เครือข่ายผู้ป่วยโรคไต บุกประกันสังคม 26 มี.ค.นี้ ขู่ไม่เพิ่มสิทธิประโยชน์ครอบคลุมผู้ป่วยไตวายเรื้อรังเท่าเทียมกัน ฟ้องศาลปกครองแน่ “สารี” จวกบอร์ดบริหาร สปส.ไร้ประสิทธิภาพ จี้แก้ไขสัดส่วนบอร์ด สปส.เพิ่มโควตาผู้ประกันตนมากขึ้นเพราะจ่ายเงินให้ทุกเดือน
วานนี้ (25 มี.ค.) นายสุบิล นกสกุล ประธานชมรมเพื่อนโรคไต กล่าวว่า ในวันที่ 26 มีนาคมนี้ เวลา 10.00 น.กลุ่มผู้ป่วยโรคไต มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค และภาคีเครือข่าย ไม่ต่ำกว่า 200 คน จะเดินทางไปที่สำนักงานประกันสังคม (สปส.) เพื่อยื่นหนังสือถึง นายจุรินทร์ จิรวิศิษฏ์ เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม เรียกร้องให้ สปส.ดูแลผู้ประกันตนซึ่งป่วยเป็นโรคไตวาย ประมาณ 1,000 คน ที่ยังไม่ได้รับสิทธิประโยชน์ครอบคลุม ทั้งการฟอกเลือด เปลี่ยนไต ล้างไตผ่านช่องท้อง เนื่องจากผู้ประกันตนที่ป่วยก่อนเข้าทำงานได้รับสิทธิเพียงค่ายา และเจาะเลือดเท่านั้น ขณะที่ยาฉีดกระตุ้นเม็ดเลือด บางโรงพยาบาลมีให้บริการขณะที่บางโรงพยาบาลไม่มี เป็นความเหลื่อมล้ำและไม่มีความชัดเจน ไม่ถือเป็นมาตรฐานเดียวกัน
“ก่อนหน้านี้ เคยไปร้องเรียนที่ สปส.มาแล้วครั้งหนึ่ง โดยรองเลขาขาธิการ สปส.รับปากว่า หากผู้ป่วยบัตรทองได้รับสิทธิในการรักษาโรคไต ก็จะให้สิทธินี้กับผู้ป่วยประกันสังคมเช่นเดียวกัน ก็รอฟังคำตอบมาตลอดจนตอนนี้ 7 เดือนแล้ว ก็ยังไม่มีนโยบายนี้ หรือให้คำตอบที่ชัดเจน การเรียกร้องครั้งนี้เพื่อให้เกิดความเสมอภาคกัน เพราะยังมีความเหลื่อมล้ำกันอย่างเห็นได้ชัดเจน ผู้ประกันตนที่ป่วยก่อนเข้าสู่ประกันสังคมก็ถูกหักเงินเข้ากองทุนเหมือนๆ กัน แต่เมื่อพิจารณาแล้วหากให้มีการร่วมจ่ายเพิ่มก็ไม่ว่าอะไร อย่างไรก็ตาม หลังจากมีการเจรจาหารือกันเรียบร้อยแล้ว ยังไม่มีการดำเนินการใดๆ ก็จะหารือกันเพื่อเตรียมฟ้องร้องต่อศาลปกครองแน่นอน” นายสุบิล กล่าว
ด้าน น.ส.สารี อ๋องสมหวัง ผู้จัดการมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค กล่าวว่า มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ได้รับร้องเรียนจำนวนมากเกี่ยวกับสปส.คือ เรื่องมาตรฐานและการให้บริการของสถานพยาบาล รองลงมาคือ เรื่องสิทธิประโยชน์ที่ไม่ครอบคลุมทุกโรค ทั้งที่ผู้ประกันตนและนายจ้างจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนเป็นประจำทุกเดือนเป็นจำนวนมาก นอกจากนี้ มีบริษัทเอกชน 2 แห่ง แต่ละแห่งมีพนักงานในบริษัทจำนวนมากเป็นหลักร้อย ได้ร้องเรียนเรื่องความไม่คุ้มค่าของจ่ายเงินเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคม ทั้งที่แต่ละปีบริษัทต้องจ่ายเงินสมทบนับล้านบาทเข้ากองทุนประกันสังคม ส่วนลูกจ้าง ผู้ประกันตนจ่ายเงินสบทบเทียบเท่าการทำประกันชีวิตชั้น 1 แต่กลับได้รับสิทธิประโยชน์น้อยมาก โดยลูกจ้างส่วนใหญ่แทบไม่ได้ใช้ประโยชน์ในระบบประกันสังคมเลย ทั้งๆ ที่ควรได้รับการดูแลอย่างดี
