“หมอจรัส” เปิดตัวหนังสือ “ความเป็นอิสระของมหาวิทยาลัยไทย" พร้อมเปิดวงเสวนาเรื่องเดียวกัน ระบุ ระบบอุดมศึกษาไทยจำเป็นจะต้องมีอิสระทางวิชาการ การวิจัย เป็นอิสระจากระบบราชการและการรวมศูนย์ ชี้รัฐต้องดูแลด้านทุนการวิจัย เผย “ขอแค่ปีกของเอฟ 16 ก็พอ” ด้านนายกสภาฯ มหิดล เชียร์ขาดใจ เป็นหนังสือที่ออกมาได้เหมาะเจาะกับช่วงเวลา
วันนี้ (15.00 น.) ศ.นพ.จรัส สุวรรณเวลา นายกสภาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้เปิดตัวผลงานการเขียนภายใต้ชื่อหนังสือ “ความเป็นอิสระของมหาวิทยาลัยไทย” โดยมีเนื้อหาเป็นไปในแนวทางการชี้ให้เห็นความจำเป็นในการออกนอกระบบ
นพ.จรัส เปิดเผยว่า เรื่องความมีอิสระของมหาวิทยาลัยนั้น เป็นเรื่องที่น่าสนใจและติดใจมาตลอดระยะเวลากว่า 10 ปี โดยพยายามเขียนหนังสือเพื่อกระตุ้นความตระหนักของสังคมในเรื่องดังกล่าว แต่ก็ไม่มีผลอะไรมากนัก แม้ว่าสภาพการณ์การอุดมศึกษาไทยในปัจจุบัน อยู่ในสภาพวิกฤติ และมีความจำเป็นต้องได้รับการแก้ไขอย่างเร่งด่วน
“ถ้ายังจำได้ก่อนหน้านี้ ผมพยายามทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ก็ได้ออกเดินสายบรรยายทำความเข้าใจกับทุกคณะ แต่ครั้งนั้นมีกระแสมาก สุดท้ายแนวคิดก็เลยแท้งไป ผมคิดว่าการเขียนออกมาเป็นหนังสือน่าจะเป็นการให้ข้อมูลที่ดีและเสนอมุมมองบางมุมที่อาจจะเป็นมุมใหม่ๆ ในเรื่องนี้
ปัจจุบันนี้เราต้องเผชิญกับวิกฤตมากมาย เราอยู่ท่ามกลางภาวะการขยายตัวอย่างรุนแรงของระบบอุดมศึกษาไทย แต่ในขณะที่ประเทศที่พัฒนาแล้วอย่างอเมริกา อังกฤษ หรือ ญี่ปุ่น เขาพ้นภาวะนี้ไปแล้ว แต่ไทยกำลังเผชิญอยู่ เราต้องเผชิญกับการระเบิดขององค์ความรู้ องค์ความรู้ที่มีเพิ่มขึ้นมากจากเมื่อก่อน ที่จะทำให้สิ่งที่เราสอนเด็กเราในวันนี้ จะเหลือเพียงครึ่งเดียวในอีก 5 ปีข้างหน้า”
นายกสภาจุฬาฯ ออกตัวเกี่ยวกับเนื้อหาในหนังสือว่า หนังสือเล่มดังกล่าว จะมีเนื้อหาที่เป็นคำถามมากกว่าคำตอบ และทุกคำตอบที่มีอยู่ในหนังสืออาจจะ ไม่ใช่คำตอบสุดท้ายหรือคำตอบที่ดีที่ถูกต้องที่สุด แต่เป็นการเชิญชวนให้คิดเพื่อหาคำตอบต่อยอดจากคำตอบที่มีอยู่
