แพทยสภาไฟเขียวตัดไข่ได้ แต่ต้องผ่านประเมินจากจิตแพทย์ และทดลองใช้ชีวิตเป็นหญิงอย่างน้อย 1 ปี หากยืนยันคำเดิมพร้อมให้ผ่าตัด ส่วนเด็กอายุ 18-20 ปี ผู้ปกครองต้องอนุญาต แต่เด็กต่ำกว่า 18 ปี ไม่เห็นควรให้ผ่าไข่ เตรียมนำข้อสรุปทั้งหมดเข้าคกก.แพทยสภาชี้ขาด 10 พ.ค.นี้
วันนี้ (10 เม.ย.) นพ.อำนาจ กุสลานันท์ เลขาธิการแพทยสภา ให้สัมภาษณ์ภายหลังการประชุมคณะกรรมการแพทยสภานานกว่า 5 ชั่วโมง ว่า ที่ประชุมมีมติเห็นด้วยในหลักการเกี่ยวกับร่างข้อบังคับแพทยสภาว่าด้วยหลักเกณฑ์การทำศัลยกรรมแปลงเพศ พ.ศ. ... ตามที่คณะอนุกรรมการยกร่างฯเสนอ ซึ่งจะแบ่งช่วงอายุของผู้ที่ต้องการแปลงเพศเป็น 2 ช่วงอายุ คือ อายุ 20 ปีขึ้นไป และระหว่าง 18-20 ปี ให้สามารถทำการแปลงเพศได้ ภายใต้เงื่อนไข โดยกลุ่มอายุ 20 ปีขึ้นไป จะต้องผ่านการประเมินจากจิตแพทย์อย่างน้อย 2 คน ทดลองใช้ชีวิตเป็นผู้หญิงเต็มรูปแบบอย่างน้อย 1 ปี จากนั้นกลับมาให้จิตแพทย์ประเมินอีกครั้ง หากยังยืนยันเช่นเดิมและจิตแพทย์วินิจฉัยว่าสภาพจิตใจสมควรได้รับการแปลงเพศ ก็สามารถเข้ารับการผ่าตัดแปลงเพศได้
เลขาธิการแพทยสภา กล่าวอีกว่า สำหรับผู้ที่อายุระหว่าง 18 -20 ปี ใช้เกณฑ์เช่นเดียวกัน เพียงแต่เพิ่มจำนวนจิตแพทย์จาก 2 คน เป็น 3 คน และจะต้องให้พ่อแม่ ผู้ปกครองอนุญาต เนื่องจากยังไม่บรรลุนิติภาวะ ส่วนผู้ที่อายุต่ำกว่า 18 ปี เบื้องต้นเห็นว่าไม่สมควรที่จะผ่าตัดแปลงเพศ อย่างไรก็ตาม ในวันที่ 6 พ.ค.นี้ คณะอนุกรรมการฯจะประชุมร่วมกันอีกครั้ง เพื่อรับฟังความเห็นจากวงกว้าง ทั้งราชวิทยาลัยจิตแพทย์แห่งประเทศไทย ราชวิทยาลัยศัลยแพทย์แห่งประเทศไทย ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย และราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทย และผู้เชี่ยวชาญแต่ละสาขา ที่อาจจะมีข้อมูลใหม่ๆมาเสนอต่อแพทยสภา จากนั้นในวันที่ 10 พ.ค.จะนำเสนอข้อสรุปทั้งหมดเข้าสู่ที่ประชุมคณะกรรมการแพทยสภาเพื่อชี้ขาดหลักเกณฑ์การแปลงเพศ
“คำว่าทำศัลยกรรมแปลงเพศ รวมถึง กรณีการตัดไข่หรือตัดอัณฑะ ก็จะต้องใช้หลักเกณฑ์เดียวกันนี้ เพราะเห็นว่าแม้ทำการตัดเพียงอัณฑะออกไปก็ส่งผลกระทบต่อร่างกายมากมายเช่นเดียวกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการขาดความเป็นชาย จนไม่สามารถมีทายาทสืบสกุลได้ และเสี่ยงต่อโรคต่างๆที่อาจจะเกิดขึ้น”นพ.อำนาจกล่าว
นพ.อำนาจ กล่าวอีกว่า ที่ผ่านมาแพทยสภายังไม่มีมติสั่งห้ามแพทย์ทำการผ่าตัดอัณฑะ เนื่องจากไม่มีอำนาจในการไปสั่งหรือบอกให้แพทย์ทำหรือไม่ทำอะไร เพียงบอกว่าการผ่าตัดอัณฑะเสี่ยงต่อการผิดจริยธรรมของแพทยสภา หากมีการร้องเรียนมายังแพทยสภาก็จะต้องพิจารณาเป็นรายๆ ไป ซึ่งกรณีของ นพ.เทพ เวชวิสิฐ เจ้าของประตูน้ำโพลีคลีนิค ที่ยอมรับว่าผ่าตัดอัณฑะมาแล้วอย่างน้อย 300 ราย แพทยสภาได้รับการร้องเรียนจากกระทรวงสาธารณสุข(สธ.)แล้ว กำลังอยู่ในกระบวนการพิจารณาซึ่งจำเป็นต้องใช้ระยะเวลา และเปิดโอกาสให้ผู้ถูกร้องเรียนเข้าชี้แจง อาจจะด้วยตนเองหรือเอกสารก็ได้ โดยขณะนี้ดำเนินการถึงขั้นตอนของการขอข้อมูลเอกสารหลักฐานจากผู้ถูกร้องเรียน
