สธ.เตือนประชาชนอย่าป้อนยาป้อนน้ำไก่ป่วยอย่างเด็ดขาด ป้องกันการติดเชื้อไข้หวัดนก หากมีอาการไข้ ไอ และมีประวัติสัมผัสสัตว์ปีกที่ป่วยหรือตาย ให้รีบไปพบแพทย์และแจ้งประวัติสัมผัสให้ละเอียดเพื่อการรักษาที่รวดเร็ว
วันนี้ (29 ม.ค.) นายแพทย์ไพจิตร์ วราชิต รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า หลังจากที่กรมปศุสัตว์ได้ประกาศให้พื้นที่ 2 จังหวัด คือ นครสวรรค์ และพิจิตร มีการระบาดของโรคไข้หวัดนกในสัตว์ปีก นอกจากนี้ ยังมีรายงานสัตว์ปีกป่วยตายจำนวนมากในหลายจังหวัด เช่น เชียงใหม่ เชียงราย หนองคาย ราชบุรี โดยเฉพาะไก่พันธุ์พื้นเมืองที่เลี้ยงตามบ้านและไก่ชน ซึ่งเจ้าของยังรักและหวงแหน เมื่อไก่ป่วยจะนำไก่มาอุ้มและป้อนยา ป้อนน้ำให้ นับว่า เป็นอันตรายมาก หากไก่ฝูงนั้นป่วยติดเชื้อโรคไข้หวัดนก อาจจะทำให้เจ้าของติดเชื้อโรคไข้หวัดนกได้ ซึ่งประเทศไทยมีรายงานการเสียชีวิตด้วยโรคไข้หวัดนกจากการป้อนยาป้อนน้ำ และดูดเสมหะจากปากไก่ชนที่ป่วยและติดเชื้อไข้หวัดนกมาแล้วที่จังหวัดกาญจนบุรี
ขณะที่หลายพื้นที่มีการระบาดเชื้อไข้หวัดนกในไก่และสัตว์ปีก ซึ่งมีโอกาสเชื้อจะติดสู่คนได้ ประเทศไทยยังไม่พบผู้ป่วยไข้หวัดนกมา 17 เดือนแล้ว
“ขอเตือนประชาชนทุกคนให้ระมัดระวังการสัมผัสไก่ป่วยตาย เพื่อความปลอดภัย หากพบสัตว์ปีกที่ป่วยตายผิดปกติ ห้ามนำมาชำแหละขายหรือรับประทานเป็นอันขาด รวมทั้งห้ามป้อนยาป้อนน้ำสัตว์ปีกที่ป่วยเด็ดขาด หากจำเป็นต้องจับสัตว์ปีกที่ป่วยหรือตาย ให้สวมถุงมือหรือถุงพลาสติกทุกครั้ง และรีบล้างมือทันทีด้วยสบู่ พร้อมทั้งรีบแจ้งผู้ใหญ่บ้าน อสม.เพื่อให้เจ้าหน้าที่เข้ามาดูแล”
และเนื่องจากสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงในขณะนี้ โดยเฉพาะช่วงอากาศเย็นหรือฝนตก ประชาชนอาจป่วยเป็นเป็นไข้หวัดได้ แต่หากมีอาการไข้ ไอ และมีประวัติสัมผัสสัตว์ปีกที่ป่วยหรือตาย ไม่ควรนอนใจว่าเป็นหวัดธรรมดา ให้รีบไปพบแพทย์และแจ้งประวัติสัมผัสสัตว์ปีกป่วยหรือตายด้วย เพื่อแพทย์จะได้ตรวจให้ละเอียด และรักษาได้ทันท่วงที
นายแพทย์ไพจิตร กล่าวต่ออีกว่า ในการเตรียมความพร้อมของบุคลากรกระทรวงสาธารณสุข ในพื้นที่จังหวัดที่เคยเกิดโรคไข้หวัดนก หรือพื้นที่เสี่ยง กระทรวงสาธารณสุขจะจัดประชุมเพื่อเน้นย้ำ เพิ่มความเข้มข้นมาตรการการเฝ้าระวังโรคไข้หวัดนก และแนวทางป้องกันการติดเชื้อจากสัตว์สู่คน ให้กับแพทย์ พยาบาล นักวิชาการสาธารณสุข เจ้าหน้าที่สาธารณสุข และทีมสอบสวนโรคเคลื่อนที่เร็ว ในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2551 นี้ ที่จังหวัดสุโขทัย
