แพทย์แนะดูแลสุขภาพผู้สูงอายุช่วงเทศกาลสงกรานต์ ระวังท้องเสีย ขาดน้ำจากดื่มน้ำไม่เพียงพอ ไข้หวัดเล่นงาน กลั้นปัสสาวะทำให้ปัสสาวะผิดปกติ และมีการหกล้มเป็นของแถม
นพ.นันทศักดิ์ ธรรมานวัตร์ ผู้อำนวยการสถาบันเวชศาสตร์ผู้สูงอายุ กรมการแพทย์ กล่าวถึงการดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุในช่วงหน้าร้อนว่า ในช่วงนี้อากาศร้อนประชาชนมีการเดินทางไปยังที่ต่างๆ ในช่วงวันหยุดสงกรานต์ ดังนั้นควรดูแลตนเองในเรื่องของการรับประทานอาหารโดยเฉพาะผู้สูงอายุ เนื่องจากอาจท้องเสียจากอาหารรสจัด อาหารที่เสื่อมสภาพ เพราะอากาศร้อนทำให้บูดเสียได้ง่าย ควรรับประทานอาหาร ที่ปรุงสุก ร้อน ใช้ช้อนกลาง และที่สำคัญควรล้างมือก่อนทุกครั้งด้วยสบู่ หรือเจลล้างมือสำเร็จรูป
หากมีอาการท้องเสีย ให้ดื่มน้ำผสมเกลือแร่ซอง หรือน้ำดื่มเกลือแร่สำเร็จรูปที่วางขายในท้องตลาด หรือสามารถทำเองได้โดยใช้น้ำ 1 ลิตร ผสมกับเกลือ 1 ช้อนชา น้ำตาล 8 ช้อนชา ดื่มแทนน้ำ ทั้งนี้ ไม่ควรรับประทานยาแก้ท้องเสียเอง หากจำเป็นควรรับประทานไม่เกิน 1 ครั้งแล้วรีบไปพบแพทย์
นอกจากนี้ ผู้สูงอายุควรระวังในเรื่องการดื่มน้ำที่ไม่เพียงพอ เนื่องจากปกติมักไม่ค่อยดื่มน้ำอยู่แล้วยิ่งมีการเดินทางไกลกลัวปัสสาวะบ่อยจะยิ่งไม่ดื่มน้ำ ดังนั้นในช่วงอากาศร้อนแบบนี้ระวังเป็นลมแดดได้ง่าย ควรดื่มน้ำวันละ 8-10 แก้ว โดยดื่มน้ำก่อนหิวน้ำเพราะหากปล่อยให้หิวน้ำแล้วค่อยดื่มแสดงว่าร่างกายขาดน้ำไปแล้ว ควรเป็นน้ำเปล่าจะดีที่สุด หลีกเลี่ยงชา กาแฟหรือน้ำอัดลมที่มีสีดำ เพราะคาเฟอีนในเครื่องดื่มเหล่านั้นจะทำให้ปัสสาวะบ่อย ทำให้ร่างกายสูญเสียแคลเซียมไปด้วย
และที่สำคัญลูกหลานควรวางแผนการเดินทางให้ดีเพื่อผู้สูงอายุจะได้มีโอกาสเข้าห้องน้ำเป็นระยะ สำหรับการกลั้นปัสสาวะก็เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่ผู้สูงอายุควรใส่ใจ เนื่องจากการเดินทางไกลทำให้เข้าห้องน้ำไม่สะดวก บางครั้งไม่มีห้องน้ำ จึงกลั้นปัสสาวะเอาไว้ทำให้เกิดกระเพาะปัสสาวะอักเสบโดยพบมากในผู้หญิง
ในช่วงเทศกาลอากาศร้อนและบางครั้งอาจมีฝนตก การเล่นสาดน้ำกันผู้สูงอายุอาจมีร่างกายเปียกเป็นเวลานาน ทำให้อุณหภูมิของร่างกายมีการเปลี่ยนแปลงต้องรีบเช็ดตัว มิฉะนั้นจะทำให้เป็นหวัดและเป็นปอดบวมตามมาได้ง่าย เนื่องจากผู้สูงอายุโดยเฉพาะอายุ 70 ปีขึ้นไป บางครั้งเวลาเป็นหวัดอาจจะไม่มีไข้ แต่มีอาการไอ ซึม ทำให้ไม่ทราบว่าเป็นหวัด และที่สำคัญต้องระวังการลื่นหกล้มในผู้สูงอายุ โดยพบเกือบร้อยละ 20 และพบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย โดยปัจจัยเสี่ยงที่พบได้แก่ การเดินทางท่องเที่ยว พื้นลื่นจากการสาดน้ำ หรือฝนตก
นอกจากนี้ ผู้สูงอายุที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคหัวใจ โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน ฯลฯ ลูกหลานควรจัดเตรียมยาเป็นชุดเพื่อสะดวกแก่การรับประทานและควรเตรียมร่มกันแดดหรือใส่แว่นกันแดด เพื่อป้องกันสายตาจากแสงแดดจ้าอีกด้วย
