“ศูนย์วิจัยปัญหาสุรา” หนุน “เฉลิม” เอาจริง ห้ามขายเหล้าช่วงเทศกาล สร้างผลงานชิ้นโบแดง ชี้ทำได้มี กม.อยู่แล้ว เผยช่วยหยุดตาย ชม.ละ 3 ศพ ฮู ยันลดขายน้ำเมา เท่ากับลดอุบัติเหตุ ตะลึงเหล้าในไทยหาซื้อแสนง่าย ใช้เวลาไม่ถึง 8 นาที ก็เดินกอดขวด 18 เม.ย.นี้ เครือข่ายเยาวชนฯตบเท้า ให้กำลังใจ “รมว.มหาดไทย” เร่งห้ามขายเหล้าให้ทันปีใหม่นี้ เป็นของขวัญเด็กไทย
นพ.บัณฑิต ศรไพศาล ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยปัญหาสุรา กล่าวว่า ขอชื่นชมวิสัยทัศน์และความกล้าหาญของ ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รมว.มหาดไทย ที่เห็นความสำคัญของการลดปัญหาอุบัติเหตุที่เกิดจากเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ด้วยการประกาศนโยบายจำกัดการจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในช่วงเทศกาลต่างๆ โดยห้ามจำหน่ายในช่วงปีใหม่และสงกรานต์ ซึ่งเป็นช่วงที่มีผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุจราจรทางบกสูงกว่าช่วงปกติ 2.2 เท่า เสียชีวิตถึงวันละ 80 คน หรือชั่วโมงละ 3 คน อุบัติเหตุรุนแรงเหล่านี้ 50-60% มีสาเหตุมาจากการเมาสุรา
องค์การอนามัยโลก ระบุชัดว่า มาตรการจำกัดวันและเวลาจำหน่ายสุรา มีผลโดยตรงต่อการลดการดื่มและลดอุบัติเหตุ ขณะนี้ 27.5% ของประเทศทั่วโลก ที่กำหนดวันห้ามจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ อีก 47.3% กำหนดเวลาห้ามจำหน่าย ในจำนวนนี้มีหลายประเทศที่กำหนดทั้งวันและเวลาห้ามจำหน่าย อาทิ ออสเตรเลีย นอร์เวย์ ฟินแลนด์ อินโดนีเซีย ซึ่งงานวิจัยจากออสเตรเลียและไอซ์แลนด์ พบว่า การเพิ่มขึ้นของอุบัติเหตุจากการเมาแล้วขับ จะสูงขึ้นตามการชั่วโมงที่ให้จำหน่ายสุรา ส่วนในเม็กซิโกเมื่อกำหนดมาตรการห้ามจำหน่ายบางวัน ก็ทำให้ผู้กระทำผิดกฎหมายมีระดับแอลกอฮอล์ในเลือดสูงลดลง
“ขณะที่งานวิจัยไทย พบว่า ประชาชนหาซื้อเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ได้สะดวกมาก 70% เดินไปไม่กี่นาทีก็ซื้อได้แล้ว อีก 16% สามารถขับรถหรือนั่งรถไปซื้อโดยใช้เวลาเพียงเล็กน้อย สรุปคือ คนไทยซื้อสุราได้โดยใช้เวลาเฉลี่ยเพียง 7.5 นาที เท่านั้น จึงเห็นด้วยกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยที่จะเพิ่มมาตรการจำกัดการจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ในช่วงเทศกาลดังเช่นประเทศต่างๆ ทั่วโลกกำหนดวันและห้ามเวลาจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ มาตรการเหล่านี้ไม่ได้ห้ามจำหน่ายหรือห้ามดื่มสุราแบบเด็ดขาด แต่เป็นเพียงการจำกัดการเข้าถึงสุราแบบเกินขอบเขต ทั้งการซื้อโดยเด็กและเยาวชน การซื้อที่ไม่มีขีดจำกัดเรื่องเวลา การซื้อเพิ่มเติมได้อย่างง่ายดาย เนื่องจากมีร้านขายมากมายไปหมด การซื้อได้อีกทั้งๆ ที่เมาแล้ว ทั้งหมดนี้เป็นไปเพื่อคุ้มครองสุขภาพและชีวิตของคนที่ดื่มเองและคนทั่วไปที่ไม่ได้ดื่มสุรา ที่มีถึง 70% ของประชาชนทั้งประเทศ หากทำให้เกิดนโยบายนี้จริงได้เมื่อไหร่ เรื่องนี้จะเป็นผลงานชิ้นโบแดงของ รมว.มหาดไทย และรัฐบาล” นพ.บัณฑิต กล่าว
