“ไชยา” สั่งเฝ้าระวังหวัดนกในคนที่สระบุรี-อยุธยาใกล้ชิด เตือนเก็บซากเป็ดตายต้องสวมถุงมือ ผู้สัมผัสใกล้ชิดเฝ้าระวังอาการ 14 วันต่อเนื่อง หากพบไข้สูง หนาวสั่น ต้องรีบรักษาในโรงพยาบาล ย้ำ 2 ปีที่ผ่านมา ประเทศไทยไม่พบคนป่วยไข้หวัดนก
นายไชยา สะสมทรัพย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวว่า ได้สั่งการให้ผู้ตรวจราชการ พร้อมทีมสอบสวนโรคเคลื่อนที่เร็วเฝ้าระวังไข้หวัดนกในคนที่จังหวัดสระบุรี พระนครศรีอยุธยา อย่างใกล้ชิด โดยไม่ต้องรอผลการตรวจพิสูจน์ภายหลังพบเป็ดไล่ทุ่งในพื้นที่บ้านหนองมน ต.บ้านหลวง อ.ดอนพุด จ.สระบุรี ตายเกลื่อนในคลองชลประทานและตามพงหญ้า และเป็นพื้นที่ติดต่อกับ ต.วังแดง อ.ท่าเรือ จ.พระนครศรีอยุธยา นอกจากนั้น ได้กำชับให้สถานีอนามัย และ อสม.ในพื้นที่ ห้ามนำเป็ดไก่ตายมาทำอาหาร หากจะเก็บซากเป็ดไก่ตายต้องสวมถุงมือ ห้ามจับด้วยมือเปล่า สำหรับผู้สัมผัสเป็ดไก่ตายให้เฝ้าระวังอาการ 14 วัน ถ้าเป็นไข้สูง หนาวสั่น ปวดเมื่อยตามข้อ กล้ามเนื้อและร่างกาย ไอแห้งๆ เจ็บคอ อ่อนเพลีย ตาแดง หรือบวม ให้ส่งไปรักษาที่โรงพยาบาลทันที
นพ.ไพจิตร์ วราชิต รองปลัด สธ.ในฐานะมิสเตอร์ไข้หวัดนกของกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า ช่วง 2 ปีที่ผ่านมา ประเทศไทยไม่พบคนป่วยไข้หวัดนก โดยรายล่าสุดพบเมื่อเดือน ส.ค.2549 และสำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรคได้ติดตามเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด มีรายงานสถานการณ์ทุกวันแม้จะไม่พบผู้ป่วยไข้หวัดนก ทั้งนี้ องค์การอนามัยโลกรายงานว่า ปี 2551 พบเชื้อไข้หวัดนกระบาดในสัตว์ปีก 23 ประเทศ จำนวนผู้ป่วย 30 ราย เสียชีวิต 23 ราย ใน 4 ประเทศ คือ จีน 3 ราย อียิปต์ 7 ราย อินโดนีเซีย 15 ราย เวียดนาม 5 ราย ซึ่งมีเพียงผู้ป่วยไข้หวัดนกในอินโดนีเซียเพียง 3 ราย อียิปต์ 4 ราย เท่านั้นที่รอดชีวิต นอกนั้นเสียชีวิต
นายไชยา สะสมทรัพย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวว่า ได้สั่งการให้ผู้ตรวจราชการ พร้อมทีมสอบสวนโรคเคลื่อนที่เร็วเฝ้าระวังไข้หวัดนกในคนที่จังหวัดสระบุรี พระนครศรีอยุธยา อย่างใกล้ชิด โดยไม่ต้องรอผลการตรวจพิสูจน์ภายหลังพบเป็ดไล่ทุ่งในพื้นที่บ้านหนองมน ต.บ้านหลวง อ.ดอนพุด จ.สระบุรี ตายเกลื่อนในคลองชลประทานและตามพงหญ้า และเป็นพื้นที่ติดต่อกับ ต.วังแดง อ.ท่าเรือ จ.พระนครศรีอยุธยา นอกจากนั้น ได้กำชับให้สถานีอนามัย และ อสม.ในพื้นที่ ห้ามนำเป็ดไก่ตายมาทำอาหาร หากจะเก็บซากเป็ดไก่ตายต้องสวมถุงมือ ห้ามจับด้วยมือเปล่า สำหรับผู้สัมผัสเป็ดไก่ตายให้เฝ้าระวังอาการ 14 วัน ถ้าเป็นไข้สูง หนาวสั่น ปวดเมื่อยตามข้อ กล้ามเนื้อและร่างกาย ไอแห้งๆ เจ็บคอ อ่อนเพลีย ตาแดง หรือบวม ให้ส่งไปรักษาที่โรงพยาบาลทันที
นพ.ไพจิตร์ วราชิต รองปลัด สธ.ในฐานะมิสเตอร์ไข้หวัดนกของกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า ช่วง 2 ปีที่ผ่านมา ประเทศไทยไม่พบคนป่วยไข้หวัดนก โดยรายล่าสุดพบเมื่อเดือน ส.ค.2549 และสำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรคได้ติดตามเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด มีรายงานสถานการณ์ทุกวันแม้จะไม่พบผู้ป่วยไข้หวัดนก ทั้งนี้ องค์การอนามัยโลกรายงานว่า ปี 2551 พบเชื้อไข้หวัดนกระบาดในสัตว์ปีก 23 ประเทศ จำนวนผู้ป่วย 30 ราย เสียชีวิต 23 ราย ใน 4 ประเทศ คือ จีน 3 ราย อียิปต์ 7 ราย อินโดนีเซีย 15 ราย เวียดนาม 5 ราย ซึ่งมีเพียงผู้ป่วยไข้หวัดนกในอินโดนีเซียเพียง 3 ราย อียิปต์ 4 ราย เท่านั้นที่รอดชีวิต นอกนั้นเสียชีวิต