“หมอวิชัย” ชี้ตั้งคณะกรรมการร่วมตามยูเอสทีอาร์เสนอ อาจเป็นหลุมพรางให้ทำซีแอลยากขึ้น เอ็นจีโอหนุนไม่ควรตั้ง กก.ร่วม ชุดเดิมก็มีอยู่แล้ว “ไชยา” กวนแกล้งไขสือ ไม่รู้จีนขอข้อมูลทำซีแอล โยนให้ถาม “หมอมงคล” คนเริ่มทำซีแอลแทน
นพ.วิชัย โชควิวัฒน อดีตประธานคณะกรรมการสนับสนุนการดำเนินงานเกี่ยวกับการใช้สิทธิตามสิทธิบัตร กล่าวว่า กระทรวงสาธารณสุข (สธ.)ไม่ควรตั้งคณะกรรมการร่วมกันการระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ และตัวแทนของผู้ประกอบการบริษัทยาข้ามชาติในการแก้ไขปัญหาการเข้าถึงยาร่วมกัน ตามที่สมาคมผู้แทนการค้าสหรัฐฯ (ยูเอสทีอาร์) ได้เสนอ เพราะจะเป็นหลุมพรางให้ สธ.ดำเนินการประกาศบังคับใช้สิทธิเหนือสิทธิบัตร (ซีแอล) ตามมาตรา 51 ได้ยากยิ่งขึ้น ทั้งที่ความเป็นจริงเป็นอำนาจในการตัดสินใจภายในของประเทศไทย อีกทั้งที่ผ่านมาเราก็มีคณะกรรมการทำงานร่วมกันระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ซึ่งมีองค์ประกอบจากหลายฝ่ายรวมถึงสมาคมผู้วิจัยและผลิตเภสัชภัณฑ์ (พรีมา) ด้วย
“การทำซีแอลเป็นสิทธิของไทยเรา โดยที่ไม่ต้องเจรจากับบริษัทยาก่อน การมีคณะกรรมการร่วมกันจะสร้างความยุ่งยากในการทำซีแอลให้มากยิ่งขึ้น ซึ่งโดยปกติซีแอลก็มีกระบวนการที่ดำเนินการหลายขั้นตอนอยู่แล้ว และที่ผ่านมาการประชุมทุกขั้นตอนในการทำซีแอล ก็หารือกับฝ่ายที่เกี่ยวข้องทั้งหมด ทั้งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา สภาทนายความ รวมถึงการเจรจาต่อรองกับบริษัทยา ดังนั้นจึงเป็นสิ่งที่ไม่ควรต้องทำตามกลไกที่สมาคมผู้แทนการค้าฯต้องการให้เราตกหลุมพราง ซึ่งขณะนี้คณะกรรมการชุดดังกล่าวไม่ได้มีการเรียกประชุมแต่อย่างใด เนื่องจากนโยบายเรื่องซีแอลของรมว.สาธารณสุขคนใหม่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม”นพ.วิชัย กล่าว
ด้าน นายนิมิตร์ เทียนอุดม ผู้อำนวยการมูลนิธิเข้าถึงเอดส์ กล่าวว่า สธ.ไม่ควรตั้งคณะกรรมการร่วมที่มีองค์ประกอบจากทุกภาคส่วนทั้ง สธ. สมาคมผู้วิจัยและผลิตเภสัชภัณฑ์ (พรีมา) นักวิชาการ ภาคประชาชน ฯลฯ แล้ว จึงควรใช้กลไกเดิมที่อยู่แล้ว ไม่จำเป็นต้องตั้งขึ้นมาใหม่อีก เพราะหากบริษัทยามีความจริงจังในการร่วมกันแก้ไขปัญหาการเข้าถึงยา ก็ควรจะมาตามที่ได้นัดหมายประชุมไว้ และคุยกันในวงประชุม ทั้งนี้คณะกรรมการร่วมก็ไม่ได้ทำหน้าที่ในการตัดสินชี้ขาดว่าจะทำซีแอลหรือไม่ เพราะเป็นที่ทราบกันดีแล้วว่า การทำซีแอลไม่จำเป็นต้องขออนุญาตใคร การมีกรรมการเพื่อปรึกษาหารือกันก่อนเท่านั้นว่าจะแก้ไขปัญหาอย่างไร แต่เมื่อแก้ไขไม่ได้ก็เป็นอำนาจเด็ดขาดของเราที่จะทำซีแอล
ขณะที่ นายไชยา สะสมทรัพย์ รมว.สาธารณสุข กล่าวถึงกรณีที่รัฐบาลจีนจะส่งเจ้าหน้าที่มาไทยเพื่อขอข้อมูลในกระบวนการทำซีแอลของไทยว่าดำเนินการอย่างไร รวมถึงข้อดีข้อเสีย เพราะรัฐบาลจีนเห็นว่า เป็นสิทธิที่รัฐบาลแต่ละประเทศดำเนินการได้ และไม่ขัดต่อข้อตกลงขององค์การการค้าโลก และสนับสนุนให้ไทยทำซีแอลว่า ไม่ทราบรายละเอียดในเรื่องดังกล่าว เพราะไม่ได้เป็นผู้ริเริ่มการทำซีแอล คงต้องไปหารือ นพ.มงคล ณ สงขลา อดีต รมว.สาธารณสุข ผู้ตัดสินใจดำเนินการแทน