นพ.บัณฑิต กล่าวอีกว่า การออกมาตรการจำกัดการเข้าถึงสุรา เพื่อลดปัญหาอุบัติเหตุจราจรทางบกเป็นนโยบายที่ดีสามารถทำได้ด้วยการ 1.กำหนดวันและเวลาห้ามจำหน่ายในช่วงเทศกาลเป็นพิเศษเพิ่มเติม ตามมาตรา 28 ของ พ.ร.บ.ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ.2551 นายกรัฐมนตรีออกประกาศกำหนด โดยคำแนะนำของคณะกรรมการนโยบายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์แห่งชาติ มาตรการนี้สามารถออกแบบให้มีรายละเอียดเหมาะสมกับการป้องกันอุบัติเหตุในช่วงเทศกาลได้ เช่น หัวท้ายของวันหยุดเทศกาล ซึ่งเป็นช่วงของการเดินทาง หรือวันที่มีการเสียชีวิตจากเกิดอุบัติเหตุสูงสุด เช่น วันที่ 13 เมษายน หรือ 31 ธันวาคม ของทุกปี 2.กรมสรรพสามิตจำกัดจำนวนการออกใบอนุญาตจำหน่ายสุราประเภท 5 และ 6 ที่อนุญาตให้จำหน่ายสุราแบบชั่วคราวได้ครั้งละ 10 วัน ซึ่งจะมีการออกใบอนุญาตประเภทนี้เพิ่มมากขึ้นมากในช่วงเทศกาลต่างๆ
ผอ.ศูนย์วิจัยปัญหาสุรา กล่าวด้วยว่า นอกจากนี้ ยังมีมาตรการจำกัดการเข้าถึงสุราที่ประกาศใช้แล้วตาม พ.ร.บ.ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ.2551 และประกาศคณะปฏิวัติ 2515 เพียงเข้มงวดเรื่องการบังคับใช้กฎหมายตามอำนาจที่มีอยู่ของ รมว.มหาดไทย ได้แก่ 1.ไม่อนุญาตให้จำหน่ายสุรา เวลา 14.00-17.00 น.และ 24.00-11.00 น.ตามประกาศคณะปฏิวัติฉบับที่ 253 ปี พ.ศ.2515 2.จำกัดการเร่ขาย ไม่ให้ขายแบบเร่ไปตามที่ที่คนกำลังเล่นสงกรานต์กันอยู่ ตามมาตรา 30 ของ พ.ร.บ.ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ.2551 3.ห้ามจำหน่ายสุราแก่ผู้ที่อายุต่ำกว่ายี่สิบปีบริบูรณ์ ตามมาตรา 29(1) ของ พ.ร.บ.ควบคุมฯ 2551 4.ห้ามจำหน่ายแก่บุคคลที่มีอาการมึนเมาจนครองสติไม่ได้ ตามมาตรา 29(2) ของ พ.ร.บ.ควบคุมฯ 2551
ด้านน.ส.จิราภรณ์ กมลรังสรรค์ อายุ 17 นักเรียนโรงเรียนมัธยมวัดสิงห์ เครือข่ายเยาวชนสร้างสรรค์รู้ทันแอลกอฮอล์ กล่าวว่า เครือข่ายเยาวชนฯ ขอสนับสนุนนโยบายงดจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในช่วงเทศกาลสงกรานต์และเทศกาลปีใหม่ โดยในวันที่ 18 เม.ย.นี้ เวลา 10.00 น.ตัวแทนเครือข่ายรณรงค์ป้องกันภัยแอลกอฮอล์ (ครปอ.) ประกอบด้วย เครือข่ายเยาวชนสร้างสรรค์รู้ทันแอลกอฮอล์ เครือข่ายเยาวชนหัวกะทิสร้างสรรค์ ประชาคมเครือข่ายควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ชุมชนกรุงเทพฯ 50 เขต (ปชก.) และประชาคมเครือข่ายภาคประชาชนกรุงเทพฯ (ปชช.) จำนวน 30 คน จะไปที่ศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนน เพื่อยื่นหนังสือแสดงความขอบคุณและสนับสนุน ร.ต.อ.เฉลิม ให้เดินหน้านโยบายนี้ ให้เป็นรูปธรรมโดยขอให้เริ่มดำเนินการให้ทันภายในปีใหม่ 2552 นี้ เพื่อเป็นของขวัญวันปีใหม่ให้กับเยาวชนและคนไทยทุกคน
