“เลขาฯ สพท.” เผย นร.แพทย์บ่นข้อสอบเอเน็ตยาก มาตรฐานไม่คงที่ ทำคะแนนเฉลี่ยกลุ่มแพทย์ กสพท.ดิ่งเหว ระบุไม่เชื่อเด็กเก่งกลัวถูกฟ้อง ทำให้ไม่อยากเรียนหมอ มั่นใจหากทำหน้าที่ถูกต้อง เพื่อประโยชน์ของคนไข้ก็จะไม่มีความผิดพลาด ด้าน “สุเมธ” เตรียมตั้งคณะกรรมตรวจสอบสถิติความยาก-ง่าย วิชาคณิตศาสตร์ 2 หลังกระแสนักเรียนบ่น
ศ.นพ.อาวุธ ศรีศุกรี เลขาธิการ กสพท.กล่าวถึงคะแนนของกลุ่มสถาบันแพทยศาสตร์แห่งประเทศไทย กสพท.ซึ่งประกาศผลรายชื่อผู้มีสิทธิ์สอบสัมภาษณ์และตรวจร่างกายของแต่ละสถาบัน รวมทั้งหมด 1,350 คน ทางเว็บไซต์ www.si.mahidol.ac.th ที่ผ่านมา ว่า คะแนนเฉลี่ยในกลุ่ม กสพท.ในปีนี้เฉลี่ยต่ำกว่าปีที่ผ่านมา ทั้งๆ ที่ปีนี้คะแนนทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นสูง (เอเน็ต) จะต้องนำมาใช้ประกอบการคัดเลือกนักเรียนแพทย์ถึง 70% ของคะแนนทั้งหมด แต่ นร.แพทย์ที่สอบได้ส่วนใหญ่กลับได้คะแนนเอเน็ตต่ำลงกว่าเดิมมาก ซึ่งจากการสอบถามนักเรียนที่มีสิทธิ์สอบสัมภาษณ์และตรวจร่างกาย ต่างตอบเป็นเสียงเดียวกันว่า ข้อสอบเอเน็ตปีนี้ยากมากในขณะที่ปีที่ผ่านมาข้อสอบเอเน็ตง่าย และคิดว่ามาตรฐานของข้อสอบยังไม่คงที่นัก
อย่างไรก็ตาม คะแนนในปีนี้เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมาต่างกันไม่มาก แต่จะต่างกันเท่าไหร่นั้น คาดว่า น่าจะทราบได้ในวันที่ 15 เมษายนนี้ พร้อมจำนวนที่จะรับ นร.แพทย์รอบ 2
เลขาธิการ กสพท.กล่าวต่ออีกว่า สำหรับกรณีที่มีกระแสว่าเด็กเก่งไม่เข้าเรียนคณะแพทย์ เพราะกลัวถูกฟ้อง โดยส่วนตัวไม่เชื่อว่าเด็กส่วนใหญ่จะคิดเช่นนั้น แต่น่าจะเป็นเพียงบางคนเท่านั้น จึงอยากฝากนักเรียนที่มีสิทธิ์สอบสัมภาษณ์ และตรวจร่างกาย รวมไปถึงเด็กเก่งที่ตั้งใจเรียนคณะแพทย์ ไม่ควรมองเรื่องนี้เป็นเรื่องสำคัญ แต่ควรมองว่า ต้องการเป็นแพทย์เพื่ออะไร แพทย์ที่ดีควรเป็นอย่างไร และไม่ควรกลัวกรณีถูกฟ้องร้อง เนื่องจากในขณะนี้ ทางแพทยสภากำลังหาวิธีการแก้ไขเรื่องนี้อยู่ อีกทั้งยังมองว่าทุกอาชีพสามารถทำผิดพลาด และถูกฟ้องร้องได้ไม่ต่างกัน ทั้งนี้ มั่นใจว่า ถ้าแพทย์ทำหน้าที่อย่างเต็มที่ ภายใต้ความถูกต้อง และเพื่อผลประโยชน์ของคนไข้จริงๆ จะไม่มีความผิดพลาดเกิดขึ้น เรื่องฟ้องร้องก็จะไม่มีอย่างแน่นอน
ดร.สุเมธ แย้มนุ่น เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา (กกอ.) กล่าวว่า เรื่องที่มีกระแสจากนักเรียนที่ต้องใช่คะแนนเอเน็ตในการสอบเข้าเรียนในสาขาแพทยศาสตร์นั้น มองว่าเป็นที่ระบบการคัดเลือก ส่วนเรื่องความยาก ง่ายของข้อสอบคงไม่ใช่ประเด็นสำคัญ เพราะตามการคัดเลือกของ กสพท. ต้องใช้คะแนนคณิตศาสตร์ถึง 30% จากผลคะแนนเอเน็ตจำนวน 5 วิชา คือ อังกฤษ ภาษาไทย สังคม วิทยาศาสตร์ และคณิตศาสตร์
