ศูนย์ข่าวภูเก็ต -ทุกภาคส่วนภูเก็ตเพิ่มมาตรการคุมเข้ม รักษาความปลอดภัย ลดอุบัติเหตุบนท้องถนนช่วง 7 วันอันตราย เทศกาลสงกรานต์ 11-17 เม.ย.กำหนดจุดเล่นน้ำทั้งจังหวัด 7 จุด ด้านตำรวจนำกฎหมายบังคับใช้เข้มงวด หลังลดสถิติอุบัติเหตุ-ผู้บาดเจ็บ เป็น “สงกรานต์ที่ใสสะอาด”
นายตรี อัครเดชา รองผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต กล่าวถึงมาตรการป้องกัน และลดอุบัติเหตุทางถนนช่วง 7 วันอันตรายเทศกาลสงกรานต์ปี 2551 ระหว่างวันที่ 11-17 เมษายน 2551 นี้ ว่า เพื่อให้การปฏิบัติงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ สามารถลดอุบัติเหตุ จำนวนผู้บาดเจ็บ และเสียชีวิตได้
จึงจัดตั้ง “ศูนย์ปฏิบัติการร่วมป้องกัน และลดอุบัติเหตุทางถนนช่วงเทศกาลสงกรานต์” ขึ้นที่สำนักงานป้องกัน และบรรเทาสาธารณภัย จังหวัดภูเก็ต ทำหน้าที่อำนวยการบูรณาการดำเนินงานของทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และองค์กรเครือข่าย รวมทั้งเป็นศูนย์กลางเก็บข้อมูล และประเมินผล ซึ่งมีการลงนามความมือกันแล้ว 26 องค์กร
ทั้งนี้ ได้มีการแบ่งการทำงานออกเป็น 2 ช่วง คือ ช่วงเตรียมพร้อม ดำเนินการไปแล้ว และช่วงปฏิบัติการเข้มข้น ระหว่างวันที่ 11-17 เมษายน 2551 ภายใต้ยุทธศาสตร์หลัก 5 ด้าน คือ ด้านการบังคับใช้กฎหมาย วิศวกรรมจราจร การให้ความรู้ การประชาสัมพันธ์ และการมีส่วนร่วม ด้านการบริการทางแพทย์ฉุกเฉิน ตลอดจนการประเมินผล ระบบสารสนเทศ และวิชาการ
“สิ่งสำคัญคือ การบังคับใช้กฎหมายอย่างเคร่งครัด เมื่อมีการทำผิด และจับกุมช่วงดังกล่าวก็ห้ามมีการขอโดยเด็ดขาด ทั้งนี้การดำเนินการนอกจากการตั้งด่านตรวจบริเวณถนนสายหลักต่าง ๆ แล้ว ยังรวมไปถึง การขอความร่วมมือท้องถิ่นในการตั้งจุดตรวจถนนสายรอง โดยเฉพาะช่วงหลังเที่ยงคืน ซึ่งมักจะมีอุบัติเหตุเกิดขึ้นบ่อย ตลอดจนการขอความร่วมมือจากทางแขวงการทาง และผู้ประกอบการไม่ให้มีการก่อสร้างในช่วงดังกล่าวด้วย”
ขณะที่ พ.ต.อ.ปวีณ พงศ์สิรินทร์ รองผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดภูเก็ต กล่าวว่า จากการประชุมร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ข้อสรุปว่า จะมีการนำกฎหมายมาบังคับใช้อย่างเข้มงวด เพื่อให้การเล่นสงกรานต์ของภูเก็ตเป็นไปด้วยความเรียบร้อย เป็นสงกรานต์ที่ใสสะอาด เป็นไปตามขนบธรรมเนียมประเพณีอันดีงาม ซึ่งจะเป็นต้นแบบให้กับการเล่นสงกรานต์ของจังหวัดอื่นๆ ต่อไป รวมทั้งยังสามารถลดอุบัติเหตุได้ด้วย ไม่เช่นนั้นแล้วเมื่อถึงช่วงเทศกาล ก็จะกลายเป็นเทศกาลนับศพ หรือนับผู้บาดเจ็บ
“การเล่นสงกรานต์ของภูเก็ตจะมีเพียงวันเดียว คือ วันที่ 13 เมษายน เป็นช่วงที่มีการเล่นสาดน้ำกันบนท้องถนน หรือนำถังน้ำบรรทุกรถกระบะ และสาดน้ำใส่กันไปตามถนนสายต่างๆ ค่อนข้างสูง เป็นพฤติกรรมที่เสี่ยงต่อการเกิดอุบัติ ดังนั้น จึงควรจะมีการเล่นในจุดที่แต่ละท้องถิ่นกำหนด”