นพ.นันทศักดิ์ ธรรมานวัตร์ ผู้อำนวยการสถาบันเวชศาสตร์ผู้สูงอายุ กรมการแพทย์ กล่าวถึงการดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุในช่วงหน้าร้อนว่า ในช่วงนี้อากาศร้อนประชาชนมีการเดินทางไปยังที่ต่างๆ ในช่วงวันหยุดสงกรานต์ ดังนั้นควรดูแลตนเองในเรื่องของการรับประทานอาหารโดยเฉพาะผู้สูงอายุ เนื่องจากอาจท้องเสียจากอาหารรสจัด อาหารที่เสื่อมสภาพ เพราะอากาศร้อนทำให้บูดเสียได้ง่าย ควรรับประทานอาหาร ที่ปรุงสุก ร้อน ใช้ช้อนกลาง และที่สำคัญควรล้างมือก่อนทุกครั้งด้วยสบู่ หรือเจลล้างมือสำเร็จรูป
หากมีอาการท้องเสีย ให้ดื่มน้ำผสมเกลือแร่ซอง หรือน้ำดื่มเกลือแร่สำเร็จรูปที่วางขายในท้องตลาด หรือสามารถทำเองได้โดยใช้น้ำ 1 ลิตร ผสมกับเกลือ 1 ช้อนชา น้ำตาล 8 ช้อนชา ดื่มแทนน้ำ ทั้งนี้ ไม่ควรรับประทานยาแก้ท้องเสียเอง หากจำเป็นควรรับประทานไม่เกิน 1 ครั้งแล้วรีบไปพบแพทย์
นอกจากนี้ ผู้สูงอายุควรระวังในเรื่องการดื่มน้ำที่ไม่เพียงพอ เนื่องจากปกติมักไม่ค่อยดื่มน้ำอยู่แล้วยิ่งมีการเดินทางไกลกลัวปัสสาวะบ่อยจะยิ่งไม่ดื่มน้ำ ดังนั้นในช่วงอากาศร้อนแบบนี้ระวังเป็นลมแดดได้ง่าย ควรดื่มน้ำวันละ 8-10 แก้ว โดยดื่มน้ำก่อนหิวน้ำเพราะหากปล่อยให้หิวน้ำแล้วค่อยดื่มแสดงว่าร่างกายขาดน้ำไปแล้ว ควรเป็นน้ำเปล่าจะดีที่สุด หลีกเลี่ยงชา กาแฟหรือน้ำอัดลมที่มีสีดำ เพราะคาเฟอีนในเครื่องดื่มเหล่านั้นจะทำให้ปัสสาวะบ่อย ทำให้ร่างกายสูญเสียแคลเซียมไปด้วย
และที่สำคัญลูกหลานควรวางแผนการเดินทางให้ดีเพื่อผู้สูงอายุจะได้มีโอกาสเข้าห้องน้ำเป็นระยะ สำหรับการกลั้นปัสสาวะก็เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่ผู้สูงอายุควรใส่ใจ เนื่องจากการเดินทางไกลทำให้เข้าห้องน้ำไม่สะดวก บางครั้งไม่มีห้องน้ำ จึงกลั้นปัสสาวะเอาไว้ทำให้เกิดกระเพาะปัสสาวะอักเสบโดยพบมากในผู้หญิง
ในช่วงเทศกาลอากาศร้อนและบางครั้งอาจมีฝนตก การเล่นสาดน้ำกันผู้สูงอายุอาจมีร่างกายเปียกเป็นเวลานาน ทำให้อุณหภูมิของร่างกายมีการเปลี่ยนแปลงต้องรีบเช็ดตัว มิฉะนั้นจะทำให้เป็นหวัดและเป็นปอดบวมตามมาได้ง่าย เนื่องจากผู้สูงอายุโดยเฉพาะอายุ 70 ปีขึ้นไป บางครั้งเวลาเป็นหวัดอาจจะไม่มีไข้ แต่มีอาการไอ ซึม ทำให้ไม่ทราบว่าเป็นหวัด และที่สำคัญต้องระวังการลื่นหกล้มในผู้สูงอายุ โดยพบเกือบร้อยละ 20 และพบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย โดยปัจจัยเสี่ยงที่พบได้แก่ การเดินทางท่องเที่ยว พื้นลื่นจากการสาดน้ำ หรือฝนตก
นอกจากนี้ ผู้สูงอายุที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคหัวใจ โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน ฯลฯ ลูกหลานควรจัดเตรียมยาเป็นชุดเพื่อสะดวกแก่การรับประทานและควรเตรียมร่มกันแดดหรือใส่แว่นกันแดด เพื่อป้องกันสายตาจากแสงแดดจ้าอีกด้วย