สพฐ.สานนโยบาย รมว.ศธ.ที่ต้องการสนองพระราชเสาวนีย์ราชินี ทำโครงการ 4 ปี ใช้งบ 300 ล้าน เพิ่มโอกาสให้เด็กบนเขา 11 จังหวัด ตั้งเป้าจบโครงการ เด็กในพื้นที่ทุกคนต้องเรียนการศึกษาภาคบังคับ พร้อมเจียดงบ 14 ล้าน พัฒนาโรงเรียนของสมเด็จพระพี่นาง
คุณหญิงกษมา วรวรรณ ณ อยุธยา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กล่าวว่า ขณะนี้ สพฐ.ได้จัดทำโครงการการศึกษาในเขตพื้นที่ภูเขาสูง ตามนโยบายของนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เพื่อสนองพระราชเสาวนีย์ ของ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระองค์ทรงห่วงการศึกษาของเด็กด้อยโอกาส เด็กชาวเขา และเด็กที่อยู่ในถิ่นทุรกันดาร
ทั้งนี้ ได้กำหนดเป้าหมายของโครงการนี้ เพื่อขยายโอกาสทางการศึกษาให้แก่เด็กที่อยู่ในพื้นที่บนเขาของ 11 จังหวัด 19 เขตพื้นที่การศึกษา ได้แก่ จังหวัดกาญจนบุรี เชียงราย เชียงใหม่ ตาก น่าน พิษณุโลก พะเยา เพชรบูรณ์ ลำปาง แม่ฮ่องสอน และอุตรดิตถ์ ซึ่งโครงการนี้ยังได้รวมถึงเด็กที่อยู่ในพื้นที่ซึ่งได้รับผลกระทบจากอ่างเก็บน้ำเหนือเขื่อนที่มีความยากลำบากในการจัดการศึกษาของ 11 จังหวัดด้วย
ในเบื้องต้น สพฐ.จะเข้าไปสำรวจพื้นที่หย่อมบ้าน หรือกลุ่มเด็กที่ต้องการได้รับการดูแลอย่างเร่งด่วน จากนั้นจึงจะเข้าไปจัดการศึกษาให้แก่เด็กได้เรียนในพื้นที่ ในลักษณะที่เหมาะสม เช่น จัดการศึกษาในลักษณะของการเปิดห้องเรียนสาขาตามหย่อมบ้านที่อยู่ห่างไกล เรียนแบบคละชั้น เมื่อ เด็กเรียนจบ ป.3 แล้วจึงไปเรียนต่อที่โรงเรียนแม่ หรือ บางพื้นที่ที่ สพฐ.เข้าไม่ถึง อาจจัดการศึกษาร่วมกับ ตชด.และ กศน. อย่างไรก็ตาม การจัดการศึกษาหลากหลายรูปแบบนี้เพื่อให้เด็กมีโอกาสเรียนจนจบการศึกษาภาคบังคับ ซึ่งบางพื้นที่ อาจจะจับมือกับอาชีวศึกษาจัดการศึกษาสายสามัญควบคู่กับสายอาชีพ เพื่อให้เด็กมีความรู้มาประกอบอาชีพได้หลังเรียนจบขั้นพื้นฐาน เพราะเด็กบางคนไม่ได้ต้องเรียนถึงมหาวิทยาลัยแต่ต้องการนำความรู้ไปประกอบอาชีพ
คุณหญิงกษมา กล่าวอีกว่า สำหรับโรงเรียนที่มีอยู่แล้ว ทาง สพฐ.จะเข้าไปปรับปรุงอาคารเรียน ปรับปรุงหอพักนักเรียนให้เพียงพอและมีสภาพดีขึ้น ขณะเดียวกันจะจัดหาครูเพิ่มให้เพียงพอ อาจใช้วิธีให้ทุนการศึกษาคนในพื้นที่ได้เรียนครูแล้วกลับมาสอนในหมู่บ้านตัวเอง ซึ่งตรงนี้จะกระตุ้นให้คนรุ่นน้องอยากเรียนด้วย
“สพฐ.ของบ 300 ล้านบาท มาใช้ในโครงการนี้ ซึ่งเป็นโครงการระยะ 4 ปีตั้งแต่ปีงบประมาณ 2551 ถึง 2554 โดยจะเสนอโครงการนี้บรรจุอยู่ในแผนปฏิบัติราชการแผ่นดิน เมื่อโครงการจบลง สพฐ.ตั้งเป้าไว้ว่า ร้อยละ 90 ของเด็กวัย 3-5 ปี ได้รับพัฒนาเตรียมความพร้อม เด็กที่อยู่ในวัยการศึกษาภาคบังคับทุกคนได้รับการศึกษาอย่างต่อเนื่องจนจบการศึกษาขั้นพื้นฐาน ร้อยละ 80 ของเด็กที่จบมัธยมต้นได้เรียนต่อมัธยมปลายในสายสามัญหรือสายอาชีพ”
