ปลัด สธ.ดันงานเพิ่มกำลังบุคลากรทางการแพทย์เป็นเมกะโปรเจกท์ยักษ์ ระบุสำคัญกว่าโครงการลงทุนขนาดใหญ่ ไม่อยากให้มีสถานพยาบาลแต่ร้างหมอ กลุ้มนักเรียนแพทย์จบใหม่ลดลงอีก 200 คน น้อยกว่าทุกปี เตรียมปรับยุทธศาสตร์ใหม่ให้โรงเรียนแพทย์เปิดรับแพทย์เรียนต่อเฉพาะทางลด 20% ป้องกันแพทย์ใช้ทุนแห่ลาออก วอนพ่อแม่เข้าใจให้ลูกใช้ทุนหาประสบการณ์ต่างจังหวัด
นพ.ปราชญ์ บุญยวงศ์วิโรจน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวภายหลังการหารือกับคณะผู้บริหารคณะแพทยศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ว่าวันนี้มีการหารือในหลายประเด็นเกี่ยวกับยุทธศาสตร์การผลิตแพทย์เพื่อรับใช้สังคมว่าควรจะมีทิศทางเป็นอย่างไร สำหรับการผลิตและพัฒนาบุคลากรทางการแพทย์ถือเป็นหัวใจสำคัญทางด้านสาธารณสุข รวมถึงการสร้างขวัญกำลังใจในการทำงานเพื่อให้งานออกมาอย่างมีคุณภาพ ซึ่งถือเป็นเมกะโปรเจกต์ที่เป็นโครงการใหญ่ สำคัญกว่าโครงการก่อสร้างที่มีสถานพยาบาลอยู่มากมายแต่ไม่มีบุคคลากร กลายเป็นสถานพยาบาลร้าง
นพ.ปราชญ์ กล่าวต่อว่า ในการหารือกับโรงเรียนแพทย์เกือบทุกแห่ง ไม่ว่าจะเป็นคณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล ที่ได้เดินทางเข้าหารือแล้วครั้งหนึ่ง ส่วนสัปดาห์หน้าคณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล จะเดินทางเข้าพบเพื่อหารือในประเด็นเดียวกันเพื่อรับฟังความคิดเห็น โดยในปีนี้จะขอความร่วมมือกับโรงเรียนแพทย์ให้ชะลอการรับแพทย์เรียนต่อเฉพาะทางในแต่ละสาขาลดลง 20% ยกเว้นในบางคณะที่มีความขาดแคลนรุนแรง ได้แก่ วิสัญญีแพทย์ จิตแพทย์ พยาธิวิทยา เพื่อให้แพทย์จบใหม่ใช้ทุนให้ครบกำหนด 2 ปี
“ผลกระทบจากการขาดแคลนแพทย์สร้างความเสียหายให้กับระบบสาธารณสุขอย่างมาก โดยขณะนี้มีแพทย์เฉลี่ยต่อประชากร 1 ต่อ 3,305 คน มีแพทย์จบใหม่เฉลี่ย 1,400 คน ขณะเดียวกันมีแพทย์ลาออกปีละ 600-1,000 คน ทุกปี ทำให้เหลือแพทย์ที่ทำงานเพียงนิดเดียว ส่วนกรณีที่แพทย์ใช้ทุนขอจ่ายเงินเพื่อลาออกไปเรียนต่อนั้น ต้องเรียนพ่อแม่ ผู้ปกครองของนิสิตแพทย์ การมีลูกหลานเป็นแพทย์ดีแล้ว การไปทำงานในชนบทเป็นการไปหาประสบการณ์ในต่างจังหวัด หลังจากนั้นหากมีความประสงค์จะอยู่ในจังหวัดบ้านเกิดก็จะสนับสนุน” นพ.ปราชญ์กล่าว
นพ.ปราชญ์ กล่าวต่อว่า ทั้งนี้พบว่านักเรียนแพทย์ที่ศึกษาจบในปีนี้น้อยกว่าทุกปีที่ผ่านมา โดยลดลง 200 คน จากที่มีแพทย์จบใหม่ปีที่ผ่านมา 1,400 คน เหลือ 1,200 คน เนื่องจากเกิดช่องว่างในการผลิตแพทย์โดยมีการทำสัญญาแบบไม่ต่อเนื่อง ในช่วง 6-10 ปีที่แล้ว แต่ส่งผลกระทบอย่างมากในปีนี้ ทำให้แพทย์เกิดการขาดแคลนอย่างหนัก อย่างไรก็ดี อีก 2 ปีข้างหน้าทุกอย่างก็จะเข้าสู่ระบบได้
นพ.ปราชญ์ กล่าวด้วยว่า ในปีนี้จะมีการปรับยุทธศาสตร์ใหม่ในการให้โรงเรียนแพทย์สร้างความตระหนัก มีจิตสำนึก โดยการปูพื้น มีกระบวนการกลุ่มอบรมกินนอนอยู่ด้วยกัน ซึ่งทุกคนต้องยอมรับว่า เมื่อเป็นแพทย์แล้วต้องเสียสละ รับใช้ประชาชน สามารถที่จะไปทำงานในทุกๆ ที่ได้ อย่างมีศักดิ์ศรี อีกทั้งจะมีทีมงานลงไปตรวจเยี่ยมแพทย์ที่ปฏิบัติงานในชนบทในช่วงที่ใช้ทุนด้วย