อย่างไรก็ตาม จากปัญหาดังกล่าวนอกจากการใช้รูปแบบการปฎิบัติการในลักษณะของเชิงจิตวิทยา โดยขอความร่วมมือกับทางเรือนจำจังหวัดภูเก็ต ในการจัดนำรถบรรทุกผู้ต้องขังไปไว้ตามจุดต่างๆ แล้ว ยังมีการนำกฎหมายมาบังคับใช้อย่างเคร่งครัด เพราะพฤติกรรมต่าง ๆ ที่ไม่เหมาะสม ไม่ว่าจะเป็นการที่ทำน้ำหกเลอะเทอะบนถนน การตั้งด่านเพื่อรีดไถเงินจากรถที่ขับขี่ไปมา การปะแป้งดินสอพองตามหน้าตา หรือร่างกาย
โดยเฉพาะกับสุภาพสตรี ซึ่งอาจกลายเป็นเรื่องของการลวนลาม ลามกอนาจาร การตั้งโต๊ะดื่มเหล้าข้างถนน เปิดเพลงเสียงดัง ใช้สายยางฉีดน้ำใส่ผู้ที่สัญจรไปมา เป็นต้น ล้วนแล้วแต่เป็นการกระทำผิดกฎหมายอาญา ทั้งที่เป็นกรณีความผิดลหุโทษ หรือสูงกว่า ความผิดตามพระราชบัญญัติวัฒนธรรมแห่งชาติ พ.ศ.2485 พระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ.2522 เนื่องจากบางคนไม่ได้ต้องการที่จะเล่นน้ำแต่ต้องใช้ถนนเพื่อไปประกอบอาชีพ
ทั้งนี้ แม้ว่าการบังคับใช้กฎหมายจะเป็นเรื่องที่ค่อนข้างทำได้ยาก เนื่องจากบางคนมองว่าเป็นเรื่องของประเพณี และมีปีละครั้ง แต่ในอดีตไม่เคยมีการกระทำที่รุนแรง ดังนั้นจำเป็นต้องช่วยกัน เบื้องต้นได้สั่งการไปยังสถานีตำรวจแต่ละพื้นที่ ให้ทำการประชาสัมพันธ์รับทราบกันอย่างทั่วถึง
โดยเฉพาะตั้งแต่ช่วงสายวันที่ 13 เมษายน 2551 ด้วยการจัดรถประชาสัมพันธ์เคลื่อนที่ เพื่อแจ้งเตือนประชาชนให้รับทราบ และครอบครัวของตำรวจต้องเป็นแบบอย่าง แต่หากยังพบว่ายังมีการฝ่าฝืนก็ให้ใช้กฎหมายข้อบังคับมาดำเนินการ เพราะหากสามารถทำได้ตามแนวทางดังกล่าวก็เชื่อว่าจะทำให้อุบัติเหตุลดลง
นายตรี อัครเดชา รองผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต กล่าวถึงมาตรการป้องกัน และลดอุบัติเหตุทางถนนช่วง 7 วันอันตรายเทศกาลสงกรานต์ปี 2551 ระหว่างวันที่ 11-17 เมษายน 2551 นี้ ว่า เพื่อให้การปฏิบัติงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ สามารถลดอุบัติเหตุ จำนวนผู้บาดเจ็บ และเสียชีวิตได้
จึงจัดตั้ง “ศูนย์ปฏิบัติการร่วมป้องกัน และลดอุบัติเหตุทางถนนช่วงเทศกาลสงกรานต์” ขึ้นที่สำนักงานป้องกัน และบรรเทาสาธารณภัย จังหวัดภูเก็ต ทำหน้าที่อำนวยการบูรณาการดำเนินงานของทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และองค์กรเครือข่าย รวมทั้งเป็นศูนย์กลางเก็บข้อมูล และประเมินผล ซึ่งมีการลงนามความมือกันแล้ว 26 องค์กร
ทั้งนี้ ได้มีการแบ่งการทำงานออกเป็น 2 ช่วง คือ ช่วงเตรียมพร้อม ดำเนินการไปแล้ว และช่วงปฏิบัติการเข้มข้น ระหว่างวันที่ 11-17 เมษายน 2551 ภายใต้ยุทธศาสตร์หลัก 5 ด้าน คือ ด้านการบังคับใช้กฎหมาย วิศวกรรมจราจร การให้ความรู้ การประชาสัมพันธ์ และการมีส่วนร่วม ด้านการบริการทางแพทย์ฉุกเฉิน ตลอดจนการประเมินผล ระบบสารสนเทศ และวิชาการ