จากนั้น คุณหญิงกษมา กล่าวด้วยว่า ทาง สพฐ.ยังได้จัดงบปี 51 จำนวน 14 ล้านบาท เพื่อปรับปรุงโรงเรียนในพระอุปถัมภ์ของสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ จำนวน 5 โรงเรียน ได้แก่ ร.ร.กัลยาณิวัฒนา 1 จังหวัดพิษณุโลก ร.ร.กัลยาณิวัฒนา 2 จ.หนองคาย ร.ร.วราวัฒนา จ.บุรีรัมย์ ร.ร.เฉลิมพรเกียรติกรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ บางปอประชารักษ์ จ.นราธิวาส และร.ร.วรนารีเฉลิม จ.สงขลา เพื่อสานต่อพระปณิธานและระลึกถึงสมเด็จพระพี่นางเธอฯ
ด้าน นายชัยพฤกษ์ เสรีรักษ์ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการศึกษาขั้นพื้นฐาน กล่าวเสริมว่า การปรับปรุงโรงเรียนในพระอุปถัมภ์นั้น จะปรับปรุงอาคารสถานที่ การเรียนรู้ และสุขภาพของนักเรียนในโรงเรียน สำหรับการปรับปรุงอาคารสถานที่นั้น จะให้ทุกโรงปรับปรุงอาคารพระราชทาน ที่ทรุดโทรมให้กลับมาอยู่ในสภาพดี ส่วนอาคารอื่นๆ ก็ให้ปรับปรุงเช่นเดียวกัน รวมถึงห้องส้วม นอกจากนี้จะสร้างอาคารเรียนเรียนเพิ่มในโรงเรียนกัลยาณิวัฒนา 1 และ โรงเรียนกัลยาณิวัฒนา 2
นอกจากปรับปรุงอาคาร ภูมิทัศน์โดยรอบแล้ว ยังมีแผนจัดคอมพิวเตอร์ให้เพียงพอทุกโรง หรืออย่างน้อย 15 เครื่อง และมีโครงการให้มีห้องสมุด โดย สพฐ.จะจัดสรรเงินค่าหนังสือให้ 1-2 แสนบาท จัดส่งสารานุกรมพร้อมหนังสือพระราชนิพนธ์ของพระพี่นางให้ด้วย ที่สำคัญภายในห้องสมุดจะจัดมุมเทิดประเกียรติสมเด็จพระพี่นางเธอ และเชื้อพระวงศ์ทุกพระองค์ สำหรับโรงเรียนวรนารีเฉลิม เป็นโรงเรียนขนาดใหญ่ จะพัฒนาให้เป็นศูนย์รวบรวมพระราชประวัติของสมเด็จพระพี่เจ้านางเธอฯ
คุณหญิงกษมา วรวรรณ ณ อยุธยา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กล่าวว่า ขณะนี้ สพฐ.ได้จัดทำโครงการการศึกษาในเขตพื้นที่ภูเขาสูง ตามนโยบายของนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เพื่อสนองพระราชเสาวนีย์ ของ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระองค์ทรงห่วงการศึกษาของเด็กด้อยโอกาส เด็กชาวเขา และเด็กที่อยู่ในถิ่นทุรกันดาร
ทั้งนี้ ได้กำหนดเป้าหมายของโครงการนี้ เพื่อขยายโอกาสทางการศึกษาให้แก่เด็กที่อยู่ในพื้นที่บนเขาของ 11 จังหวัด 19 เขตพื้นที่การศึกษา ได้แก่ จังหวัดกาญจนบุรี เชียงราย เชียงใหม่ ตาก น่าน พิษณุโลก พะเยา เพชรบูรณ์ ลำปาง แม่ฮ่องสอน และอุตรดิตถ์ ซึ่งโครงการนี้ยังได้รวมถึงเด็กที่อยู่ในพื้นที่ซึ่งได้รับผลกระทบจากอ่างเก็บน้ำเหนือเขื่อนที่มีความยากลำบากในการจัดการศึกษาของ 11 จังหวัดด้วย
