“หมอวิชัย” โต้ “ผมเป็นคนมีมารยาท” แต่คงต้องว่ากันด้วยกฎหมาย รับได้ยินกระแสข่าวคณะกรรมการบอร์ด 2 คน เตรียมลาออก ส่วนอีก 2 คนลาออกรับตำแหน่งใหม่ แต่ยังทำงานต่อได้ หากกรรมการบอร์ดไม่ต่ำกว่าที่กฎหมายกำหนด ด้าน “หมอมงคล” ตั้งคำถาม บอร์ด อภ.ทำประโยชน์ช่วยประหยัดงบประมาณชาติ มีเหตุผลอะไรจะเปลี่ยนคนทำงาน ส่วนแพทย์ชนบท ล่ารายชื่อแพทย์ถวายฎีกา พร้อมเตรียมไล่ผีป่าออกจาก สธ.โปรยข้าวสารเสก จุดไต้ 20 นัด เตือนสติ 29 ก.พ.นี้
นพ.วิชัย โชควิวัฒน ประธานคณะกรรมการบริหารองค์การเภสัชกรรม (อภ.) กล่าวว่า ตนเองเป็นคนมีมารยาท แต่คงต้องขอดูเอกสาร หลักเกณฑ์ จรรยามารยาท ที่ท่านกล่าวไว้ ถ้ามีก็พร้อมน้อมรับ เพราะในหลักการแล้วจะต้องยึดหลัก พ.ร.บ.องค์การเภสัชกรรม พ.ศ.2509 พ.ร.บ.ว่าด้วยคุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ ตามกฎหมายทั้ง 2 ฉบับ ระบุว่า ประธานและและคณะกรรมการบริหาร(บอร์ด) มีวาระในการดำรงตำแหน่ง 5 ปี ถ้าถามว่ากฎหมายทำไมระบุเช่นนั้น ก็เพราะตามหลักการทำงาน องค์กรรัฐวิสาหกิจจะทำหน้าที่ได้ดี จึงต้องการความต่อเนื่องในการทำงาน ไม่มีส่วนใดระบุในกฎหมายเลยว่า ประธาน หรือกรรมการต้องเปลี่ยนแปลงว่าจะต้องเปลี่ยนแปลงไปตามรัฐบาล ในอดีตที่ผ่านมารัฐบาลที่แล้ว รมว.สาธารณสุข เปลี่ยนมาแล้วกว่า 3 คนตั้งแต่คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ นพ.สุชัย เจริญรัตนกุล นายพินิจ จารุสมบัติ บอร์ด อภ.มีการเปลี่ยนแปลงหรือไม่ต้องตรวจสอบดูข้อมูลก็จะทราบความจริงว่าเป็นเช่นใด
“แต่ละคนมีมาตรฐานวิธีคิดที่แตกต่างกัน การที่จะใครจะมองว่าใช้เรื่องมารยาทมากดดัน สำหรับผมรู้สึกเฉยๆ ผมเป็นคนมีมารยาทอยู่แล้ว แต่ต้องว่ากันด้วยกฎหมาย เอามาดูกัน ส่วนกรรมการคนอื่นจะลาออกหรือไม่นั้น เป็นดุลพินิจ และสิทธิ์ของแต่ละคนในการตัดสินใจที่อิสระ แต่ผมขอยืนยันว่าจะไม่ลาออกจากประธานคณะกรรมการบริหารองค์การเภสัชกรรม ทั้งนี้ ทราบมาว่าหากตนเองไม่ยอมลาออก นายไชยาจะมาหรือกับเจ้าหน้าที่ของอภ.อีกครั้งถือว่าเป็นเรื่องที่ดี”นพ.วิชัย กล่าว
นพ.วิชัย กล่าวว่า ขณะนี้มีเพียงกรรมการบอร์ด 2 คนเท่านั้น ที่ขอลาออกจากกรรมการบอร์ดอภ.จึงได้ทำบันทึกถึงปลัด สธ.เพื่อเสนอ รมว.สธ.แล้ว โดยขณะนี้มี นพ.ชูชัย ศุภวงศ์ ลาออกเพื่อไปดำรงตำแหน่งเป็นรองผู้อำนวยการสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส และนายประสาร มฤคพิทักษ์ ได้รับการสรรหาเป็น ส.ว.แต่ได้ยินกระแสข่าวว่ามีข้าราชการ สธ.