นพ.วิชัย โชควิวัฒน อดีตประธานคณะกรรมการสนับสนุนการดำเนินงานเกี่ยวกับการใช้สิทธิตามสิทธิบัตร กล่าวว่า กระทรวงสาธารณสุข (สธ.)ไม่ควรตั้งคณะกรรมการร่วมกันการระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ และตัวแทนของผู้ประกอบการบริษัทยาข้ามชาติในการแก้ไขปัญหาการเข้าถึงยาร่วมกัน ตามที่สมาคมผู้แทนการค้าสหรัฐฯ (ยูเอสทีอาร์) ได้เสนอ เพราะจะเป็นหลุมพรางให้ สธ.ดำเนินการประกาศบังคับใช้สิทธิเหนือสิทธิบัตร (ซีแอล) ตามมาตรา 51 ได้ยากยิ่งขึ้น ทั้งที่ความเป็นจริงเป็นอำนาจในการตัดสินใจภายในของประเทศไทย อีกทั้งที่ผ่านมาเราก็มีคณะกรรมการทำงานร่วมกันระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ซึ่งมีองค์ประกอบจากหลายฝ่ายรวมถึงสมาคมผู้วิจัยและผลิตเภสัชภัณฑ์ (พรีมา) ด้วย
“การทำซีแอลเป็นสิทธิของไทยเรา โดยที่ไม่ต้องเจรจากับบริษัทยาก่อน การมีคณะกรรมการร่วมกันจะสร้างความยุ่งยากในการทำซีแอลให้มากยิ่งขึ้น ซึ่งโดยปกติซีแอลก็มีกระบวนการที่ดำเนินการหลายขั้นตอนอยู่แล้ว และที่ผ่านมาการประชุมทุกขั้นตอนในการทำซีแอล ก็หารือกับฝ่ายที่เกี่ยวข้องทั้งหมด ทั้งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา สภาทนายความ รวมถึงการเจรจาต่อรองกับบริษัทยา ดังนั้นจึงเป็นสิ่งที่ไม่ควรต้องทำตามกลไกที่สมาคมผู้แทนการค้าฯต้องการให้เราตกหลุมพราง ซึ่งขณะนี้คณะกรรมการชุดดังกล่าวไม่ได้มีการเรียกประชุมแต่อย่างใด เนื่องจากนโยบายเรื่องซีแอลของรมว.สาธารณสุขคนใหม่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม”นพ.วิชัย กล่าว
ด้าน นายนิมิตร์ เทียนอุดม ผู้อำนวยการมูลนิธิเข้าถึงเอดส์ กล่าวว่า สธ.ไม่ควรตั้งคณะกรรมการร่วมที่มีองค์ประกอบจากทุกภาคส่วนทั้ง สธ. สมาคมผู้วิจัยและผลิตเภสัชภัณฑ์ (พรีมา) นักวิชาการ ภาคประชาชน ฯลฯ แล้ว จึงควรใช้กลไกเดิมที่อยู่แล้ว ไม่จำเป็นต้องตั้งขึ้นมาใหม่อีก เพราะหากบริษัทยามีความจริงจังในการร่วมกันแก้ไขปัญหาการเข้าถึงยา ก็ควรจะมาตามที่ได้นัดหมายประชุมไว้ และคุยกันในวงประชุม ทั้งนี้คณะกรรมการร่วมก็ไม่ได้ทำหน้าที่ในการตัดสินชี้ขาดว่าจะทำซีแอลหรือไม่ เพราะเป็นที่ทราบกันดีแล้วว่า การทำซีแอลไม่จำเป็นต้องขออนุญาตใคร การมีกรรมการเพื่อปรึกษาหารือกันก่อนเท่านั้นว่าจะแก้ไขปัญหาอย่างไร แต่เมื่อแก้ไขไม่ได้ก็เป็นอำนาจเด็ดขาดของเราที่จะทำซีแอล
ขณะที่ นายไชยา สะสมทรัพย์ รมว.สาธารณสุข กล่าวถึงกรณีที่รัฐบาลจีนจะส่งเจ้าหน้าที่มาไทยเพื่อขอข้อมูลในกระบวนการทำซีแอลของไทยว่าดำเนินการอย่างไร รวมถึงข้อดีข้อเสีย เพราะรัฐบาลจีนเห็นว่า เป็นสิทธิที่รัฐบาลแต่ละประเทศดำเนินการได้ และไม่ขัดต่อข้อตกลงขององค์การการค้าโลก และสนับสนุนให้ไทยทำซีแอลว่า ไม่ทราบรายละเอียดในเรื่องดังกล่าว เพราะไม่ได้เป็นผู้ริเริ่มการทำซีแอล คงต้องไปหารือ นพ.มงคล ณ สงขลา อดีต รมว.สาธารณสุข ผู้ตัดสินใจดำเนินการแทน