โดย จอน อึ๊งภากรณ์ รศ.ดร.จิราพร ลิ้มปานานนท์ เครือข่ายผู้ติดเชื้อเอชไอวี เอดส์ ประเทศไทยชมรมเพื่อนโรคไต เครือข่ายผู้ป่วยมะเร็งมูลนิธิเข้าถึงเอดส์มูลนิธิเพื่อผู้บริโภคมูลนิธิศูนย์คุ้มครองสิทธิด้านเอดส์
1.การประกาศบังคับใช้สิทธิโดยรัฐ หรือ ซีแอลมีความชอบธรรมเป็นมาตรการที่ถูกบรรจุไว้อย่างชัดเจนภายใต้คำประกาศโดฮาว่าด้วยความตกลงทรัพย์สินทางปัญญาและมาตรา 51 ของพระราชบัญญัติสิทธิบัตร ดังนั้นการประกาศบังคับใช้สิทธิของไทยเป็นการทำตามกฎหมายทั้งในและต่างประเทศทุกประการ รัฐบาลทั่วโลกรวมทั้งประเทศร่ำรวยใช้การประกาศบังคับใช้สิทธิปกป้องประโยชน์สาธารณะประกันการเข้าถึงอย่างเท่าเทียม สนับสนุนนวัตกรรมใหม่ๆรวมทั้งใช้ควบคุมการผูกขาดราคา
ประเทศไทยมีสิทธิที่จะปกป้องพลเมืองของตัวเองจากโรคภัยไข้เจ็บคำขู่ที่จริงหรือลวงของผู้แสวงผลประโยชน์ไม่ควรมีบทบาทชี้นำการตัดสินใจของประเทศไทยในการปกป้องพลเมืองของตัวเองจากความตายและโรคร้ายผ่านการใช้มาตรการบังคับใช้สิทธิ
2. การประกาศบังคับใช้สิทธิช่วยชีวิตผู้คนถ้าไม่มีการประกาศบังคับใช้สิทธิประเทศไทยจะไม่สามารถให้บริการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าในการรักษาโรคที่มีค่าใช้จ่ายสูงเช่น โรคมะเร็ง โรคหัวใจ เบาหวาน และโรคอื่นๆอย่างมีประสิทธิภาพ ถ้าไม่มีการประกาศบังคับใช้สิทธิคนยากคนจนจะตาย ไม่ใช่เพราะไม่มีวิธีการรักษาแต่เพราะว่าพวกเขาไม่มีเงินมากพอ
งบประมาณที่ประหยัดได้จากการประกาศบังคับใช้สิทธิสามารถขยายระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ การลดการผูกขาดยังช่วยทำให้เกิดการแข่งขันด้านยาซึ่งทำให้สามารถประหยัดงบประมาณรายจ่ายด้านยาได้อีกจำนวนมาก
การประกาศบังคับใช้สิทธิในยาสำคัญคือ ยาต้านไวรัสยาโรคหัวใจ และยามะเร็งไม่เพียงทำให้ระบบหลักประกันสุขภาพสามารถขยายการรักษาไปยังโรคดังกล่าวแต่ยังสามารถสนับสนุนงบประมาณเพื่อขยายการรักษาไปยังโรคอื่นๆเช่น โรคไตวาย
3. ประเทศไทยสามารถใช้มาตรการบังคับใช้สิทธิโดยที่ไม่มีผลกระทบต่อการค้าระหว่างประเทศที่ผ่านมานักธุรกิจไทยจำนวนมากได้รับประโยชน์จากจีเอสพีของสหรัฐอเมริกาแต่อีกไม่นานจีเอสพีจะสิ้นสุดลงไม่ใช่เพราะการใช้มาตรการบังคับใช้สิทธิแต่เป็นเพราะระดับอำนาจการซื้อของไทยที่สูงขึ้นทำให้ในที่สุดจะหมดสิทธิการได้รับจีเอสพี
3. บริษัทที่เป็นเจ้าของสิทธิบัตรยามะเร็งเป็นบริษัทของยุโรป ดังนั้นยิ่งไม่มีความเกี่ยวข้องกับการค้าระหว่างไทยกับสหรัฐในปีที่ประเทศไทยประกาศบังคับใช้สิทธิ 3 ตัวแรกการส่งออกไปสหรัฐก็เพิ่มขึ้นรวมทั้งสินค้าที่ได้รับสิทธิพิเศษจีเอสพี