ที่เข้าร่วมเป็นกรรมการบอร์ดจะลาออก แต่ยังไม่ได้รับรายงานอย่างเป็นทางการแต่อย่างใด ทั้งนี้ ตาม พ.ร.บ.อภ.ระบุว่า มีบอร์ดมีได้ไม่เกิน 15 คน ส่วน พ.ร.บ.ว่าด้วยคุณสมบัติฯ มีได้ 8-12 คน ถ้าเกินกว่า 12 คนจะต้องให้ ครม.อนุมัติ ทั้งนี้ เท่ากับว่า หากลาออกไปแล้ว 2 คน เหลือบอร์ดเพียง 12 คน และถ้าบวกกับกระแสข่าวว่าจะลาออกอีก 2 คน เหลือเพียง 10 คน ซึ่งก็สามารถทำงานต่อไปได้โดยไม่ขัดต่อกฎหมายใดๆ แต่ถ้าต่ำกว่า 8 คน ถึงจะต้องเป็นหน้าที่ของ ครม.แต่งตั้งให้ครบตามจำนวน
“ผมเชื่อว่า บรรยากาศการทำงานไม่น่าจะมีปัญหาอะไร ตนเองเคยเป็นเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา ต้องเสนอกฎหมายต่อผู้บริหารที่เหนือกว่า ซึ่งมีทั้งเห็นด้วยและขัดแย้งก็ดำเนินการมาแล้วทั้งสิ้น แต่ในที่สุดแล้วแต่ละคนก็ต้องทำหน้าที่ของตนเองให้ดีที่สุด ทั้งนี้ก็ขึ้นกับนโยบายหลักว่าจะทำอย่างไรกันต่อ หากนายไชยาได้ระบุชัดเจนในที่ประชุมบอร์ดสปสช.ว่าไม่ได้ยกเลิกการประกาศบังคับใช้สิทธิเหนือสิทธิบัตร (ซีแอล) ก็แสดงว่าสามารถเดินหน้าต่อไปได้” นพ.วิชัย กล่าว
นพ.วิชัย กล่าวว่า เหตุผลของ นายไชยา ที่โยกย้าย นพ.ศิริวัฒน์ แต่ไม่ได้ให้ออกจากการเป็นประธานคณะกรรมการต่อรองราคายา ไม่ทราบวิธีการให้เหตุผลของนายไชยา เพราะมันดูแปลกๆ คงต้องรอดูกันต่อไปว่าจะเป็นอย่างไร จะดำเนินการได้จริงหรือไม่
ส่วนข้อถามว่า รมว.สธ.มีอำนาจในการสั่งปลดได้ทันทีหรือไม่ นพ.วิชัย กล่าวว่า ตามกฎหมายกำหนดให้ 1 ตาย 2 ลาออก 3 มติคณะรัฐมนตรี เท่ากับว่า ตามกฎหมาย รมว.สธ.สามารถนำเรื่องเข้าสู่การพิจารณาของครม.ได้ แต่กฎหมายที่เกี่ยวข้องมีหลายฉบับ สิ่งที่สำคัญที่สุด คือ พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.2528 จะต้องใช้อำนาจรัฐโดยสุจริตและเที่ยงธรรม ซึ่งตนเองยืนยันว่าจะต่อสู้ตามครรลองที่กฎหมายระบุไว้
ด้าน นพ.มงคล ณ สงขลา อดีต รมว.สาธารณสุข กล่าวว่า ภายหลังจากที่บอร์ดอภ.ชุดที่มีนพ.วิชัยเป็นประธานมาดำเนินงาน ทำให้ อภ.สามารถประหยัดงบประมาณจากการสั่งสารตั้งต้นมาผลิตยาต้านไวรัสเอดส์ได้ถึงปีละ 300-400 ล้านบาท และจากเดิมที่มาบริษัทขายสารตั้งต้นมาเสนอราคาเพียง 2 บริษัท ก็มีหลายบริษัทเข้ามาเสนอราคาจนทำให้ประหยัดงบประมาณได้จำนวนมาก ต้องถามกลับไปว่า แล้วเกิดอะไรขึ้นในอดีตที่ผ่านมา เงินจำนวนนี้หายไปไหน และในเมื่อบอร์ดทำงานเป็นประโยชน์ต่ออภ. ประหยัดงบประมาณให้ประเทศชาติ และเหตุใดจึงจะต้องเปลี่ยนคนทำงานเช่นนี้ด้วย