ในส่วนของการนำเสนอแนวคิดความเป็นอิสระนั้น ศ.นพ.จรัส ได้นำเสนอมุมมองความเป็นอิสระเชิงวิชาการ อันเป็นปัจจัยสำคัญและเป็นหน้าที่หลักของมหาวิทยาลัย, มีเสรีภาพจากกรอบของราชการที่มีกรอบกฎเกณฑ์แน่นหนา, มีเสรีภาพจากระบบรวมศูนย์ ที่เป็นอุปสรรคต่อความคล่องตัวในการบริหาร, มีเสรีภาพในการบริหาร โดยอธิบายเพิ่มเติมว่าในปัจจุบันสังคมไทยเป็นแบบทุนนิยม ดังนั้นระบบการบริหารการศึกษาควรจะเป็นแนวการบริหารแบบ Mannerism คือมีรูปแบบการบริหารแบบธุรกิจ เพื่อนำพามหาวิทยาลัยให้รอดพ้นไปจากปัญหาทุนนิยมและอาณานิคมทางปัญญาจากต่างชาติ
“การเปลี่ยนแปลงที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงอันสืบเนื่องมาจากแนวคิดความเป็นอิสระของมหาวิทยาลัย ก็คือ เราต้องเปลี่ยนระบบการศึกษา ปรับการสอน เดี๋ยวนี้เด็กไทยที่เรียนอยู่ต่างประเทศพูดว่า สิ่งที่เขาร่ำเรียนจากเมืองไทยนั้น มันเป็นสิ่งที่พ้นสมัยไปกว่า 10 ปีแล้วในต่างประเทศ องค์ความรู้ใหม่ๆ มีขึ้นทุกวัน ดังนั้น เราต้องปรับการสอน”
นายกสภาจุฬาฯ กล่าวต่อไปอีกว่า ในประเด็นของการส่งเสริมด้านการวิจัยในปัจจุบันเป็นสิ่งที่จำเป็นมาก รัฐควรให้ความช่วยเหลือ เพราะทุกวันนี้ต้นทุนในการวิจัยที่รัฐเจียดแบ่งมาให้ หากเที่ยบกับต่างประเทศแล้วถือว่าน้อยมาก โดย ศ.นพ.จรัส ได้กล่าวติดตลกว่า “เราต้องการแค่ปีกของเอฟ 16 ก็พอครับ”
ศ.นพ.จรัส กล่าวต่อไปอีกว่า ในประเด็นที่ถูกจับตามองและต้องพิจารณาเป็นพิเศษ คือ เรื่องของค่าเล่าเรียน ความมุ่งหมายของมหาวิทยาลัยว่าจะเป็นมหาวิทยาลัยของใครและเพื่อใคร วิชาชีพของคณาจารย์ในมหาวิทยาลัย การบริหารโดยรวม และการบริหารจัดการในมหาวิทยาลัย โดยนายกสภาจุฬาฯระบุว่า จำเป็นจะต้องใช้ปัญญา สติ คุณธรรม และหลักธรรมาภิบาล ในการดูแลประเด็นดังกล่าว
ด้าน ศ.นพ.วิจารณ์ พานิช นายกสภามหาวิทยาลัยมหิดล ผู้ร่วมการเสวนาในครั้งนี้ ในฐานะผู้วิจารณ์หนังสือเล่มดังกล่าว ได้กล่าวให้การสนับสนุนในเนื้อหาของหนังสือ “ความเป็นอิสระของมหาวิทยาลัยไทย” อย่างหนักแน่น โดยระบุว่าเป็นหนังสือที่ถูกเขียนขึ้นอย่างถูกที่ถูกเวลา และเหมาะกับสถานการณ์ปัจจุบันเป็นอย่างยิ่ง พร้อมทั้งกล่าวว่าเป็นความท้าทายอย่างยิ่งในการนำหนังสือเล่มดังกล่าวเป็นแนวทางในการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นกับระบบอุดมศึกษาในบ้านเรา
บรรยากาศในการเปิดตัวหนังสือในครั้งนี้ ค่อนข้างเป็นไปในแนวทางการชี้ให้เห็นข้อดีของมหาวิทยาลัยนอกระบบ ทำให้เมื่อถึงเวลาเปิดโอกาสให้ซักถาม ได้มีอาจารย์จากคณะครุศาสตร์ถามว่า มหาวิทยาลัยของรัฐจำเป็นต้องมีอิสระไปเพื่ออะไร มหาวิทยาลัยจำเป็นต้องมีอิสระไปเพื่อใคร และการออกนอกระบบโดยที่อ้างว่าต้องการอิสระทั้งเชิงวิชาการ การบริหารจัดการ และงานวิจัย จะเป็นการหนีเสือปะจระเข้หรือไม่