วันนี้ (29 ม.ค.) นายแพทย์ไพจิตร์ วราชิต รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า หลังจากที่กรมปศุสัตว์ได้ประกาศให้พื้นที่ 2 จังหวัด คือ นครสวรรค์ และพิจิตร มีการระบาดของโรคไข้หวัดนกในสัตว์ปีก นอกจากนี้ ยังมีรายงานสัตว์ปีกป่วยตายจำนวนมากในหลายจังหวัด เช่น เชียงใหม่ เชียงราย หนองคาย ราชบุรี โดยเฉพาะไก่พันธุ์พื้นเมืองที่เลี้ยงตามบ้านและไก่ชน ซึ่งเจ้าของยังรักและหวงแหน เมื่อไก่ป่วยจะนำไก่มาอุ้มและป้อนยา ป้อนน้ำให้ นับว่า เป็นอันตรายมาก หากไก่ฝูงนั้นป่วยติดเชื้อโรคไข้หวัดนก อาจจะทำให้เจ้าของติดเชื้อโรคไข้หวัดนกได้ ซึ่งประเทศไทยมีรายงานการเสียชีวิตด้วยโรคไข้หวัดนกจากการป้อนยาป้อนน้ำ และดูดเสมหะจากปากไก่ชนที่ป่วยและติดเชื้อไข้หวัดนกมาแล้วที่จังหวัดกาญจนบุรี
ขณะที่หลายพื้นที่มีการระบาดเชื้อไข้หวัดนกในไก่และสัตว์ปีก ซึ่งมีโอกาสเชื้อจะติดสู่คนได้ ประเทศไทยยังไม่พบผู้ป่วยไข้หวัดนกมา 17 เดือนแล้ว
“ขอเตือนประชาชนทุกคนให้ระมัดระวังการสัมผัสไก่ป่วยตาย เพื่อความปลอดภัย หากพบสัตว์ปีกที่ป่วยตายผิดปกติ ห้ามนำมาชำแหละขายหรือรับประทานเป็นอันขาด รวมทั้งห้ามป้อนยาป้อนน้ำสัตว์ปีกที่ป่วยเด็ดขาด หากจำเป็นต้องจับสัตว์ปีกที่ป่วยหรือตาย ให้สวมถุงมือหรือถุงพลาสติกทุกครั้ง และรีบล้างมือทันทีด้วยสบู่ พร้อมทั้งรีบแจ้งผู้ใหญ่บ้าน อสม.เพื่อให้เจ้าหน้าที่เข้ามาดูแล”
และเนื่องจากสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงในขณะนี้ โดยเฉพาะช่วงอากาศเย็นหรือฝนตก ประชาชนอาจป่วยเป็นเป็นไข้หวัดได้ แต่หากมีอาการไข้ ไอ และมีประวัติสัมผัสสัตว์ปีกที่ป่วยหรือตาย ไม่ควรนอนใจว่าเป็นหวัดธรรมดา ให้รีบไปพบแพทย์และแจ้งประวัติสัมผัสสัตว์ปีกป่วยหรือตายด้วย เพื่อแพทย์จะได้ตรวจให้ละเอียด และรักษาได้ทันท่วงที
นายแพทย์ไพจิตร กล่าวต่ออีกว่า ในการเตรียมความพร้อมของบุคลากรกระทรวงสาธารณสุข ในพื้นที่จังหวัดที่เคยเกิดโรคไข้หวัดนก หรือพื้นที่เสี่ยง กระทรวงสาธารณสุขจะจัดประชุมเพื่อเน้นย้ำ เพิ่มความเข้มข้นมาตรการการเฝ้าระวังโรคไข้หวัดนก และแนวทางป้องกันการติดเชื้อจากสัตว์สู่คน ให้กับแพทย์ พยาบาล นักวิชาการสาธารณสุข เจ้าหน้าที่สาธารณสุข และทีมสอบสวนโรคเคลื่อนที่เร็ว ในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2551 นี้ ที่จังหวัดสุโขทัย