อย.เผยเกาหลีส่งเครื่องในมาไทยมากสุด รองลงมาเป็นเบลเยียม ออสเตรเลีย พร้อมการันตี “เครื่องในหมู” ปลอดภัย ผ่านเกณฑ์มาตรฐานหากพบปนเปื้อนตีกลับหมด ที่ผ่านมาพบแค่ตับปนเปื้อนสารปรอท เตรียมสุ่มตรวจเข้มทั้งด่านอาหาร ตลาด ซูเปอร์มาร์เกต เตือนคนเป็นเก๊าอย่ากินมากอาการกำเริบได้
นพ.นิพนธ์ โพธิ์พัฒนชัย รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา กล่าวว่า การนำเข้าเครื่องในหมูจากต่างประเทศ เป็นหน้าที่ของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ในการตรวจสอบด้านความปลอดภัยของอาหาร ซึ่ง อย.มีเกณฑ์การตรวจสอบมาตรฐานความปลอดภัยอยู่แล้วโดยจะต้องไม่มีสารปนเปื้อน แบคทีเรีย โลหะหนัก เช่น ปรอท ตะกั่ว เกินค่ามาตรฐานที่กำหนด หากไม่พบสารเหล่านี้ก็อนุญาตให้มีการนำเข้าได้ อย่างไรก็ตามที่ผ่านมาพบว่ามีการตีกลับสินค้านำเข้า เนื่องจากพบว่ามีการปนเปื้อนโลหะหนัก โดยพบสารปรอทในตับหมู แต่ก็มีการตีกลับน้อย
นพ.นิพนธ์ กล่าวต่อว่า จากตัวเลขการนำเข้าเครื่องในสัตว์ โดยเฉพาะเครื่องในหมู ซึ่งคนไทยนิยมบริโภคตับและหนังหมูนั้น มีการนำเข้าในปริมาณที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จากข้อมูลตัวเลขในปี 2550 ของกรมศุลกากร พบมีการนำเข้าเครื่องในสัตว์จากต่างประเทศจำนวน 6,700 ตัน โดยประเทศที่มีการนำเข้าสูงสุด ได้แก่ ประเทศเกาหลี เบลเยียม ออสเตรเลีย เยอรมันและเนเธอร์แลนด์ตามลำดับ แต่หากเรียงลำดับจากกลุ่มประเทศที่มีการนำเข้ากลุ่มสหภาพยุโรป (อียู) นำเข้ามากที่สุดรองลงมาเป็นเกาหลี เบลเยียม และออสเตรเลีย
“ในเรื่องของการปนเปื้อนแบคทีเรีย เชื้อโรคของอาหารที่นำเข้าที่มีความกังวลกันอยู่ เป็นหน้าที่ที่ อย.จะต้องดูแลความปลอดภัยอยู่แล้ว คงไม่ต้องกังวล เพราะหากมีการปนเปื้อนก็จะไม่อนุญาตให้นำมาจำหน่ายอย่างแน่นอน ส่วนกระบวนการขั้นตอนการนำเข้าที่จะต้องแจ้งนั้นไม่ใช่บทบาทหน้าที่ของ อย. อย่างไรก็ดี อย.จะส่งเจ้าหน้าที่ออกสุ่มตรวจเนื้อหมู และเครื่องที่ขายบริเวณด่านนำเข้า รวมถึงตลาดและซูเปอร์มาร์เกต อย่างเข้มงวดมากขึ้น เนื่องจาก รมว.สธ.และปลัด สธ.ให้ความสำคัญ การนำเข้าเครื่องในเป็นพิเศษ ก็จะตรวจสอบเพื่อความปลอดภัยของผู้บริโภค” นพ.นิพนธ์ กล่าว
นพ.นิพนธ์ เตือนด้วยว่า การรับประทานเครื่องในสัตว์ หรืออาหารประเภทใดประเภทหนึ่ง ซ้ำๆ บ่อยๆ ต่อเนื่องไม่น่าจะเป็นผลดี โดยเฉพาะเครื่องในสัตว์เป็นอวัยวะการทำงานที่ใช้กำจัดของเสียของร่างกาย โอกาสที่จะมีสารตกค้างอยู่จึงมีสูง ถึงแม้จะมีการตรวจสอบผ่านเกณฑ์มาตรฐาน อีกทั้งเครื่องในสัตว์ ด้วยกระบวนการย่อยอาหารจะทำให้เกิดกรดยูริกสูง ดังนั้น การรับประทานเครื่องในมากๆ อาจทำให้ผู้ที่เป็นโรคเกาต์อาการกำเริบได้ ดังนั้น ในต่างประเทสจึงไม่นิยมรับประทานเครื่องในสัตว์ และมักนำมาเป็นอาหารสัตว์มากกว่า