วันนี้ (15.00 น.) ศ.นพ.จรัส สุวรรณเวลา นายกสภาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้เปิดตัวผลงานการเขียนภายใต้ชื่อหนังสือ “ความเป็นอิสระของมหาวิทยาลัยไทย” โดยมีเนื้อหาเป็นไปในแนวทางการชี้ให้เห็นความจำเป็นในการออกนอกระบบ
นพ.จรัส เปิดเผยว่า เรื่องความมีอิสระของมหาวิทยาลัยนั้น เป็นเรื่องที่น่าสนใจและติดใจมาตลอดระยะเวลากว่า 10 ปี โดยพยายามเขียนหนังสือเพื่อกระตุ้นความตระหนักของสังคมในเรื่องดังกล่าว แต่ก็ไม่มีผลอะไรมากนัก แม้ว่าสภาพการณ์การอุดมศึกษาไทยในปัจจุบัน อยู่ในสภาพวิกฤติ และมีความจำเป็นต้องได้รับการแก้ไขอย่างเร่งด่วน
“ถ้ายังจำได้ก่อนหน้านี้ ผมพยายามทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ก็ได้ออกเดินสายบรรยายทำความเข้าใจกับทุกคณะ แต่ครั้งนั้นมีกระแสมาก สุดท้ายแนวคิดก็เลยแท้งไป ผมคิดว่าการเขียนออกมาเป็นหนังสือน่าจะเป็นการให้ข้อมูลที่ดีและเสนอมุมมองบางมุมที่อาจจะเป็นมุมใหม่ๆ ในเรื่องนี้
ปัจจุบันนี้เราต้องเผชิญกับวิกฤตมากมาย เราอยู่ท่ามกลางภาวะการขยายตัวอย่างรุนแรงของระบบอุดมศึกษาไทย แต่ในขณะที่ประเทศที่พัฒนาแล้วอย่างอเมริกา อังกฤษ หรือ ญี่ปุ่น เขาพ้นภาวะนี้ไปแล้ว แต่ไทยกำลังเผชิญอยู่ เราต้องเผชิญกับการระเบิดขององค์ความรู้ องค์ความรู้ที่มีเพิ่มขึ้นมากจากเมื่อก่อน ที่จะทำให้สิ่งที่เราสอนเด็กเราในวันนี้ จะเหลือเพียงครึ่งเดียวในอีก 5 ปีข้างหน้า”
นายกสภาจุฬาฯ ออกตัวเกี่ยวกับเนื้อหาในหนังสือว่า หนังสือเล่มดังกล่าว จะมีเนื้อหาที่เป็นคำถามมากกว่าคำตอบ และทุกคำตอบที่มีอยู่ในหนังสืออาจจะ ไม่ใช่คำตอบสุดท้ายหรือคำตอบที่ดีที่ถูกต้องที่สุด แต่เป็นการเชิญชวนให้คิดเพื่อหาคำตอบต่อยอดจากคำตอบที่มีอยู่
ในส่วนของการนำเสนอแนวคิดความเป็นอิสระนั้น ศ.นพ.จรัส ได้นำเสนอมุมมองความเป็นอิสระเชิงวิชาการ อันเป็นปัจจัยสำคัญและเป็นหน้าที่หลักของมหาวิทยาลัย, มีเสรีภาพจากกรอบของราชการที่มีกรอบกฎเกณฑ์แน่นหนา, มีเสรีภาพจากระบบรวมศูนย์ ที่เป็นอุปสรรคต่อความคล่องตัวในการบริหาร, มีเสรีภาพในการบริหาร โดยอธิบายเพิ่มเติมว่าในปัจจุบันสังคมไทยเป็นแบบทุนนิยม ดังนั้นระบบการบริหารการศึกษาควรจะเป็นแนวการบริหารแบบ Mannerism คือมีรูปแบบการบริหารแบบธุรกิจ เพื่อนำพามหาวิทยาลัยให้รอดพ้นไปจากปัญหาทุนนิยมและอาณานิคมทางปัญญาจากต่างชาติ
