กรมคุมประพฤตินำคนเมาแล้วขับกว่า 100 คน รณรงค์ดื่มไม่ขับ ที่สี่แยกอรุณอัมรินทร์ ให้ความรู้กฎหมายจราจร กระตุ้นเตือน เมาไม่ขับ รับการเดินทางกลับภูมิลำเนาช่วงเทศกาลสงกรานต์
วันนี้ (10 เม.ย.) นายนัทธี จิตสว่าง อธิบดีกรมคุมประพฤติ เป็นประธานเปิดการรณรงค์ “ดื่มแล้วขับ ถูกจับคุมประพฤติ” บริเวณสี่แยกอรุณอัมรินทร์ โดยนำผู้ถูกคุมประพฤติในความผิดเมาแล้วขับประมาณ 100 คน จากสำนักงานคุมประพฤติประจำศาลแขวงดุสิต ร่วมแจกแผ่นพับ สติกเกอร์ และพัดรณรงค์ดื่มไม่ขับ ให้กับผู้ใช้รถใช้ถนนที่จอดติดไฟแดงอยู่ทั้งสี่แยก เพื่อสร้างการรับรู้ที่ถูกต้องให้กับประชาชนต่อมาตรการบังคับใช้กฎหมายที่ดำเนินการกับผู้กระทำผิด พ.ร.บ.จราจรทางบก และถูกศาลสั่งคุมประพฤติ โดยได้รับความสนใจจากประชาชนโดยรอบบริเวณ
นายนัทธี กล่าวว่า การรณรงค์มุ่งหวังให้ผู้ขับขี่เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมในการขับขี่ยานพาหนะ เมาแล้วไม่ขับรถ ซึ่งการดำเนินงานปัจจุบันถือว่าประสบความสำเร็จค่อนข้างมาก ในแง่ของตัวเลขผู้เสียชีวิต และการเกิดอุบัติเหตุที่ลดลง อย่างไรก็ตาม ยังมีสถิติของผู้กระทำผิดในคดี พ.ร.บ.จราจรทางบกมากขึ้นอยู่ ซึ่งปี 2550 มีจำนวนคดีความผิด พ.ร.บ.จราจรมากถึง 46,432 คดี เพิ่มขึ้นกว่าปี 2549 สำหรับปี 2551 เฉพาะช่วง 2 เดือนแรก คือ มกราคม-กุมภาพันธ์ มียอดคดีความผิด พ.ร.บ.จราจรทางบกถึง 9,069 คดี โดยเฉพาะช่วงเทศกาลปีใหม่ที่ผ่านมา
นายนัทธี กล่าวอีกว่า โทษของผู้เมาแล้วขับ กำหนดโทษผู้กระทำผิดมีโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี ปรับตั้งแต่ 5,000-20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับและสั่งพักใช้ใบอนุญาตขับขี่เป็นเวลา 6 เดือน และศาลอาจมีคำสั่งให้คุมประพฤติแล้วส่งตัวไปที่สำนักงานคุมประพฤติซึ่งศาลจะสั่งให้คุมประพฤติเป็นเวลา 1-2 ปี แล้วให้ทำงานบริการสังคม 12-48 ชั่วโมง ขึ้นกับปริมาณแอลกอฮอล์ที่พบในร่างกาย ส่วนโทษของผู้เมาแล้วขับที่ทำให้ผู้อื่นได้รับอันตราย บาดเจ็บสาหัส มีโทษจำคุก 2-6 ปี ปรับตั้งแต่ 4,000-120,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และสั่งพักใช้ใบอนุญาตขับขี่ไม่น้อยกว่า 2 ปี หรือเพิกถอนการใช้ใบอนุญาตขับขี่ ส่วนโทษของผู้ที่เมาแล้วขับทำให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย มีโทษจำคุก 3-10 ปี ปรับตั้งแต่ 60,000-200,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และเพิกถอนการใช้ใบอนุญาตขับขี่ และหากผู้ที่เมาแล้วขับไม่ยอมให้เจ้าหน้าที่ตรวจวัดปริมาณแอลกอฮอล์ ถือเป็นการฝ่าฝืนคำสั่งเจ้าพนักงาน มีโทษปรับไม่เกิน 1,000 บาท
นอกจากนี้ กรมคุมประพฤติจะจัดรณรงค์ใหญ่อีกครั้งที่ สถานีขนส่งสายใต้ใหม่ ในวันที่ 11 เม.ย.เพื่อส่งประชาชนกลับภูมิลำเนาอย่างปลอดภัย โดยจะร่วมกับสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ตรวจวัดปริมาณแอลกอฮอล์ผู้ขับรถสาธารณะในสถานีขนส่งสายใต้ด้วย ซึ่ง นายศรราม เทพพิทักษ์ ดารานักแสดงชื่อดัง ที่ถูกศาลสั่งคุมประพฤติจากคดีความผิด พ.ร.บ.จราจรทางบก ร่วมรณรงค์ ดื่มไม่ขับด้วย