ด้านนพ.เกรียงศักดิ์ วัชระนุกูลเกียรติ ประธานชมรมแพทย์ชนบท กล่าวว่า ชมรมแพทย์ชนบทจะยังไม่มีการยื่นถวายฎีกาในสัปดาห์นี้ เนื่องจากขณะนี้อยู่ระหว่างการรวบรวมรายชื่อของแพทย์ชนบท โดยจะมีการออกหนังสือเวียนไปทั่วประเทศเพื่อแจ้งเรื่องการถวายฎีกา เพราะทราบว่ามีแพทย์ชนบททั่วประเทศ และนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด(สสจ.) แสดงเจตจำนงจะร่วมลงชื่อถวายฎีกาด้วยอีกเป็นจำนวนมาก เบื้องต้นมีแพทย์ร่วมลงชื่อแล้วประมาณ 30 คน ส่วนหนังสือถวายฎีกาขณะนี้อยู่ระหว่างการร่างหนังสือที่จะต้องมีความสมบูรณ์ ถูกต้องและเหมาะสมที่สุด ซึ่งแพทยชนบทไม่มีประสบการณ์ด้านนี้มาก่อน เป็นการยื่นถวายฎีกาครั้งแรก โดยเหตุผลที่ร้องฎีกามี 2 เรื่อง คือ 1.ขอให้คงการทำซีแอลเพื่อประเทศไทย และผู้ป่วย 2.ความไม่เป็นธรรมในคำสั่งโยกย้าย นพ.ศิริวัฒน์
นพ.เกรียงศักดิ์ กล่าวต่อว่า นอกจากนี้ ในวันนี้ (29 ก.พ.) เวลา 15.00น. ชมรมแพทย์ชนบทจะเข้าสักการะพระราชานุสาวรีย์คู่สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก และสมเด็จพระศรีนครินทรา พระบรมราชชนนี จากนั้นจะมีกิจกรรมไล่ผีป่าออกจาก สธ.โดยจะล้อมสายสิญจน์ โปรยข้าวสารเสก และจุดไต้ 20 นัด ซึ่งมีความหมายเป็นการส่งสัญญาณเตือนสติ ทั้งนี้ ยืนยันจะจะไม่มีการเข้าพบนายไชยา เนื่องจากประเมินสถานการณ์แล้วว่า แม้จะได้เข้าพบก็ไม่น่าจะมีผลอะไร และไม่ได้ต้องการหาเรื่องใครอย่างที่กล่าวอ้าง
นพ.วิชัย โชควิวัฒน ประธานคณะกรรมการบริหารองค์การเภสัชกรรม (อภ.) กล่าวว่า ตนเองเป็นคนมีมารยาท แต่คงต้องขอดูเอกสาร หลักเกณฑ์ จรรยามารยาท ที่ท่านกล่าวไว้ ถ้ามีก็พร้อมน้อมรับ เพราะในหลักการแล้วจะต้องยึดหลัก พ.ร.บ.องค์การเภสัชกรรม พ.ศ.2509 พ.ร.บ.ว่าด้วยคุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ ตามกฎหมายทั้ง 2 ฉบับ ระบุว่า ประธานและและคณะกรรมการบริหาร(บอร์ด) มีวาระในการดำรงตำแหน่ง 5 ปี ถ้าถามว่ากฎหมายทำไมระบุเช่นนั้น ก็เพราะตามหลักการทำงาน องค์กรรัฐวิสาหกิจจะทำหน้าที่ได้ดี จึงต้องการความต่อเนื่องในการทำงาน ไม่มีส่วนใดระบุในกฎหมายเลยว่า ประธาน หรือกรรมการต้องเปลี่ยนแปลงว่าจะต้องเปลี่ยนแปลงไปตามรัฐบาล ในอดีตที่ผ่านมารัฐบาลที่แล้ว รมว.สาธารณสุข เปลี่ยนมาแล้วกว่า 3 คนตั้งแต่คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ นพ.สุชัย เจริญรัตนกุล นายพินิจ จารุสมบัติ บอร์ด อภ.มีการเปลี่ยนแปลงหรือไม่ต้องตรวจสอบดูข้อมูลก็จะทราบความจริงว่าเป็นเช่นใด