นพ.นิพนธ์ โพธิ์พัฒนชัย รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา กล่าวว่า การนำเข้าเครื่องในหมูจากต่างประเทศ เป็นหน้าที่ของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ในการตรวจสอบด้านความปลอดภัยของอาหาร ซึ่ง อย.มีเกณฑ์การตรวจสอบมาตรฐานความปลอดภัยอยู่แล้วโดยจะต้องไม่มีสารปนเปื้อน แบคทีเรีย โลหะหนัก เช่น ปรอท ตะกั่ว เกินค่ามาตรฐานที่กำหนด หากไม่พบสารเหล่านี้ก็อนุญาตให้มีการนำเข้าได้ อย่างไรก็ตามที่ผ่านมาพบว่ามีการตีกลับสินค้านำเข้า เนื่องจากพบว่ามีการปนเปื้อนโลหะหนัก โดยพบสารปรอทในตับหมู แต่ก็มีการตีกลับน้อย
นพ.นิพนธ์ กล่าวต่อว่า จากตัวเลขการนำเข้าเครื่องในสัตว์ โดยเฉพาะเครื่องในหมู ซึ่งคนไทยนิยมบริโภคตับและหนังหมูนั้น มีการนำเข้าในปริมาณที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จากข้อมูลตัวเลขในปี 2550 ของกรมศุลกากร พบมีการนำเข้าเครื่องในสัตว์จากต่างประเทศจำนวน 6,700 ตัน โดยประเทศที่มีการนำเข้าสูงสุด ได้แก่ ประเทศเกาหลี เบลเยียม ออสเตรเลีย เยอรมันและเนเธอร์แลนด์ตามลำดับ แต่หากเรียงลำดับจากกลุ่มประเทศที่มีการนำเข้ากลุ่มสหภาพยุโรป (อียู) นำเข้ามากที่สุดรองลงมาเป็นเกาหลี เบลเยียม และออสเตรเลีย
“ในเรื่องของการปนเปื้อนแบคทีเรีย เชื้อโรคของอาหารที่นำเข้าที่มีความกังวลกันอยู่ เป็นหน้าที่ที่ อย.จะต้องดูแลความปลอดภัยอยู่แล้ว คงไม่ต้องกังวล เพราะหากมีการปนเปื้อนก็จะไม่อนุญาตให้นำมาจำหน่ายอย่างแน่นอน ส่วนกระบวนการขั้นตอนการนำเข้าที่จะต้องแจ้งนั้นไม่ใช่บทบาทหน้าที่ของ อย. อย่างไรก็ดี อย.จะส่งเจ้าหน้าที่ออกสุ่มตรวจเนื้อหมู และเครื่องที่ขายบริเวณด่านนำเข้า รวมถึงตลาดและซูเปอร์มาร์เกต อย่างเข้มงวดมากขึ้น เนื่องจาก รมว.สธ.และปลัด สธ.ให้ความสำคัญ การนำเข้าเครื่องในเป็นพิเศษ ก็จะตรวจสอบเพื่อความปลอดภัยของผู้บริโภค” นพ.นิพนธ์ กล่าว
นพ.นิพนธ์ เตือนด้วยว่า การรับประทานเครื่องในสัตว์ หรืออาหารประเภทใดประเภทหนึ่ง ซ้ำๆ บ่อยๆ ต่อเนื่องไม่น่าจะเป็นผลดี โดยเฉพาะเครื่องในสัตว์เป็นอวัยวะการทำงานที่ใช้กำจัดของเสียของร่างกาย โอกาสที่จะมีสารตกค้างอยู่จึงมีสูง ถึงแม้จะมีการตรวจสอบผ่านเกณฑ์มาตรฐาน อีกทั้งเครื่องในสัตว์ ด้วยกระบวนการย่อยอาหารจะทำให้เกิดกรดยูริกสูง ดังนั้น การรับประทานเครื่องในมากๆ อาจทำให้ผู้ที่เป็นโรคเกาต์อาการกำเริบได้ ดังนั้น ในต่างประเทสจึงไม่นิยมรับประทานเครื่องในสัตว์ และมักนำมาเป็นอาหารสัตว์มากกว่า