วันนี้ (10 เม.ย.) นายนัทธี จิตสว่าง อธิบดีกรมคุมประพฤติ เป็นประธานเปิดการรณรงค์ “ดื่มแล้วขับ ถูกจับคุมประพฤติ” บริเวณสี่แยกอรุณอัมรินทร์ โดยนำผู้ถูกคุมประพฤติในความผิดเมาแล้วขับประมาณ 100 คน จากสำนักงานคุมประพฤติประจำศาลแขวงดุสิต ร่วมแจกแผ่นพับ สติกเกอร์ และพัดรณรงค์ดื่มไม่ขับ ให้กับผู้ใช้รถใช้ถนนที่จอดติดไฟแดงอยู่ทั้งสี่แยก เพื่อสร้างการรับรู้ที่ถูกต้องให้กับประชาชนต่อมาตรการบังคับใช้กฎหมายที่ดำเนินการกับผู้กระทำผิด พ.ร.บ.จราจรทางบก และถูกศาลสั่งคุมประพฤติ โดยได้รับความสนใจจากประชาชนโดยรอบบริเวณ
นายนัทธี กล่าวว่า การรณรงค์มุ่งหวังให้ผู้ขับขี่เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมในการขับขี่ยานพาหนะ เมาแล้วไม่ขับรถ ซึ่งการดำเนินงานปัจจุบันถือว่าประสบความสำเร็จค่อนข้างมาก ในแง่ของตัวเลขผู้เสียชีวิต และการเกิดอุบัติเหตุที่ลดลง อย่างไรก็ตาม ยังมีสถิติของผู้กระทำผิดในคดี พ.ร.บ.จราจรทางบกมากขึ้นอยู่ ซึ่งปี 2550 มีจำนวนคดีความผิด พ.ร.บ.จราจรมากถึง 46,432 คดี เพิ่มขึ้นกว่าปี 2549 สำหรับปี 2551 เฉพาะช่วง 2 เดือนแรก คือ มกราคม-กุมภาพันธ์ มียอดคดีความผิด พ.ร.บ.จราจรทางบกถึง 9,069 คดี โดยเฉพาะช่วงเทศกาลปีใหม่ที่ผ่านมา
นายนัทธี กล่าวอีกว่า โทษของผู้เมาแล้วขับ กำหนดโทษผู้กระทำผิดมีโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี ปรับตั้งแต่ 5,000-20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับและสั่งพักใช้ใบอนุญาตขับขี่เป็นเวลา 6 เดือน และศาลอาจมีคำสั่งให้คุมประพฤติแล้วส่งตัวไปที่สำนักงานคุมประพฤติซึ่งศาลจะสั่งให้คุมประพฤติเป็นเวลา 1-2 ปี แล้วให้ทำงานบริการสังคม 12-48 ชั่วโมง ขึ้นกับปริมาณแอลกอฮอล์ที่พบในร่างกาย ส่วนโทษของผู้เมาแล้วขับที่ทำให้ผู้อื่นได้รับอันตราย บาดเจ็บสาหัส มีโทษจำคุก 2-6 ปี ปรับตั้งแต่ 4,000-120,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และสั่งพักใช้ใบอนุญาตขับขี่ไม่น้อยกว่า 2 ปี หรือเพิกถอนการใช้ใบอนุญาตขับขี่ ส่วนโทษของผู้ที่เมาแล้วขับทำให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย มีโทษจำคุก 3-10 ปี ปรับตั้งแต่ 60,000-200,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และเพิกถอนการใช้ใบอนุญาตขับขี่ และหากผู้ที่เมาแล้วขับไม่ยอมให้เจ้าหน้าที่ตรวจวัดปริมาณแอลกอฮอล์ ถือเป็นการฝ่าฝืนคำสั่งเจ้าพนักงาน มีโทษปรับไม่เกิน 1,000 บาท
นอกจากนี้ กรมคุมประพฤติจะจัดรณรงค์ใหญ่อีกครั้งที่ สถานีขนส่งสายใต้ใหม่ ในวันที่ 11 เม.ย.เพื่อส่งประชาชนกลับภูมิลำเนาอย่างปลอดภัย โดยจะร่วมกับสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ตรวจวัดปริมาณแอลกอฮอล์ผู้ขับรถสาธารณะในสถานีขนส่งสายใต้ด้วย ซึ่ง นายศรราม เทพพิทักษ์ ดารานักแสดงชื่อดัง ที่ถูกศาลสั่งคุมประพฤติจากคดีความผิด พ.ร.บ.จราจรทางบก ร่วมรณรงค์ ดื่มไม่ขับด้วย