“แต่ละคนมีมาตรฐานวิธีคิดที่แตกต่างกัน การที่จะใครจะมองว่าใช้เรื่องมารยาทมากดดัน สำหรับผมรู้สึกเฉยๆ ผมเป็นคนมีมารยาทอยู่แล้ว แต่ต้องว่ากันด้วยกฎหมาย เอามาดูกัน ส่วนกรรมการคนอื่นจะลาออกหรือไม่นั้น เป็นดุลพินิจ และสิทธิ์ของแต่ละคนในการตัดสินใจที่อิสระ แต่ผมขอยืนยันว่าจะไม่ลาออกจากประธานคณะกรรมการบริหารองค์การเภสัชกรรม ทั้งนี้ ทราบมาว่าหากตนเองไม่ยอมลาออก นายไชยาจะมาหรือกับเจ้าหน้าที่ของอภ.อีกครั้งถือว่าเป็นเรื่องที่ดี”นพ.วิชัย กล่าว
นพ.วิชัย กล่าวว่า ขณะนี้มีเพียงกรรมการบอร์ด 2 คนเท่านั้น ที่ขอลาออกจากกรรมการบอร์ดอภ.จึงได้ทำบันทึกถึงปลัด สธ.เพื่อเสนอ รมว.สธ.แล้ว โดยขณะนี้มี นพ.ชูชัย ศุภวงศ์ ลาออกเพื่อไปดำรงตำแหน่งเป็นรองผู้อำนวยการสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส และนายประสาร มฤคพิทักษ์ ได้รับการสรรหาเป็น ส.ว.แต่ได้ยินกระแสข่าวว่ามีข้าราชการ สธ.ที่เข้าร่วมเป็นกรรมการบอร์ดจะลาออก แต่ยังไม่ได้รับรายงานอย่างเป็นทางการแต่อย่างใด ทั้งนี้ ตาม พ.ร.บ.อภ.ระบุว่า มีบอร์ดมีได้ไม่เกิน 15 คน ส่วน พ.ร.บ.ว่าด้วยคุณสมบัติฯ มีได้ 8-12 คน ถ้าเกินกว่า 12 คนจะต้องให้ ครม.อนุมัติ ทั้งนี้ เท่ากับว่า หากลาออกไปแล้ว 2 คน เหลือบอร์ดเพียง 12 คน และถ้าบวกกับกระแสข่าวว่าจะลาออกอีก 2 คน เหลือเพียง 10 คน ซึ่งก็สามารถทำงานต่อไปได้โดยไม่ขัดต่อกฎหมายใดๆ แต่ถ้าต่ำกว่า 8 คน ถึงจะต้องเป็นหน้าที่ของ ครม.แต่งตั้งให้ครบตามจำนวน
“ผมเชื่อว่า บรรยากาศการทำงานไม่น่าจะมีปัญหาอะไร ตนเองเคยเป็นเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา ต้องเสนอกฎหมายต่อผู้บริหารที่เหนือกว่า ซึ่งมีทั้งเห็นด้วยและขัดแย้งก็ดำเนินการมาแล้วทั้งสิ้น แต่ในที่สุดแล้วแต่ละคนก็ต้องทำหน้าที่ของตนเองให้ดีที่สุด ทั้งนี้ก็ขึ้นกับนโยบายหลักว่าจะทำอย่างไรกันต่อ หากนายไชยาได้ระบุชัดเจนในที่ประชุมบอร์ดสปสช.ว่าไม่ได้ยกเลิกการประกาศบังคับใช้สิทธิเหนือสิทธิบัตร (ซีแอล) ก็แสดงว่าสามารถเดินหน้าต่อไปได้” นพ.วิชัย กล่าว
นพ.วิชัย กล่าวว่า เหตุผลของ นายไชยา ที่โยกย้าย นพ.ศิริวัฒน์ แต่ไม่ได้ให้ออกจากการเป็นประธานคณะกรรมการต่อรองราคายา ไม่ทราบวิธีการให้เหตุผลของนายไชยา เพราะมันดูแปลกๆ คงต้องรอดูกันต่อไปว่าจะเป็นอย่างไร จะดำเนินการได้จริงหรือไม่