ขณะนี้ตนกำลังตั้งคณะกรรมการเพื่อตรวจสอบความยากง่ายของวิชาคณิตศาสตร์ 2 หลังจากมีเสียงวิพากษ์วิจารณ์ว่าข้อสอบยาก และนักเรียนสามารถทำคะแนนได้ต่ำกว่าปีที่ผ่านมา โดยจะให้คณะกรรมการลงไปตรวจสอบดูว่า ข้อสอบในแต่ละปี มีสถิติความยากง่ายแตกต่างกันมากน้อยเพียงใด
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับคะแนนสูงสุด-ต่ำสุด และคะแนนเฉลี่ยของแต่ละสถาบัน มีดังนี้คณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล ผู้มีสิทธิ์สอบสัมภาษณ์และตรวจร่างกายจำนวน 250 คน คะแนนสูงสุด 80.7615 คะแนนต่ำสุด 61.9972 คะแนนเฉลี่ย 65.3684 คณะแพทยศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จำนวน 215 คน คะแนนสูงสุด 79.9443 คะแนนต่ำสุด 64.9279 คะแนนเฉลี่ย 69.1792 มหาวิทยาลัยขอนแก่น จำนวน 30 คน คะแนนสูงสุด 66.7124 คะแนนต่ำสุด 57.1147 และคะแนนเฉลี่ย 59.0573 คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จำนวน 65 คน คะแนนสูงสุด 61.6957 คะแนนต่ำสุด 57.4708 คะแนนเฉลี่ย 59.3820 คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จำนวน 75 คน คะแนนสูงสุด 67.5764 คะแนนต่ำสุด 57.8107 คะแนนเฉลี่ย 59.7259 คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร จำนวน 50 คน คะแนนสูงสุด 57.0629 คะแนนต่ำสุด 54.7547 คะแนนเฉลี่ย 55.7315
คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี จำนวน 160 คน คะแนนสูงสุด 69.1278 คะแนนต่ำสุด 60.9532 คะแนนเฉลี่ย 62.7279 คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต จำนวน 30 คน66.4987 คะแนนต่ำสุด 49.3559 คะแนนเฉลี่ย 53.5066 คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ จำนวน 120 คน คะแนนสูงสุด 63.1862 คะแนนต่ำสุด 57.2907 คะแนนเฉลี่ย 58.8825 คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จำนวน75 คน คะแนนสูงสุด61.7954 คะแนนต่ำสุด 54.5935 คะแนนเฉลี่ย 56.8690
วิทยาลัยแพทยศาสตร์ วชิรพยาบาล จำนวน 80 คน คะแนนสูงสุด 64.8282 คะแนนต่ำสุด 59.2246 คะแนนเฉลี่ย 60.3977 วิทยาลัยแพทยศาสตร์พระมงกุฎเกล้า จำนวน 60 คน คะแนนสูงสุด 63.4030 คะแนนต่ำสุด 55.5637 คะแนนเฉลี่ย 57.4427 วิทยาลัยแพทยศาสตร์ พระมงกุฎเกล้า (ญ) จำนวน 40 คน คะแนนสูงสุด 61.7778 คะแนนต่ำสุด 55.6083 คะแนนเฉลี่ย 57.5035 คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จำนวน 50 คน คะแนนสูงสุด 71.9217 คะแนนต่ำสุด 61.6482 คะแนนเฉลี่ย 64.0073 และคณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จำนวน 50คน คะแนนสูงสุด 65.2381 คะแนนต่ำสุด 58.8357 คะแนนเฉลี่ย 60.4126
