อธิบดีกรมสุขภาพจิตระบุ ชายชื่นชอบการ “อมนกเขา” ไม่ถือว่าผิดปกติทางจิต ส่วนครู อาจารย์ แพทย์ บังคับให้ลูกศิษย์หรือคนไข้สำเร็จความใคร่ด้วยวิธีนี้ถือว่าไม่มีจริยธรรม
นพ.ม.ล.สมชาย จักรพันธุ์ อธิบดีกรมสุขภาพจิต กล่าวถึงกรณีอาจารย์คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต บังคับนักศึกษาสาวให้สำเร็จความใคร่ด้วยปากหรือ “อมนกเขา” เพื่อแลกกับการเพิ่มคะแนนสอบหรือ “อัปเกรด” ว่า ผู้ที่ชอบสำเร็จความใคร่ด้วยปากไม่ถือว่า ผิดปกติทางจิตใจ เพราะเป็นวิธีที่สร้างความพึงพอใจทางเพศวิธีหนึ่งเท่านั้น แต่การบังคับให้ผู้ที่มีศักยภาพด้อยกว่าทำให้ ถือว่าผิดในแง่จริยธรรม โดยเฉพาะครู อาจารย์ ถือว่ามีความเหนือกว่าลูกศิษย์ หรือแม้กระทั่งหมอบังคับคนไข้อมนกเขาก็ถือว่าผิดจริยธรรม เพราะอยู่ในภาวะที่เหนือกว่า แต่กลับนำภาวะนั้นมาบีบบังคับซึ่งคนมีตำแหน่งหน้าที่เป็นครู อาจารย์ หรือผู้บังคับบัญชา ต้องตระหนักถึงจริยธรรมในวิชาชีพ อย่านำความเป็นผู้ใหญ่ของตนไปบีบบังคับผู้ที่ด้อยกว่า
อธิบดีกรมสุขภาพจิต กล่าวว่า เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นครั้งนี้สังคมควรเห็นใจเด็ก เพราะการสอบตกถือเป็นสถานการณ์รุนแรงสำหรับนักเรียนนักศึกษา สิ่งที่สังคมต้องตระหนัก คือ การเตือนครู อาจารย์พึงระลึกถึงจริยธรรมของวิชาชีพ รวมทั้งคนในสังคมต้องช่วยกันสอดส่องดูแลไม่ยอมให้เกิดการบีบบังคับลักษณะนี้
นพ.ม.ล.สมชายกล่าวต่อว่า ความรุนแรงเป็นสัญชาตญาณของเพศชาย ฝังแน่นในดีเอ็นเอของมนุษย์ ไม่เคยมีการเปลี่ยนแปลงมาหลายหมื่นปีแล้ว แต่การกล่อมเกลาทางสังคม สามารถลดความรุนแรงลงได้ ซึ่งการอบรมบ่มนิสัยที่บ้าน โรงเรียน และที่ทำงานทำให้คนมีความยับยั้งชั่งใจในการใช้ความรุนแรงได้ ซึ่งต้องสอนตั้งแต่วัยเด็กอนุบาล แนะใช้หลัก 3 ข. เพื่อสร้างสุภาพบุรุษพันธุ์ใหม่ ไม่ใช้ความรุนแรง คือ รู้จักขอโทษ รู้จักขอบคุณ และรู้จักเข้าคิว โดยเฉพาะการเข้าคิวทำให้รู้จักการรอคอย เห็นอก เห็นใจคนอื่น สิ่งเหล่านี้คนในสังคมต้องร่วมกันทำให้เกิดขึ้น
อธิบดีกรมสุขภาพจิต แสดงความเป็นห่วงการซึมซับความรุนแรงโดยไม่รู้ตัวจากละครโทรทัศน์ซึ่งเป็นสิ่งบันเทิงที่เข้าถึงได้แทบทุกครัวเรือน โดยเฉพาะละครประเภท “ตบ-จูบ” เรื่องทางเพศและความรุนแรง ต้องการให้ช่วยกันลดความรุนแรงในสื่อเหล่านี้ หันมาฉายภาพความนุ่มนวล ไม่ฉวยโอกาส ออกมาบ้าง
“ความรุนแรงทางเพศ ตกเป็นข่าวบ่อยขึ้นในปัจจุบัน มีข่าวแปลก ข่าวพิสดารมากขึ้นเรื่อย ๆ ฉายให้เห็นภาพสังคมที่ย่อหย่อน ตรงนี้ต้องให้ความสำคัญกับการศึกษา เตือนเรื่องการดูแลลูกหลานให้อยู่ในกรอบสังคมดีงาม ต้องพูดคุยกัน หน้าที่ตรงนี้ต้องช่วยกันทุกคน” อธิบดีกรมสุขภาพจิต กล่าว