น.ส.สารี กล่าวอีกว่า ก่อนหน้านี้ ได้เคยเรียกร้องได้ สปส.และสำนักงานหลัประกันสุขภาพถ้วนหน้า (สปสช.) ให้ขยายสิทธิประโยชน์คุ้มครองผู้ป่วยไตวายระยะสุดท้าย ซึ่งขณะนี้สปสช.ได้ให้ความดูแลผู้ป่วยไตวายครอบคลุมทุกรายแล้วตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2551 แต่ของ สปส.จนถึงขณะนี้ยังไม่มีคำตอบกลับมาเลย โดยเฉพาะผู้ป่วยไตวายในระบบประกันสังคมที่เป็นโรคก่อนการทำงาน ยังไม่ได้รับสิทธิครอบคลุม มีเพียงผู้ประกันตนที่เป็นโรคหลังจากทำงานแล้วเท่านั้นที่ได้รับการดูแล ทำให้แรงงานที่ป่วยต้องลาออกจากงานเพื่อใช้สิทธิบัตรทอง กลายเป็นภาระในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า
“สิ่งที่เกิดขึ้นสะท้อนให้เห็นถึงความล้มเหลวในการบริการ สปส.ที่ไม่มีประสิทธิภาพ การบริการงานล้าหลังมาก แสดงให้เห็นว่า สปส.ไม่มีความจริงใจ ไม่สนใจดูแลผู้ประกันตนทั้งที่มีผู้ประกันตนต้องดูแลเพียง 10 กว่าล้านคนเท่านั้น ยังไม่สามารถให้สิทธิประโยชน์ที่จำเป็นได้เลย เทียบไม่ได้กับ สปสช.ที่ดูแลผู้ป่วยมากถึง 41 ล้านคน แต่กลับมีสิทธิประโยชน์รักษาโรคได้มากมายเกือบทุกโรคแล้ว นี่ยังไม่นับรวมถึงเรื่องการประกาศบังคับใช้สิทธิเหนือสิทธิบัตรโดยรัฐ (ซีแอล) ยารักษาโรคมะเร็ง ที่ สปส.ปฏิเสธไม่รวมกับ สปสช.ทั้งที่เป็นวิธีที่ทำให้ประหยัดงบประมาณไม่ต้องจัดซื้อยาราคาแพง และผู้ประกันตนก็ได้ประโยชน์ได้รับยารักษามะเร็งอย่างทั่วถึง แต่ สปส.ก็ไม่ดำเนินการใดใดทั้งสิ้น” น.ส.สารี กล่าว
น.ส.สารี กล่าวว่า เคยมีกรณีหนึ่งที่ผู้ประกันตนถูกปฏิเสธในการรักษาพยาบาลทั้งที่เป็นการตรวจโรคง่ายๆ ไม่ยุ่งยาก โดยผู้ประกันตนไปเที่ยวป่าต่อมามีอาการป่วยเป็นไข้ จึงสงสัยว่าจะเป็นติดเชื้อมาลาเรีย จึงไปหาแพทย์โดยใช้สิทธิประกันสังคม แต่แพทย์กลับไม่ยอมเจาะเลือดตรวจหาเชื้อมาลาเรียให้บอกว่าประกันสังคมไม่ครอบคลุม สุดท้ายผู้ป่วยรายดังกล่าวต้องไปหาแพทย์ที่อื่นโดยเสียเงินค่ารักษาเอง ซึ่งผลการตรวจเลือดพบว่าเป็นโรคมาลาเรียจริง สิ่งที่เกิดขึ้นถือว่าแย่มาก
น.ส.สารี กล่าวว่า ปัญหาที่เกิดขึ้นภายใน สปส.มาจากคณะกรรมการบริหาร (บอร์ด) สปส.ไม่มีประสิทธิภาพ ไม่มีความเป็นอิสระถูกครอบงำโดยผู้บริหาร สปส.และภาคการเมืองมากเกินไป ขณะเดียวกัน ในกรรมการ สปส.มีลักษณะเป็นไตรภาคี ซึ่งมีสัดส่วนของลูกจ้าง ผู้ประกันตนน้อยมาก ทั้งที่กองทุนประกันสังคมเป็นเรื่องสิทธิประโยชน์ของผู้ประกันตนที่จ่ายเงินสมทบเป็นประจำทุกเดือน ดังนั้น จึงควรมีสัดส่วนของผู้ประกันตนเพิ่มมากขึ้น