“สิ่งสำคัญคือ การบังคับใช้กฎหมายอย่างเคร่งครัด เมื่อมีการทำผิด และจับกุมช่วงดังกล่าวก็ห้ามมีการขอโดยเด็ดขาด ทั้งนี้การดำเนินการนอกจากการตั้งด่านตรวจบริเวณถนนสายหลักต่าง ๆ แล้ว ยังรวมไปถึง การขอความร่วมมือท้องถิ่นในการตั้งจุดตรวจถนนสายรอง โดยเฉพาะช่วงหลังเที่ยงคืน ซึ่งมักจะมีอุบัติเหตุเกิดขึ้นบ่อย ตลอดจนการขอความร่วมมือจากทางแขวงการทาง และผู้ประกอบการไม่ให้มีการก่อสร้างในช่วงดังกล่าวด้วย”
ขณะที่ พ.ต.อ.ปวีณ พงศ์สิรินทร์ รองผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดภูเก็ต กล่าวว่า จากการประชุมร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ข้อสรุปว่า จะมีการนำกฎหมายมาบังคับใช้อย่างเข้มงวด เพื่อให้การเล่นสงกรานต์ของภูเก็ตเป็นไปด้วยความเรียบร้อย เป็นสงกรานต์ที่ใสสะอาด เป็นไปตามขนบธรรมเนียมประเพณีอันดีงาม ซึ่งจะเป็นต้นแบบให้กับการเล่นสงกรานต์ของจังหวัดอื่นๆ ต่อไป รวมทั้งยังสามารถลดอุบัติเหตุได้ด้วย ไม่เช่นนั้นแล้วเมื่อถึงช่วงเทศกาล ก็จะกลายเป็นเทศกาลนับศพ หรือนับผู้บาดเจ็บ
“การเล่นสงกรานต์ของภูเก็ตจะมีเพียงวันเดียว คือ วันที่ 13 เมษายน เป็นช่วงที่มีการเล่นสาดน้ำกันบนท้องถนน หรือนำถังน้ำบรรทุกรถกระบะ และสาดน้ำใส่กันไปตามถนนสายต่างๆ ค่อนข้างสูง เป็นพฤติกรรมที่เสี่ยงต่อการเกิดอุบัติ ดังนั้น จึงควรจะมีการเล่นในจุดที่แต่ละท้องถิ่นกำหนด”
อย่างไรก็ตาม จากปัญหาดังกล่าวนอกจากการใช้รูปแบบการปฎิบัติการในลักษณะของเชิงจิตวิทยา โดยขอความร่วมมือกับทางเรือนจำจังหวัดภูเก็ต ในการจัดนำรถบรรทุกผู้ต้องขังไปไว้ตามจุดต่างๆ แล้ว ยังมีการนำกฎหมายมาบังคับใช้อย่างเคร่งครัด เพราะพฤติกรรมต่าง ๆ ที่ไม่เหมาะสม ไม่ว่าจะเป็นการที่ทำน้ำหกเลอะเทอะบนถนน การตั้งด่านเพื่อรีดไถเงินจากรถที่ขับขี่ไปมา การปะแป้งดินสอพองตามหน้าตา หรือร่างกาย
โดยเฉพาะกับสุภาพสตรี ซึ่งอาจกลายเป็นเรื่องของการลวนลาม ลามกอนาจาร การตั้งโต๊ะดื่มเหล้าข้างถนน เปิดเพลงเสียงดัง ใช้สายยางฉีดน้ำใส่ผู้ที่สัญจรไปมา เป็นต้น ล้วนแล้วแต่เป็นการกระทำผิดกฎหมายอาญา ทั้งที่เป็นกรณีความผิดลหุโทษ หรือสูงกว่า ความผิดตามพระราชบัญญัติวัฒนธรรมแห่งชาติ พ.ศ.2485 พระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ.2522 เนื่องจากบางคนไม่ได้ต้องการที่จะเล่นน้ำแต่ต้องใช้ถนนเพื่อไปประกอบอาชีพ
ทั้งนี้ แม้ว่าการบังคับใช้กฎหมายจะเป็นเรื่องที่ค่อนข้างทำได้ยาก เนื่องจากบางคนมองว่าเป็นเรื่องของประเพณี และมีปีละครั้ง แต่ในอดีตไม่เคยมีการกระทำที่รุนแรง ดังนั้นจำเป็นต้องช่วยกัน เบื้องต้นได้สั่งการไปยังสถานีตำรวจแต่ละพื้นที่ ให้ทำการประชาสัมพันธ์รับทราบกันอย่างทั่วถึง
โดยเฉพาะตั้งแต่ช่วงสายวันที่ 13 เมษายน 2551 ด้วยการจัดรถประชาสัมพันธ์เคลื่อนที่ เพื่อแจ้งเตือนประชาชนให้รับทราบ และครอบครัวของตำรวจต้องเป็นแบบอย่าง แต่หากยังพบว่ายังมีการฝ่าฝืนก็ให้ใช้กฎหมายข้อบังคับมาดำเนินการ เพราะหากสามารถทำได้ตามแนวทางดังกล่าวก็เชื่อว่าจะทำให้อุบัติเหตุลดลง