กรมการจัดหางานแนะนำนักเรียน นักศึกษา ที่ประสงค์จะไปทำงานและท่องเที่ยวในประเทศสหรัฐฯช่วงปิดภาคเรียนฤดูร้อน ควรตรวจสอบข้อมูลเบื้องต้นเพื่อป้องกันการถูกหลอกลวงจากมิจฉาชีพที่แอบแฝงมาในรูปแบบบริษัททัวร์นำเที่ยว
นายมนูญ ปุญญกริยากร อธิบดีกรมการจัดหางาน กล่าวว่า จากกระแสความนิยมของนักเรียน-นักศึกษาในการเดินทางไปทำงานและท่องเที่ยวช่วงปิดภาคเรียนฤดูร้อนในประเทศสหรัฐ หรือที่เรียกกันว่า โครงการเวิร์ก แอนด์ ทราเวล (Work And Travel : WAT) จึงเป็นช่องทางให้กลุ่มมิจฉาชีพแสวงหาผลประโยชน์ด้วยวิธีการหลอกลวง โดยเปิดเป็นบริษัทท่องเที่ยวบังหน้าแล้วใช้วิธีโฆษณาชวนเชื่อยอมจ่ายเงินค่าบริการประมาณคนละหลักแสนบาท แต่เมื่อเดินทางไปแล้วกลับไม่เป็นไปตามสัญญา บางรายถูกปล่อยลอยแพ จนตกระกำลำบากในต่างแดน เมื่อผู้เสียหายโทรศัพท์ร้องเรียนก็บ่ายเบี่ยงปฏิเสธความรับผิดชอบ และปิดโทรศัพท์ไม่รับสาย เมื่อวิเคราะห์ลักษณะของธุรกิจในเบื้องต้น น่าจะเข้าข่ายเป็นบริการจัดหางานไปทำงานในต่างประเทศ ตามเงื่อนไขในพระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ.2528 ซึ่งจะต้องมาจดทะเบียนกับกรมการจัดหางาน และวางหลักประกันเป็นเงิน 5 ล้านบาท แต่บริษัทเหล่านี้ จะอาศัยช่องว่างของกฎหมายเลี่ยงไปจดทะเบียนกับกระทรวงพาณิชย์แทน โดยอ้างว่าเป็นการส่งนิสิต นักศึกษาที่เข้าร่วมโครงการไปท่องเที่ยวหาประสบการณ์เท่านั้น
กรณีดังกล่าวกรมการจัดหางานมิได้นิ่งนอนใจ ได้มอบหมายให้ฝ่ายกฎหมายพิจารณาตีความว่าเข้าข่ายเป็นการกระทำผิดตามพระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางานฯ หรือไม่ ซึ่งหากใช่ ก็จะดำเนินการตามกฎหมายทันที แต่ในเบื้องต้น ขอแนะนำให้ผู้ที่จะเข้าร่วมโครงการดังกล่าว ตรวจสอบว่าบริษัทนั้นได้รับการรับรองจากรัฐบาลสหรัฐฯหรือไม่ โดยตรวจสอบที่ http://exchanges.state.gov/jexchanges/ ซึ่งหากได้รับการรับรองแล้ว แต่ไม่ปฏิบัติตามสัญญาก็สามารถร้องเรียนได้ที่ e-mail Jvisas@state.gov หรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมที่สายด่วนกรมการจัดหางาน โทร.1694
นายมนูญ ปุญญกริยากร อธิบดีกรมการจัดหางาน กล่าวว่า จากกระแสความนิยมของนักเรียน-นักศึกษาในการเดินทางไปทำงานและท่องเที่ยวช่วงปิดภาคเรียนฤดูร้อนในประเทศสหรัฐ หรือที่เรียกกันว่า โครงการเวิร์ก แอนด์ ทราเวล (Work And Travel : WAT) จึงเป็นช่องทางให้กลุ่มมิจฉาชีพแสวงหาผลประโยชน์ด้วยวิธีการหลอกลวง โดยเปิดเป็นบริษัทท่องเที่ยวบังหน้าแล้วใช้วิธีโฆษณาชวนเชื่อยอมจ่ายเงินค่าบริการประมาณคนละหลักแสนบาท แต่เมื่อเดินทางไปแล้วกลับไม่เป็นไปตามสัญญา บางรายถูกปล่อยลอยแพ จนตกระกำลำบากในต่างแดน เมื่อผู้เสียหายโทรศัพท์ร้องเรียนก็บ่ายเบี่ยงปฏิเสธความรับผิดชอบ และปิดโทรศัพท์ไม่รับสาย เมื่อวิเคราะห์ลักษณะของธุรกิจในเบื้องต้น น่าจะเข้าข่ายเป็นบริการจัดหางานไปทำงานในต่างประเทศ ตามเงื่อนไขในพระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ.2528 ซึ่งจะต้องมาจดทะเบียนกับกรมการจัดหางาน และวางหลักประกันเป็นเงิน 5 ล้านบาท แต่บริษัทเหล่านี้ จะอาศัยช่องว่างของกฎหมายเลี่ยงไปจดทะเบียนกับกระทรวงพาณิชย์แทน โดยอ้างว่าเป็นการส่งนิสิต นักศึกษาที่เข้าร่วมโครงการไปท่องเที่ยวหาประสบการณ์เท่านั้น
กรณีดังกล่าวกรมการจัดหางานมิได้นิ่งนอนใจ ได้มอบหมายให้ฝ่ายกฎหมายพิจารณาตีความว่าเข้าข่ายเป็นการกระทำผิดตามพระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางานฯ หรือไม่ ซึ่งหากใช่ ก็จะดำเนินการตามกฎหมายทันที แต่ในเบื้องต้น ขอแนะนำให้ผู้ที่จะเข้าร่วมโครงการดังกล่าว ตรวจสอบว่าบริษัทนั้นได้รับการรับรองจากรัฐบาลสหรัฐฯหรือไม่ โดยตรวจสอบที่ http://exchanges.state.gov/jexchanges/ ซึ่งหากได้รับการรับรองแล้ว แต่ไม่ปฏิบัติตามสัญญาก็สามารถร้องเรียนได้ที่ e-mail Jvisas@state.gov หรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมที่สายด่วนกรมการจัดหางาน โทร.1694