“ไชยา” เตรียมเรียก 3 กระทรวงหาทางออก CL ยา ยังเชียร์ “วัน อยู่บำรุง” นั่งเลขาฯ ชี้เหมือนลูกหลาน เป็นคนพูดน้อย หน้าตาดี ยืนยันสิ่งที่คนภายนอกเห็นตรงกันข้ามกับความจริง
นายไชยา สะสมทรัพย์ รมว.สาธารณสุข กล่าวถึงกรณีการประกาศใช้สิทธิเหนือสิทธิบัตรยา หรือซีแอล ว่า ตนไม่เคยออกมาพูดว่าจะประกาศยกเลิกซีแอล และยอมรับว่า ขณะนี้ยังไม่ได้ข้อสรุปในเรื่องนี้ เพราะเพิ่งได้รับหนังสือท้วงติงมาจาก นายเกริกไกร จิระแพทย์ อดีต รมว.สาธารณสุข ซึ่งหลังจากแถลงนโยบายรัฐบาลเสร็จแล้วจะมีการหารือร่วมกันของ 3 กระทรวงหลัก คือ สาธารณสุข ต่างประเทศ พาณิชย์ ทั้งนี้ อยากขอให้ประชาชนและผู้ป่วยสบายใจ ซึ่งตนจะพยายามแก้ปัญหาให้เกิดประโยชน์กับทุกฝ่าย ยืนยันว่าไม่มีการกดดันในเรื่องนี้ เพราะทำงานด้วยความบริสุทธิ์ใจ
ส่วนกรณีที่นายวัน อยู่บำรุง จะมาเป็นเลขานุการ รมว.สาธารณสุขนั้น นายไชยา กล่าวว่า ขณะนี้ยังไม่เห็นรายชื่อของนายวัน หากมีรายชื่อจริงตนอยากให้นายวันทำงานก่อน หากไม่ดีตนก็รับไม่ได้ อย่างไรก็ตาม เท่าที่ตนรู้จักกับนายวันก็เหมือนลูกหลานสิ่งที่คนภายนอกเห็นตรงกันข้ามกับความจริง
“ผมรู้จักกับนายวัน มา 20 ปี เห็นว่า เป็นเด็กที่พูดน้อย หน้าตาดี แต่ที่ผ่านมาเห็นแต่เพียงข่าวในหน้าหนังสือพิมพ์ที่มีการนำเสนอข่าวที่ไม่ดี แต่ส่วนตัวยังไม่เคยเห็น และยังไม่เคยพบว่า นายวัน เกเรอย่างไร ถ้าเขาทำตัวไม่ดี สังคมก็จะลงโทษ และบิดา (ร.ต.อ.เฉลิม) เป็นถึงรัฐมนตรีว่าการกระทรวง มหาดไทย เป็นโซ่ทองคล้องใจให้นายวัน เป็นคนดี ดังนั้นควรให้โอกาสการทำงาน” นายไชยา กล่าว
ด้าน นพ.สุพรรณ ศรีธรรมมา โฆษกกระทรวงสาธารณสุข เปิดเผยว่า จากกรณีที่ รมว.สธ.มีนโยบายให้สธ.ศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับยารักษาโรคมะเร็ง 4 ชนิดได้แก่ ยาอิมาทินิบ (Imatinib) รักษามะเร็งเม็ดเลือดขาวและทางเดินอาหาร ยาเออร์โลทินิบ (Erlotinib) รักษามะเร็งปอดระยะลุกลาม ยาเลโทรโซล (Letrozole) รักษามะเร็งเต้านม และยาโดซีแทกเซล (Docetaxel) รักษามะเร็งปอดและเต้านม ที่ได้ประกาศใช้สิทธิ์เหนือสิทธิบัตรยาหรือซีแอล (CL: Compulsory Licencing) โดยรัฐ เมื่อวันที่ 4 มกราคม 2551 นั้น สธ.ได้ประชุมผู้เกี่ยวข้อง ประกอบด้วย ผู้บริหารกระทรวงสาธารณสุข สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ สถาบันมะเร็งแห่งชาติ อาจารย์มหาวิทยาลัย และเครือข่ายผู้ป่วย เมื่อวันศุกร์ที่ 15 กุมภาพันธ์ 2551 เพื่อปรับฐานข้อมูลผู้ป่วย ค่าใช้จ่ายการรักษา ตลอดจนผลกระทบต่อผู้ป่วยให้สอดคล้องตรงกัน