ส่วนข้อถามว่า รมว.สธ.มีอำนาจในการสั่งปลดได้ทันทีหรือไม่ นพ.วิชัย กล่าวว่า ตามกฎหมายกำหนดให้ 1 ตาย 2 ลาออก 3 มติคณะรัฐมนตรี เท่ากับว่า ตามกฎหมาย รมว.สธ.สามารถนำเรื่องเข้าสู่การพิจารณาของครม.ได้ แต่กฎหมายที่เกี่ยวข้องมีหลายฉบับ สิ่งที่สำคัญที่สุด คือ พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.2528 จะต้องใช้อำนาจรัฐโดยสุจริตและเที่ยงธรรม ซึ่งตนเองยืนยันว่าจะต่อสู้ตามครรลองที่กฎหมายระบุไว้
ด้าน นพ.มงคล ณ สงขลา อดีต รมว.สาธารณสุข กล่าวว่า ภายหลังจากที่บอร์ดอภ.ชุดที่มีนพ.วิชัยเป็นประธานมาดำเนินงาน ทำให้ อภ.สามารถประหยัดงบประมาณจากการสั่งสารตั้งต้นมาผลิตยาต้านไวรัสเอดส์ได้ถึงปีละ 300-400 ล้านบาท และจากเดิมที่มาบริษัทขายสารตั้งต้นมาเสนอราคาเพียง 2 บริษัท ก็มีหลายบริษัทเข้ามาเสนอราคาจนทำให้ประหยัดงบประมาณได้จำนวนมาก ต้องถามกลับไปว่า แล้วเกิดอะไรขึ้นในอดีตที่ผ่านมา เงินจำนวนนี้หายไปไหน และในเมื่อบอร์ดทำงานเป็นประโยชน์ต่ออภ. ประหยัดงบประมาณให้ประเทศชาติ และเหตุใดจึงจะต้องเปลี่ยนคนทำงานเช่นนี้ด้วย
ด้านนพ.เกรียงศักดิ์ วัชระนุกูลเกียรติ ประธานชมรมแพทย์ชนบท กล่าวว่า ชมรมแพทย์ชนบทจะยังไม่มีการยื่นถวายฎีกาในสัปดาห์นี้ เนื่องจากขณะนี้อยู่ระหว่างการรวบรวมรายชื่อของแพทย์ชนบท โดยจะมีการออกหนังสือเวียนไปทั่วประเทศเพื่อแจ้งเรื่องการถวายฎีกา เพราะทราบว่ามีแพทย์ชนบททั่วประเทศ และนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด(สสจ.) แสดงเจตจำนงจะร่วมลงชื่อถวายฎีกาด้วยอีกเป็นจำนวนมาก เบื้องต้นมีแพทย์ร่วมลงชื่อแล้วประมาณ 30 คน ส่วนหนังสือถวายฎีกาขณะนี้อยู่ระหว่างการร่างหนังสือที่จะต้องมีความสมบูรณ์ ถูกต้องและเหมาะสมที่สุด ซึ่งแพทยชนบทไม่มีประสบการณ์ด้านนี้มาก่อน เป็นการยื่นถวายฎีกาครั้งแรก โดยเหตุผลที่ร้องฎีกามี 2 เรื่อง คือ 1.ขอให้คงการทำซีแอลเพื่อประเทศไทย และผู้ป่วย 2.ความไม่เป็นธรรมในคำสั่งโยกย้าย นพ.ศิริวัฒน์
นพ.เกรียงศักดิ์ กล่าวต่อว่า นอกจากนี้ ในวันนี้ (29 ก.พ.) เวลา 15.00น. ชมรมแพทย์ชนบทจะเข้าสักการะพระราชานุสาวรีย์คู่สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก และสมเด็จพระศรีนครินทรา พระบรมราชชนนี จากนั้นจะมีกิจกรรมไล่ผีป่าออกจาก สธ.โดยจะล้อมสายสิญจน์ โปรยข้าวสารเสก และจุดไต้ 20 นัด ซึ่งมีความหมายเป็นการส่งสัญญาณเตือนสติ ทั้งนี้ ยืนยันจะจะไม่มีการเข้าพบนายไชยา เนื่องจากประเมินสถานการณ์แล้วว่า แม้จะได้เข้าพบก็ไม่น่าจะมีผลอะไร และไม่ได้ต้องการหาเรื่องใครอย่างที่กล่าวอ้าง