วานนี้ (25 มี.ค.) นายสุบิล นกสกุล ประธานชมรมเพื่อนโรคไต กล่าวว่า ในวันที่ 26 มีนาคมนี้ เวลา 10.00 น.กลุ่มผู้ป่วยโรคไต มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค และภาคีเครือข่าย ไม่ต่ำกว่า 200 คน จะเดินทางไปที่สำนักงานประกันสังคม (สปส.) เพื่อยื่นหนังสือถึง นายจุรินทร์ จิรวิศิษฏ์ เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม เรียกร้องให้ สปส.ดูแลผู้ประกันตนซึ่งป่วยเป็นโรคไตวาย ประมาณ 1,000 คน ที่ยังไม่ได้รับสิทธิประโยชน์ครอบคลุม ทั้งการฟอกเลือด เปลี่ยนไต ล้างไตผ่านช่องท้อง เนื่องจากผู้ประกันตนที่ป่วยก่อนเข้าทำงานได้รับสิทธิเพียงค่ายา และเจาะเลือดเท่านั้น ขณะที่ยาฉีดกระตุ้นเม็ดเลือด บางโรงพยาบาลมีให้บริการขณะที่บางโรงพยาบาลไม่มี เป็นความเหลื่อมล้ำและไม่มีความชัดเจน ไม่ถือเป็นมาตรฐานเดียวกัน
“ก่อนหน้านี้ เคยไปร้องเรียนที่ สปส.มาแล้วครั้งหนึ่ง โดยรองเลขาขาธิการ สปส.รับปากว่า หากผู้ป่วยบัตรทองได้รับสิทธิในการรักษาโรคไต ก็จะให้สิทธินี้กับผู้ป่วยประกันสังคมเช่นเดียวกัน ก็รอฟังคำตอบมาตลอดจนตอนนี้ 7 เดือนแล้ว ก็ยังไม่มีนโยบายนี้ หรือให้คำตอบที่ชัดเจน การเรียกร้องครั้งนี้เพื่อให้เกิดความเสมอภาคกัน เพราะยังมีความเหลื่อมล้ำกันอย่างเห็นได้ชัดเจน ผู้ประกันตนที่ป่วยก่อนเข้าสู่ประกันสังคมก็ถูกหักเงินเข้ากองทุนเหมือนๆ กัน แต่เมื่อพิจารณาแล้วหากให้มีการร่วมจ่ายเพิ่มก็ไม่ว่าอะไร อย่างไรก็ตาม หลังจากมีการเจรจาหารือกันเรียบร้อยแล้ว ยังไม่มีการดำเนินการใดๆ ก็จะหารือกันเพื่อเตรียมฟ้องร้องต่อศาลปกครองแน่นอน” นายสุบิล กล่าว
ด้าน น.ส.สารี อ๋องสมหวัง ผู้จัดการมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค กล่าวว่า มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ได้รับร้องเรียนจำนวนมากเกี่ยวกับสปส.คือ เรื่องมาตรฐานและการให้บริการของสถานพยาบาล รองลงมาคือ เรื่องสิทธิประโยชน์ที่ไม่ครอบคลุมทุกโรค ทั้งที่ผู้ประกันตนและนายจ้างจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนเป็นประจำทุกเดือนเป็นจำนวนมาก นอกจากนี้ มีบริษัทเอกชน 2 แห่ง แต่ละแห่งมีพนักงานในบริษัทจำนวนมากเป็นหลักร้อย ได้ร้องเรียนเรื่องความไม่คุ้มค่าของจ่ายเงินเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคม ทั้งที่แต่ละปีบริษัทต้องจ่ายเงินสมทบนับล้านบาทเข้ากองทุนประกันสังคม ส่วนลูกจ้าง ผู้ประกันตนจ่ายเงินสบทบเทียบเท่าการทำประกันชีวิตชั้น 1 แต่กลับได้รับสิทธิประโยชน์น้อยมาก โดยลูกจ้างส่วนใหญ่แทบไม่ได้ใช้ประโยชน์ในระบบประกันสังคมเลย ทั้งๆ ที่ควรได้รับการดูแลอย่างดี