ขณะเดียวกันสธ.ได้จัดตั้งคณะทำงาน ประกอบด้วย สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ สถาบันมะเร็งแห่งชาติ กระทรวงสาธารณสุข และเครือข่ายผู้ป่วย ทำหน้าที่ศึกษา วิเคราะห์ข้อมูลแวดล้อมที่เกี่ยวข้อง เพื่อนำเสนอรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ประกอบการตัดสินใจในการหารือระหว่างกระทรวงที่เกี่ยวข้องต่อไป คาดจะได้ข้อสรุปภายในเร็วๆ นี้ โดยยังคงยึดมั่นในประโยชน์และความจำเป็นของผู้ป่วยเป็นหลักสำคัญ เพื่อให้ผู้ป่วยในระบบประกันสุขภาพเข้าถึงยามะเร็งที่มีคุณภาพ เช่นเดียวกับการทำซีแอลยารักษาโรคเอดส์ คือ เอฟฟาวิเรนซ์ (Efavirenz) และคาเลตตร้า (Kaletra) และยารักษาโรคหัวใจ คือ โคลพิโดเกรล (Clopidogrel) หรือพลาวิกซ์ (Plavix) เมื่อวันที่ 24 มกราคม 2550 ที่เป็นไปตามขั้นตอนอย่างถูกต้อง และเกิดประโยชน์กับผู้ป่วยจำนวนมาก
อย่างไรก็ตาม ในระหว่างรอการศึกษาข้อมูลของคณะทำงานชุดดังกล่าว คณะกรรมการเจรจาต่อรองและเพิ่มการเข้าถึงยาจำเป็นที่มีสิทธิบัตร ซึ่งมีเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยาเป็นประธาน จะเดินหน้าต่อรองราคายากับบริษัทยาเจ้าของสิทธิ์ต่อไป เพื่อไม่ให้การดำเนินงานหยุดชะงัก ทั้งนี้ ขอให้ความมั่นใจว่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข มีนโยบายให้ผู้ป่วยโรคมะเร็งเข้าถึงยารักษาที่ดีและมีคุณภาพทุกรายแน่นอน
นายไชยา สะสมทรัพย์ รมว.สาธารณสุข กล่าวถึงกรณีการประกาศใช้สิทธิเหนือสิทธิบัตรยา หรือซีแอล ว่า ตนไม่เคยออกมาพูดว่าจะประกาศยกเลิกซีแอล และยอมรับว่า ขณะนี้ยังไม่ได้ข้อสรุปในเรื่องนี้ เพราะเพิ่งได้รับหนังสือท้วงติงมาจาก นายเกริกไกร จิระแพทย์ อดีต รมว.สาธารณสุข ซึ่งหลังจากแถลงนโยบายรัฐบาลเสร็จแล้วจะมีการหารือร่วมกันของ 3 กระทรวงหลัก คือ สาธารณสุข ต่างประเทศ พาณิชย์ ทั้งนี้ อยากขอให้ประชาชนและผู้ป่วยสบายใจ ซึ่งตนจะพยายามแก้ปัญหาให้เกิดประโยชน์กับทุกฝ่าย ยืนยันว่าไม่มีการกดดันในเรื่องนี้ เพราะทำงานด้วยความบริสุทธิ์ใจ
ส่วนกรณีที่นายวัน อยู่บำรุง จะมาเป็นเลขานุการ รมว.สาธารณสุขนั้น นายไชยา กล่าวว่า ขณะนี้ยังไม่เห็นรายชื่อของนายวัน หากมีรายชื่อจริงตนอยากให้นายวันทำงานก่อน หากไม่ดีตนก็รับไม่ได้ อย่างไรก็ตาม เท่าที่ตนรู้จักกับนายวันก็เหมือนลูกหลานสิ่งที่คนภายนอกเห็นตรงกันข้ามกับความจริง
“ผมรู้จักกับนายวัน มา 20 ปี เห็นว่า เป็นเด็กที่พูดน้อย หน้าตาดี แต่ที่ผ่านมาเห็นแต่เพียงข่าวในหน้าหนังสือพิมพ์ที่มีการนำเสนอข่าวที่ไม่ดี แต่ส่วนตัวยังไม่เคยเห็น และยังไม่เคยพบว่า นายวัน เกเรอย่างไร ถ้าเขาทำตัวไม่ดี สังคมก็จะลงโทษ และบิดา (ร.ต.อ.เฉลิม) เป็นถึงรัฐมนตรีว่าการกระทรวง มหาดไทย เป็นโซ่ทองคล้องใจให้นายวัน เป็นคนดี ดังนั้นควรให้โอกาสการทำงาน” นายไชยา กล่าว