นพ.บัณฑิต ศรไพศาล ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยปัญหาสุรา กล่าวว่า ขอชื่นชมวิสัยทัศน์และความกล้าหาญของ ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รมว.มหาดไทย ที่เห็นความสำคัญของการลดปัญหาอุบัติเหตุที่เกิดจากเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ด้วยการประกาศนโยบายจำกัดการจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในช่วงเทศกาลต่างๆ โดยห้ามจำหน่ายในช่วงปีใหม่และสงกรานต์ ซึ่งเป็นช่วงที่มีผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุจราจรทางบกสูงกว่าช่วงปกติ 2.2 เท่า เสียชีวิตถึงวันละ 80 คน หรือชั่วโมงละ 3 คน อุบัติเหตุรุนแรงเหล่านี้ 50-60% มีสาเหตุมาจากการเมาสุรา
องค์การอนามัยโลก ระบุชัดว่า มาตรการจำกัดวันและเวลาจำหน่ายสุรา มีผลโดยตรงต่อการลดการดื่มและลดอุบัติเหตุ ขณะนี้ 27.5% ของประเทศทั่วโลก ที่กำหนดวันห้ามจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ อีก 47.3% กำหนดเวลาห้ามจำหน่าย ในจำนวนนี้มีหลายประเทศที่กำหนดทั้งวันและเวลาห้ามจำหน่าย อาทิ ออสเตรเลีย นอร์เวย์ ฟินแลนด์ อินโดนีเซีย ซึ่งงานวิจัยจากออสเตรเลียและไอซ์แลนด์ พบว่า การเพิ่มขึ้นของอุบัติเหตุจากการเมาแล้วขับ จะสูงขึ้นตามการชั่วโมงที่ให้จำหน่ายสุรา ส่วนในเม็กซิโกเมื่อกำหนดมาตรการห้ามจำหน่ายบางวัน ก็ทำให้ผู้กระทำผิดกฎหมายมีระดับแอลกอฮอล์ในเลือดสูงลดลง
“ขณะที่งานวิจัยไทย พบว่า ประชาชนหาซื้อเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ได้สะดวกมาก 70% เดินไปไม่กี่นาทีก็ซื้อได้แล้ว อีก 16% สามารถขับรถหรือนั่งรถไปซื้อโดยใช้เวลาเพียงเล็กน้อย สรุปคือ คนไทยซื้อสุราได้โดยใช้เวลาเฉลี่ยเพียง 7.5 นาที เท่านั้น จึงเห็นด้วยกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยที่จะเพิ่มมาตรการจำกัดการจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ในช่วงเทศกาลดังเช่นประเทศต่างๆ ทั่วโลกกำหนดวันและห้ามเวลาจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ มาตรการเหล่านี้ไม่ได้ห้ามจำหน่ายหรือห้ามดื่มสุราแบบเด็ดขาด แต่เป็นเพียงการจำกัดการเข้าถึงสุราแบบเกินขอบเขต ทั้งการซื้อโดยเด็กและเยาวชน การซื้อที่ไม่มีขีดจำกัดเรื่องเวลา การซื้อเพิ่มเติมได้อย่างง่ายดาย เนื่องจากมีร้านขายมากมายไปหมด การซื้อได้อีกทั้งๆ ที่เมาแล้ว ทั้งหมดนี้เป็นไปเพื่อคุ้มครองสุขภาพและชีวิตของคนที่ดื่มเองและคนทั่วไปที่ไม่ได้ดื่มสุรา ที่มีถึง 70% ของประชาชนทั้งประเทศ หากทำให้เกิดนโยบายนี้จริงได้เมื่อไหร่ เรื่องนี้จะเป็นผลงานชิ้นโบแดงของ รมว.มหาดไทย และรัฐบาล” นพ.บัณฑิต กล่าว