ศ.นพ.อาวุธ ศรีศุกรี เลขาธิการ กสพท.กล่าวถึงคะแนนของกลุ่มสถาบันแพทยศาสตร์แห่งประเทศไทย กสพท.ซึ่งประกาศผลรายชื่อผู้มีสิทธิ์สอบสัมภาษณ์และตรวจร่างกายของแต่ละสถาบัน รวมทั้งหมด 1,350 คน ทางเว็บไซต์ www.si.mahidol.ac.th ที่ผ่านมา ว่า คะแนนเฉลี่ยในกลุ่ม กสพท.ในปีนี้เฉลี่ยต่ำกว่าปีที่ผ่านมา ทั้งๆ ที่ปีนี้คะแนนทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นสูง (เอเน็ต) จะต้องนำมาใช้ประกอบการคัดเลือกนักเรียนแพทย์ถึง 70% ของคะแนนทั้งหมด แต่ นร.แพทย์ที่สอบได้ส่วนใหญ่กลับได้คะแนนเอเน็ตต่ำลงกว่าเดิมมาก ซึ่งจากการสอบถามนักเรียนที่มีสิทธิ์สอบสัมภาษณ์และตรวจร่างกาย ต่างตอบเป็นเสียงเดียวกันว่า ข้อสอบเอเน็ตปีนี้ยากมากในขณะที่ปีที่ผ่านมาข้อสอบเอเน็ตง่าย และคิดว่ามาตรฐานของข้อสอบยังไม่คงที่นัก
อย่างไรก็ตาม คะแนนในปีนี้เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมาต่างกันไม่มาก แต่จะต่างกันเท่าไหร่นั้น คาดว่า น่าจะทราบได้ในวันที่ 15 เมษายนนี้ พร้อมจำนวนที่จะรับ นร.แพทย์รอบ 2
เลขาธิการ กสพท.กล่าวต่ออีกว่า สำหรับกรณีที่มีกระแสว่าเด็กเก่งไม่เข้าเรียนคณะแพทย์ เพราะกลัวถูกฟ้อง โดยส่วนตัวไม่เชื่อว่าเด็กส่วนใหญ่จะคิดเช่นนั้น แต่น่าจะเป็นเพียงบางคนเท่านั้น จึงอยากฝากนักเรียนที่มีสิทธิ์สอบสัมภาษณ์ และตรวจร่างกาย รวมไปถึงเด็กเก่งที่ตั้งใจเรียนคณะแพทย์ ไม่ควรมองเรื่องนี้เป็นเรื่องสำคัญ แต่ควรมองว่า ต้องการเป็นแพทย์เพื่ออะไร แพทย์ที่ดีควรเป็นอย่างไร และไม่ควรกลัวกรณีถูกฟ้องร้อง เนื่องจากในขณะนี้ ทางแพทยสภากำลังหาวิธีการแก้ไขเรื่องนี้อยู่ อีกทั้งยังมองว่าทุกอาชีพสามารถทำผิดพลาด และถูกฟ้องร้องได้ไม่ต่างกัน ทั้งนี้ มั่นใจว่า ถ้าแพทย์ทำหน้าที่อย่างเต็มที่ ภายใต้ความถูกต้อง และเพื่อผลประโยชน์ของคนไข้จริงๆ จะไม่มีความผิดพลาดเกิดขึ้น เรื่องฟ้องร้องก็จะไม่มีอย่างแน่นอน
ดร.สุเมธ แย้มนุ่น เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา (กกอ.) กล่าวว่า เรื่องที่มีกระแสจากนักเรียนที่ต้องใช่คะแนนเอเน็ตในการสอบเข้าเรียนในสาขาแพทยศาสตร์นั้น มองว่าเป็นที่ระบบการคัดเลือก ส่วนเรื่องความยาก ง่ายของข้อสอบคงไม่ใช่ประเด็นสำคัญ เพราะตามการคัดเลือกของ กสพท. ต้องใช้คะแนนคณิตศาสตร์ถึง 30% จากผลคะแนนเอเน็ตจำนวน 5 วิชา คือ อังกฤษ ภาษาไทย สังคม วิทยาศาสตร์ และคณิตศาสตร์