ด้าน นพ.สุพรรณ ศรีธรรมมา โฆษกกระทรวงสาธารณสุข เปิดเผยว่า จากกรณีที่ รมว.สธ.มีนโยบายให้สธ.ศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับยารักษาโรคมะเร็ง 4 ชนิดได้แก่ ยาอิมาทินิบ (Imatinib) รักษามะเร็งเม็ดเลือดขาวและทางเดินอาหาร ยาเออร์โลทินิบ (Erlotinib) รักษามะเร็งปอดระยะลุกลาม ยาเลโทรโซล (Letrozole) รักษามะเร็งเต้านม และยาโดซีแทกเซล (Docetaxel) รักษามะเร็งปอดและเต้านม ที่ได้ประกาศใช้สิทธิ์เหนือสิทธิบัตรยาหรือซีแอล (CL: Compulsory Licencing) โดยรัฐ เมื่อวันที่ 4 มกราคม 2551 นั้น สธ.ได้ประชุมผู้เกี่ยวข้อง ประกอบด้วย ผู้บริหารกระทรวงสาธารณสุข สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ สถาบันมะเร็งแห่งชาติ อาจารย์มหาวิทยาลัย และเครือข่ายผู้ป่วย เมื่อวันศุกร์ที่ 15 กุมภาพันธ์ 2551 เพื่อปรับฐานข้อมูลผู้ป่วย ค่าใช้จ่ายการรักษา ตลอดจนผลกระทบต่อผู้ป่วยให้สอดคล้องตรงกัน
ขณะเดียวกันสธ.ได้จัดตั้งคณะทำงาน ประกอบด้วย สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ สถาบันมะเร็งแห่งชาติ กระทรวงสาธารณสุข และเครือข่ายผู้ป่วย ทำหน้าที่ศึกษา วิเคราะห์ข้อมูลแวดล้อมที่เกี่ยวข้อง เพื่อนำเสนอรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ประกอบการตัดสินใจในการหารือระหว่างกระทรวงที่เกี่ยวข้องต่อไป คาดจะได้ข้อสรุปภายในเร็วๆ นี้ โดยยังคงยึดมั่นในประโยชน์และความจำเป็นของผู้ป่วยเป็นหลักสำคัญ เพื่อให้ผู้ป่วยในระบบประกันสุขภาพเข้าถึงยามะเร็งที่มีคุณภาพ เช่นเดียวกับการทำซีแอลยารักษาโรคเอดส์ คือ เอฟฟาวิเรนซ์ (Efavirenz) และคาเลตตร้า (Kaletra) และยารักษาโรคหัวใจ คือ โคลพิโดเกรล (Clopidogrel) หรือพลาวิกซ์ (Plavix) เมื่อวันที่ 24 มกราคม 2550 ที่เป็นไปตามขั้นตอนอย่างถูกต้อง และเกิดประโยชน์กับผู้ป่วยจำนวนมาก
อย่างไรก็ตาม ในระหว่างรอการศึกษาข้อมูลของคณะทำงานชุดดังกล่าว คณะกรรมการเจรจาต่อรองและเพิ่มการเข้าถึงยาจำเป็นที่มีสิทธิบัตร ซึ่งมีเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยาเป็นประธาน จะเดินหน้าต่อรองราคายากับบริษัทยาเจ้าของสิทธิ์ต่อไป เพื่อไม่ให้การดำเนินงานหยุดชะงัก ทั้งนี้ ขอให้ความมั่นใจว่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข มีนโยบายให้ผู้ป่วยโรคมะเร็งเข้าถึงยารักษาที่ดีและมีคุณภาพทุกรายแน่นอน