ในเบื้องต้น สพฐ.จะเข้าไปสำรวจพื้นที่หย่อมบ้าน หรือกลุ่มเด็กที่ต้องการได้รับการดูแลอย่างเร่งด่วน จากนั้นจึงจะเข้าไปจัดการศึกษาให้แก่เด็กได้เรียนในพื้นที่ ในลักษณะที่เหมาะสม เช่น จัดการศึกษาในลักษณะของการเปิดห้องเรียนสาขาตามหย่อมบ้านที่อยู่ห่างไกล เรียนแบบคละชั้น เมื่อ เด็กเรียนจบ ป.3 แล้วจึงไปเรียนต่อที่โรงเรียนแม่ หรือ บางพื้นที่ที่ สพฐ.เข้าไม่ถึง อาจจัดการศึกษาร่วมกับ ตชด.และ กศน. อย่างไรก็ตาม การจัดการศึกษาหลากหลายรูปแบบนี้เพื่อให้เด็กมีโอกาสเรียนจนจบการศึกษาภาคบังคับ ซึ่งบางพื้นที่ อาจจะจับมือกับอาชีวศึกษาจัดการศึกษาสายสามัญควบคู่กับสายอาชีพ เพื่อให้เด็กมีความรู้มาประกอบอาชีพได้หลังเรียนจบขั้นพื้นฐาน เพราะเด็กบางคนไม่ได้ต้องเรียนถึงมหาวิทยาลัยแต่ต้องการนำความรู้ไปประกอบอาชีพ
คุณหญิงกษมา กล่าวอีกว่า สำหรับโรงเรียนที่มีอยู่แล้ว ทาง สพฐ.จะเข้าไปปรับปรุงอาคารเรียน ปรับปรุงหอพักนักเรียนให้เพียงพอและมีสภาพดีขึ้น ขณะเดียวกันจะจัดหาครูเพิ่มให้เพียงพอ อาจใช้วิธีให้ทุนการศึกษาคนในพื้นที่ได้เรียนครูแล้วกลับมาสอนในหมู่บ้านตัวเอง ซึ่งตรงนี้จะกระตุ้นให้คนรุ่นน้องอยากเรียนด้วย
“สพฐ.ของบ 300 ล้านบาท มาใช้ในโครงการนี้ ซึ่งเป็นโครงการระยะ 4 ปีตั้งแต่ปีงบประมาณ 2551 ถึง 2554 โดยจะเสนอโครงการนี้บรรจุอยู่ในแผนปฏิบัติราชการแผ่นดิน เมื่อโครงการจบลง สพฐ.ตั้งเป้าไว้ว่า ร้อยละ 90 ของเด็กวัย 3-5 ปี ได้รับพัฒนาเตรียมความพร้อม เด็กที่อยู่ในวัยการศึกษาภาคบังคับทุกคนได้รับการศึกษาอย่างต่อเนื่องจนจบการศึกษาขั้นพื้นฐาน ร้อยละ 80 ของเด็กที่จบมัธยมต้นได้เรียนต่อมัธยมปลายในสายสามัญหรือสายอาชีพ”
จากนั้น คุณหญิงกษมา กล่าวด้วยว่า ทาง สพฐ.ยังได้จัดงบปี 51 จำนวน 14 ล้านบาท เพื่อปรับปรุงโรงเรียนในพระอุปถัมภ์ของสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ จำนวน 5 โรงเรียน ได้แก่ ร.ร.กัลยาณิวัฒนา 1 จังหวัดพิษณุโลก ร.ร.กัลยาณิวัฒนา 2 จ.หนองคาย ร.ร.วราวัฒนา จ.บุรีรัมย์ ร.ร.เฉลิมพรเกียรติกรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ บางปอประชารักษ์ จ.นราธิวาส และร.ร.วรนารีเฉลิม จ.สงขลา เพื่อสานต่อพระปณิธานและระลึกถึงสมเด็จพระพี่นางเธอฯ
ด้าน นายชัยพฤกษ์ เสรีรักษ์ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการศึกษาขั้นพื้นฐาน กล่าวเสริมว่า การปรับปรุงโรงเรียนในพระอุปถัมภ์นั้น จะปรับปรุงอาคารสถานที่ การเรียนรู้ และสุขภาพของนักเรียนในโรงเรียน สำหรับการปรับปรุงอาคารสถานที่นั้น จะให้ทุกโรงปรับปรุงอาคารพระราชทาน ที่ทรุดโทรมให้กลับมาอยู่ในสภาพดี ส่วนอาคารอื่นๆ ก็ให้ปรับปรุงเช่นเดียวกัน รวมถึงห้องส้วม นอกจากนี้จะสร้างอาคารเรียนเรียนเพิ่มในโรงเรียนกัลยาณิวัฒนา 1 และ โรงเรียนกัลยาณิวัฒนา 2
นอกจากปรับปรุงอาคาร ภูมิทัศน์โดยรอบแล้ว ยังมีแผนจัดคอมพิวเตอร์ให้เพียงพอทุกโรง หรืออย่างน้อย 15 เครื่อง และมีโครงการให้มีห้องสมุด โดย สพฐ.จะจัดสรรเงินค่าหนังสือให้ 1-2 แสนบาท จัดส่งสารานุกรมพร้อมหนังสือพระราชนิพนธ์ของพระพี่นางให้ด้วย ที่สำคัญภายในห้องสมุดจะจัดมุมเทิดประเกียรติสมเด็จพระพี่นางเธอ และเชื้อพระวงศ์ทุกพระองค์ สำหรับโรงเรียนวรนารีเฉลิม เป็นโรงเรียนขนาดใหญ่ จะพัฒนาให้เป็นศูนย์รวบรวมพระราชประวัติของสมเด็จพระพี่เจ้านางเธอฯ