ขณะนี้ตนกำลังตั้งคณะกรรมการเพื่อตรวจสอบความยากง่ายของวิชาคณิตศาสตร์ 2 หลังจากมีเสียงวิพากษ์วิจารณ์ว่าข้อสอบยาก และนักเรียนสามารถทำคะแนนได้ต่ำกว่าปีที่ผ่านมา โดยจะให้คณะกรรมการลงไปตรวจสอบดูว่า ข้อสอบในแต่ละปี มีสถิติความยากง่ายแตกต่างกันมากน้อยเพียงใด
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับคะแนนสูงสุด-ต่ำสุด และคะแนนเฉลี่ยของแต่ละสถาบัน มีดังนี้คณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล ผู้มีสิทธิ์สอบสัมภาษณ์และตรวจร่างกายจำนวน 250 คน คะแนนสูงสุด 80.7615 คะแนนต่ำสุด 61.9972 คะแนนเฉลี่ย 65.3684 คณะแพทยศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จำนวน 215 คน คะแนนสูงสุด 79.9443 คะแนนต่ำสุด 64.9279 คะแนนเฉลี่ย 69.1792 มหาวิทยาลัยขอนแก่น จำนวน 30 คน คะแนนสูงสุด 66.7124 คะแนนต่ำสุด 57.1147 และคะแนนเฉลี่ย 59.0573 คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จำนวน 65 คน คะแนนสูงสุด 61.6957 คะแนนต่ำสุด 57.4708 คะแนนเฉลี่ย 59.3820 คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จำนวน 75 คน คะแนนสูงสุด 67.5764 คะแนนต่ำสุด 57.8107 คะแนนเฉลี่ย 59.7259 คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร จำนวน 50 คน คะแนนสูงสุด 57.0629 คะแนนต่ำสุด 54.7547 คะแนนเฉลี่ย 55.7315
คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี จำนวน 160 คน คะแนนสูงสุด 69.1278 คะแนนต่ำสุด 60.9532 คะแนนเฉลี่ย 62.7279 คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต จำนวน 30 คน66.4987 คะแนนต่ำสุด 49.3559 คะแนนเฉลี่ย 53.5066 คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ จำนวน 120 คน คะแนนสูงสุด 63.1862 คะแนนต่ำสุด 57.2907 คะแนนเฉลี่ย 58.8825 คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จำนวน75 คน คะแนนสูงสุด61.7954 คะแนนต่ำสุด 54.5935 คะแนนเฉลี่ย 56.8690
วิทยาลัยแพทยศาสตร์ วชิรพยาบาล จำนวน 80 คน คะแนนสูงสุด 64.8282 คะแนนต่ำสุด 59.2246 คะแนนเฉลี่ย 60.3977 วิทยาลัยแพทยศาสตร์พระมงกุฎเกล้า จำนวน 60 คน คะแนนสูงสุด 63.4030 คะแนนต่ำสุด 55.5637 คะแนนเฉลี่ย 57.4427 วิทยาลัยแพทยศาสตร์ พระมงกุฎเกล้า (ญ) จำนวน 40 คน คะแนนสูงสุด 61.7778 คะแนนต่ำสุด 55.6083 คะแนนเฉลี่ย 57.5035 คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จำนวน 50 คน คะแนนสูงสุด 71.9217 คะแนนต่ำสุด 61.6482 คะแนนเฉลี่ย 64.0073 และคณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จำนวน 50คน คะแนนสูงสุด 65.2381 คะแนนต่ำสุด 58.8357 คะแนนเฉลี่ย 60.4126