นพ.บัณฑิต กล่าวอีกว่า การออกมาตรการจำกัดการเข้าถึงสุรา เพื่อลดปัญหาอุบัติเหตุจราจรทางบกเป็นนโยบายที่ดีสามารถทำได้ด้วยการ 1.กำหนดวันและเวลาห้ามจำหน่ายในช่วงเทศกาลเป็นพิเศษเพิ่มเติม ตามมาตรา 28 ของ พ.ร.บ.ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ.2551 นายกรัฐมนตรีออกประกาศกำหนด โดยคำแนะนำของคณะกรรมการนโยบายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์แห่งชาติ มาตรการนี้สามารถออกแบบให้มีรายละเอียดเหมาะสมกับการป้องกันอุบัติเหตุในช่วงเทศกาลได้ เช่น หัวท้ายของวันหยุดเทศกาล ซึ่งเป็นช่วงของการเดินทาง หรือวันที่มีการเสียชีวิตจากเกิดอุบัติเหตุสูงสุด เช่น วันที่ 13 เมษายน หรือ 31 ธันวาคม ของทุกปี 2.กรมสรรพสามิตจำกัดจำนวนการออกใบอนุญาตจำหน่ายสุราประเภท 5 และ 6 ที่อนุญาตให้จำหน่ายสุราแบบชั่วคราวได้ครั้งละ 10 วัน ซึ่งจะมีการออกใบอนุญาตประเภทนี้เพิ่มมากขึ้นมากในช่วงเทศกาลต่างๆ
ผอ.ศูนย์วิจัยปัญหาสุรา กล่าวด้วยว่า นอกจากนี้ ยังมีมาตรการจำกัดการเข้าถึงสุราที่ประกาศใช้แล้วตาม พ.ร.บ.ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ.2551 และประกาศคณะปฏิวัติ 2515 เพียงเข้มงวดเรื่องการบังคับใช้กฎหมายตามอำนาจที่มีอยู่ของ รมว.มหาดไทย ได้แก่ 1.ไม่อนุญาตให้จำหน่ายสุรา เวลา 14.00-17.00 น.และ 24.00-11.00 น.ตามประกาศคณะปฏิวัติฉบับที่ 253 ปี พ.ศ.2515 2.จำกัดการเร่ขาย ไม่ให้ขายแบบเร่ไปตามที่ที่คนกำลังเล่นสงกรานต์กันอยู่ ตามมาตรา 30 ของ พ.ร.บ.ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ.2551 3.ห้ามจำหน่ายสุราแก่ผู้ที่อายุต่ำกว่ายี่สิบปีบริบูรณ์ ตามมาตรา 29(1) ของ พ.ร.บ.ควบคุมฯ 2551 4.ห้ามจำหน่ายแก่บุคคลที่มีอาการมึนเมาจนครองสติไม่ได้ ตามมาตรา 29(2) ของ พ.ร.บ.ควบคุมฯ 2551
ด้านน.ส.จิราภรณ์ กมลรังสรรค์ อายุ 17 นักเรียนโรงเรียนมัธยมวัดสิงห์ เครือข่ายเยาวชนสร้างสรรค์รู้ทันแอลกอฮอล์ กล่าวว่า เครือข่ายเยาวชนฯ ขอสนับสนุนนโยบายงดจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในช่วงเทศกาลสงกรานต์และเทศกาลปีใหม่ โดยในวันที่ 18 เม.ย.นี้ เวลา 10.00 น.ตัวแทนเครือข่ายรณรงค์ป้องกันภัยแอลกอฮอล์ (ครปอ.) ประกอบด้วย เครือข่ายเยาวชนสร้างสรรค์รู้ทันแอลกอฮอล์ เครือข่ายเยาวชนหัวกะทิสร้างสรรค์ ประชาคมเครือข่ายควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ชุมชนกรุงเทพฯ 50 เขต (ปชก.) และประชาคมเครือข่ายภาคประชาชนกรุงเทพฯ (ปชช.) จำนวน 30 คน จะไปที่ศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนน เพื่อยื่นหนังสือแสดงความขอบคุณและสนับสนุน ร.ต.อ.เฉลิม ให้เดินหน้านโยบายนี้ ให้เป็นรูปธรรมโดยขอให้เริ่มดำเนินการให้ทันภายในปีใหม่ 2552 นี้ เพื่อเป็นของขวัญวันปีใหม่ให้กับเยาวชนและคนไทยทุกคน