วันนี้ (10 เม.ย.) นพ.อำนาจ กุสลานันท์ เลขาธิการแพทยสภา ให้สัมภาษณ์ภายหลังการประชุมคณะกรรมการแพทยสภานานกว่า 5 ชั่วโมง ว่า ที่ประชุมมีมติเห็นด้วยในหลักการเกี่ยวกับร่างข้อบังคับแพทยสภาว่าด้วยหลักเกณฑ์การทำศัลยกรรมแปลงเพศ พ.ศ. ... ตามที่คณะอนุกรรมการยกร่างฯเสนอ ซึ่งจะแบ่งช่วงอายุของผู้ที่ต้องการแปลงเพศเป็น 2 ช่วงอายุ คือ อายุ 20 ปีขึ้นไป และระหว่าง 18-20 ปี ให้สามารถทำการแปลงเพศได้ ภายใต้เงื่อนไข โดยกลุ่มอายุ 20 ปีขึ้นไป จะต้องผ่านการประเมินจากจิตแพทย์อย่างน้อย 2 คน ทดลองใช้ชีวิตเป็นผู้หญิงเต็มรูปแบบอย่างน้อย 1 ปี จากนั้นกลับมาให้จิตแพทย์ประเมินอีกครั้ง หากยังยืนยันเช่นเดิมและจิตแพทย์วินิจฉัยว่าสภาพจิตใจสมควรได้รับการแปลงเพศ ก็สามารถเข้ารับการผ่าตัดแปลงเพศได้
เลขาธิการแพทยสภา กล่าวอีกว่า สำหรับผู้ที่อายุระหว่าง 18 -20 ปี ใช้เกณฑ์เช่นเดียวกัน เพียงแต่เพิ่มจำนวนจิตแพทย์จาก 2 คน เป็น 3 คน และจะต้องให้พ่อแม่ ผู้ปกครองอนุญาต เนื่องจากยังไม่บรรลุนิติภาวะ ส่วนผู้ที่อายุต่ำกว่า 18 ปี เบื้องต้นเห็นว่าไม่สมควรที่จะผ่าตัดแปลงเพศ อย่างไรก็ตาม ในวันที่ 6 พ.ค.นี้ คณะอนุกรรมการฯจะประชุมร่วมกันอีกครั้ง เพื่อรับฟังความเห็นจากวงกว้าง ทั้งราชวิทยาลัยจิตแพทย์แห่งประเทศไทย ราชวิทยาลัยศัลยแพทย์แห่งประเทศไทย ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย และราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทย และผู้เชี่ยวชาญแต่ละสาขา ที่อาจจะมีข้อมูลใหม่ๆมาเสนอต่อแพทยสภา จากนั้นในวันที่ 10 พ.ค.จะนำเสนอข้อสรุปทั้งหมดเข้าสู่ที่ประชุมคณะกรรมการแพทยสภาเพื่อชี้ขาดหลักเกณฑ์การแปลงเพศ
“คำว่าทำศัลยกรรมแปลงเพศ รวมถึง กรณีการตัดไข่หรือตัดอัณฑะ ก็จะต้องใช้หลักเกณฑ์เดียวกันนี้ เพราะเห็นว่าแม้ทำการตัดเพียงอัณฑะออกไปก็ส่งผลกระทบต่อร่างกายมากมายเช่นเดียวกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการขาดความเป็นชาย จนไม่สามารถมีทายาทสืบสกุลได้ และเสี่ยงต่อโรคต่างๆที่อาจจะเกิดขึ้น”นพ.อำนาจกล่าว
นพ.อำนาจ กล่าวอีกว่า ที่ผ่านมาแพทยสภายังไม่มีมติสั่งห้ามแพทย์ทำการผ่าตัดอัณฑะ เนื่องจากไม่มีอำนาจในการไปสั่งหรือบอกให้แพทย์ทำหรือไม่ทำอะไร เพียงบอกว่าการผ่าตัดอัณฑะเสี่ยงต่อการผิดจริยธรรมของแพทยสภา หากมีการร้องเรียนมายังแพทยสภาก็จะต้องพิจารณาเป็นรายๆ ไป ซึ่งกรณีของ นพ.เทพ เวชวิสิฐ เจ้าของประตูน้ำโพลีคลีนิค ที่ยอมรับว่าผ่าตัดอัณฑะมาแล้วอย่างน้อย 300 ราย แพทยสภาได้รับการร้องเรียนจากกระทรวงสาธารณสุข(สธ.)แล้ว กำลังอยู่ในกระบวนการพิจารณาซึ่งจำเป็นต้องใช้ระยะเวลา และเปิดโอกาสให้ผู้ถูกร้องเรียนเข้าชี้แจง อาจจะด้วยตนเองหรือเอกสารก็ได้ โดยขณะนี้ดำเนินการถึงขั้นตอนของการขอข้อมูลเอกสารหลักฐานจากผู้ถูกร้องเรียน