4.การประกาศบังคับใช้สิทธิจะไม่ปิดโอกาสคนไทยในการเข้าถึงยาใหม่ๆเมื่อบริษัทแอ๊บบอทปฏิเสธที่จะขึ้นทะเบียนยาอลูเวียร์ในประเทศไทยยาชื่อสามัญ โลพินาเวียร์/ริโทนาเวียร์ (ชนิดเม็ด)จากอินเดียก็มาขึ้นทะเบียนแทนที่ด้วยคุณภาพที่เท่ากันในราคาที่ถูกกว่ามากอีกทั้งการที่บริษัทปฏิเสธที่จะขึ้นทะเบียนในยาตัวสำคัญก็สามารถเป็นเหตุให้รัฐสามารถบังคับใช้สิทธิได้
การประกาศบังคับใช้สิทธิไม่ได้หยุดยั้งนวัตกรรมการประกาศบังคับใช้สิทธิสร้างโอกาสการเข้าถึงยาสำหรับคนที่ไม่มีปัญญาเข้าถึงยาเหล่านั้นมาก่อนบริษัทยายังสามารถหากำไรจากตลาดหลักในประเทศที่ร่ำรวยและคนรวยในประเทศยากจนได้ต่อไปโดยสามารถใช้เงินที่ได้จากตลาดเหล่านั้นในการวิจัยและพัฒนา
แน่นอนว่า การประกาศบังคับใช้สิทธิไม่ได้ฆ่าอุตสาหกรรมยาจนถึงขณะนี้ประเทศประกาศบังคับใช้สิทธิในยาช่วยชีวิตที่มีราคาแพงแค่7 ตัวเท่านั้น ในระหว่างปี 2512-2536แคนาดาประกาศบังคับใช้สิทธิกับยา 613 ตัวทำให้เป็นประเทศที่มียาราคาถูกมากที่สุดในหมู่ประเทศพัฒนาแล้วและมีอุตสาหกรรมยาที่เข้มแข็งยิ่งเสียกว่าในสหรัฐ
5.การคัดค้านการประกาศบังคับใช้สิทธิของไทยโดยอุตสาหกรรมยาและพวกที่สมประโยชน์กันตั้งอยู่บนคำโกหก การชี้นำที่ผิดๆหรือการเพิกเฉยต่อความเป็นจริงและข้อสมมติฐานบนอคติความลวงเหล่านี้รวมถึงการอ้างว่าสิทธิบัตรเป็นระบบที่ปกป้องการเข้าถึงยาของคนยากจนเพราะนักวิจัยยาจะได้มีแรงจูงใจในการวิจัยยาจากการผูกขาดแต่จากประวัติศาสตร์แล้วแสดงให้เห็นว่าข้อความที่อ้างเหล่านี้เป็นความลวงทั้งสิ้น
1.การประกาศบังคับใช้สิทธิโดยรัฐ หรือ ซีแอลมีความชอบธรรมเป็นมาตรการที่ถูกบรรจุไว้อย่างชัดเจนภายใต้คำประกาศโดฮาว่าด้วยความตกลงทรัพย์สินทางปัญญาและมาตรา 51 ของพระราชบัญญัติสิทธิบัตร ดังนั้นการประกาศบังคับใช้สิทธิของไทยเป็นการทำตามกฎหมายทั้งในและต่างประเทศทุกประการ รัฐบาลทั่วโลกรวมทั้งประเทศร่ำรวยใช้การประกาศบังคับใช้สิทธิปกป้องประโยชน์สาธารณะประกันการเข้าถึงอย่างเท่าเทียม สนับสนุนนวัตกรรมใหม่ๆรวมทั้งใช้ควบคุมการผูกขาดราคา
ประเทศไทยมีสิทธิที่จะปกป้องพลเมืองของตัวเองจากโรคภัยไข้เจ็บคำขู่ที่จริงหรือลวงของผู้แสวงผลประโยชน์ไม่ควรมีบทบาทชี้นำการตัดสินใจของประเทศไทยในการปกป้องพลเมืองของตัวเองจากความตายและโรคร้ายผ่านการใช้มาตรการบังคับใช้สิทธิ
2. การประกาศบังคับใช้สิทธิช่วยชีวิตผู้คนถ้าไม่มีการประกาศบังคับใช้สิทธิประเทศไทยจะไม่สามารถให้บริการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าในการรักษาโรคที่มีค่าใช้จ่ายสูงเช่น โรคมะเร็ง โรคหัวใจ เบาหวาน และโรคอื่นๆอย่างมีประสิทธิภาพ ถ้าไม่มีการประกาศบังคับใช้สิทธิคนยากคนจนจะตาย ไม่ใช่เพราะไม่มีวิธีการรักษาแต่เพราะว่าพวกเขาไม่มีเงินมากพอ