นพ.ม.ล.สมชาย จักรพันธุ์ อธิบดีกรมสุขภาพจิต กล่าวถึงกรณีอาจารย์คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต บังคับนักศึกษาสาวให้สำเร็จความใคร่ด้วยปากหรือ “อมนกเขา” เพื่อแลกกับการเพิ่มคะแนนสอบหรือ “อัปเกรด” ว่า ผู้ที่ชอบสำเร็จความใคร่ด้วยปากไม่ถือว่า ผิดปกติทางจิตใจ เพราะเป็นวิธีที่สร้างความพึงพอใจทางเพศวิธีหนึ่งเท่านั้น แต่การบังคับให้ผู้ที่มีศักยภาพด้อยกว่าทำให้ ถือว่าผิดในแง่จริยธรรม โดยเฉพาะครู อาจารย์ ถือว่ามีความเหนือกว่าลูกศิษย์ หรือแม้กระทั่งหมอบังคับคนไข้อมนกเขาก็ถือว่าผิดจริยธรรม เพราะอยู่ในภาวะที่เหนือกว่า แต่กลับนำภาวะนั้นมาบีบบังคับซึ่งคนมีตำแหน่งหน้าที่เป็นครู อาจารย์ หรือผู้บังคับบัญชา ต้องตระหนักถึงจริยธรรมในวิชาชีพ อย่านำความเป็นผู้ใหญ่ของตนไปบีบบังคับผู้ที่ด้อยกว่า
อธิบดีกรมสุขภาพจิต กล่าวว่า เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นครั้งนี้สังคมควรเห็นใจเด็ก เพราะการสอบตกถือเป็นสถานการณ์รุนแรงสำหรับนักเรียนนักศึกษา สิ่งที่สังคมต้องตระหนัก คือ การเตือนครู อาจารย์พึงระลึกถึงจริยธรรมของวิชาชีพ รวมทั้งคนในสังคมต้องช่วยกันสอดส่องดูแลไม่ยอมให้เกิดการบีบบังคับลักษณะนี้
นพ.ม.ล.สมชายกล่าวต่อว่า ความรุนแรงเป็นสัญชาตญาณของเพศชาย ฝังแน่นในดีเอ็นเอของมนุษย์ ไม่เคยมีการเปลี่ยนแปลงมาหลายหมื่นปีแล้ว แต่การกล่อมเกลาทางสังคม สามารถลดความรุนแรงลงได้ ซึ่งการอบรมบ่มนิสัยที่บ้าน โรงเรียน และที่ทำงานทำให้คนมีความยับยั้งชั่งใจในการใช้ความรุนแรงได้ ซึ่งต้องสอนตั้งแต่วัยเด็กอนุบาล แนะใช้หลัก 3 ข. เพื่อสร้างสุภาพบุรุษพันธุ์ใหม่ ไม่ใช้ความรุนแรง คือ รู้จักขอโทษ รู้จักขอบคุณ และรู้จักเข้าคิว โดยเฉพาะการเข้าคิวทำให้รู้จักการรอคอย เห็นอก เห็นใจคนอื่น สิ่งเหล่านี้คนในสังคมต้องร่วมกันทำให้เกิดขึ้น
อธิบดีกรมสุขภาพจิต แสดงความเป็นห่วงการซึมซับความรุนแรงโดยไม่รู้ตัวจากละครโทรทัศน์ซึ่งเป็นสิ่งบันเทิงที่เข้าถึงได้แทบทุกครัวเรือน โดยเฉพาะละครประเภท “ตบ-จูบ” เรื่องทางเพศและความรุนแรง ต้องการให้ช่วยกันลดความรุนแรงในสื่อเหล่านี้ หันมาฉายภาพความนุ่มนวล ไม่ฉวยโอกาส ออกมาบ้าง
“ความรุนแรงทางเพศ ตกเป็นข่าวบ่อยขึ้นในปัจจุบัน มีข่าวแปลก ข่าวพิสดารมากขึ้นเรื่อย ๆ ฉายให้เห็นภาพสังคมที่ย่อหย่อน ตรงนี้ต้องให้ความสำคัญกับการศึกษา เตือนเรื่องการดูแลลูกหลานให้อยู่ในกรอบสังคมดีงาม ต้องพูดคุยกัน หน้าที่ตรงนี้ต้องช่วยกันทุกคน” อธิบดีกรมสุขภาพจิต กล่าว