป็นเรตติ้ง ซึ่งแยกออกเป็น 7 ประเภท อาทิ ภาพยนตร์ที่เหมาะกับผู้มีอายุ 15, 18 ปี และภาพยนตร์ที่ห้ามผู้มีอายุต่ำกว่า 20 ปี ดู เป็นต้น โดยเมื่อ พ.ร.บ.ฉบับนี้มีผลบังคับใช้แล้ว โรงภาพยนตร์ทุกแห่งต้องมาขอใบอนุญาตในการประกอบกิจการเพิ่ม และใบอนุญาตที่เคยมีอายุ 6 เดือน และ 2 ปี จะเปลี่ยนเป็นมีอายุ 5 ปี ทุกประเภท