แพทยสภาเผย 2 เดือนแรก ปี 51 มีเรื่องร้องเรียนจริยธรรมแพทย์ลดลง ระบุ มีร้องแค่ 7 ราย เทียบกับปีที่แล้วร้องจำนวน 193 ราย ส่วนใหญ่ร้องมาตรฐานการประกอบวิชาชีพ
นพ.อำนาจ กุสลานันท์ เลขาธิการแพทยสภา กล่าวภายหลังประชุมกรรมการแพทยสภาประจำเดือนมีนาคมว่า ที่ประชุมวันนี้ (13 มี.ค.) ได้พิจารณาปรับวิธีการสอบใบอนุญาตประกอบวิชาชีพเวชกรรมของแพทย์ ซึ่งพิจารณาปรับปรุงการสอบร่วมกับคณบดีคณะแพทยศาสตร์ 16 สถาบัน ปลัดกระทรวงสาธารณสุข อธิบดีกรมต่างๆ ที่เป็นกรรมการ เพื่อให้การสอบมีความคล่องตัว แต่คงไว้ซึ่งมาตรฐานเดียวกันทั้งประเทศ โดยจัดสอบ 3 ขั้นตอน ซึ่งยังไม่ได้ข้อสรุปในรายละเอียด อย่างไรก็ตาม นักศึกษาแพทย์ที่เรียนในไทยและต่างประเทศต้องสอบเพื่อรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพเวชกรรม ซึ่งกรรมการแพทยสภาจะพิจารณากำหนดอายุของใบอนุญาตต่อไป
นอกจากนี้ ที่ประชุมได้ติดตามความก้าวหน้าการนำเสนอร่าง พ.ร.บ.ยา ว่า มีอะไรเปลี่ยนแปลงไปบ้าง ขณะนี้ ร่าง พ.ร.บ.ยา อยู่ในชั้นการพิจารณาของกฤษฎีกา โดยแพทยสภาส่งผู้แทนร่วมประชุมเพื่อปรับปรุงหลายประเด็น เช่น กรณีแพทย์ผิวหนังจะปรุงยาเองได้หรือไม่ เนื่องจากยาบางอย่างไม่ได้ผลิตในระดับโรงงาน ตามเกณฑ์พิจารณาเพื่อให้ได้มาตรฐาน
ด้านนพ.ไพโรจน์ บุญศิริคำชัย ผู้ช่วยเลขาธิการแพทยสภาด้านกฎหมาย กล่าวว่า การพิจารณาเรื่องร้องเรียนกรณีไบโอเทคนิคเสริมความงามนั้น มีผู้ร้องเรียนมาที่แพทยสภา 6 คดี คณะอนุกรรมการสอบข้อเท็จจริง พบว่า มีมูล ได้ส่งเข้าคณะกรรมการจริยธรรมชุดใหญ่พิจารณา มีมติส่งให้อนุกรรมการสอบสวน อย่างไรก็ตาม คงต้องใช้เวลาพอสมควรเพราะมีข้อมูลมาก และเป็นเรื่องทางวิชาการซึ่งบางประเด็นต้องรอข้อมูลจากต่างประเทศ
ทั้งนี้ ปัจจุบันมีเรื่องร้องเรียนลดลงและทางแพทยสภาแนะนำให้ผู้เสียหายรับความช่วยเหลือตามมาตรา 41 กรณีใช้สิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติซึ่งเยียวยาสูงสุด 200,000 บาท ทำให้ผู้ร้องรู้สึกพอใจ
“ความผิดที่ร้องเรียนมามาก คือ เรื่องมาตรฐานการประกอบวิชาชีพเวชกรรม เมื่อมีความผิดเกิดขึ้น แพทยสภาดูว่า แพทย์ได้รักษาตามมาตรฐานแล้วหรือไม่ เวลาแพทย์ที่โรงพยาบาลพูดเกี่ยวกับการรักษาถูกต้องตามวิชาชีพหรือไม่ นอกจากนั้น มีการร้องเรียนด้านการโฆษณา ความผิดจริยธรรมอื่น ๆ แต่คดีลดลงมาก จากปี 2550 มี 193 คดี ปีนี้ช่วง 2 เดือนแรกมีแค่ 7 คดีเท่านั้นโดยเดือนมกราคม มี 5 คดี เดือนกุมภาพันธ์มี 2 คดี” นพ.ไพโรจน์ กล่าว
ส่วนน.อ.(พิเศษ) นพ.อิทธพร คณะเจริญ ผู้ช่วยเลขาธิการแพทยสภา ด้านบริหารและเทคโนโลยีสารสนเทศ กล่าวว่า กรณีที่ตกเป็นข่าวล่าสุด ว่า มีหญิงตั้งครรภ์เข้ารับการผ่าคลอดในโรงพยาบาลเอกชนแล้วตกเลือดเสียชีวิต แต่ทารกรอดชีวิตนั้น จนถึงขณะนี้ทางสามีของผู้เสียชีวิต ยังไม่ได้มาร้องทุกข์ที่แพทยสภาตามที่ปรากฏเป็นข่าว ซึ่งทางแพทยสภาก็รออยู่ อย่างไรก็ตาม หากไม่มาร้อง ทางแพทยสภามีอนุกรรมการจริยธรรมพิจารณาเรื่องที่เป็นข่าวทางสื่อมวลชนอยู่แล้ว