น.ส.สารี กล่าวอีกว่า ก่อนหน้านี้ ได้เคยเรียกร้องได้ สปส.และสำนักงานหลัประกันสุขภาพถ้วนหน้า (สปสช.) ให้ขยายสิทธิประโยชน์คุ้มครองผู้ป่วยไตวายระยะสุดท้าย ซึ่งขณะนี้สปสช.ได้ให้ความดูแลผู้ป่วยไตวายครอบคลุมทุกรายแล้วตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2551 แต่ของ สปส.จนถึงขณะนี้ยังไม่มีคำตอบกลับมาเลย โดยเฉพาะผู้ป่วยไตวายในระบบประกันสังคมที่เป็นโรคก่อนการทำงาน ยังไม่ได้รับสิทธิครอบคลุม มีเพียงผู้ประกันตนที่เป็นโรคหลังจากทำงานแล้วเท่านั้นที่ได้รับการดูแล ทำให้แรงงานที่ป่วยต้องลาออกจากงานเพื่อใช้สิทธิบัตรทอง กลายเป็นภาระในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า
“สิ่งที่เกิดขึ้นสะท้อนให้เห็นถึงความล้มเหลวในการบริการ สปส.ที่ไม่มีประสิทธิภาพ การบริการงานล้าหลังมาก แสดงให้เห็นว่า สปส.ไม่มีความจริงใจ ไม่สนใจดูแลผู้ประกันตนทั้งที่มีผู้ประกันตนต้องดูแลเพียง 10 กว่าล้านคนเท่านั้น ยังไม่สามารถให้สิทธิประโยชน์ที่จำเป็นได้เลย เทียบไม่ได้กับ สปสช.ที่ดูแลผู้ป่วยมากถึง 41 ล้านคน แต่กลับมีสิทธิประโยชน์รักษาโรคได้มากมายเกือบทุกโรคแล้ว นี่ยังไม่นับรวมถึงเรื่องการประกาศบังคับใช้สิทธิเหนือสิทธิบัตรโดยรัฐ (ซีแอล) ยารักษาโรคมะเร็ง ที่ สปส.ปฏิเสธไม่รวมกับ สปสช.ทั้งที่เป็นวิธีที่ทำให้ประหยัดงบประมาณไม่ต้องจัดซื้อยาราคาแพง และผู้ประกันตนก็ได้ประโยชน์ได้รับยารักษามะเร็งอย่างทั่วถึง แต่ สปส.ก็ไม่ดำเนินการใดใดทั้งสิ้น” น.ส.สารี กล่าว
น.ส.สารี กล่าวว่า เคยมีกรณีหนึ่งที่ผู้ประกันตนถูกปฏิเสธในการรักษาพยาบาลทั้งที่เป็นการตรวจโรคง่ายๆ ไม่ยุ่งยาก โดยผู้ประกันตนไปเที่ยวป่าต่อมามีอาการป่วยเป็นไข้ จึงสงสัยว่าจะเป็นติดเชื้อมาลาเรีย จึงไปหาแพทย์โดยใช้สิทธิประกันสังคม แต่แพทย์กลับไม่ยอมเจาะเลือดตรวจหาเชื้อมาลาเรียให้บอกว่าประกันสังคมไม่ครอบคลุม สุดท้ายผู้ป่วยรายดังกล่าวต้องไปหาแพทย์ที่อื่นโดยเสียเงินค่ารักษาเอง ซึ่งผลการตรวจเลือดพบว่าเป็นโรคมาลาเรียจริง สิ่งที่เกิดขึ้นถือว่าแย่มาก
น.ส.สารี กล่าวว่า ปัญหาที่เกิดขึ้นภายใน สปส.มาจากคณะกรรมการบริหาร (บอร์ด) สปส.ไม่มีประสิทธิภาพ ไม่มีความเป็นอิสระถูกครอบงำโดยผู้บริหาร สปส.และภาคการเมืองมากเกินไป ขณะเดียวกัน ในกรรมการ สปส.มีลักษณะเป็นไตรภาคี ซึ่งมีสัดส่วนของลูกจ้าง ผู้ประกันตนน้อยมาก ทั้งที่กองทุนประกันสังคมเป็นเรื่องสิทธิประโยชน์ของผู้ประกันตนที่จ่ายเงินสมทบเป็นประจำทุกเดือน ดังนั้น จึงควรมีสัดส่วนของผู้ประกันตนเพิ่มมากขึ้น