“การเปลี่ยนแปลงที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงอันสืบเนื่องมาจากแนวคิดความเป็นอิสระของมหาวิทยาลัย ก็คือ เราต้องเปลี่ยนระบบการศึกษา ปรับการสอน เดี๋ยวนี้เด็กไทยที่เรียนอยู่ต่างประเทศพูดว่า สิ่งที่เขาร่ำเรียนจากเมืองไทยนั้น มันเป็นสิ่งที่พ้นสมัยไปกว่า 10 ปีแล้วในต่างประเทศ องค์ความรู้ใหม่ๆ มีขึ้นทุกวัน ดังนั้น เราต้องปรับการสอน”
นายกสภาจุฬาฯ กล่าวต่อไปอีกว่า ในประเด็นของการส่งเสริมด้านการวิจัยในปัจจุบันเป็นสิ่งที่จำเป็นมาก รัฐควรให้ความช่วยเหลือ เพราะทุกวันนี้ต้นทุนในการวิจัยที่รัฐเจียดแบ่งมาให้ หากเที่ยบกับต่างประเทศแล้วถือว่าน้อยมาก โดย ศ.นพ.จรัส ได้กล่าวติดตลกว่า “เราต้องการแค่ปีกของเอฟ 16 ก็พอครับ”
ศ.นพ.จรัส กล่าวต่อไปอีกว่า ในประเด็นที่ถูกจับตามองและต้องพิจารณาเป็นพิเศษ คือ เรื่องของค่าเล่าเรียน ความมุ่งหมายของมหาวิทยาลัยว่าจะเป็นมหาวิทยาลัยของใครและเพื่อใคร วิชาชีพของคณาจารย์ในมหาวิทยาลัย การบริหารโดยรวม และการบริหารจัดการในมหาวิทยาลัย โดยนายกสภาจุฬาฯระบุว่า จำเป็นจะต้องใช้ปัญญา สติ คุณธรรม และหลักธรรมาภิบาล ในการดูแลประเด็นดังกล่าว
ด้าน ศ.นพ.วิจารณ์ พานิช นายกสภามหาวิทยาลัยมหิดล ผู้ร่วมการเสวนาในครั้งนี้ ในฐานะผู้วิจารณ์หนังสือเล่มดังกล่าว ได้กล่าวให้การสนับสนุนในเนื้อหาของหนังสือ “ความเป็นอิสระของมหาวิทยาลัยไทย” อย่างหนักแน่น โดยระบุว่าเป็นหนังสือที่ถูกเขียนขึ้นอย่างถูกที่ถูกเวลา และเหมาะกับสถานการณ์ปัจจุบันเป็นอย่างยิ่ง พร้อมทั้งกล่าวว่าเป็นความท้าทายอย่างยิ่งในการนำหนังสือเล่มดังกล่าวเป็นแนวทางในการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นกับระบบอุดมศึกษาในบ้านเรา
บรรยากาศในการเปิดตัวหนังสือในครั้งนี้ ค่อนข้างเป็นไปในแนวทางการชี้ให้เห็นข้อดีของมหาวิทยาลัยนอกระบบ ทำให้เมื่อถึงเวลาเปิดโอกาสให้ซักถาม ได้มีอาจารย์จากคณะครุศาสตร์ถามว่า มหาวิทยาลัยของรัฐจำเป็นต้องมีอิสระไปเพื่ออะไร มหาวิทยาลัยจำเป็นต้องมีอิสระไปเพื่อใคร และการออกนอกระบบโดยที่อ้างว่าต้องการอิสระทั้งเชิงวิชาการ การบริหารจัดการ และงานวิจัย จะเป็นการหนีเสือปะจระเข้หรือไม่