งบประมาณที่ประหยัดได้จากการประกาศบังคับใช้สิทธิสามารถขยายระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ การลดการผูกขาดยังช่วยทำให้เกิดการแข่งขันด้านยาซึ่งทำให้สามารถประหยัดงบประมาณรายจ่ายด้านยาได้อีกจำนวนมาก
การประกาศบังคับใช้สิทธิในยาสำคัญคือ ยาต้านไวรัสยาโรคหัวใจ และยามะเร็งไม่เพียงทำให้ระบบหลักประกันสุขภาพสามารถขยายการรักษาไปยังโรคดังกล่าวแต่ยังสามารถสนับสนุนงบประมาณเพื่อขยายการรักษาไปยังโรคอื่นๆเช่น โรคไตวาย
3. ประเทศไทยสามารถใช้มาตรการบังคับใช้สิทธิโดยที่ไม่มีผลกระทบต่อการค้าระหว่างประเทศที่ผ่านมานักธุรกิจไทยจำนวนมากได้รับประโยชน์จากจีเอสพีของสหรัฐอเมริกาแต่อีกไม่นานจีเอสพีจะสิ้นสุดลงไม่ใช่เพราะการใช้มาตรการบังคับใช้สิทธิแต่เป็นเพราะระดับอำนาจการซื้อของไทยที่สูงขึ้นทำให้ในที่สุดจะหมดสิทธิการได้รับจีเอสพี
3. บริษัทที่เป็นเจ้าของสิทธิบัตรยามะเร็งเป็นบริษัทของยุโรป ดังนั้นยิ่งไม่มีความเกี่ยวข้องกับการค้าระหว่างไทยกับสหรัฐในปีที่ประเทศไทยประกาศบังคับใช้สิทธิ 3 ตัวแรกการส่งออกไปสหรัฐก็เพิ่มขึ้นรวมทั้งสินค้าที่ได้รับสิทธิพิเศษจีเอสพี
4.การประกาศบังคับใช้สิทธิจะไม่ปิดโอกาสคนไทยในการเข้าถึงยาใหม่ๆเมื่อบริษัทแอ๊บบอทปฏิเสธที่จะขึ้นทะเบียนยาอลูเวียร์ในประเทศไทยยาชื่อสามัญ โลพินาเวียร์/ริโทนาเวียร์ (ชนิดเม็ด)จากอินเดียก็มาขึ้นทะเบียนแทนที่ด้วยคุณภาพที่เท่ากันในราคาที่ถูกกว่ามากอีกทั้งการที่บริษัทปฏิเสธที่จะขึ้นทะเบียนในยาตัวสำคัญก็สามารถเป็นเหตุให้รัฐสามารถบังคับใช้สิทธิได้
การประกาศบังคับใช้สิทธิไม่ได้หยุดยั้งนวัตกรรมการประกาศบังคับใช้สิทธิสร้างโอกาสการเข้าถึงยาสำหรับคนที่ไม่มีปัญญาเข้าถึงยาเหล่านั้นมาก่อนบริษัทยายังสามารถหากำไรจากตลาดหลักในประเทศที่ร่ำรวยและคนรวยในประเทศยากจนได้ต่อไปโดยสามารถใช้เงินที่ได้จากตลาดเหล่านั้นในการวิจัยและพัฒนา
แน่นอนว่า การประกาศบังคับใช้สิทธิไม่ได้ฆ่าอุตสาหกรรมยาจนถึงขณะนี้ประเทศประกาศบังคับใช้สิทธิในยาช่วยชีวิตที่มีราคาแพงแค่7 ตัวเท่านั้น ในระหว่างปี 2512-2536แคนาดาประกาศบังคับใช้สิทธิกับยา 613 ตัวทำให้เป็นประเทศที่มียาราคาถูกมากที่สุดในหมู่ประเทศพัฒนาแล้วและมีอุตสาหกรรมยาที่เข้มแข็งยิ่งเสียกว่าในสหรัฐ
5.การคัดค้านการประกาศบังคับใช้สิทธิของไทยโดยอุตสาหกรรมยาและพวกที่สมประโยชน์กันตั้งอยู่บนคำโกหก การชี้นำที่ผิดๆหรือการเพิกเฉยต่อความเป็นจริงและข้อสมมติฐานบนอคติความลวงเหล่านี้รวมถึงการอ้างว่าสิทธิบัตรเป็นระบบที่ปกป้องการเข้าถึงยาของคนยากจนเพราะนักวิจัยยาจะได้มีแรงจูงใจในการวิจัยยาจากการผูกขาดแต่จากประวัติศาสตร์แล้วแสดงให้เห็นว่าข้อความที่อ้างเหล่านี้เป็นความลวงทั้งสิ้น