นพ.ปราชญ์ บุญยวงศ์วิโรจน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวภายหลังการหารือกับคณะผู้บริหารคณะแพทยศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ว่าวันนี้มีการหารือในหลายประเด็นเกี่ยวกับยุทธศาสตร์การผลิตแพทย์เพื่อรับใช้สังคมว่าควรจะมีทิศทางเป็นอย่างไร สำหรับการผลิตและพัฒนาบุคลากรทางการแพทย์ถือเป็นหัวใจสำคัญทางด้านสาธารณสุข รวมถึงการสร้างขวัญกำลังใจในการทำงานเพื่อให้งานออกมาอย่างมีคุณภาพ ซึ่งถือเป็นเมกะโปรเจกต์ที่เป็นโครงการใหญ่ สำคัญกว่าโครงการก่อสร้างที่มีสถานพยาบาลอยู่มากมายแต่ไม่มีบุคคลากร กลายเป็นสถานพยาบาลร้าง
นพ.ปราชญ์ กล่าวต่อว่า ในการหารือกับโรงเรียนแพทย์เกือบทุกแห่ง ไม่ว่าจะเป็นคณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล ที่ได้เดินทางเข้าหารือแล้วครั้งหนึ่ง ส่วนสัปดาห์หน้าคณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล จะเดินทางเข้าพบเพื่อหารือในประเด็นเดียวกันเพื่อรับฟังความคิดเห็น โดยในปีนี้จะขอความร่วมมือกับโรงเรียนแพทย์ให้ชะลอการรับแพทย์เรียนต่อเฉพาะทางในแต่ละสาขาลดลง 20% ยกเว้นในบางคณะที่มีความขาดแคลนรุนแรง ได้แก่ วิสัญญีแพทย์ จิตแพทย์ พยาธิวิทยา เพื่อให้แพทย์จบใหม่ใช้ทุนให้ครบกำหนด 2 ปี
“ผลกระทบจากการขาดแคลนแพทย์สร้างความเสียหายให้กับระบบสาธารณสุขอย่างมาก โดยขณะนี้มีแพทย์เฉลี่ยต่อประชากร 1 ต่อ 3,305 คน มีแพทย์จบใหม่เฉลี่ย 1,400 คน ขณะเดียวกันมีแพทย์ลาออกปีละ 600-1,000 คน ทุกปี ทำให้เหลือแพทย์ที่ทำงานเพียงนิดเดียว ส่วนกรณีที่แพทย์ใช้ทุนขอจ่ายเงินเพื่อลาออกไปเรียนต่อนั้น ต้องเรียนพ่อแม่ ผู้ปกครองของนิสิตแพทย์ การมีลูกหลานเป็นแพทย์ดีแล้ว การไปทำงานในชนบทเป็นการไปหาประสบการณ์ในต่างจังหวัด หลังจากนั้นหากมีความประสงค์จะอยู่ในจังหวัดบ้านเกิดก็จะสนับสนุน” นพ.ปราชญ์กล่าว
นพ.ปราชญ์ กล่าวต่อว่า ทั้งนี้พบว่านักเรียนแพทย์ที่ศึกษาจบในปีนี้น้อยกว่าทุกปีที่ผ่านมา โดยลดลง 200 คน จากที่มีแพทย์จบใหม่ปีที่ผ่านมา 1,400 คน เหลือ 1,200 คน เนื่องจากเกิดช่องว่างในการผลิตแพทย์โดยมีการทำสัญญาแบบไม่ต่อเนื่อง ในช่วง 6-10 ปีที่แล้ว แต่ส่งผลกระทบอย่างมากในปีนี้ ทำให้แพทย์เกิดการขาดแคลนอย่างหนัก อย่างไรก็ดี อีก 2 ปีข้างหน้าทุกอย่างก็จะเข้าสู่ระบบได้
นพ.ปราชญ์ กล่าวด้วยว่า ในปีนี้จะมีการปรับยุทธศาสตร์ใหม่ในการให้โรงเรียนแพทย์สร้างความตระหนัก มีจิตสำนึก โดยการปูพื้น มีกระบวนการกลุ่มอบรมกินนอนอยู่ด้วยกัน ซึ่งทุกคนต้องยอมรับว่า เมื่อเป็นแพทย์แล้วต้องเสียสละ รับใช้ประชาชน สามารถที่จะไปทำงานในทุกๆ ที่ได้ อย่างมีศักดิ์ศรี อีกทั้งจะมีทีมงานลงไปตรวจเยี่ยมแพทย์ที่ปฏิบัติงานในชนบทในช่วงที่ใช้ทุนด้วย