นพ.อำนาจ กุสลานันท์ เลขาธิการแพทยสภา กล่าวภายหลังประชุมกรรมการแพทยสภาประจำเดือนมีนาคมว่า ที่ประชุมวันนี้ (13 มี.ค.) ได้พิจารณาปรับวิธีการสอบใบอนุญาตประกอบวิชาชีพเวชกรรมของแพทย์ ซึ่งพิจารณาปรับปรุงการสอบร่วมกับคณบดีคณะแพทยศาสตร์ 16 สถาบัน ปลัดกระทรวงสาธารณสุข อธิบดีกรมต่างๆ ที่เป็นกรรมการ เพื่อให้การสอบมีความคล่องตัว แต่คงไว้ซึ่งมาตรฐานเดียวกันทั้งประเทศ โดยจัดสอบ 3 ขั้นตอน ซึ่งยังไม่ได้ข้อสรุปในรายละเอียด อย่างไรก็ตาม นักศึกษาแพทย์ที่เรียนในไทยและต่างประเทศต้องสอบเพื่อรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพเวชกรรม ซึ่งกรรมการแพทยสภาจะพิจารณากำหนดอายุของใบอนุญาตต่อไป
นอกจากนี้ ที่ประชุมได้ติดตามความก้าวหน้าการนำเสนอร่าง พ.ร.บ.ยา ว่า มีอะไรเปลี่ยนแปลงไปบ้าง ขณะนี้ ร่าง พ.ร.บ.ยา อยู่ในชั้นการพิจารณาของกฤษฎีกา โดยแพทยสภาส่งผู้แทนร่วมประชุมเพื่อปรับปรุงหลายประเด็น เช่น กรณีแพทย์ผิวหนังจะปรุงยาเองได้หรือไม่ เนื่องจากยาบางอย่างไม่ได้ผลิตในระดับโรงงาน ตามเกณฑ์พิจารณาเพื่อให้ได้มาตรฐาน
ด้านนพ.ไพโรจน์ บุญศิริคำชัย ผู้ช่วยเลขาธิการแพทยสภาด้านกฎหมาย กล่าวว่า การพิจารณาเรื่องร้องเรียนกรณีไบโอเทคนิคเสริมความงามนั้น มีผู้ร้องเรียนมาที่แพทยสภา 6 คดี คณะอนุกรรมการสอบข้อเท็จจริง พบว่า มีมูล ได้ส่งเข้าคณะกรรมการจริยธรรมชุดใหญ่พิจารณา มีมติส่งให้อนุกรรมการสอบสวน อย่างไรก็ตาม คงต้องใช้เวลาพอสมควรเพราะมีข้อมูลมาก และเป็นเรื่องทางวิชาการซึ่งบางประเด็นต้องรอข้อมูลจากต่างประเทศ
ทั้งนี้ ปัจจุบันมีเรื่องร้องเรียนลดลงและทางแพทยสภาแนะนำให้ผู้เสียหายรับความช่วยเหลือตามมาตรา 41 กรณีใช้สิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติซึ่งเยียวยาสูงสุด 200,000 บาท ทำให้ผู้ร้องรู้สึกพอใจ
“ความผิดที่ร้องเรียนมามาก คือ เรื่องมาตรฐานการประกอบวิชาชีพเวชกรรม เมื่อมีความผิดเกิดขึ้น แพทยสภาดูว่า แพทย์ได้รักษาตามมาตรฐานแล้วหรือไม่ เวลาแพทย์ที่โรงพยาบาลพูดเกี่ยวกับการรักษาถูกต้องตามวิชาชีพหรือไม่ นอกจากนั้น มีการร้องเรียนด้านการโฆษณา ความผิดจริยธรรมอื่น ๆ แต่คดีลดลงมาก จากปี 2550 มี 193 คดี ปีนี้ช่วง 2 เดือนแรกมีแค่ 7 คดีเท่านั้นโดยเดือนมกราคม มี 5 คดี เดือนกุมภาพันธ์มี 2 คดี” นพ.ไพโรจน์ กล่าว
ส่วนน.อ.(พิเศษ) นพ.อิทธพร คณะเจริญ ผู้ช่วยเลขาธิการแพทยสภา ด้านบริหารและเทคโนโลยีสารสนเทศ กล่าวว่า กรณีที่ตกเป็นข่าวล่าสุด ว่า มีหญิงตั้งครรภ์เข้ารับการผ่าคลอดในโรงพยาบาลเอกชนแล้วตกเลือดเสียชีวิต แต่ทารกรอดชีวิตนั้น จนถึงขณะนี้ทางสามีของผู้เสียชีวิต ยังไม่ได้มาร้องทุกข์ที่แพทยสภาตามที่ปรากฏเป็นข่าว ซึ่งทางแพทยสภาก็รออยู่ อย่างไรก็ตาม หากไม่มาร้อง ทางแพทยสภามีอนุกรรมการจริยธรรมพิจารณาเรื่องที่เป็นข่าวทางสื่อมวลชนอยู่แล้ว